ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,551 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.402/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146  (58-70) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : พระตติยสังคายนา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อเรื่อง : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ชื่อผู้แต่ง : ชิน อยู่ดี ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : การพิมพ์พระนคร จำนวนหน้า : 274 หน้า สาระสังเขป : สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือระยะเวลาของบริเวณหนึ่ง ประเทศหนึ่ง หรือของเผ่าพันธุ์หนึ่งเมื่อยังไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และสิ้นสุดลงเมื่อมนุษย์ค้นคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ด้วยเหตุที่แต่ละประเทศมีตัวอักษรใช้ไม่พร้อมกัน การสิ้นสุดของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และการเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน ในหนังสือเล่มนี้ จึงมีเนื้อหาในแต่ละสมัย ในแต่ละยุค ในช่วงยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์



พระอิศวรทรงสร้างจากเทพธิดา ๑๕ นาง บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษรูปงาม มีสีผิวกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร และอาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี สัญลักษณ์เลข ๒ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕



-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ตามเค้าไปจับปลา -- ก่อนสถาปนาจังหวัดพะเยานั้น ชาวประมงหรือประชาชนทั้งหลายมีข้อควรคำนึงก่อนลงกว๊าน ห้วย หนอง คลอง และบึง 5 ประการ หากไม่ใส่ใจ . . . " คุก " คือคำตอบสุดท้าย. วันที่ 5 มีนาคม 2514 นายอำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย ออกประกาศ " การทำประมงในกว๊านพะเยา และในลำน้ำลำคลองหนองบึง " โดยมีใจความสำคัญคือ ละเว้นทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ พร้อมยกตัวอย่างวิธีทำประมงผิดกฎหมายดังนี้. 1. ใช้ระเบิดจับปลามีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10 เท่าของราคาสัตว์น้ำ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท 2. ครอบครองสัตว์น้ำที่ใช้ระเบิดจับมาได้ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 500 บาท 3. ใช้ยาเบื่อยาเมาจับสัตว์น้ำ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท 4. ติดตั้งทำนบ รั้ว เขื่อน ตาข่าย เพื่อกั้นทางไว้จับสัตว์น้ำ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท 5. หากปลูกพืชและก่อสร้างสิ่งใดลงในแหล่งน้ำโดยพลการ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท. ประเด็นสำคัญของประกาศฉบับนี้สรุปให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า " อย่าทำประมงผิดวิธีทั่วไปนั่นเอง " เพราะในอำเภอพะเยานิยมทำประมงพื้นบ้าน อุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ เช่น สุ่ม เบ็ด ไซ แหตาห่างๆ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ อีกทั้งไม่ก่อมลภาวะเป็นพิษแก่แหล่งน้ำ อำเภอต้องการสื่อสารกับประชาชนให้ตระหนักเพียงแค่ " อย่ามักง่าย " เพราะไม่ใช่การทำมาหากินเอาตัวรอดไปวันๆ แต่ต้องการให้ลูกหลานในอนาคตได้ประโยชน์ด้วย สิ่งเหล่านี้. . . คืองานอนุรักษ์ก่อนเป็นจังหวัดพะเยาผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/6 เรื่อง ประกาศอำเภอพะเยา เรื่องการกระทำการประมงในกว๊านพะเยาและในลำน้ำ ลำคลอง หนองบึง [ 5 มี.ค. - 30 มิ.ย. 2514 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


          หอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับการสถาปนาเป็นหน่วยงานระดับกองในสังกัดกรมศิลปากรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พุทธศักราช 2495 และได้ถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันครบรอบวันสถาปนา ในพุทธศักราช 2566 นี้ จึงเป็นวาระครบ 71 ปี แห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร           กว่าเจ็ดทศวรรษที่ผ่านมา หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีภารกิจสำคัญในการดูแลรักษาเอกสารจดหมายเหตุอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทรงคุณค่าเปรียบเสมือนคลังปัญญาของแผ่นดินให้คงอยู่สืบไป เพื่ออเนกประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ดังพระราชกระแสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า "...หนังสือชนิดนี้ควรเข้าอาไคฟ ขอให้เก็บให้จงดี"


          พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ  พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยและสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒           เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร           ศิลปิน : นายสุชาติ  ขวัญหวาน  ตำแหน่ง : จิตรกรปฏิบัติการ           กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร           ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)           การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตรชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยและสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง  พระราชพิธีเบื้องปลายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒  เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  เวลา ๐๙.๐๐ น.  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นเป็น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพิรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี   พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ            เป็นเปลือกหอยสังข์นำมาขัดตกแต่ง มีสีขาวนวล และมีลักษณะพิเศษที่ปากเปิดออกทางขวา อย่างที่เรียกว่า “ทักษิณาวัฏ” ซึ่งต่างไปจากหอยสังข์ส่วนมากที่ปากเปิดออกทางซ้าย เรียกว่า “อุตราวัฏ” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานนามพระมหาสังข์องค์นี้ว่า “พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ” ทรงใช้ครั้งแรกในงานพระราชพิธีปราบดาภิเษก เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕  พระมหาสังข์องค์นี้ เลี่ยมขอบปากด้วยทองคำอย่างกาบกล้วยไปจดปลายปาก  ซึ่งหุ้มด้วยทองคำเป็นปลอกรัดสลักลายหน้ากระดานประกอบกระจัง  ในร่องปลายปากสังข์แกะลายเส้นเบาเป็นรูป “อุณาโลม” ส่วนท้ายสังข์ตกแต่งด้วยปริกทองคำฝังอัญมณีอย่างหัวพระธำมรงค์นพเก้า  ที่บนหลังสังข์ติดช่อดอกไม้อย่างเทศทำด้วยทองคำประดับเพชรช่อใหญ่และช่อเล็กเรียงกันลงไปทางปลายปากสังข์และท้องสังข์  ใต้ปากสังข์ลงมาติดช่อดอกไม้อย่างเทศทำด้วยทองคำประดับเพชรขนานไปกับปากพระมหาสังข์           พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ เป็นพระมหาสังข์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้บรรจุน้ำพระพุทธมนต์สำหรับสรงพระมุรธาภิเษก  ในงานพระราชพิธีปราบดาภิเษกเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๕ เป็นปฐม  ต่อมาถือเป็นราชประเพณีที่เจ้าพนักงานภูษามาลาชั้นผู้ใหญ่จะเชิญพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสรงพระมุรธาภิเษก  แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทุกรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ ๙ ทรงใช้พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏหลั่งน้ำพระพุทธมนต์พระราชทานพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปทรงใช้สรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญ ทรงหลั่งน้ำพระราชทานพระยาช้างต้นในพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญทรงหลั่งน้ำที่โขนเรือหลวงในพระราชพิธีขึ้นระวางเรือพระที่นั่ง เรือรบหลวง และทรงใช้หลั่งน้ำที่ยอดธงชัยเฉลิมพล พระราชทานประจำกองทหารรักษาพระองค์ทุกเหล่าทัพด้วย   ใบมะตูม            มีลักษณะเป็น ๓ แฉก เป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บางตำราถือว่าคล้ายพระแสงตรีซึ่งเป็นอาวุธของพระนารายณ์  ตำนานเทวปางของพราหมณ์กล่าวว่า พรหมองค์หนึ่งจุติมาเป็นช้างชื่อ เอกทันต์  มีอิทธิฤทธิ์และกำลังมหาศาล  ไม่เชื่อฟังโองการใด ๆ ของพระนารายณ์ พระองค์จึงทรงนำเถาไม้ต่าง ๆ ๗ ชนิด มาร่ายมนตร์แล้วฟาดลงที่รอยเท้าช้างเอกทันต์ ทำให้ช้างเอกทันต์ปวดหัวแทบจะแตกวิ่งเข้าต่อสู้กับพระองค์แต่สู้ไม่ได้ พระนารายณ์ทรงซัดเชือกบาศผูกมัดเท้าขวาของช้างเอกทันต์  ทรงนำพระแสงตรีอาวุธประจำพระองค์ปักลงพื้นดินแล้วอธิษฐานให้เป็นต้นมะตูม จากนั้นเอาปลายเชือกบาศผูกกับต้นมะตูม ช้างเอกทันต์จึงพ่ายแพ้พราหมณ์ถือว่าใบมะตูมเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะและเป็นมงคล นำถวายพระมหากษัตริย์สำหรับทรงใช้ในการพระราชทานน้ำสังข์  และพราหมณ์ใช้เมื่อถวายน้ำพระมหาสังข์แด่พระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  และพระราชพิธีอื่น ๆ อนึ่ง ใบมะตูมนี้บางตำราถือว่าเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระอิศวร และบางตำราถือว่าลักษณะสามแฉกนั้น แทนพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์   อ้างอิง คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔, จาก http://www.phralan.in.th/coronation/vocab.php?ispage=10 . ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 ------------------------------------- #เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ #สำนักช่างสิบหมู่ #กรมศิลปากร  


ชื่อเรื่อง                         ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ.                            297/1หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  42 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         พระไตรปิฏก                                                        บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


“การแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือ” การแบ่งยุคสมัยด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือ ในการแบ่งตามเกณฑ์นี้จะให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก โดยอ้างอิงจากเครื่องมือที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ได้ในแต่ละยุคสมัย ในเริ่มต้นมนุษย์จะเริ่มประดิษฐ์เครื่องมือจากไม้และหิน ต่อมาจึงเป็นโลหะ ในรูปแบบง่าย ๆ แล้วจึงสั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้ ก่อนจะพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถผลิตเครื่องมือให้ซับซ้อนขึ้นได้ การแบ่งยุคด้วยเครื่องมือจะสามารถแบ่งได้ดังนี้ ๑. สมัยหิน กำหนดอายุได้ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มนำหินมากะเทาะเพื่อให้มีเหลี่ยมคมจนสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ สมัยหินได้ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงย่อย ๆ โดยจัดจำแนกตามความแตกต่างของรูปแบบเครื่องมือหิน คือสมัยหินเก่า สมัยหินกลาง และสมัยหินใหม่ ในสมัยหินเก่า หรือกำหนดอายุประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในพื้นที่ประเทศไทยปรากฎเครื่องมือหินที่เรียกว่า “เครื่องมือสับตัด” (Chopper – Chopping tools) สันนิษฐานว่านำไปใช้งานโดยการสับ ตัด ขุด ทุบ เป็นต้น ส่วนสะเก็ดของหินที่ถูกกะเทาะออกมา มีการนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหินใช้ในการตัด ฟัน เฉือนเรียกว่า “เครื่องมือสะเก็ดหิน” (Flake tools) ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่นที่ แหล่งโบราณคดีถ้ำวิมานนาคิน อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ, แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่, แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่, แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดลำปาง เป็นต้น ในสมัยต่อมาประมาณ ๑๐,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ถูกเรียกว่าสมัยหินกลาง เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือหินก็ได้พัฒนาขึ้นมา มีการคัดเลือกประเภทของหินที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ และพัฒนาเทคนิคการกะเทาะให้ดียิ่งขึ้น สามารถกะเทาะหินให้มีรูปร่างเหมาะสมแก่การใช้งาน มีความละเอียด และขนาดที่เล็กลง เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น เช่น เจาะ ขูด เป็นต้น เรียกว่า “เครื่องมือหินแบบหัวบิเนียน” (Hoabinhian tool) ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่นที่ แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, แหล่งโบราณคดีถ้ำปุงฮุง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน, แหล่งโบราณคดีถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และช่วงท้ายของยุคหินในช่วงประมาณ ๖,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จะถูกนับให้เป็นสมัยหินใหม่ เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือหินถูกพัฒนาขึ้นไปอีก มีการนำเครื่องมือหินมาขัดให้ผิวเรียบ เพื่อให้เกิดมีความแข็งแรงมากขึ้น และสะดวกต่อการใช้งานในการตัดต้นไม้ และทำเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เรียกว่า “เครื่องมือหินขัด” ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่น แหล่งโบราณคดีหนองแช่เสา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี, แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นต้น ๒. สมัยสำริด สมัยสำริดเริ่มขึ้นเมื่อการปรากฏของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทสำริด ซึ่งคือโลหะผสมโดยมีทองแดงและดีบุกเป็นส่วนผสมหลัก โดยในพื้นที่ประเทศไทยพบร่องรอยการถลุง และผลิตเครื่องมือ เครื่องประดับสำริด กำหนดอายุได้ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตสำริด เช่น เบ้าหลอมดินเผา ขวานสำริด กระพรวนสำริด กำไลสำริด เป็นต้น แหล่งโบราณคดีสำคัญสมัยสำริด ได้แก่แหล่งโบราณคดีบ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น, แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี, แหล่งโบราณคดี แหล่งโบราณคดีบ้านพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น ๓. สมัยเหล็ก เทคโนโลยีในการผลิตโลหะมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก จากเดิมที่สามารถถลุงได้เฉพาะสำริด ได้พัฒนาวิทยาการให้สามารถถลุงโลหะได้ดียิ่งขึ้นจนสามารถถลุงโลหะเหล็กได้ สมัยเหล็กในพื้นที่ประเทศไทยปรากฏขึ้นในช่วงประมาณ ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตเหล็ก เช่น ขวานเหล็ก ใบหอกเหล็ก กำไลเหล็ก เป็นต้น แหล่งโบราณคดีสำคัญสมัยเหล็ก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีนิลกำแหง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย พัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ผู้เรียบเรียง : นายพรหมพิริยะ พรหมเมศ ผู้ช่วยนักโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี บรรณานุกรม กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. “โบราณคดีสำหรับเยาวชน เล่ม ๒ ยุค สมัยทางโบราณคดี.” (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)), 2560.


องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนาตอน "งาช้างดำ"--- งาช้างดำ เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่รักษาสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งยังคงอยู่คู่กับหอคำ หรืออาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน มาจนถึงปัจจุบัน--- ลักษณะเป็นงาปลี (งาที่มีความยาวไม่มากนัก แต่มีวงรอบขนาดใหญ่) สีน้ำตาลเข้ม มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ถอดความเป็นภาษาไทยว่า "กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน" ขนาดของงาช้างดำยาว ๙๗ เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนที่กว้างที่สุดได้ ๔๗ เซนติเมตร มีโพรงตอนโคนลึก ๑๔ เซนติเมตร มีน้ำหนัก ๑๘ กิโลกรัม --- จากการศึกษาทางวิชาการพบว่า เป็นงาช้างตันที่ถูกถอดมาจากตัวช้าง โดยช้างเจ้าของงาน่าจะมีอายุ ๖๐ ปี สันนิษฐานว่าเป็นงาช้างข้างซ้าย เพราะมีรอยเสียดสีกับงวงชัดเจน--- อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่างาช้างดำกิ่งนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร แต่มีตำนานและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับงาช้างดำ ดังนี้--- ตำนานที่ ๑ กล่าวว่าพญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองเมืองพุทธศักราช ๑๘๙๖ - ๑๙๐๖) ได้ทำพิธีสาปแช่งให้งาช้างดำกิ่งนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนครน่านเท่านั้น เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย ในพุทธศักราช ๒๔๗๔ เจ้านายบุตรหลานจึงได้มอบงาช้างดำให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน--- ตำนานที่ ๒ กล่าวว่าในสมัยเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๕๗ (ครองเมือง พ.ศ.๒๓๕๓ - ๒๓๖๘) มีพรานคนเมืองน่านเข้าป่าล่าสัตว์ไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุง ได้พบซากช้างตัวดำสนิทตายอยู่ในห้วย พอดีกับพรานชาวเชียงตุงมาพบด้วย พรานทั้งสองจึงแบ่งงาช้างดำกันคนละกิ่ง ต่างคนต่างก็นำมาถวายเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงตุงได้ส่งสารมาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า ตราบใดที้งาช้างดำคู่นี้ไม่สูญหาย เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป--- ตำนานที่ ๓ กล่าวว่ากองทัพเมืองน่านยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงหลายเดือน  ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเดือดร้อน โหรเมืองเชียงตุงทูลเจ้าเมืองว่าเป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกกันอยู่ จึงได้นำงาช้างดำกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่าน แล้วกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป--- ส่วนฐานที่เป็นครุฑแบกรับงาช้างอยู่นั้น ทำจากไม้สักทั้งท่อน สร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๖๙ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นมีข่าวว่าเจ้าเมืองทางเหนือบางเมืองแข็งข้อก่อกบฏ เจ้าเมืองน่านจึงให้ทำครุฑขึ้นมาแบกงาช้างดำ วัตถุคู่บ้านคู่เมือง เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ให้เห็นว่า นครน่านยังจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไม่เสื่อมคลาย#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา


         ชื่อพระพุทธรูป พระพุทธรูปประจำแผ่นดิน รัชกาลที่ ๑, รัชกาลที่ ๒, รัชกาลที่ ๓, รัชกาลที่ ๔          สถานที่ประดิษฐาน ถ้ำเขาหลวง อ.เมือง จ.เพชรบุรี          ประวัติ เป็นพระพุทธรูปประจำแผ่นดิน รัชกาลที่ ๑, รัชกาลที่ ๒, รัชกาลที่ ๓, รัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้ช่างปั้นขึ้น เพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑, รัชกาลที่ ๒, รัชกาลที่ ๓, รัชกาลที่ ๔ พระพุทธรูปแต่ละองค์มีท่าทางการประทับนั่งและการแสดงมุทราที่แตกต่างกัน กล่าวคือ พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑, รัชกาลที่ ๒ ปางมารวิชัย และพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๓, รัชกาลที่ ๔ ปางสมาธิ ที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าประดับพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาล และที่ฐานของพระพุทธรูปทุกองค์มีจารึกพระปรมาภิไธย โดยมีรายละเอียดดังนี้          ๑. พระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร มีจารึกพระปรมาภิไธยที่ฐานว่า “พระบาทสมเดจพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์” หรือรัชกาลที่ ๑ ที่ผ้าทิพย์ประดับตราประทุมอุณาโลม          ๒. พระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ มีจารึกพระปรมาภิไธยที่ฐานว่า “พระบาทสมเดจพระพุทธเลิศหล้านภาไลย” หรือรัชกาลที่ ๒ ที่ผ้าทิพย์ประดับตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการซ่อมแซมจนเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เดิมก็อาจจะเป็นตราครุฑยุดนาค ซึ่งเป็นตราแทนพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย          ๓. พระพุทธรูปปางสมาธิขัดสมาธิราบ มีจารึกพระปรมาภิไธยที่ฐานว่า “พระบาทสมเดจพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” หรือรัชกาลที่ ๓ ที่ผ้าทิพย์ประดับตราพระมหาปราสาท          ๔. พระพุทธรูปปางสมาธิขัดสมาธิเพชร มีจารึกพระปรมาภิไธยที่ฐานว่า “พระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” หรือรัชกาลที่ ๔ ที่ผ้าทิพย์ประดับตราพระมหามงกุฎ


          เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในปลายรัชสมัย รัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์           เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพุทธศักราช 2454 โดยตั้งชื่อตามเรือพระที่นั่งโบราณของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เรือศรีสุพรรณหงส์ หรือ เรือพระที่นั่งชัยสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2091 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ สมัยรัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง สุวรรณหงส์ และ รัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394) ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่ง ศรีสุพรรณหงส์      หัวเรือพระที่นั่งนี้มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญา สำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือโดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ           เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก จากองค์กรที่เรียกว่า World Ship Trust เมื่อพุทธศักราช 2535   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges


วันนี้ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ได้รวบรวมภาพถ่ายเก่าภายในบริเวณนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งเป็นชุดภาพถ่ายเก่าที่บอกเล่าเหตุการณ์และสถานที่ในอดีตได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ภาพถ่ายเก่ายังมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงการเปลื่ยนแปลงต่าง ๆ จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาย้อนอดีตไปกับชุดภาพถ่ายเก่าใน "เสน่ห์วังนารายณ์ จากภาพถ่ายผ่านเลนส์" เพื่อกลับไปดูบรรยากาศของวังนารายณ์ในสมัยอดีต ซึ่งจะได้เห็นสภาพพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมการแต่งกาย รวมไปถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่หลากหลายมุมมองของผู้คนในยุคนั้น