ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,550 รายการ
ชื่อเรื่อง เทสนามหาพุทธคุณ (มหาพุทธคุณ)สพ.บ. 109/12ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ติสรณานิสํสกถาสพ.บ. 187/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 4.6 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.91/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 54 (122-128) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธัมมสังคิรี-พระสมันตมหาปัฎฐาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ. 161/20ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
พระพิมพ์กลีบบัว
พระพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมมน ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับขัดสมาธิราบบนฐานบัว ครองจีวรห่มคลุม อุษณีษะทรงกรวย ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม พระโอษฐ์หนา พระนาสิกแบน ประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานบัวมีกลีบขนาดใหญ่ รอบพระวรกายมีแนวเส้นรอบเรียกว่า ประภาวลี หมายถึงรัศมีหรือแสงที่ปรากฏกายของพระพุทธเจ้า ขนาบด้วยสถูปทรงหม้อน้ำยอดแหลมสูง ถัดขึ้นไปเป็นเครื่องสูงชนิดต่างๆ เช่น แส้ พัด และกลด เหนือพระเศียรกางกั้นด้วยฉัตร หรือร่ม
พระพิมพ์ ๒ องค์นี้ พบในวัดจามเทวี(กู่กุด) จังหวัดลำพูน และเวียงมโน ซึ่งปัจจุบันอยูในพื้นที่ต.หนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีการสันษฐานว่าเป็นเมืองบริวารของหริภุญไชย พบศิลาจารึกอักษรมอญโบราณ เครื่องปั้นดินเผา แนวคันดินที่ปัจจุบันเสื่อมสภาพไปแล้ว ลักษณะของพระพิมพ์องค์นี้ คล้ายกับพระพิมพ์และพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีที่พบในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดอายุไว้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ซึ่งเป็นยุคทวารวดีตอนปลาย ที่แพร่ขยายมาจากภาคกลางของประเทศไทย สอดคล้องกับการพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ เช่น ตุ๊กตาคนจูงลิง และหม้อมีสันที่บริเวณเจดีย์เชียงยัน วัดพระธาตุหริภุญชัย
อ้างอิง
โขมสี แสนจิตต์. “เมืองโบราณหริภุญไชยจากหลักฐานโบราณคดี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. ศิลปะทวารวดี : ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๒.
กฏหมายลักษณะต่างๆ ชบ.ส. ๙๕
เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.31/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง พระมหาโพธิวงศ์ศากยะ
ชื่อเรื่อง ไม่มีคอมมิวนิสต์ในอกแม่
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ นครปฐม
สำนักพิมพ์ พระโพธิสัตต์
ปีที่พิมพ์ 2519
จำนวนหน้า 206 หน้า
หนังสือ ไม่มีคอมมิวนิสต์ในอกแม่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวหลักธรรมคำสอน คติแนวคิด ในเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้อ่านเพื่อที่จะได้ช่วยชาติบ้านเมืองให้รอดพ้นจากพญามารทั้งหลาย ชาติบ้านเมืองและประชาชนจะได้มีความสมบูรณ์ สมเป็นเมืองในพระพุทธศาสนา
คำถามยอดฮิตของเพื่อนและคนที่รู้จักเมื่อยามเจอหน้า ที่เปิดร้านขาย"กาแฟ"ในเมืองจันทบุรี ว่า "มีเรื่องกาแฟบ้างเปล่า เค้าอยากรู้ประวัติกาแฟบ้านเราจัง เผื่อทำเป็นเรื่องราวให้ลูกค้าที่มานั่งดื่มกาแฟได้อ่านกัน" ผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งที่หลงไหลในกาแฟ ความสงสัยเช่นกันว่า เส้นทางของกาแฟเมืองจันทบุรีในอดีตเป็นอย่างไร และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี จะมีเอกสารชั้นต้นหรือชั้นรองมารองรับเรื่องนี้บ้างไหม จากการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ พบว่าใน พ.ศ.2457 ได้มีการระบุว่า...เมืองจันทบุรี โดยเฉพาะท้องที่อำเภอพลอยแหวน(ภายหลังคืออำเภอท่าใหม่) มีราษฎร"ทำสวนกาแฟ"ได้ผลประโยชน์ ซื้อขายกันมากกว่าที่แห่งอื่น ๆ และเป็นกาแฟที่ดี...แต่ยังไม่มีเอกสารระบุว่าเป็นพันธุ์ใด (ผู้เขียน) ...ราคาซื้อขายกาแฟในช่วงนั้น อยู่ที่ชั่งละ 70 สตางค์ ส่วนเอกสารชั้นรองที่ผู้เขียนได้อ่านเจอ ระบุว่า...จันทบุรีมีการปลูกกาแฟมาก่อนแล้ว จากบันทึก"เล่าเรื่องกรุงสยาม"เขียนโดย มงเซเญอร์ ปาลเลกัวซ์ สังฆนายกคณะมิซซังโรมันคาทอลิกประจำประเทศสยาม ได้กล่าวถึง"กาแฟ"ของเมืองจันทบุรี เมื่อคราวเดินทางมาชายทะเลตะวันออก ใน พ.ศ.2381 (สมัยรัชกาลที่ 3) ว่า...ราษฎรชาวจังหวัดจันทบุรีทั้งหมดแทบจะกล่าวได้ว่าประกอบการกสิกรรมอย่างเดียว... กาแฟ...รับสั่งให้ปลูกโดยพระเจ้าแผ่นดิน และก็ได้รับผลดี ข้าพเจ้าได้ดื่มกาแฟรสดีที่จวนท่านเจ้าเมือง...กาแฟในช่วงนั้น เป็นสินค้าออกของสยามส่งได้ปีละ 12,000 หาบ ราคาซื้อขายหาบละ 16 บาท ... และจากหนังสืออ้างอิงอีกฉบับกล่าวถึง"กาแฟ"ว่า...แต่เมื่อถึง พ.ศ.2469 การเพาะปลูกได้ลดน้อยลง มีปลูกที่สงขลาแห่งเดียว จนกระทั่ง พ.ศ.2491-2495 กรมกสิกรรม ได้ค้นคว้าทดลองนำกาแฟที่ดีและเหมาะกับดินฟ้าอากาศของประเทศไทยมาปลูก คือพันธุ์โรบัสต้า และพันธุ์อาราบิคา และจัดตั้งสถานีทดลองขึ้นตามจังหวัดที่เคยปลูกกาแฟได้ผลดีมาก่อนแล้ว คือ จันทบุรี ยะลา ตรัง สงขลา และสุราษฎร์ธานี พื้นที่ทดลองปลูกทั้งหมด 1,034 ไร่ และในพ.ศ.2501 มีระบุว่า มีการปลูกกาแฟกันราว 40 จังหวัด และใน พ.ศ.2502 เพิ่มเป็น 50 จังหวัด มีผู้ปลูกถึง 8,826 ราย จำนวนที่ดิน 5,227 ไร่ นอกจากนี้ยังพบหนังสือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี ได้รายงานว่า...ในจังหวัดจันทบุรี(พ.ศ.2522) มีพื้นที่ปลูกกาแฟ (ซึ่งน่าจะเป็นพันธุ์โรบัสต้า เนื่องจากสามารถขึ้นได้ดีในไทย อีกทั้งให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์อื่น : ผู้เขียน) จำนวน 1,700 ไร่ แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอท่าใหม่ ผลผลิตที่ได้ในช่วง พ.ศ.2522-2523 รวม 240-240.9 ตัน มูลค่า 14.5-16.8 ล้านบาท ส่วนการเลิกปลูกกาแฟของจันทบุรีนั้นผู้เขียนไม่ทราบแน่ชัดว่ามาจากสาเหตุใด แต่ที่อ่านพบว่ามีโรคที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับพันธุ์กาแฟคือ "โรครัสท์"เกิดจากเห็ดราจำพวก Rust fungi ชื่อHemileia Vastatrix B.and Br. ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้จันทบุรีเลิกปลูกกาแฟกัน ---------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ---------------------------------------------------------อ้างอิงมงเซเญอร์ ปาลเลกัวซ์. 2549. เล่าเรื่องกรุงสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 3. แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. มหาดไทย, กระทรวง. (2503). คำแนะนำการปลูกกาแฟ. พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น. หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท 2.2.4/16 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องกระทรวงมหาดไทย สั่งให้จัดทำยานพาหนะต่างๆ ส่งเข้าไปกรุงเทพฯ (11 พฤษภาคม 2457 – 2 มิถุนายน 2462) อุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรี, สำนักงาน. (ม.ป.ป.). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงงานกาแฟผงสำเร็จรูป. ม.ป.ท.
อาคารเก่าเล่าเรื่องเมืองหว้านใหญ่
อำเภอหว้านใหญ่แต่เดิมอยู่ในเขตเมืองพาลุกากรภูมิ ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ขึ้นเมืองมุกดาหาร เขตเมืองพาลุกากรภูมิ ทางเหนือตั้งแต่ลำน้ำก่ำ ทางใต้ถึงห้วยบางทราย เมืองพาลุกากรภูมิถูกยุบเป็นหมู่บ้าน ขึ้นกับตำบลบ้านหว้าน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ขึ้นกับท้องที่อำเภอมุกดาหาร ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ยกฐานะเป็นอำเภอหว้านใหญ่ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖
อำเภอหว้านใหญ่มีวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ได้แก่ วัดพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง บริเวณวัดมีกำแพงล้อมรอบพื้นที่ประมาณ ๖ ไร่เศษ และมีสิ่งก่อสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหว้านใหญ่ก็คือ อาคารที่ว่าราชการหว้านใหญ่ (เดิม)
อาคารหลังนี้ตามประวัติระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๗๐ โดยช่างญวนชื่อ แก้วบุญสี (ศรี) แต่บ้างระบุว่าชื่อ หัสดี จากฝั่งประเทศลาวซึ่งมาบวชที่วัดแห่งนี้ แรกสร้างเชื่อว่าน่าจะใช้เป็นที่ว่าราชการหว้านใหญ่ในขณะนั้น เนื่องจากบริเวณหน้าจั่วอาคารด้านหน้าประดับรูปครุฑอย่างที่นิยมสร้างเป็นสถานที่ราชการในช่วงเวลานั้น จากนั้นเมื่อย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอหว้านใหญ่ออกไป ทางวัดน่าจะใช้เป็นกุฎิสงฆ์และใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในเวลาต่อมา
ลักษณะตัวอาคารเป็นทรงตึกฝรั่ง ๒ ชั้น มีแผนผังเป็นรูปตัวที (T) ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออกทำเป็นมุกยื่นออกมา ชั้นล่างยกพื้นเตี้ย ส่วนหน้าเป็นโถงโล่ง มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและทั้งสองปีกซ้ายขวา ส่วนหลังกั้นเป็นห้อง ระหว่างช่วงเสาทำเป็นซุ้มวงโค้ง ชั้นที่ ๒ มีรูปแบบเช่นเดียวกับชั้นล่าง คือ ส่วนหน้าเป็นโถงโล่ง ส่วนหลังกั้นเป็นห้อง ระหว่างช่วงเสากั้นด้วยราวระเบียง ส่วนหัวเสาทำเป็นซุ้มวงโค้ง หลังคาส่วนหน้าทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา หลังคาส่วนหลังทรงปั้นหยามุงกระเบื้องดินเผา
อาคารหลังนี้นับเป็นอาคารที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่นิยมสร้างในสมัยนั้น และเป็นอาคารที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอำเภอหว้านใหญ่ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ง พื้นที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๕๕.๗๙ ตารางวา
ข้อมูล: เมริกา สงวนวงษ์
อ้างอิง: -กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี.๒๕๕๖.รายงานสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน ในจังหวัดมุกดาหาร .กรุงเทพฯ :เดือนตุลา.
-คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดมุกดาหาร.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว.
อนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๓ โดยการริเริ่มของกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งมีแนวคิดว่าจะสร้างอนุสาวรีย์เพื่อระลึกถึงพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ไว้ด้านหน้าอาคารคุ้มหลวงซึ่งหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.๒๔๗๕ ได้ถูกปรับใช้เป็นอาคารศาลากลางจังหวัด และบริเวณโดยรอบได้ใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น อำเภอเมืองน่าน ที่ดินจังหวัด สำนักงานของกาชาดจังหวัด เป็นต้น
ต่อมาเมื่อมีการสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดขึ้นบนพื้นที่ระหว่างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหารและวัดกู่คำกรมศิลปากรจึงได้รับมอบพื้นที่เพื่อนำมาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน โดยในปีพ.ศ.๒๕๒๓ นั้นศาลากลางจังหวัดได้ย้ายออกไปทำงานที่ศาลากลางใหม่ในขณะนั้นแล้วส่วนพิพิธภัณฑ์ยังไม่เปิดให้บริการ
การสร้างอนุสาวรีย์ใช้ภาพต้นแบบที่ได้จากเจ้านิรมิต สิริสุขะ โดยได้ช่างจากโรงหล่อที่กรุงเทพฯ เป็นผู้ปั้นโดยใช้ขนาดสูงเท่าครึ่งขององค์จริง ทำพิธีเททองหล่อเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ บริเวณด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ โดยหล่อแยกเป็น ๒ ชิ้นแล้วนำไปประกอบที่กรุงเทพฯ จากนั้นเชิญมาประดิษฐานด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นวันกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน สำหรับผู้ออกแบบฐานอนุสาวรีย์เป็นบุคลากรจากรพช.
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์คุณอุดม เกสโรทยาน อดีตสมาชิกสภาจังหวัด และประธานชมรมลูกเสือชาวบ้าน เรื่องการสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ
ปราสาทบ้านโคกปราสาท ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก มีต้นไม้ขึ้นคลุมค่อนข้างหนาแน่น จากร่องรอยที่ปรากฏ สันนิษฐานองค์ประกอบได้ดังนี้ 1. ปราสาท บริเวณปราสาท ปัจจุบันมีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก กว้างประมาณ 60 เมตร ยาวประมาณ 70 เมตร บนเนินปรากฏแท่งหินทรายและศิลาแลงกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งเนิน จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า โบราณสถานหลังนี้ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุและรื้อย้ายชิ้นส่วนต่าง ๆ หลายครั้ง ทำให้ปราสาทพังทลาย และชิ้นส่วนประกอบอาคารอยู่ในลักษณะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป การดำเนินงานขุดลอกบารายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท มีการนำดินมาถมบริเวณโดยรอบปราสาท ซึ่งทำให้ไม่ปรากฏคูน้ำโดยรอบปราสาทที่ชัดเจน แต่จากร่องรอยของพื้นที่ที่เป็นร่องน้ำที่เหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมมีคูน้ำล้อมรอบปราสาทอยู่ด้วย คูน้ำมีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร บริเวณเนินดินปรากฏแท่งหินทราย ศิลาแลง และอิฐ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร ได้แก่ หน้าบัน ที่ส่วนกรอบหน้าบันสลักลายก้านต่อดอกชี้ลงด้านล่าง ชิ้นส่วนกรอบประตู กรอบหน้าต่าง บัวเชิงผนัง บัวเชิงชายหลังคา ส่วนผนังอาคาร เสาประดับกรอบประตูแบบเสาแปดเหลี่ยม โบราณวัตถุส่วนหนึ่งถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่โรงเรียนบ้านจรเข้มาก ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย เป็นชิ้นส่วนปลายกรอบหน้าบันสลักลายนาคห้าเศียร นาคหัวโล้นไม่มีกระบังหน้า ซึ่งเป็นลักษณะนาคในศิลปะเขมรแบบบาปวน เสาประดับผนัง บัวเชิงผนังสลักลายกลีบบัว บัวยอดปราสาท 2. บาราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีบารายตั้งอยู่ บารายมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างประมาณ 270 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร คันดินขอบบารายมีขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร สูงจากพื้นนาโดยรอบ 2-3 เมตร บารายแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า หนองบ้านเก่า หรืออ่างเก็บน้ำโคกปราสาท ซึ่งได้รับการขุดลอกแล้ว ปัจจุบันมีน้ำอยู่ในพื้นที่บางส่วน บารายนี้สร้างคร่อมห้วยบ้านเก่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการกักเก็บน้ำไว้ในบาราย โดยการสร้างคร่อมลำน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการขุดลอกบารายไปแล้วเมื่อปี 2543 โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จากหลักฐานที่พบ สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในศิลปะเขมรแบบบาปวน เป็นศาสนสถานของชุมชนในวัฒนธรรมเขมรบริเวณนี้ในอดีต ก่อสร้างโดยใช้ใช้หินทราย แท่งศิลาแลง และอิฐเป็นวัสดุ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ และมีบารายตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก-----------------------------------------------------------//ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา