ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,543 รายการ

            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "พฤษภาคม" เชิญพบกับ "ตะข้องเป็ด" หัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาโบราณ เรียนรู้เรื่องเครื่องจักสานที่เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน             โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "ตะข้องเป็ด" ขนาดความสูง ๓๖ เซนติเมตร ปากกว้าง ๑๕.๕ เซนติเมตร วัสดุทำจากไม้ สมัยรัตนโกสินทร์ ย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ มีลักษณะเป็นภาชนะจักสานจากตอกไม้ไผ่สำหรับใส่สัตว์น้ำ ปากกลมแคบ คอคอด ตัวตะข้องรูปร่างคล้ายตัวเป็ด ก้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีฝาใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปากกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไผ่ไว้เรียกว่า งาแซง นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของข้อง การใช้งานของข้อง การสานข้องเป็ด ความเป็นมาของเครื่องจักสาน การประดิษฐ์เครื่องจักสานของแต่ละภูมิภาค รูปแบบเครื่องจักสานภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ กับ "ตะข้องเป็ด" หัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาโบราณได้ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                     อานิสงส์สงกรานต์ (อานิสงส์สงกลาน) สพ.บ.                       465/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา     ประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                     นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) เล่ม 1ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีภาษาอื่นๆเลขหมู่                      891.23  ป523นสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               356 หน้า หัวเรื่อง                     นิทาน – อินเดีย                              นิทาน – อิหร่าน                              วรรณคดีสันสกฤตภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสืออิหร่านราชธรรมเป็นเรื่องของนิทานต่างๆของแขก นิทานพวกนี้เป็นนิทานแขก ในภาแขกเรียนว่ากระไรหาทราบไม่ แต่คนไทยเรียกเรื่องสิบสองเหลี่ยม เข้าใจว่าได้ต้นฉบับมาตั้งแต่เมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี หนังสือเรื่องนี้จะได้จากแขกชาติไหน และได้มาในรัชกาลไหน ข้อนี้ได้แต่คาดคะเนเค้าเงื่อนที่มีอยู่บ้าง คือในตัวนิทานสังเกตดูมักเป็นนิทานครั้งพวกอิหร่านมีอำนาจปกครองทั้งประเทศเปอร์เซียและประเทศอิรัค  



โรงเรียนวัดแแกลงบน จ.ระยอง (เวลา 10.00-11.00 น.) จำนวน 20 คน วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะครู จากโรงเรียนวัดแกลงบน ต.กะเฉด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง จำนวน ๑๗ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


วัดผาลาด         วัดผาลาด เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ผาลาด มาจากคำว่า ผะเลิด เพราะคนและช้างต่างลื่นล้มเมื่อเดินมาตามเส้นทางขึ้นเขา และเมื่อตั้งวัดจึงตั้งชื่อว่าผาลาด         วัดผาลาดปรากฏหลักฐานในเอกสาร ตำนาน และพงศาวดาร มีประวัติศาสตร์ร่วมกับพระธาตุดอยสุเทพ ตามที่ปรากฏในพงศาวดารโยนก ความว่า “พระเจ้านครเชียงใหม่ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง ซึ่งเสด็จมาใหม่ไว้ในวัดบุปผารามนั้น ส่วนพระบรมสารีริกธาตุองค์เดิมซึ่งพระมหาสุมณนำมาจากเมืองสุโขทัยนั้น เพื่อจะแสวงหาที่อันสมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ จึงเชิญผอบพระบรมธาตุขึ้นสถิตเหนือพระคชสาร อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ช้างทรงพระบรมธาตุนั้นก็บ่ายหน้าเดินออกประตูหัวเวียงไปขึ้นสู่ดอยอุสุจบรรพต (ดอยสุเทพ) ไปถึงผาลาดก็หยุดรออยู่ครู่หนึ่งก็ขึ้นไปถึงจอมเขาแล้วก็หยุดอยู่ ณ ที่นั้น”         อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์เป็นศิลปะพม่าสมัยครูบาศรีวิชัย วิหารสร้างขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัยโดยช่างชาวพม่า ฐานโบราณสถาน (โบสถ์) (วิหารพระเจ้ากือนา) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปเป็นศิลปะพม่า วัดยังมีบ่อน้ำที่มีการสร้างทับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัย และศาลาเก่า         ปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางขึ้นสู่วัดผาลาดตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติจากบริเวณด้านสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง ๗ ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร จะถึงวัดผาลาด และสามารถเดินลัดป่าขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมระยะทางไปกลับประมาณ ๑๐ กิโลเมตร นับว่าเป็นเส้นทางโบราณครั้งที่พระเจ้ากือนา อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นไปประดิษฐาน ณ ดอยสุเทพ ที่เต็มไปด้วยความงดงามของธรรมชาติ และโบราณสถานสำคัญตลอดเส้นทางเรียบเรียง : นายวีระยุทธ  ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.  (เอกสารจดหมายเหตุชุด ภ หจช ชม ชม สศก ๗.๑.๔๑)อ้างอิง กรมศิลปากร.  ๒๕๐๔.  พงศาวดารโยนกฉบับหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บุรินทร์การพิมพ์ บัณฑิตชาวนครเชียงใหม่.  ๒๕๓๓.  ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ.  เชียงใหม่ : โสภณพิพรรฒธนากร





คอมพิวเตอร์ คำศัพท์สำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ สถาบันคอมพิวเตอร์ ม.รามคำแหง เรียนเขียนเว็บไซต์ออนไลน์ตั้งแต่เริ่มต้น(ฟรี) (คลิบวีดีโอตัวอย่างการสอน) ตรวจดู Domain Name (ที่ท่านอยากได้ยังว่างอยากได้ยังว่างอยู่หรือไม่) เรียนสร้างเว็บ รวมเว็บไซต์มหาวิทยาลัย



ระหว่างวันที่ ๖-๗ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่่านมา สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี ได้ดำเนินกิจกรรมการติดตั้งอุปกรณ์ทำลูกปัดแก้วให้กับกลุ่มเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียด ภายในวัดถ้ำพระศิลาทอง ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกอบรมเครื่องแก้วโบราณจากฐานความรู้ทางโบราณคดี ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งอุปกรณ์ที่ติดตั้งครั้งนี้จะสามารถช่วยให้กลุ่มเครือข่ายสามารถฝึกทักษะการทำลูกปัดแก้วได้อย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากแก้วให้มีคุณภาพมากขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้เสริมและสินค้าชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์โดยใช้ความรู้จากงานโบราณคดีเป็นฐานเริ่มต้น


กรมศิลปากรขอเชิญชวนเด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ เด็กๆ ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมในหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดกิจกรรมในส่วนกลาง มีดังนี้ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที ดนตรีประกอบการเล่านิทาน ,การแสดงของเด็กและเยาวชน กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมตอบปัญหา, กิจกรรมแรลลี่, กิจกรรมเปิดโลกกว้างสู่อาเซียน กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน ระบายสี, งานประดิษฐ์จากดินฟีโม่, ชวนน้องปั้นดิน กิจกรรมสันทนาการ โยนห่วงยาง, ปิดลูกโปง, เก้าอี้ดนตรี และกิจกรรมต่างฯ อีกมากมาย สำหรับเด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับของขวัญของรางวัลทุกคน - สำนักการสังคีตจัดการแสดงรายการศิลปากรคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชุด “Children’s Day Concert” อำนวยเพลงโดย นายสถาพร นิยมทอง การแสดงจะเป็นการบรรเลงและการขับร้องจากศิลปินกรมศิลปากรร่วมกับสถานศึกษาและสถาบันการดนตรีที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร โรงเรียนดนตรีวีมุส โรงเรียนราชินี โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตลอดจนเครือข่ายศิลปินจากสถานศึกษา เข้าร่วมฟังได้โดยไม่เก็บค่าบัตรเข้าชม - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และตอบคำถามรับของรางวัล การตอบปัญหาเกี่ยวกับวันเด็ก เรื่องทั่วไป เรื่องอาเซียน การเล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี การต่อจิกซอว์ และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เช่น การแข่งร้องเพลง การแข่งเต้น - สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดคัดลายมือ การวาดภาพระบายสี เล่นเกมและกิจกรรมต่างๆ สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว ลุ้นรับของรางวัลมากมาย พร้อมทั้งบริการอาหารเครื่องดื่มและรับของรางวัล ฟรีตลอดงาน - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กิจกรรมประกอบด้วย การแข่งขันประกวดวาดภาพระบายสี, ซุ้มกิจกรรมศิลปะ โดยคณะจารย์ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศิษย์เก่าสถาบันบัณทิตพัฒนศิลป์, การแข่งขันแรลลี่ตอบปัญหาชิงรางวัล ด้านศิลปะ กิจกรรมสันทนาการ เช่น ดนตรี ประกวดร้องเพลง เกม ฯลฯ โดยความร่วมมือกับสำนักศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, ฉาย DVDแนะนำ และนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ให้แก่เยาวชนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งบริการอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม - หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงรำอวยพร การบรรเลงเพลง จากวงดนตรี “วีรพล” การแข่งขันตอบปัญหา การแสดงบนเวที ประกวดร้องเพลง การแข่งขันวาดภาพ การแข่งขันเรียงความ เกมการละเล่น พร้อมแจกของขวัญของรางวัลมากมาย กิจกรรมในส่วนภูมิภาค อาทิ - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กิจกรรมประกอบด้วย การละเล่น เกมต่างๆ การตอบปัญหา การประกวดร้องเพลง และแจกของรางวัล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดวาดภาพ ระบายสี การปั้นตุ๊กตา การประกวดร้องเพลงและการแสดงออกบนเวที ฯลฯ - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงบนเวทีโดยเยาวชนจากโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ การละเล่นเกมต่างๆ บนเวที ฉายภาพยนตร์ตลอดทั้งวัน และจับฉลากชิงรางวัล - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมสันทนาการ การแสดงบนเวทีของกลุ่มเด็กนักเรียน การแสดงความสามารถ เล่นเกมตอบปัญหาชิงรางวัล รวมทั้งแจกของรางวัล อาหารและเครื่องดื่ม - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี กิจกรรมประกอบด้วย การแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย ด้วยวีดิทัศน์ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์/ศัพท์น่ารู้ เกมตอบคำถามและเกมที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์/ข้าวและการทำนา - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสุขสันต์ พิพิธภัณฑ์หรรษา” กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ให้เยาวชนได้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และเรียนรู้การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้านล้านนาจากครูภูมิปัญญาล้านนา ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ณ โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ภายในจังหวัด สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ฯลฯ นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเปิดให้เด็กๆ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ ติดต่อ หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไม่เสียค่าใช้จ่าย


โครงการองค์ความรู้เรื่องตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสารของวิทยาลัยนาฎศิลป์เชียงใหม่ (องค์ความรู้ปี ๒๕๕๓)


วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบนครวัด อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 สถานที่พบ ได้จากการขุดแต่งด้านหน้าปราสาทประธานของกู่เมืองบัว บ้านเมืองบัว ตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2548 ประติมากรรมสตรี ในอิริยาบถประทับยืน พระพาหาขนานพระวรกาย ทรงกรองศอและพาหุรัด ทรงผ้านุ่งยาวจีบเป็นริ้วในแนวตั้ง ขอบผ้านุ่งสลักลายแถวเม็ดประคำและลายกลีบดอกไม้ คาดเข็มขัดทับผ้านุ่ง เข็มขัดเป็นแถบสี่เหลี่ยมสลักลายเม็ดรี ขอบบนล่างของเข็มขัดสลักลายเม็ดประคำและเส้นขอบ ใต้เข็มขัดสลักอุบะโดยรอบ มีขอบผ้าพับทบเข็มขัดที่หน้าท้อง ชักชายผ้าคล้ายหางปลาห้อยลงที่ด้านหน้า