ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ

อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศรับสมัครนักโบราณคดี 1 ตำแหน่ง  - คุณสมบัติ : ไม่จำกัดเพศ - วุฒิการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาโบราณคดี - อัตราค่าจ้าง : 15,000 บาท/เดือน - เวลาทำงาน 08.00 น. – 17.00 น.  - วันทำงาน จันทร์ - ศุกร์  หน้าที่รับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ 1. ปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วยนักโบราณคดีเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลทาง วิชาการ ด้านประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีหรือแหล่งวัฒนธรรม 2.  ปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วยนักโบราณคดีในการร่วมสํารวจ ขุดค้นแหล่งโบราณคดี หรือ แหล่งวัฒนธรรมสมัยต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการอนุรักษ์ บูรณะและปกป้องคุ้มครองมรดกทางศิลปวัฒนธรรม 3. จัดทําเอกสารรายงาน บันทึกข้อมูลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากแหล่ง โบราณคดี และโบราณสถาน เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการศึกษาทางโบราณคดี 4.  เป็นวิทยากรเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการของหน่วยงาน และให้บริการทางการศึกษา แก่นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไป 5.  ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย ผู้สนใจสามารถส่งใบสมัครเข้ามาที่เฟสบุ๊คเพจ อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  โทร. 0 3755 0454 


         ตาลปัตร ภาพอักษรข้อความพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช ๒๕๖๒           เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร          ศิลปิน : นายเจริญ  มาบุตร           ตำแหน่ง : จิตรกรชำนาญการ          กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร          พ.ศ.๒๕๖๔          ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)          การพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการ นับเป็นขั้นตอนสำคัญภายหลังจากการถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศที่มีพัฒนาการของถ้อยพระวาจาสัมพันธ์อยู่กับสภาพการเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”  ส่วนในรัชกาลปัจจุบันมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”            ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมสื่อวีดิทัศน์ : ขั้นตอนการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร  ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่าง ------------------------------------- https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26 -------------------------------------


           สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี “เสาร์สนุก” ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙  ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบกับรายการแสดง ดังนี้            การบรรเลงวง STRING CHAMBER โดยทศพร โพธิ์ทอง และไพโรจน์ พึ่งเทียน            - cello Double concerto Antonio Vivaldi RV 531            - Cinema Paradiso 1988            - BeethOven’5 SecretS - One Republic FROM THE PIANO GUYS            การบรรเลงดนตรีไทย            - ขับเสภาส่งเครื่อง เรื่องกากี โดยปกรณ์ หนูยี่ และคณะ             - การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก เพลงลาวแพน โดยกิตติศักดิ์ อยู่สุข            - การบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงเล็ก เพลงนกขมิ้น โดยถาวร ภาสดา            การแสดงนาฏศิลป์ไทย             - รำกริชสุหรานากง โดยกษมา ทองอร่าม            - การแสดงชุดวายุบุตรชมอุทยาน โดยเอกภชิต วงศ์สิปปกร            - รำฉุยฉายนางมณี โดยไอศูรย์ ทิพย์ประชาบาล            - การแสดงชุดเทวดาเบญจพรรณ โดยสุรเดช เดชอุดม ,สุทธิ สุทธิรักษ์ และเกริกชัย ใหญ่ยิ่ง ชมฟรี !!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑



           วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๖  เวลา ๑๗.๐๐ น. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดนิทรรศการ Chinese Xieyi เสี่ยอี้ สุนทรียศิลป์แห่งจีนประเพณี : ผลงานศิลปะร่วมสมัยจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติจีน โดยมีนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นายอู๋ จื้อ อุปทูตสถานเอกอัครราชฑูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายจาง ไป่เฉิง  รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติจีน นายจูเว็งซียู ดือ จือซุซ มาร์ติงซ์ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเตประจำประเทศไทย ผู้แทนศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศจีน ณ กรุงเทพฯ ศิลปินชาวจีน แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ อาคารนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ             ทั้งนี้ นิทรรศการ Chinese Xieyi เสี่ยอี้ สุนทรียศิลป์แห่งจีนประเพณี : ผลงานศิลปะร่วมสมัยจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติจีน เป็นความร่วมมือทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมระหว่างหน่วยงานของรัฐบาลไทยและจีน เป็นการจัดกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สําหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรมศิลปากร และพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติจีน เป็นผู้ดำเนินการจัดนิทรรศการครั้งนี้ขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗  ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ             สำหรับนิทรรศการ Chinese Xieyi เสี่ยอี้ สุนทรียศิลป์แห่งจีนประเพณี : ผลงานศิลปะร่วมสมัยจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติจีน นำเสนอจิตวิญญาณและการแสดงแบบจีนร่วมสมัยผ่านผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะและวัฒนธรรมแบบจีนโบราณ โดยหยิบยก "เสี่ยอี้" มาเป็นหัวข้อหลักของนิทรรศการ และใช้จิตรกรรมจีนร่วมสมัย จิตรกรรมสีน้ำมัน จิตรกรรมสีน้ำและประติมากรรม มาสร้างสรรค์เป็นเนื้อหาสำคัญเพื่อแสดงถึงจิตวิญญาณและรูปแบบเฉพาะของเสี่ยอี้ ทั้งยังสะท้อนถึงรูปแบบการสร้างสรรค์ และวิวัฒนาการร่วมสมัยของจิตวิญญาณเสี่ยอี้ โดยนิทรรศการในครั้งนี้คัดเลือกผลงานที่สร้างสรรค์อย่างยอดเยี่ยมทั้งสิ้น ๖๓ รายการ ทั้งจิตรกรรมและประติมากรรมจากศิลปินที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน ๔๒ คน              โดยนิทรรศการนี้ถือเป็นการเริ่มต้นต้อนรับการเฉลิมฉลอง เนื่องในวาระครบรอบ ๕๐ ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทยที่กำลังจะมาถึงในอีก ๒ ปีข้างหน้าคือ ในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๘


ชื่อเรื่อง                     สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 2)ผู้แต่ง                       สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.916 น254ส                    สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 คลังวิทยาปีที่พิมพ์                    ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ               750 หน้า หัวเรื่อง                     จดหมาย                              รวมเรื่องภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาค 2 ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.58 คำให้การประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  จดหมายเหตุลักษณะวัสดุ              21; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    คำให้การ                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์  อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538


          นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ 9 เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9           นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ส่วนที่เติมสร้อยว่า รัชกาลที่ ๙ เพื่อสื่อให้ประจักษ์ว่าเรือลำนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องจากชื่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมีมาแล้วแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 - 2394)           หัวเรือพระที่นั่งจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ บ่งบอกอิทธิพลศาสนาฮินดูตามคัมภีร์ปุราณะจากอินเดียที่มีต่อประเพณีนิยมและศิลปกรรมไทย พระวิษณุเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสำคัญที่สุด 3 องค์ อีก 2 องค์ คือพระพรหมและพระศิวะ พระวิษณุเป็นเทพเจ้าแห่งการพิทักษ์รักษา พระองค์ถือกำเนิดบนโลกมนุษย์ในรูปร่างต่างๆ เรียกว่า อวตาร เชื่อกันว่าทรงแบ่งภาคลงมากำเนิดเป็นพระราชาได้ในทุกสถานที่และทุกกาลเวลา ในพุทธศตวรรษที่ 19 ราชสำนักไทยได้รับเอาแนวคิดเช่นนี้มาสร้างให้เกิดความเชื่อในหมู่ประชาชนซึ่งเกื้อหนุนสถานภาพของพระมหากษัตริย์ให้สูงส่งประหนึ่งเทพ อย่างไรก็ดี โขนเรือพระที่นั่งลำนี้มิได้แสดงรูปพระรามซึ่งเป็นอวตารของพระวิษณุ ซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์มีสมมติพระนามโดยเรียกตามนามของพระราม แต่ได้แสดงรูปพระวิษณุและลักษณะอันโดดเด่นของพระองค์ เช่น พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือจักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาค หรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น ตามคัมภีร์ปุราณะ ครุฑกับนาคเป็นศัตรูกัน แต่ทั้งสองก็รับใช้พระวิษณุ ครุฑเจ้าแห่งนกทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของท้องฟ้า นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังของน้ำ เมื่อพระวิษณุอยู่เหนือครุฑและนาค ย่อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีพลังในการพิทักษ์ปกป้องโลกทั้งมวล           เรือนารายณ์ทรงสุบรรณสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เมื่อพุทธศักราช 2539 ดำเนินการโดยกองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร           โขนเรือและตัวเรือจำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญาและมีแท่นประทับ เรือมีความยาว 44.30 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.10 เมตร กินน้ำลึก 40 เซนติเมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน และคนเห่เรือ 1 คน   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges



          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ไมโครฟิล์ม กับการอนุรักษ์และสงวนรักษาต้นฉบับทรัพยากรสารสนเทศ” วิทยากร นางสาวเนาวรัตน์ ปัญญางาม ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ และนางสาวงามเพ็ญ ยาวงษ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ประจำเดือน "พฤษภาคม" เชิญพบกับ "ตะข้องเป็ด" หัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาโบราณ เรียนรู้เรื่องเครื่องจักสานที่เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน             โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ได้แก่ "ตะข้องเป็ด" ขนาดความสูง ๓๖ เซนติเมตร ปากกว้าง ๑๕.๕ เซนติเมตร วัสดุทำจากไม้ สมัยรัตนโกสินทร์ ย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ มีลักษณะเป็นภาชนะจักสานจากตอกไม้ไผ่สำหรับใส่สัตว์น้ำ ปากกลมแคบ คอคอด ตัวตะข้องรูปร่างคล้ายตัวเป็ด ก้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีฝาใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปากกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไผ่ไว้เรียกว่า งาแซง นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของข้อง การใช้งานของข้อง การสานข้องเป็ด ความเป็นมาของเครื่องจักสาน การประดิษฐ์เครื่องจักสานของแต่ละภูมิภาค รูปแบบเครื่องจักสานภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้             ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ กับ "ตะข้องเป็ด" หัตถกรรมพื้นบ้านภูมิปัญญาโบราณได้ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร  ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                     อานิสงส์สงกรานต์ (อานิสงส์สงกลาน) สพ.บ.                       465/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา     ประเภทวัสดุ/มีเดีย        คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                20 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                     นิทานอิหร่านราชธรรม (ประชุมปกรณัม) เล่ม 1ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีภาษาอื่นๆเลขหมู่                      891.23  ป523นสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               356 หน้า หัวเรื่อง                     นิทาน – อินเดีย                              นิทาน – อิหร่าน                              วรรณคดีสันสกฤตภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสืออิหร่านราชธรรมเป็นเรื่องของนิทานต่างๆของแขก นิทานพวกนี้เป็นนิทานแขก ในภาแขกเรียนว่ากระไรหาทราบไม่ แต่คนไทยเรียกเรื่องสิบสองเหลี่ยม เข้าใจว่าได้ต้นฉบับมาตั้งแต่เมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี หนังสือเรื่องนี้จะได้จากแขกชาติไหน และได้มาในรัชกาลไหน ข้อนี้ได้แต่คาดคะเนเค้าเงื่อนที่มีอยู่บ้าง คือในตัวนิทานสังเกตดูมักเป็นนิทานครั้งพวกอิหร่านมีอำนาจปกครองทั้งประเทศเปอร์เซียและประเทศอิรัค  



โรงเรียนวัดแแกลงบน จ.ระยอง (เวลา 10.00-11.00 น.) จำนวน 20 คน วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะครู จากโรงเรียนวัดแกลงบน ต.กะเฉด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง จำนวน ๑๗ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้