ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,504 รายการ
องค์ความรู้จากสำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี เรื่อง พระโคตะโม แลพระศิรอะริโย : ร่มโพธิ์แห่งศรัทธาของชาวเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี www.facebook.com
เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ นี้ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ ๑๔๘ ปี วันพิพิธภัณฑ์ไทย โดยการเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ให้เข้าชมเป็นกรณีพิเศษ โดยงดการเก็บค่าเข้าชม ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๐๐ น.
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนำผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. บรรยายนำชมโดยวิทยากรจากทีมงานผู้จัดนิทรรศการฯ ทั้งนักโบราณคดี ภัณฑารักษ์และนักวิชาการอิสระ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าชมและฟังการบรรยายได้อย่างทั่วถึง จึงจัดการเข้าชมเป็นสองรอบคือ รอบแรกเวลา ๑๓.๓๐ น. (ลงทะเบียน เวลา ๑๓.๐๐ น.) และรอบที่สองเวลา ๑๔.๔๕ น. (ลงทะเบียนเวลา ๑๔.๐๐ น.) รอบละ ๓๐ คนเท่านั้น ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่หน้าห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๖.๓๐ น. วันพุธ - วันอาทิตย์
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทางผู้จัดฯ มีของที่ระลึกแจกสำหรับผู้ที่แต่งกายเข้ากับบรรยากาศของนิทรรศการพิเศษ
วันเข้าพรรษาคำว่า พรรษา แปลว่า ฤดูฝน ปีหนึ่งก็ผ่านฤดูฝนครั้งหนึ่ง คนที่อยู่มาเท่านั้นฝนเท่านี้ฝนก็คืออยู่มาเท่านั้นปี ดังนั้น ในที่ทั่วๆ ไป จึงแปลพรรษากันว่า ปีคำว่า เข้าพรรษา ก็คือ เข้าฤดูฝน คือถึงเวลาที่จะต้องหยุดการเดินทางในฤดูฝน พักอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเป็นประจำ โดยไม่ไปแรมคืนที่อื่น เพราะเหตุนี้ จึงมีคำเกิดขึ้นอีกคำหนึ่งคือคำว่า จำพรรษาคำว่า จำพรรษา ก็คือ อยู่วัดประจำในฤดูฝน หมายความว่า พระสงฆ์จะต้องอยู่ในวัดที่ตนอธิษฐานพรรษาตลอดสามเดือนในฤดูฝน จะไปแรมคืนที่อื่นไม่ได้ นอกจากมีเหตุจำเป็นคำว่า วันเข้าพรรษา ก็คือ วันที่พระสงฆ์ทำพิธีอธิษฐานพรรษา ซึ่งเป็นวันแรกของการจำพรรษานั่นเอง“อธิษฐาน” แปลว่า ตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไป “อธิษฐานพรรษา” ก็คือ ตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไปว่าจะอยู่ประจำ ณ ที่นั้นตลอด ๓ เดือนในฤดูฝนเอกสารอ้างอิง วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)เข้าถึงได้โดย https://www.watnyanaves.net/th/book-reading/542/9
วันนี้ (วันพุธที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๕) เวลา ๐๙.๑๙ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร ร่วมสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๖ เป็นปฐมฤกษ์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมพิเศษ สักการะพระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน “มงคลพุทธคุณ” โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นประธาน พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปประจำวันอีก ๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน ๘ องค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จำนวน ๑ องค์ ซึ่งล้วนมีประวัติความเป็นมายาวนาน และกอปรด้วยพุทธศิลป์อันงดงาม มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันพุธที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ (วันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ถึงวันจันทร์ที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๙.๓๐ น.) ทั้งนี้ พระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ประกอบด้วย
๑. พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย - ล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑
๒. พระพุทธรูปปางถวายเนตร พระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
๓. พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พระพุทธรูปประจำวันจันทร์ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒
๔. พระพุทธรูปไสยาสน์ พระพุทธรูปประจำวันอังคาร ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐
๕. พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระพุทธรูปประจำวันพุธ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒
๖. พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ พระพุทธรูปประจำวันพุธ กลางคืน (พระพุทธรูปบูชาแทนพระราหู) ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
๗. พระพุทธสิหิงค์จำลอง (ปางสมาธิ) พระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕
๘. พระพุทธรูปปางรำพึง พระพุทธรูปประจำวันศุกร์ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑
๙. พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปประจำวันเสาร์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
๑๐. พระหายโศกปางสมาธิเพชร (พระพุทธรูปบูชาแทนพระเกตุ) ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 149/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/6ช เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทิพย์ นรพัลลภ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2514 ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 132 หน้า สาระสังเขป : เสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทิพย์ นรพัลลภ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2514 เนื้อหาในหนังสือได้กล่าวถึงจดหมายนายทรงอานุภาพ เล่าเรื่องการเสด็จประพาสต้นในจดหมายทั้ง 8 ฉบับ ถึงพ่อประดิษฐ์ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม ร.ศ.123๖ ณ บางปะอิน วัดโชติทายการาม คลองดำเนินสะดวก เมืองราชบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี บ้านปากไห่ จนถึง วันที่ 23 ตุลาคม ร.ศ.131 ณ บ้านถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ
๑๘ มีนาคม วันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๙ เจ้าอินทยงยศโชติ เป็นโอรสของเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ประสูติแต่เจ้าแม่พิมพา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยหมวก หรือเจ้าน้อยอินทยศ ได้ช่วยราชการในเมืองลำพูนตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยของเจ้าเหมพินทุไพจิตร เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๘ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชทานสัญญาบัตรแต่งตั้งเป็นเจ้าอุปราชนครลำพูนเลื่อนเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่ “เจ้าอินทยงค์ยศโชติ์ วรโฆษกิตติโสภณ วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ์ ตทรรคเจดีย์บูชากร ราษฎรธุระธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี เจ้านครลำพูน” หลังจากเจ้าเหมพินทุไพจิตรซึ่งถึงแก่พิราลัยเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙ เจ้าอินทยงยศโชติ ถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๙ เป็นเวลา ๑๕ ปี เป็นบิดาในเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนงองค์ที่ ๑๐ องค์สุดท้ายของนครลำพูน อันประสูติแต่แม่เจ้ารถแก้ว จากราชสกุลอิศรเสนา เจ้าอินทยงยศโชติ ขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้านครลำพูนนั้น ได้สนับสนุนการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ อย่างเช่นด้านการคมนาคมและการสื่อสาร ด้านทิศเหนือได้สร้างถนนตั้งแต่ประตูช้างสีถึงแดนเมือง ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างถนนจากเมืองลำพูนไปยังอ.สารภี จ.เชียงใหม่ และทางทิศใต้ได้ตัดถนนจากเมืองลำพูนไปสู่แขวงปากบ่อง( อ.ป่าซางในปัจจุบัน) ขยายถนนภายในเมืองลำพูนให้มีความกว้างมากขึ้นเพื่อรองรับการสัญจรของประชาชนภายในเมือง นอกจากนี้ เจ้าอินทยงยศโชติฯ ยังได้ถวายที่ดินและออกทรัพย์ส่วนตัวสำหรับสร้างอาคารที่ทำการไปรษณีย์ขึ้นในเมืองลำพูน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ เพื่อประโยชน์ในทางราชการอีกด้วยอ้างอิงพิเชษฐ์ ตันตินามชัย. เจ้าหลวงลำพูน. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๒๕๕๘.วรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช. เจ้าหลวงลำพูน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๓.
เลขทะเบียน : นพ.บ.401/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 76 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146 (58-70) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สาลากริวิชาสูตร--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ชื่อผู้แต่ง : ชิน อยู่ดี ปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : การพิมพ์พระนคร จำนวนหน้า : 274 หน้าสาระสังเขป : สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือระยะเวลาของบริเวณหนึ่ง ประเทศหนึ่ง หรือของเผ่าพันธุ์หนึ่งเมื่อยังไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร และสิ้นสุดลงเมื่อมนุษย์ค้นคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ ด้วยเหตุที่แต่ละประเทศมีตัวอักษรใช้ไม่พร้อมกัน การสิ้นสุดของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และการเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน ในหนังสือเล่มนี้ จึงมีเนื้อหาในแต่ละสมัย ในแต่ละยุค ในช่วงยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์
เทวดานพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งปวง พระอิศวรทรงใช้ราชสีห์ ๖ ตัว ป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีแดง พรมด้วยน้ำอมฤต ลักษณะเป็นบุรุษมีผิวกาย สีแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร สัญลักษณ์เลข ๑ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖