ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,502 รายการ


ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ.                                  161/18ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           46 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ประเพณีตั้งธรรมหลวงในเดือนยี่เป็ง   เดือนยี่เป็งหรือวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของภาคเหนือ (เนื่องด้วยทางภาคเหนือ นับเดือนมากกว่าทางภาคกลางไป ๒ เดือน ดังนั้น เดือน ๑๒ ของภาคกลาง จึงเท่ากับเดือนยี่ของภาคเหนือ) จะมีประเพณีที่สำคัญเช่น การจุดประทีปและแขวนโคมบูชาพระรัตนตรัยตามพระอารามและอาคารบ้านเรือน การลอยประทีบในแม่น้ำเพื่อบูชาพระอุปคุต หรือ การลอยโคมเพื่อบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วยังมีกประเพณีที่สำคัญคือ ประเพณีตั้งธรรมหลวง หรือเทศมหาชาติ หมายถึงการฟังพระธรรรมเทศนาเรื่องใหญ่หรือเรื่องสำคัญ  วันเพ็ญเดือน ๑๒ หรือในภาคเหนือเรียกว่าเดือนยี่เป็ง เนื้อหาของพระธรรมเทศนาที่นำมาเทศนั้นมักใช้เรื่องของพระเวสสันดร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ โดยจะเริ่มเทศน์ตั้งแต่เช้าตรู่ มีความเชื่อว่าหากผู้ใดได้ฟังจนจบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปพบศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรย เมื่อจบกัณฑ์หนึ่งเจ้าภาพแต่ละกัณฑ์ก็จะถวายกัณฑ์เทศน์แบบนี้เรื่อยไปจนจบ ส่วนการตกแต่งสถานที่จะจัดก่อนวันที่เทศนืหนึ่งวัน เรียกว่า “วันดา” ก็จะมีการนำสิ่งของต่างๆมาจัดเตรียมสำหรับเป็นเครื่องไทยธรรม สร้างประตูป่า ประดับต้นกล้วย อ้อย และตุง หรือธงสีต่างๆในบริเวณวัด นอกจากนี้โปรดสังเกตุว่าธรรมาสน์แต่ละวัดมีการใช้ผ้าม่านประดับตกแต่งซึ่งเป็นผ้าโบราณที่มีฝีมือการปักอย่างวิจิตรงดงาม ขึงกั้นทั้ง ๔ ด้านของธรรมาสน์ แต่ละด้านปักเป็นรูปเทวดาทรงเครื่อง ด้วยวัสดุต่างๆ เช่น แล่งโลหะ ไหมสีต่างๆ และกระจกจืน  ในจังหวัดลำพูนเองมีการนำผ้าม่านมาใช้ประดับธรรมาสน์ในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่นในประเพณีตั้งธรรมหลวงหรือเทศน์มหาชาติในครั้งนี้ด้วย  .................................................. ที่มา  มณี พยอมยงค์. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๓๗.  สงวน โชติสุขรัตน์. ประเพณีไทยภาคเหนือ.  พิมพ์ครั้งที่ ๓.  นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๕๓.


กฏหมายลักษณะต่าง ๆ ชบ.ส. ๙๔ เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.31/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง         ท เลียงพิบูลย์ ชื่อเรื่อง           หนังสือชุด ทำดีได้ดี – ทำชั่วได้ชั่ว  เรื่อง คนบ้านนอก พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     พระนคร สำนักพิมพ์       รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์          2505 จำนวนหน้า      52 หน้า                    หนังสือชุด ทำดีได้ดี – ทำชั่วได้ชั่ว  เรื่อง คนบ้านนอก  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานอุปสมบท นายทวี แซ่เลี้ยว  ณ  พัทธสีมาวัดมงคลใต้  อำเภอมกดาหาร  จังหวัดนครพนม  วันที่  17  มิถุนายน  พ.ศ. 2505



+++++กู่โพนวิจ+++++ ----- กู่โพนวิจ ตั้งอยู่บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ไปทางทิศเหนือประมาณ ๕๐๐ เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง หน้า ๙ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๓๖ ตารางวา ----- ชื่อ “กู่โพนวิจ” มาจากการพบหลักฐานส่วนฐานรูปเคารพสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณเนินโบราณสถานจำนวนหลายชิ้น ประกอบกับพบชิ้นส่วนรางน้ำมนต์ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฐานส้วม จึงเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า “โพนเว็จ” หรือ “โพนวิจ” ----- กู่โพนวิจ ลักษณะเป็นอาคาร ๕ หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูงจากพื้นดินประมาณ ๒ เมตร ก่อเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย ไม่พบบันไดทางขึ้นสันนิษฐานว่าเดิมอาจใช้บันไดไม้ภายหลังได้ผุพังสลายไป เพราะมีร่องรอยของหลุมเสาบนฐานศิลาแลง ซึ่งน่าจะเป็นหลุมเสาไม้ แนวฐานด้านทิศเหนือหายไปเนื่องจากถูกขุดเอาศิลาแลงไปสร้างวัดประจำหมู่บ้านในสมัยหลัง พื้นบนฐานเป็นทรายอัดแน่นปูด้วยศิลาแลง บนฐานศิลาแลงก่อเป็นฐานอาคารสูงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร จำนวน ๕ ฐาน สันนิษฐานว่าเป็นฐานรองรับอาคารเครื่องไม้ ด้านหน้าทิศตะวันออกของฐานอาคาร มีอาคารสองหลังตั้งอยู่ ลักษณะเป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมก่อผนังทึบทั้ง ๔ ด้าน อาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือถูกรื้อจนเหลือเพียงแนวหินชั้นเดียว ส่วนอาคารทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์ ภายในเป็นดินอัดแน่น สันนิษฐานว่าเป็นอาคารเครื่องไม้ที่มีฐานสูง ใช้เป็นบรรณาลัยประจำศาสนสถาน ----- จากการขุดแต่งโบราณสถานและขุดตรวจชั้นดินทางโบราณคดี ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำให้ทราบว่ากู่โพนวิจสร้างขึ้นบนพื้นที่ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย เนื่องจากพบโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์และภาชนะบรรจุศพขนาดใหญ่ ซึ่งสัมพันธ์กับประเพณีการฝังศพครั้งที่ ๒ ในภาชนะดินเผา ที่มักพบในแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ ต่อมาเมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จึงมีการสร้างศาสนสถานเนื่องในศาสนาฮินดูขึ้น โดยพิจารณาจากโบราณวัตถุที่พบ ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะพระนารายณ์และพระศิวะ เนื่องจากพบท่อนพระกรและพระหัตถ์ของพระนารายณ์ในขนาดต่างๆกัน และจากการขุดแต่งยังพบแท่นโยนีมีช่องเดือย เป็นรูป ๘ เหลี่ยม ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะ นอกจากนี้ยังพบทวารบาลรูปมหากาล ซึ่งมักพบในเทวสถานของพระศิวะ ----------------------------------------------------- อ้างอิง สำนักงานศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี. โบราณสถาน กู่โพนวิจ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.ป. (อัดสำเนา) ข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ  


บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ระหว่างปี 2535-2539  โดยพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน (จากด้านซ้าย) ประกอบด้วย  - อาคารสำนักงานที่ดินจังหวัดน่าน  - อาคารหอประชุมอนุมัติราชกิจ (รื้อออกในราวปีพ.ศ.2540) - อาคารสำนักงานประถมศึกษาอำเภอ (รื้อออกในราวปีพ.ศ.2539) - อาคารสำนักงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูน่าน (บนขวา)  - อาคารสำนักงานอาสารักษาดินแดนอำเภอเมืองน่าน  - อาคารสำนักงานพัฒนาชุมชน  - อำเภอเมืองน่าน  - อาคารสำนักงานกาชาดจังหวัดน่าน (ด้านล่างของภาพ รื้อออกในราวปี 2548)


กรมศิลปากร.  ประเพณีรับราชทูต.   กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526.         กล่าวถึงพิธีการต้อนรับทูตในสมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


          พระพุทธรูปปางสมาธิ พบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           พระพุทธรูปปางสมาธิสำริด พระรัศมีเป็นลูกแก้ว อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระกรรณยาว พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรเรียบห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรบางแนบพระวรกาย ชายสังฆาฏิซ้อนบนพระอังสาซ้ายปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ เห็นขอบสบงเป็นเส้นโค้งบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ซ้ายวางทับพระหัตถ์ขวาประสานกันบนพระเพลาในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบ โดยพระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย เห็นฝ่าพระบาทขวา ปรากฏชายผ้าพับซ้อนด้านหน้าพระเพลาใต้ข้อพระบาทขวา           พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ มีรูปแบบของชายสังฆาฏิที่ซ้อนบนพระอังสาซ้าย และชายผ้าพับซ้อนด้านหน้าพระเพลา คล้ายคลึงกันกับที่ปรากฏบนพระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ ซึ่งขุดพบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ แห่งนี้ และโบราณสถานแห่งอื่น ๆ ในเมืองโบราณอู่ทอง ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข ๕ และโบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ทั้งนี้ลักษณะชายผ้าที่ห้อยลงมาด้านหน้าพระเพลา อาจคลี่คลายมาจากชายผ้าของพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะอินเดียแบบปาละ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ หรือประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) โดยถือเป็นรูปแบบเฉพาะ ที่นิยมและปรากฏในพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง           พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้พบร่วมกับโบราณวัตถุอื่น ๆ ได้แก่ ภาชนะดินเผา แผ่นตะกั่วรูปพระโพธิสัตว์ แผ่นตะกั่วรูปสตรี พระพิมพ์ดินเผาปิดทองคำเปลว และพระพิมพ์ดินเผามีจารึกระบุนามผู้สร้าง ซึ่งสามารถกำหนดอายุจากจารึกและรูปแบบศิลปกรรมได้ว่า มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นพระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้จึงควรกำหนดอายุในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละดังที่กล่าวถึงข้างต้น--------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง สุพรรณบุรี --------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขา ศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.



เลขทะเบียน: กจ.บ.4/1-7:1ก-7กชื่อเรื่อง: พระสงฺคิณี พระมหาปฏฺฐานปกรณาภิธมฺมข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูกจำนวนหน้า: 386 หน้า


ตราดินเผามีจารึก“ศรี” และสัญลักษณ์โอม พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          ตราดินเผารูปกลม มีรอยประทับเป็นจารึกตัวอักษรและสัญลักษณ์ขนาดใหญ่เกือบเต็มพื้นที่ ปัจจุบันนักวิชาการมีความเห็นเกี่ยวกับตัวอักษรที่ปรากฏเหมือนกัน ว่าเป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า “ศรี” แต่มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปเรื่องรูปแบบตัวอักษรและการกำหนดอายุว่า เป็นอักษรปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ (ประมาณ ๑,๓๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) หรือเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ด้านบนของตัวอักษร มีสัญลักษณ์เป็นขีดสองขีดและมีจุดกลมด้านบน ซึ่งนักวิชาการบางท่านเสนอว่าเป็นสัญลักษณ์ “โอม”           คำว่า “ศรี” หมายถึง สิริ ดี งาม ประเสริฐ เป็นคำที่มีความเป็นมงคลที่พบประกอบอยู่กับจารึกในสมัยทวารวดีจำนวนมาก ที่สำคัญ เช่น เหรียญเงินมีจารึก “ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” แปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี” หรือ “พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ” พบจากเมืองโบราณสมัยทวารวดีหลายแห่ง เช่น เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม เป็นต้น นอกจากนี้ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยังพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาทรงหม้อน้ำ มีจารึกคำว่า “ศรี” บริเวณก้นภาชนะ จากการขุดแต่งโบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะสำหรับใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วน “โอม” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นมงคลเช่นเดียวกับคำว่า “ศรี”          ตราดินเผาชิ้นนี้ อาจเป็นตราดินเผาที่พ่อค้า นักเดินทาง หรือนักบวชชาวอินเดีย นำติดตัวเข้ามาในดินแดนแถบนี้เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร อาจเกี่ยวข้องกับด้านการค้า การศาสนา หรือเป็นเครื่องรางเพื่อความเป็นสิริมงคล หรืออาจเป็นตราดินเผาที่ผลิตขึ้นโดยคนท้องถิ่นสมัยทวารวดี ที่ผลิตตราดินเผาขึ้นใช้เองในท้องถิ่นโดยรับอิทธิพลด้านภาษาและคติความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์มงคลจากชาวอินเดียก็เป็นได้ -----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔). กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙. เด่นดาว ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพ : อรุณการ พิมพ์, ๒๕๕๙. วิภาดา อ่อนวิมล. เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๖. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑. อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ. การศึกษาความหมายและรูปแบบตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสต รมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗.


ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์) สพ.บ.                                  415/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           66 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี