ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,502 รายการ


พระคง พระคง เป็นหนึ่งในพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของเมืองลำพูน วัสดุเป็นดินเผา รูปทรงมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัย พระเศียรโล้น ไม่มีพระเกตุมาลา ครองจีวรห่มคลุมเรียบบางแนบพระวรกาย  ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานมีกลีบบัวที่คลี่คลายเป็นลายจุดไข่ปลาขนาดเล็ก รองรับด้วยฐานเรียบอีกชั้นหนึ่ง รอบพระวรกายมีประภาวลี หรือรัศมีที่เป็นเส้นรอบพระวรกาย เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มปรกโพธิ์ ลักษณะรูปแบบของพระคง เป็นพระพิมพ์ขัดสมาธิเพชรที่อาจได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะพุกามที่มีอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียแบบปาละและคุปตะปรากฏในงานศิลปกรรม เช่น พระพุทธรูป และพระพิมพ์ชนิดอื่นๆในวัฒนธรรมหริภุญไชย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ พระคง ตามประวัดิที่กล่าวถึงส่วนใหญ่ต่างกล่าวว่า พบที่วัดพระคงฤๅษี อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน นอกกำแพงเมืองลำพูนไปทางทิศเหนือ ตามตำนานที่เขียนขึ้นในสมัยหลัง กล่าวถึงการสร้างอารามของพระนางจามเทวี คือวัดอาพัทธาราม ด้านทิศเหนือของเมืองหริภุญไชย แต่จากสภาพปัจจุบันของวัดได้รับการบูรณะใหม่แล้ว ในบริเวณวัดแห่งนี้เคยมีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผาเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ที่บริเวณฐานเจดีย์ประธาน และปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พบเป็นจำนวนมากที่บริเวณหลังวัด นอกจากการพบพระคงในบริเวณวัดนี้แล้ว ยังมีการขุดพบในแหล่งโบราณสถานเวียงกุมกาม วัดกานโถมหรือวัดช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ราว พ.ศ.๒๕๒๗  ร่วมกับพระพิมพ์ศิลปะหริภุญไชยรูปแบบอื่นๆ อ้างอิง บัณฑิต  เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.ผาสุข อินทราวุธ. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาร่องรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานโบราณคดีในเขต จ.ลำพูน ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๖.                                             สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗           อัศวี ศรจิตติ. “พระพิมพ์สกุลลำพูน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๑.


เลขทะเบียน : นพ.บ.178/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 101 (80-85) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ปพฺพชฺชานิสํสกถา (ปพฺพชฺชานิสํสงฺข)  ชบ.บ.53/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                สลากริวิชาสุตฺต (สลากวิชาสูตร) สพ.บ.                                  319/1ก ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                               พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 57.7 ซม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                            บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.271/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 82 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117  (232-239) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ภิกฺขุปาติโมกฺข(ปาฬีปาฎิโมกข์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         นายปอล เปลลิโยต์ (Paul Pelliot) นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาดําเนินการขุดค้นทางโบราณคดีร่วมกับสมเด็จฯ กรมพระยาดํารง ราชานุภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้ให้ข้อสันนิษฐานเป็นบุคคลแรกว่าเจ้าของ วัฒนธรรมทวารวดีเป็นชาวมอญ ทําให้ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (G. Cedes) ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับชนชาติมอญในอินโดจีน ได้ ทําการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งค้นพบหลักฐานจารึก ภาษามอญโบราณ ที่วัดโพธิ์ (ร้าง) จังหวัดนครปฐม อันเป็นจารึกภาษามอญ ที่เก่าที่สุดเท่าที่สํารวจพบในปัจจุบัน มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ จึงมี ความมั่นใจและสรุปว่า ชนชาติมอญที่เคยมีความสําคัญทางด้านประวัติ ศาสตร์พม่านั้น น่าจะเป็นผู้เผยแผ่วัฒนธรรมอินเดียทางตอนกลางของ อุษาคเนย์ รวมถึง ศาสตราจารย์ปิแอร์ ดูปองต์ (Pierre Dupont) ภัณฑารักษ์ และนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ผู้ทําการขุดค้นโบราณสถานสําคัญสมัย ทวารวดีที่นครปฐม ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๓ จํานวน ๓ แห่งคือ เนิน พระ วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลประโทน ก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน จึงนําเสนอ ผลการศึกษาค้นคว้าเป็นวิทยานิพนธ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และตีพิมพ์เผยแพร่ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ในชื่อเรื่อง โบราณคดีมอญแห่งอาณาจักรทวารวดี (L'Archéologie Mône de Dvâravatî)                    นักวิชาการรุ่นหลังบางท่านให้ความเห็นว่า แม้ประชาชนชาวทวารวดี ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย จะใช้ภาษามอญโบราณควบคู่ไปกับภาษาบาลีและสันสกฤต แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวมอญที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศ พม่าตอนล่างหรือไม่ เนื่องจากรัฐทวารวดีมีความเก่าแก่กว่ารัฐมอญในพม่า และมีพัฒนาการมาจากชุมชนโบราณที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณภาคกลาง ตอนล่างของประเทศไทยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอ้างถึงคําอธิบาย ของนักภาษาศาสตร์ว่า กลุ่มภาษามอญ-เขมรที่เป็นสาขาหนึ่งของภาษา ตระกูลออสโตรเอเชียติคนั้น เป็นภาษาเก่าแก่ของชุมชนในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ จึงพบว่ามีการใช้กันอยู่ในกลุ่มชนหลายกลุ่มในภูมิภาคนี้ รวมถึง กลุ่มชนในรัฐทวารวดีด้วย อย่างไรก็ดีนักวิชาการบางท่านกลับเสนอแนวคิด อีกประเด็นหนึ่งว่า วัฒนธรรมทวารวดีอาจเป็นอารยธรรมระยะต้นของกลุ่ม ชนชาวมอญ ที่ขยายตัวเข้าไปยังตอนกลางของประเทศพม่า ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ เรื่องของกลุ่มชนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมทวารวดีจึง ยังไม่เป็นที่ยุติในปัจจุบัน  


ชื่อผู้แต่ง         ภาณุรังษีสว่างวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้า ชื่อเรื่อง          ชีวิวัฒน์เที่ยวที่ต่าง ๆ ภาค ๗ ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๔ สถานที่พิมพ์    - สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๑ จำนวนหน้า      ๑๔๕ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแจ่ม ยงใจยุทธ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๑                       หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงคุณความดีแห่งการท่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ และรายงานระยะทางที่เสด็จไปยังหัวเมืองชายทะเลตะวันตก บริเวณอ่าวไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗


          วันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๖.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจราชการโบราณสถาน ณ วัดวรเชษฐาราม พระราชวังโบราณ วัดไชยวัฒนาราม ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา นายสมพจน์ สุขาบูลย์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ ทั้งนี้ท่านอธิบดีได้ให้แนวทาง ทิศทางในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ร่วมกัน



ชื่อเรื่อง                     หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหารผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   พระพุทธศาสนาเลขหมู่                      294.31218 ห313สถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์                 พิมพ์สวยปีที่พิมพ์                    2550ลักษณะวัสดุ               206 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                     วัดป่าเลไลยก์วรวิหารภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก             วัดป่าเลไลยก์ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง คือองค์หลวงพ่อโตที่บรรพบุรุษได้สร้างและช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายชั่วอายุ


กว่า ๒ ปี ท่ามกลางสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐได้ประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคออกมาหลายฉบับเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อของคนหมู่มาก การปิดสถานที่ที่มีการชุมนุมของคนเช่นพิพิธภัณฑ์เป็นแนวทางหนึ่งที่กรุงเทพมหานครได้บังคับใช้ ส่งผลให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสังกัดสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานครต้องปิดให้บริการรวมระยะเวลานานเกือบ ๔ เดือน      สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ปรับแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้สื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมโครงการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ โครงการปรับปรุงพัฒนาทางกายภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการหลายโครงการที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาหลายปีได้แล้วเสร็จ ได้แก่ นิทรรศการถาวรภายในหมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ถือเป็นความสำเร็จอีกระดับหนึ่งของการทำงานในปีงบประมาณนี้     สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมุ่งหวังว่า “รายงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการตรวจสอบความก้าวหน้าและสืบค้นข้อมูลการดำเนินงานของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในรอบปีที่ผ่านมาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์


สวัสดิ์  จันทนี, นาวาเอก.  นิทานชาวไร่.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, 2515.      นิทานชาวไร่เป็นการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ที่สอดแทรกอารมณ์ขันไว้บ้างในบางตอนเพื่อให้การอ่านมีอรรถรสมากยิ่งขึ้นที่ไม่เหมือนกับอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เล่าไปเรื่อย ๆ แต่ก็ชวนให้อ่านและอ่านแล้วสนุกชวนติดตามยิ่งนัก ซึ่งจะขอยกเป็นตัวมาอ่านพอเป็นสังเขป เช่น การใช้คำของคนโบราณใช้พูดกันให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ เช่น “ไข้บิดหัวลูก” ซึ่งเป็นโรคบิดที่เป็นแก่หญิงมีครรภ์แก่จวนจะคลอด  “อากรตือ” คือ คนขายหมู  “เสียโป” คือ ข้าวสุกกับเป็ดย่าง การจะฆ่าช้างที่อาละวาดสักตัวจะต้องใช้ยัดเข้าในกล้วยให้กิน มีเรื่องของคะนังที่พระพุทธเจ้าหลวงได้นำตัวไปจากปักษ์ใต้ที่มีตัวดำเจือแดงผมยาวเป็นสปริง เป็นคนชอบสีแดง โชคดีเคยได้เชิญธงนำเสด็จในหลวงรัชกาชลที่ 6 แต่ต้องตายด้วยโรคผู้หญิง ในกดายุค หรือสัตยยุคนั้นพระนารายณ์ อวตารมา 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เป็นปลา ครั้งที่ 2 เป็นเต่า ครั้งที่ 3 เป็นหมู และครั้งที่ 4 เป็น นรสิงห์ และมีเรื่องราวอื่น ๆ อีกมากมาย


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.20 จันทโครพประเภทวัสดุ/มีเดีย      สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              25; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    วรรณคดี           ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค.2538 


        ชุดองค์ความรู้พร้อมรับประทาน ในหัวข้อ : “กูฑุเขาน้อย” ร่องรอยชุมชนคนสงขลาก่อนหัวเขาแดง (ตอนที่ ๒) •••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••         ในตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงหลักฐานศิลปกรรมจากโบราณสถานภูเขาน้อย อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พบว่าหลายชิ้นสัมพันธ์กับศิลปะอินเดียที่มีอายุช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา สำหรับตอนนี้ จะเน้นที่โบราณวัตถุสำคัญของเจดีย์เขาน้อย คือ กูฑุ มาร่วมกันหาคำตอบว่ากูฑุคืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการกำหนดอายุ การสันนิษฐานสภาพดั้งเดิมของเจดีย์เขาน้อย และบ่งบอกถึงชุมชนคนสงขลาก่อนการก่อตั้งเมืองที่หัวเขาแดงอย่างไรบ้าง ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••• กูฑุ         กูฑุ (Kudu) เป็นภาษาทมิฬ ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า จันทรศาลา (Chandraśālā) หรือ ควากษะ (Gvākṣa) เป็นศัพท์ทางสถาปัตยกรรม หมายถึงซุ้ม หรือหน้าต่างทรงวงโค้งรูปเกือกม้า นิยมใช้ประดับหลังคาลาดหรือเป็นลายประดับในสถาปัตยกรรมอินเดีย ตรงกลางของกูฑุมักสลักใบหน้ารูปบุคคลโผล่ออกมา  หน้าที่การใช้งาน ตำแหน่งที่ปรากฏ         กูฑุ เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความเป็น “ปราสาท” หรือเรือนชั้นซ้อน ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมฐานันดรสูง สงวนการสร้างหรือใช้งานสำหรับเทพเจ้าหรือกษัตริย์เท่านั้น จึงพิเศษมากกว่าอาคารโดยทั่วไป           ตำแหน่งที่ประดับกูฑุมักพบได้บนชั้นหลังคา หรือประดับบนฐานของเทวาลัยที่ตกแต่งให้เหมือนอาคารจำลอง กูฑุเปรียบได้กับการจำลองหน้าต่างของอาคารชั้นบน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถขึ้นไปได้จริงเพราะข้อจำกัดทางโครงสร้าง จึงชดเชยด้วยการทำช่องขนาดเล็ก และมีใบหน้าบุคคลโผล่ออกมาเพื่อแสดงแทนหน้าต่างและคนที่ขึ้นไปชั้นบนได้         ลวดลายกูฑุพัฒนามาจากหลังคาเครื่องไม้ในศิลปะอินเดียโบราณ พุทธศตวรรษที่ ๓-๖ หรือราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบตัวอย่างบนภาพสลักที่สถูปภารหุต ถ้ำโลมัสฤๅษี (Lomas Rishi) ถ้ำภาชา นำมาใช้ประดับเรื่อยมาจนถึงศิลปะคุปตะ-หลังคุปตะ พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑ ดังพบที่ถ้ำอชันตา หมายเลข ๑๙ เป็นต้น ต่อมาการสร้างกูฑุแพร่มาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในศิลปะเขมรก่อนเมืองพระนคร ศิลปะชวา และศิลปะจาม           สำหรับในประเทศไทย พบหลักฐานกูฑุในวัฒนธรรมทวารวดี เช่น กูฑุพบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ภาพแกะสลักกูฑุบนฐานศิลา ได้จากเมืองนครปฐม จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ส่วนในวัฒนธรรมศรีวิชัย พบร่องรอยการทำกูฑุบนพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กูฑุเขาน้อย         ในจังหวัดสงขลา พบหลักฐานกูฑุจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่โบราณสถานเขาน้อย อำเภอสิงหนคร โดยภาพถ่ายก่อนการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ แสดงตำแหน่งของกูฑุ (ชิ้นส่วนกโปตะ) ถูกค้นพบบริเวณกลางฐานชั้นบนของเจดีย์ ชิ้นหนึ่งตั้งอยู่บนเสา อีกชิ้นหนึ่งอยู่ในกองอิฐ ซึ่งน่าจะเคยเป็นฐานของสถูปประธาน และมีการค้นพบกูฑุในสภาพสมบูรณ์อีกจำนวน ๒ ชิ้น นับเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่แสดงความสัมพันธ์กับศิลปะอินเดีย สามารถกำหนดอายุได้ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖          - กูฑุชิ้นที่ ๑ แกะสลักจากหินตะกอน ลักษณะเป็นวงโค้งรูปเกือกม้า ยอดสอบเข้า ปลายตัด ปลายฐานทั้งสองข้างแกะสลักคล้ายลายใบไม้ หรือมกรคายอุบะ ขอบด้านในสลักให้มีวงโค้งออก ๔ วง ตรงกลางสลักรูปใบหน้าบุคคล ผมหวีเสยขึ้น คิ้วโค้ง จมูกเป็นสัน ปากอมยิ้ม สวมตุ้มหูขนาดใหญ่          - กูฑุชิ้นที่ ๒ แกะสลักจากหินทรายสีแดง มีลักษณะคล้ายกับชิ้นแรกแทบทุกประการ คือ เป็นวงโค้งรูปเกือกม้า ยอดสอบเข้า ปลายตัด ปลายฐานทั้งสองข้างแกะสลักคล้ายลายใบไม้ หรือมกรคายอุบะ ขอบด้านในมีวงโค้งออก ๔ วง ตรงกลางสลักรูปใบหน้าบุคคล แต่มีข้อแตกต่างจากชิ้นแรก คือ ใบหน้าชำรุดมีรอยแตก ผมเป็นลอนหนา คิ้วโค้ง ปากอมยิ้ม สวมตุ้มหูขนาดใหญ่          ลักษณะของกูฑุทั้งสองชิ้น ค่อนข้างกลม ยังคงรูปทรงเกือกม้า ส่วนปลายคล้ายลายใบไม้ม้วน อาจคลี่คลายจากลายมกรคายอุบะ เทียบเคียงได้กับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและวกาฏกะ (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑) อย่างไรก็ตาม รูปแบบการทำผมหวีเสยกลับไม่เป็นที่นิยมในศิลปะอินเดีย แต่เป็นงานท้องถิ่นเข้ามาผสมผสานแล้ว จึงกำหนดอายุในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา          ข้อสังเกตอีกประการ คือ ลักษณะของหินที่นำมาแกะสลักเป็นกูฑุ เป็นหินประเภทเดียวกับที่พบบนภูเขาในอำเภอสิงหนคร เช่น เขาแดง เขาน้อย ซึ่งเป็นหินทรายสีแดง หรือหินตะกอน จึงเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่ากูฑุที่พบที่ภูเขาน้อย สร้างขึ้นโดยช่างท้องถิ่น ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น ทั้งนี้ต้องทำการศึกษาในรายละเอียดเชิงวิชาการอีกครั้ง กูฑุเขาน้อย (กโปตะ)         นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนของกูฑุอีกสองชิ้นจากภูเขาน้อย แต่มีลักษณะต่างกัน คือ แกะสลักค่อนข้างเรียบง่ายกว่า และอยู่ติดกับแท่งหินยาว ที่มีหน้าตัดด้านข้างลาดลง สันนิษฐานได้ว่าหากอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จะประกอบกันเป็นแถบหลังคาลาด มีกูฑุเรียงต่อกันเป็นแนวยาว เป็นส่วนประดับสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “กโปตะ” โดยทั่วไป มักประดับฐานหรือชั้นหลังคา กูฑุที่ปรากฏบนแถบหลังคาลาดจึงเป็นเสมือนช่องหน้าต่างบนอาคาร และทำให้องค์ประกอบที่ประดับกโปตะนั้นกลายเป็นปราสาทหรืออาคารเรือนชั้นซ้อน ข้อสันนิษฐานจากศิลปกรรมเจดีย์เขาน้อย         การพบกูฑุ และกโปตะ ซึ่งทั้งสองมีความหมายแทนหน้าต่างของอาคารซ้อนชั้น จึงทำให้สันนิษฐานได้ไปอีกว่า ศาสนสถานบนภูเขาน้อยสร้างตามคติ “ปราสาท” หรืออาคารแบบเรือนชั้นซ้อน ซึ่งในอดีตถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงฐานะอันสูงส่ง ใช้กับสถาปัตยกรรมเนื่องในศาสนาและราชสำนัก         อย่างไรก็ตาม  ด้วยหลักฐานที่พบมีจำนวนน้อย จึงอาจไม่เป็นที่สรุปแน่ชัดว่าศาสนสถานบนภูเขาน้อยในช่วงก่อนสมัยอยุธยาจะมีรูปแบบเช่นไร หรือเป็นปราสาทแบบใด ข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้ อาจต้องเปรียบเทียบกับเจดีย์ในศิลปะทวารวดี ที่มักสร้างให้ฐานของเจดีย์เป็นปราสาทที่มีเรือนธาตุทึบ ไม่สามารถเข้าไปได้ แต่มีองค์ประกอบของฐาน เรือนธาตุ และหลังคาครบถ้วน การประดับกูฑุและกโปตะจึงน่าจะอยู่ที่ส่วนฐาน ดังพบในเจดีย์ทวารวดีแห่งอื่น ๆ เช่น พระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เขาคลังนอก เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น        หรืออีกกรณีที่เป็นไปได้ คือ บนฐานขนาดใหญ่ มีปราสาทตั้งอยู่อีกหลังหนึ่ง ทั้งกูฑุและกโปตะอาจเคยประดับชั้นหลังคาของปราสาทหลังนั้น ก่อนที่เวลาต่อมา ปราสาทพังทลายลงหรือถูกรื้อถอนเพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นเจดีย์สมัยอยุธยา         ทั้งนี้การสร้างศาสนสถานบนยอดภูเขา ยังส่งผลให้ภูเขาน้อยมีสถานะเป็น “ภูเขาศักดิ์สิทธิ์” เนื่องด้วยเป็นที่ตั้งของสักการสถานประจำชุมชนในบริเวณนั้น โบราณวัตถุที่พบโดยมีอายุสมัยแตกต่างกันสะท้อนความสืบเนื่องของการใช้งานพื้นที่ เปลี่ยนผ่านจากสถาปัตยกรรมเนื่องด้วยอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย สู่รูปแบบพื้นถิ่น  กูฑุภูเขาน้อย ร่องรอยชุมชนคนสงขลาก่อนหัวเขาแดง         ในบรรดาโบราณวัตถุหลากหลายชิ้นที่พบจากการบูรณะขุดแต่งเจดีย์เขาน้อย “กูฑุ” ทั้งสี่ชิ้นนับเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่สุด ที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่า “ชุมชนชาวสงขลา” บริเวณภูเขาน้อย-หัวเขาแดง ราวหนึ่งพันปีที่แล้ว มีการติดต่อและรับเอาศิลปวัฒนธรรมจากอินเดีย ทั้งคติของการสร้างอาคารฐานันดรสูงที่เรียกว่า “ปราสาท” และรูปแบบของวัตถุที่สัมพันธ์กันโดยตรง คือลักษณะกรอบของกูฑุและการทำใบหน้าบุคคลประดับตรงกลาง  ขณะเดียวกัน ลักษณะงานแบบท้องถิ่นก็มาผสมผสานกับรูปแบบศิลปะจากดินแดนอื่น เช่นทรงผมของบุคคลในกูฑุที่ไม่เป็นที่นิยมในศิลปะอินเดียช่วงเวลานั้น          แม้ว่าหลักฐานที่พบในขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างภาพสันนิษฐานได้ว่า เจดีย์เขาน้อยก่อนสมัยอยุธยาจะเป็นอย่างไร กูฑุเหล่านี้ประดับที่ส่วนใดของสถาปัตยกรรม แต่จะเห็นร่องรอยการเติบโตของชุมชนในยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของคาบสมุทรสทิงพระ การติดต่อกับชุมชนภายนอก ซึ่งยืนยันได้ว่าประวัติศาสตร์ของคนสงขลาสามารถนับย้อนไปได้ก่อนการกำเนิด “ซิงกอรา” ที่หัวเขาแดง         ผู้ที่สนใจ สามารถมาชมกูฑุ ตลอดจนโบราณวัตถุชิ้นอื่น ๆ จากโบราณสถานภูเขาน้อย ได้ที่ห้องจัดแสดงหมายเลข ๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา หรือหากมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับกูฑุและโบราณสถานภูเขาน้อยช่วงก่อนสมัยอยุธยา เชิญชวนมาแลกเปลี่ยนกันได้ในโพสต์นี้ โปรดติดตามตอนต่อไป... ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••• เรียบเรียงข้อมูล/ ถ่ายภาพ/ ลายเส้น: เจิดจ้า รุจิรัตน์ และสิทธิศักดิ์ เหล่ากำเนิด นักศึกษาฝึกประสบการณ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร  กราฟฟิก : นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา  ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••• เอกสารอ้างอิง : กรมศิลปากร.  ทำเนียบนามแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (โบราณสถานในจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล).  สงขลา : สำนักศิลปากรที่ 13 กรมศิลปากร, 2555.  เชษฐ์ ติงสัญชลี.  ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.  กรุงเทพฯ : มติชน, 2565.  เชษฐ์ ติงสัญชลี.  อาคารศิขระ วิมานในศิลปะอินเดียกับอิทธิพลต่อศิลปะในเอเชียอาคเนย์.  กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2563.  นงคราญ ศรีชาย.  ตามรอยศรีวิชัย ศึกษาเชิงวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ศรีวิชัย.  กรุงเทพฯ: มติชน, 2544. สมเดช ลีลามโนธรรม, “ลวดลายกูฑุในสถาปัตยกรรมอินเดียและที่ปรากฏในโบราณสถานของไทย,” ศิลปากร 61, 5 (กันยายน-ตุลาคม 2561): 5-19. สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.  ศัพทานุกรมโบราณคดี.  กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.   สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549. อมรา ศรีสุชาติ.  ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2557. ขอขอบคุณ :  - ข้อมูลอันเป็นประโยชน์จาก ศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร  - ข้อมูลเรื่องหินจาก คุณฟาอิศ จินเดหวา นักศึกษาภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  - ภาพถ่ายก่อนดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี ณ โบราณสถานเขาน้อย พ.ศ. 2529 จากคุณสารัท ชลอสันติสกุล กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา