ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,550 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง กรรมวิธีการจารใบลาน  เรียบเรียง/สาธิตโดย นายจุง ดิบประโคน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ


พนอ  กำเนิดกาญจน์,  สิทธา  ราชโหดี และไพศาล  ปัญญาคำ.  บ้านเชียงที่โลกลืม.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  อุดรธานี: ไทยสามัคคี,  2515.           บ้านเชียงเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี  เล่าว่ามีพวกพวนอพยพมาจากประเทศลาวมาตั้งบ้านเรือนในดงแพงซึ่งเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ มี 4 ครอบครัว คือ ท้าวเชียงใหม่ ท้าวเชียงบุญมา ท้าวเชียงคะ และท้าวเชียงพิณ และได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านเชียงตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้านเชียงเป็นคนรักสงบ รักความสวยงาม ซื่อสัตย์สุจริต กรมศิลปากรได้เริ่มขุดค้นที่บ้านเชียงซึ่งพบหลักฐานเพื่อการศึกษาและวิจัย และ ได้ทูลเกล้าหม้อลายเขียนสีบ้านเชียงรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสว่า “ของบ้านควรจะเก็บรักษาไว้บ้านเชียง” ลักษณะหม้อลายบ้านเชียงจะไม่มีหู สันณิษฐานว่าหม้อลายเขียนสีที่บ้านเชียงจะได้รับวัฒนธรรมจากคนทาบงแถบแม่น้ำยูเฟตีส เพราะลายเป็นแบบเดียวกันกับคนชาวแถบบาปโลเนีย และยังมีหม้อลายงูที่มีอายุ 7,000 ปี หม้อบางใบที่ฝังอยู่ในวัดในบ้านเชียงมีลายงู ซึ่งมีความเชื่อในการนับถืองูว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของดวงวิญญาณปู่ ย่า ตา ยาย ซึ่งแปลงกายมาเฝ้าทรัพย์นั่นเอง 


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.21 มโนราห์ประเภทวัสดุ/มีเดีย      สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              40; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    วรรณคดี           ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค.2538 


องค์ความรู้ เรื่อง "ขันหมากไม้ ความงามในจารีตวิถี" “ขันหมาก” หรือ “เชี่ยนหมาก” คือภาชนะสำหรับวางอุปกรณ์ในการกินหมาก ได้แก่ ซองพลู เต้าปูน กรรไกรหนีบหมาก(มีดสนาก) ตะบันหมาก ตลับสีผึ้ง ผอบ ที่ใช้ใส่หมาก ยาเส้นและเครื่องหอม วัฒนธรรมการกินหมากในไทย มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่ารับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวอินเดีย และในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 (สมัยสุโขทัย) กล่าวถึงป่าหมาก ป่าพลู แสดงให้เห็นความสำคัญของการปลูกหมากพลู วัฒนธรรมการกินหมากจึงน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ขันหมากทำจากวัสดุหลายประเภท เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ไม้ เครื่องเขินหรือเครื่องจักสานมีลักษณะหลากหลายรูปแบบทั้ง ทรงกลมแบน ทรงรี หรือทรงเหลี่ยม เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีความสำคัญ แต่ละบ้านจะใส่เครื่องกินหมากที่จัดเรียงอย่างประณีตไว้ต้อนรับแขก และยังใช้ในพิธีแต่งงานโดยฝ่ายเจ้าบ่าวต้องนำขันหมากยกไปสู่ขอเจ้าสาว และในสมัยก่อนขันหมากยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมของเจ้าของอีกด้วย ในอีสาน “ขันหมาก” นิยมทำด้วยไม้มงคลในท้องถิ่น เช่น ไม้คูณ หมายถึงการค้ำคูณ ไม้ยอ หมายถึงการสรรเสริญเยินยอ เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อนแกะสลักง่าย หรือ ไม้มะค่า ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ ที่เป็นไม้เนื้อแข็งเพื่อความทนทาน ลักษณะขันหมากอีสานส่วนใหญ่มี ๒ แบบ คือทรงกล่องสี่เหลี่ยม และทรงแอว(เอว)ขันปากพาน มีส่วนประกอบ ๔ ส่วน ได้แก่ ๑. ปากหรือส่วนบน แบ่งช่องเป็น ๓ - ๔ ช่อง อาจน้อยกว่าหรือมากกว่านั้นก็ได้ บางชิ้นประดับกระดูกซี่โครงควายหรือโลหะสังกะสีที่ขอบปากเพื่อความงามและทนทาน ๒. ลำตัว มีลักษณะเป็นแผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยม แกะสลักลวดลายเหมือนกันทั้ง ๔ ด้านหรือแตกต่างกันทั้ง ๔ ด้าน ตามความคิดสร้างสรรค์ของช่างฝีมือ ๓. แอว (เอว) เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างลำตัวและขา ส่วนมากไม่มีการตกแต่งมีบางตัวเท่านั้นที่ใส่คิ้วเดินรอบ บางตัวมีการเจาะช่องใส่ลิ้นชักด้วย ๔. ขา มีการเจาะเป็นช่องหรือฉลุเป็นรูปขา หรือแค่สลักลายเป็นรูปขา ลวดลายของขันหมาก ส่วนมากเป็นลายเรขาคณิต เช่น ลายฟันปลา สามเหลี่ยม เส้นกากบาทข้าวหลามตัด เส้นทแยง และลวดลายซึ่งมีความหมายมงคล เช่น ลายประแจจีน ลายเหรียญเงิน และเครื่องหมายสวัสดิกะ ที่หมายถึงความเป็นอยู่ที่ดี ลายเส้นสายไขว้กันคล้ายเครื่องจักสาน ลายดอกไม้ หรือลวดลายตามจินตนาการของช่าง สีของขันหมากส่วนมาก จะลงรักเป็นสีดำ ทาชาด (สีแดง) มีการแกะสลักลวดลาย แล้วลงสีในร่องลาย นิยมใช้สีขาว สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประดับลวดลายด้วยกระดูกซี่โครงควาย เปลือกหอยน้ำจืด กระจกสี และโลหะสังกะสี หรือบางตัวปรากฏเพียงแค่ลวดลายแกะสลักเท่านั้น ขันหมากไม้อีสาน เป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้คิดประดิษฐ์ขึ้น มีรูปแบบศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เต็มไปด้วยความงามแบบเรียบง่าย ความทนทานและความเป็นสิริมงคล ตั้งแต่การเลือกไม้ การประดับลวดลายมงคลต่างๆ แต่ละชิ้นงานแสดงให้เห็นถึงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของช่างแต่ละบุคคลที่พอจะกล่าวได้ว่า “ขันหมากไม้อีสาน” แต่ละชิ้นมีเพียงชิ้นเดียวในโลก นิทรรศการ "ขันหมากไม้ ความงามในจารีตวิถี" จัดแสดงให้ทุกท่านได้ชมตั้งแต่ ๑๓ กรกฎาคม - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ มาชมกันเยอะๆนะคะ^^


          อัปสร หรือนางอัปสร เป็นชื่อเรียกสิ่งวิเศษอย่างหนึ่งซึ่งดินแดนต่าง ๆ ที่ได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูจากชมพูทวีปจะคุ้นเคยกันในรูปของ “เทวดาผู้หญิง” รูปร่างงดงามแต่งกายด้วยถนิมพิมพาภรณ์อันมีค่าโดยทำเป็นประติมากรรมประดับอยู่ตามศาสนสถานบ้าง พบในจิตรกรรมฝาผนังเขียนประดับอยู่ภายใน           ศาสนสถานบ้าง หรือในภาพวาดทางศาสนาบ้าง กำเนิดของนางอัปสรมีกล่าวถึงในคัมภีร์หลายฉบับ อาทิ วิษณุปุราณะ อัคนิปุราณะ หรือแม้แต่รามายณะ ต่างระบุตรงกันว่านางอัปสรเป็นของวิเศษหนึ่งที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร (มหาสมุทรน้ำนม) โดยในคราวนั้น พระอินทร์ทรงต้องคำสาปจากฤๅษีทุรวาสทำให้ทรงอ่อนแอลง จำเป็นต้องเสวยน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทรเพื่อฟื้นฟูพละกำลัง แต่การกวนเกษียรสมุทรเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้กำลังมากมายมหาศาล จึงมีการเจรจาสงบศึกระหว่างเทพกับอสูรเป็นการชั่วคราวเพื่อขอให้เหล่าอสูรมาช่วยในการกวนเกษียรสมุทรโดยสัญญาว่าจะแบ่งน้ำอมฤตให้ ทว่าในระหว่างการกวนเกษียรสมุทรนอกจากได้น้ำอมฤตแล้วยังเกิดของวิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพชรพลอย ต้นกัลปพฤกษ์ หรือต้นปาริชาติ เป็นต้น ผุดขึ้นมาจากเกษียรสมุทรซึ่งรวมถึงนางอัปสรด้วย บางตำนานยังได้กล่าวว่าพระนางลักษมี พระชายาของพระวิษณุก็ถือกำเนิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อที่ใช้เรียกเหล่านางวิเศษที่ผุดขึ้นมาจากการกวนเกษียรสมุทรนี้ว่า อัปสร ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤตที่เกิดจากการผสมคำว่า อัป (น้ำ) เข้ากับคำว่า สรา (เคลื่อนไหว) แปลได้ว่า ผู้เคลื่อนไหวในน้ำ หรือผู้ ที่อาศัยในน้ำ นั่นเอง           แม้นางอัปสรที่ผุดขึ้นมาจะมีรูปร่างหน้าตางดงาม สามารถร่ายรำและขับร้องได้อย่างไพเราะ จนได้รับหน้าที่สร้างความรื่นรมย์ให้กับเหล่าเทวดาและชาวสวรรค์ แต่นางอัปสรก็ยังมีบทบาทปรากฏในตำนานมากมาย เช่น เรื่องราวของฤๅษีวิศวามิตร ที่บำเพ็ญเพียรแก่กล้าจนพระอินทร์ทรงต้องส่งนางอัปสรชื่อ "เมนกา" ลงมารบกวนการบำเพ็ญเพียรและให้กำเนิดนางศกุนตลา มเหสีของท้าวทุษยันต์และมารดาของท้าวภรต บรรพบุรุษของเหล่าปาณฑพและเการพในมหากาพย์มหาภารตะ นอกจากนี้ เรายังพบว่าในงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูมีการใช้ภาพลักษณ์ของนางอัปสรเป็นตัวแทนของสวรรค์ เช่น การประดับนางอัปสรตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทหิน อาทิ ผนัง ทับหลัง เสากรอบประตู กระเบื้องเชิงชาย ซึ่งเป็นการประดับในเชิงสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าศาสนสถานนั้นเปรียบเสมือนสรวงสวรรค์และแนวคิดดังกล่าวก็ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ---------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก https://www.facebook.com/profile/100068573273249/search/?q=%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A3  


          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมงานหัตถกรรมไทยจากวิถีพาณิชยวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ระดับประเทศและสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซรามิกหรือเครื่องปั้นดินเผา และฉลองวาระครบรอบ ๑๓๕ ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น โดยนำโบราณวัตถุเครื่องเคลือบเซรามิกจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น และเครื่องปั้นดินเผาของไทยจากหลากหลายแหล่ง มาจัดแสดงร่วมกัน ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพื่อให้ชาวไทยได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะของญี่ปุ่นโดยเฉพาะช่วงสมัยเอโดะ และสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างญี่ปุ่นและไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น             การจัดนิทรรศการพิเศษในครั้งนี้ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น ในการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรม และได้มีการเตรียมการจัดทำนิทรรศการร่วมกันกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดซากะ และพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๖๑ ปัจจุบันสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดซากะ และพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ได้อนุญาตให้กรมศิลปากรนำโบราณวัตถุเครื่องเคลือบดินเผา (porcelain) สำคัญจากจุดกำเนิดที่เมืองอาริตะ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๘๒ รายการ ๙๗ ชิ้น มาจัดแสดงร่วมกับเครื่องปั้นดินเผาไทย จำนวน ๙๐ รายการ จากแหล่งโบราณคดี-ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย และได้รับความร่วมมือนำโบราณวัตถุมาร่วมจัดแสดงจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมบุตร และนายวราห์ โรจนวิภาต  ซึ่งรังสรรค์พัฒนาสืบมาในประวัติศาสตร์จวบจนปัจจุบัน แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวเรื่อง คือ            ๑. น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง: เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕           ๒. วิวัฒนาการเซรามิกแห่งสองสายใย (ญี่ปุ่น-ไทย) ในโลกพาณิชยวัฒนธรรม           ๓. ภูมิปัญญาชาวแหลมทองและชาวอาทิตย์อุทัย ในดิน-น้ำ-ลม-ไฟ: “ปั้นดินทราย ฉาบไล้ด้วยน้ำ นำผึ่งลม โหมฟืนไฟในเตาเผา” บอกเล่าเรื่องราวภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่นและไทย           ๔. สูงสุดแห่งภูมิปัญญา: ภาพฉายาในพาณิชยวัฒนธรรมโลก สะท้อนเรื่องราวการค้า ศิลปะและ วัฒนธรรมผ่านเครื่องปั้นดินเผาญี่ปุ่นและไทยที่ไปไกลยังต่างแดน           ๕. แรงบันดาลใจไม่หยุดยั้งคือพลังสร้างสรรค์ใหม่ โดยสืบทอดวัฒนธรรมและพัฒนากระบวนการผลิตสู่ความคิดใหม่           ๖. สำรับคาวหวาน อาหารญี่ปุ่น – ไทย ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมอาหารควบคู่กับภาชนะ ที่มีบทบาทสำคัญมาแต่อดีต           โบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผาอาริตะชิ้นสำคัญจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ที่นำมาจัดแสดง อาทิ เด็กชายจับปลาดุกด้วยน้ำเต้า ตกแต่งด้วยการเขียนสีบนเคลือบ พุทธศักราช ๒๒๑๓ – ๒๒๕๒ จานลายครามแบบคารากขนาดใหญ่เขียนลายนกฟินิกซ์และตราวีโอซี พุทธศักราช ๒๒๓๓ – ๒๒๖๒ ขวดทรงแปรงตีชาเขียนลายบนเคลือบ เป็นลายดอกโบตั๋น พุทธศักราช ๒๑๙๓ – ๒๒๐๓ สำหรับโบราณวัตถุของไทย   ที่นำมาจัดแสดง อาทิ ชุดชามเบญจรงค์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ กระปุกสังคโลกสองหู พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ จากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กุณฑีสังคโลก พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ ได้จากการขุดค้นที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย           กรมศิลปากรขอเชิญชวนผู้สนใจไปชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ วันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ - อังคาร ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร  finearts.go.th   


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เรื่อง “จารึกการสร้างรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุแช่แห้ง”--- จารึกแผ่นไม้ วัดพระธาตุแช่แห้ง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้กระดาน รอบๆมีลวดลายฉลุ ลงรักปิดทอง ตั้งอยู่บนฐานไม้  ปรากฏจารึกทั้ง ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ จำนวน ๒๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ จำนวน ๑๓ บรรทัด จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน --- เนื้อความโดยย่อกล่าวว่า ... เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๘๒ อดีตเจ้าเมืองเล็น และคณะ สมัยนั้นอยู่เมืองน่าน ได้สร้างวิหารมุงรอยพระพุทธบาท และสร้างรอยพระพุทธบาท ในช่วงเวลานั้น ได้ขุดพบไหบรรจุทองคำ ที่นอกกำแพงวัด  เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๘๒ ได้ฉลองวิหารและรอยพระพุทธบาท  และพุทธศักราช ๒๔๔๘ เจ้าอุปราชเมืองน่าน พร้อมทั้งครอบครัว ได้ซ่อมปฏิสังขรณ์วิหารรอยพระพุทธบาท --- ปัจจุบันจารึกหลักนี้ ได้รับการจัดเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน--- เนื้อความจารึกด้านที่ ๑ “ศรีสวัสดี อภิวันทเคารพ นบพระรัตนไตรรัตนะ ในปฐมมหามูลศรัทธาหมายมี เจ้าพญาเมืองเล็น...นามชื่อว่า พญาศรีสิทธิไชย..............สิทธิ แลพร้อมกับด้วยนางอรรคชายาผู้มีชื่อว่า นางคำแก้ว เป็นเค้า และนางจอมและนางราชกัญญาผู้มีชื่อว่า นางคำมี ผู้ชื่อว่านางทิพย์ ราชบุตรผู้มีชื่อว่าเจ้าราชวงศา และเจ้าขัตติยศ เจ้าธนวงศ์ เจ้าอินปัน เจ้าบุญ...แสง เจ้าบุญนำ เจ้าธนบุตร เจ้าคำนาก เจ้าคำชง เจ้าจอมเมือง และราชบุตรีธิดาผู้มีชื่อว่า นางอุสสา วังสามิตรชื่อว่า นายมาชินวงศ์บุตรีผู้ ๑ ชื่อว่า นางคำเพียงใจ พร้อมกับด้วยสามิกผู้มีชื่อว่า นายขนานเทพวงศ์ และบุตรีผู้ ๑ ชื่อว่า นางขอดแก้ว ผู้ ๑ ชื่อว่า นางแท่นแก้ว พร้อมกับด้วยสามิกผู้มีชื่อว่า นายน้อยชื่อว่าชินวงศ์และนางบัวจิน นางบัวรภา นางคำอวน และขัตติยราชวงศานุวงศ์ จุ๊ตน  และแสน หมื่น ท้าวหาญ และคามโภชกะ ช่างสิ่ว ช่างเหล็ก ช่างต้อง ช่างแต้ม ช่างแปลงวิหารที่ถาปนาไว้พระบาทเจ้า ชื่อว่าแสนมงคล เป็นผู้ริจนา หาญเพชร และหาญพระอาทิตย์ เป็นนายคุมคนทำการ ได้ก่อสร้างปกแปลง เดือน ๘ ขึ้น ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์ ยามแตรเที่ยง ตราบถึงวัน (ขึ้น) ๗ ค่ำ หลังบน วัน (ขึ้น) ๘ ค่ำ ได้ก่อเติ้ก และแท่นพระบาท   วัน (ขึ้น) ๙ ค่ำ ได้ไหคำออกไห ๑ ได้กับ (ที่) ขุมเปิกนอกกำแพง ไกล (กำแพง) ๒ วา ๓ ศอก มี ๒๗ ลิ่ม น้ำหนัก ๖,๐๐๐ ปลาย ๒๐๐   ข้างฝ่ายขุนนาย.....ชื่อว่า หาญเพชรสงคราม ท้าวโองการ ท้าวสีลบาล  ท้าวเขื่อนเมือง ท้าวสิงหฤทธิ์สงคราม หาญแสงพระอาทิตย์ เป็นนายคุมคนทำการ ขุนผู้ใหญ่มีพ่อเชา นายผู้ชื่อว่า  คันธาศุภอักษร และแสน....อักษร แสนสิทธิโวหาร แสนหาญ แสนอาเกียร แสนกันทาฤาไชย แสนปัญญา แสนยศฤาไชย ท้าวโลกา ในวงศามีนายใหม่สิทธิวงศ์ และไพร่ทั้งหลายอันตกมาในเมืองน่านที่นี้ทั้งมวล จุ๊คน ก็ได้พร้อมกันเป็นฉันทะด้วยเจ้าแห่งตนจุ๊คนๆแล้ว   จึงได้หา.....หลวงศุภอักษร มาริจนารูปลายรดลายคำอันมีในพระบาทเจ้า มีรูป ๑๐๘ จำพวก ก็เป็นที่บริบูรณ์บรมวล แล้วจึงได้หาสล่าวัฒกกรรม วิชาการสลัก สร้างแปงยังพระพุทธบาทอันบรมวลด้วยจักรลักษณะ  ลายลักษณ์อันประจิตร ทาด้วยน้ำรักและหาง ติดด้วยสุวรรณชาติคำแดง ประดับแสงเรืองเรื่อบรมวลแล้ว  ซ้ำบังเกิดมุญจนเจตนาดวงยิ่ง จึงปฏิสังขรณ์สร้างแปลงยังพระวิหารคันธกุฎีหลังนี้ ไว้เพื่อเป็นที่ถาปนาปฏิสันฐาน ตั้งไว้ยังพระพุทธบาทเจ้าดวงประเสิรฐ ไว้หื้อเป็นที่ไหว้และบูชาแก่เทวดา และสมณพราหมณ์และมนุษย์คนชายหญิงทั้งหลาย ตราบสิ้น ๕,๐๐๐ พระวรรษา เป็นที่บริบูรณ์บรมวลแล้ว  เข้ามาในตติยศักราช ได้ ๑๒๐๑ ตัว ในกุญชรฉนำกัมโพชขอมพิสัย เข้ามาในคิมหาฤดู เชษฐมาส ปัณณรัสมี พุธวารไถง ไทยภาษาว่าปีกัดไก๊ เดือน ๙ ทุติยะ เพ็ญ  เม็ง (ว่า) วัน ๔ (วันพุธ)ไทย (ว่าวัน) กดเส็ด ดิถี ๑๕ นาที ๔๕ จันทจรณยุคติเสด็จเข้าเสวยนักขัตตฤกษ์ตัวถ้วน ๑๙ ชื่อมูลเทวตา นาที ๑ ปรากฏในธนูเตโชราศี อตีตพุทธศาสนาคลาล่วงไปแล้วได้ ๒๓๘๒ พระวรรษา ปลาย ๑ เดือน ปลาย ๑๕ วัน อนาคตศาสนา ยังจักมา”--- เนื้อความจารึกด้านที่ ๒ “ภายหน้ายังมี ๒๖๑๗ พระวรรษา ปลาย ๑๐ เดือน ปลาย ๑๖ วัน จึงได้กระทำมงคลพุทธาภิเษก เบิกบายฉลอง ถวายไทยวัตถุทานเป็นทักขิโณทการ บรมวลแก่โทหรณ ปณิธานปรารถนา ในปีอันนี้ ในเดือนวันยามอันนี้ แท้ดีหลีอิมินา ปุญฺญเตเชน ยถภเวชาโต ติกฺขปญฺโญ มหาธโน มหาโภโค ยสฺสโสภมาโน อภิรูปา มธุรสปิยา เทวเทวา เตกุเลนปจฺจยุ สมิชนฺตุเม  อิมินา พุทฺธสาสเน นิพฺพานํ ปาปเนยฺยมฺหิสจฺเจ อปฺปกมฺมสมฺภารํ นิพฺพานํ นาธิคเสยฺย ปญฺญาวสฺมึ วิสารโท สงฺสารนฺโต ปิสํสาเรกุเล อุตฺตมเก อหํลทา อริยเมตฺเตยฺโย พุทฺโธเหสติ อนาคเต อยมฺปิสาสเน ชาโตปพฺพชิสํว สนฺติเก ปญฺญาว อิทฺธิสมฺปนฺโน นปากโต เยว จนฺทิมาธาเรยฺย ปิฏกตเย สานิยานิเกติ นิจฺจํ ธุวํ แท้ดีหลีถึงศักราช ๑๒๖๗ ตัว ปีดับไส้ เดือน ๖ โหรา ขึ้น ๑๕ ค่ำ วัน ๔ (วันพุธ) ราชศรัทธาหมายมีเจ้ามหาอุปราช นราธิบดีศรีสุวรรณ ฝ่ายหน้าหอคำมหาดไทย เป็นเค้า และอรรคราชชายามีชื่อว่า แม่เจ้าศรีสุภา และราชบุตร ราชบุตรี ราชนัตตา นัตตรี ทาสา ทาสี ไวยาวัจกร ทั้งหลาย จุ๊ผู้จุ๊คน ได้ปฏิสังขรณ์เลิกยก (วิหารของรอยพระพุทธบาท) ขึ้นอีกใหม่ ให้วุฒิรุ่งเรือง ถวายหื้อเป็นทาน ไว้ค้ำพระพุทธศาสนาพระโคดมเจ้า เพื่อหื้อเป็นที่ไหว้สักการบูชาตราบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา แท้ดีหลี นิจฺจํ ธุวํ”ที่มาข้อมูล : ฮันส์ เพนธ์และคณะ. ประชุมจารึกล้านนา เล่ม ๕ : จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และจารึกเมืองน่านที่น่าสนใจ,หน้า ๑๓๑ -




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 149/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/7เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


         อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชวนชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ตกตรง ๑๕ ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ ๕ - ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ น. เป็นต้นไป บริเวณลานหน้าปราสาททิศตะวันออก (พระอาทิตย์ตกเวลาประมาณ ๑๘.๑๕ น.)


ชื่อผู้แต่ง           - ชื่อเรื่อง           คหเศรษฐศาสตร์ (ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๓ กรกฏาคม ๒๕๒๒ ) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        หสน. วิบูลย์กิจการพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๒ จำนวนหน้า      ๑๒๗ หน้า รายละเอียด                วารสารของสมาคมคหเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วยบทความด้านการศึกษา  พัฒนาการครอบครัวและเด็ก  อาหารและโภชนา  ผ้าการแต่งกายและศิลปสัมพันธ์ การครองเรือนและเศรษฐกิจครอบครัว  บ้านเครื่องเรือนและเครื่องใช้และเบ็ดเตล็ด


       โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ตั้งอยู่บนยอดเขารางกะปิด พื้นที่บ้านเขาพระ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้        หลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีพบว่า โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภท เจดีย์ ที่ก่อสร้างจากหินธรรมชาติ ศิลาแลง และอิฐ แต่ปัจจุบันเสื่อมสภาพไม่สามารถทราบรูปแบบได้ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สำรวจทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และดำเนินงานขุดศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เสริมความมั่นคงเพิ่มเติม       โบราณวัตถุที่สำคัญซึ่งพบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผาอิทธิพลปาละพิมพ์เดียวกันหลายองค์ซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะดินเผา โดยฝังอยู่ใต้ฐานโครงสร้างโบราณสถาน จึงสามารถกำหนดอายุโบราณสถานว่าสร้างในสมัยทวารวดี         ภาชนะดินเผา        เป็นภาชนะมีคอปากผาย ขนาดค่อนข้างใหญ่ หรือที่เรียกว่า ทรงไห ส่วนลำตัวตกแต่งด้วยการนำเส้นดินบิดมาแปะติดคล้ายเกลียวเชือก ส่วนบ่ากดลายเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียงเป็นแถวแนวนอน และเส้นลวดอีก ๒ เส้น ภายในบรรจุพระพิมพ์ดินเผาหลายองค์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)  พระพิมพ์ดินเผา (มีจารึก)        เป็นพระพิมพ์รูปพระพุทธรูปปางสมาธิ มีประภามณฑล ประทับบนบัลลังก์เหลี่ยมแวดล้อมด้วยเครื่องสูง ๕ ตำแหน่ง คือ เหนือพระเศียรมีฉัตร  ๑ คัน ข้างพระวรกาย ในระดับพระเศียรมีบังแทรกหรือบังสูรย์ ๒ คัน ถัดลงมามีจามร ๒ คัน ด้านหลังพระพิมพ์มีจารึกอักษรหลังปัลลวะ ภาษามอญโบราณ กล่าวว่า “บุญนี้(เป็นของ)กษัตริย์มะระตา(ผู้สร้าง)พระพุทธรูป จึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครองในสมัยทวารวดี    เอกสารอ้างอิง ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘. สุภมาศ ดวงสกุล และคณะ. ศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างบนเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์เมืองอู่ทอง  : ผลการสำรวจทางโบราณคดีบนเขตภูเขานอกเมืองอู่ทอง พ.ศ.๒๕๖๒. สุพรรณบุรี : สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, ๒๕๖๒.


เลขทะเบียน : นพ.บ.402/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146  (58-70) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : พระตติยสังคายนา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม