ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ

ชื่อเรื่อง                                เตปิฎกกานิสํสกถา (อนิสงส์สร้างพระไตรปิฎก)สพ.บ.                                  133/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกุฏีทอง ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.91/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 54 (122-128) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธัมมสังคิรี-พระสมันตมหาปัฎฐาน) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ.                                  161/21ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           40 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย มีข้อความปักด้วยไหมสี ระบุว่า                                                                                        “ศรัทธาเจ้านวลคำถวายอุททิศ ไปถึงแม่เจ้าบัวทิพย์ในงานปลงศพ” ผืนผ้าแพร ปักประดับด้วยรูปเทพพนมดุนจากเงิน โดยรอบปักเป็นรูปดอกไม้ใบไม้ด้วยไหมสีต่างๆ ชายผ้าด้านล่างเป็นลูกปัดร้อยเป็นแถบ ใช้สำหรับวางบนกากะเยีย ส่วนมากมักทำเป็น ๓ ผืน หรือ ๔ ผืน  ตามลักษณะของแท่นวางที่เป็นไม้นำมามัดขัดกันสำหรับวางคัมภีร์พระธรรมในวาระต่างๆ เช่น งานตั้งธรรมหลวง อันหมายถึงพระเพณีเทศมหาชาติของภาคเหนือ นอกจากนี้ยังพบการทำผ้าชนิดนี้อุทิศถวายเนื่องในงานปลงศพอีกด้วย


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๙๖ จ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.31/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)






สนามด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของข่วงเมืองน่าน ซึ่งมีพื้นที่ตั้งแต่ด้านทิศเหนือของวัดภูมินทร์จรดวัดหัวข่วง หลังปีพ.ศ.๒๕๐๑ ขณะที่อาคารถูกใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน มีการสร้างแนวรั้วด้านหน้าตามแนวถนนผากองขึ้น ต่อมาเมื่อกรมศิลปากรได้รับมอบอาคารเพื่อนำมาจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้มีการปรับภูมิทัศน์โดยการปลูกต้นลั่นทมตามแนวรั้วด้านหน้าในราวปีพ.ศ.๒๕๒๙ ก่อนการเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านอย่างเป็นทางการ


วัดอ่างศิลา ๑: วัดอ่างศิลานอก วัดอ่างศิลา ตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ประวัติวัดระบุว่าเดิมแบ่งออกเป็น ๒ วัด ได้แก่ วัดอ่างศิลาในและวัดอ่างศิลานอก แต่ได้รวมกันเป็น “วัดอ่างศิลา” ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดอ่างศิลาเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๔๒ โบราณสถานภายในวัดค่อยๆ เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา กรมศิลปากรโดยสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ร่วมกับสำนักสถาปัตยกรรม จึงได้ดำเนินการบูรณะโบราณสถานภายในวัดมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ บูรณะอุโบสถ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ บูรณะมณฑป ปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ บูรณะวิหาร ปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ บูรณะเจดีย์ด้านหน้าวิหาร บทความนี้จึงขอสรุปผลการดำเนินงานและแนะนำโบราณสถานวัดอ่างศิลาอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี ดังนี้ อุโบสถ เป็นอุโบสถแบบพระราชนิยมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ มีเสาพาไลสี่เหลี่ยมล้อมรอบ เครื่องลำยองเป็นปูนปั้น หน้าบันประดับเครื่องถ้วยลายคราม ซุ้มประตูและหน้าต่างประดับปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ฝาผนังเขียนภาพพุทธประวัติ เจดีย์ทรงเครื่อง ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของอุโบสถ เป็นเจดีย์ในศิลปะไทยชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยฐานสิงห์สามชั้นรองรับบัวปากระฆังที่มีลักษณะเป็นกลีบบัวซ้อนชั้น เรียกว่าบัวกลุ่มหรือบัวคลุ่ม ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆัง รองรับบัลลังก์ บัวคลุ่มเถา ปลี ลูกแก้วและเม็ดน้ำค้าง มณฑป คืออาคารที่มีหลังคาเป็นเรือนยอด ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของอุโบสถ ปัจจุบันประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ฝาผนังภายในมณฑปเขียนภาพอดีตพระพุทธเจ้า อุโบสถ เจดีย์ทรงเครื่องและมณฑป ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาสของวัดอ่างศิลานอกเดิม สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากทั้งหมดมีรูปแบบศิลปกรรมที่เป็นที่นิยมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สอดคล้องกับผลการขุดค้นทางโบราณคดีที่ไม่พบสิ่งก่อสร้างที่มีอายุเก่าไปกว่านี้ ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ) กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี #สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


          โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณสันเขาด้านทิศเหนือ ภูฝ้าย เป็นภูเขาลูกโดด สูงจากพื้นที่ราบโดยรอบ ประมาณ 50-120 เมตร เเละห่างจากเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นพรมแดนเเละระหว่างไทยกับกัมพูชา มาทางทิศเหนือ ระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร เท่านั้น ทั้งนี้โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย คงเป็นศาสนสถานประจำชุมชน ผลจากการขุดเเต่งศึกษาปราสาทภูฝ้าย ในปี 2556 สามารถกำหนดอายุสมัย เเละรูปแบบการใช้งานโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ได้ดังนี้           ปราสาทประธาน สร้างด้วยอิฐ และศิลาเเลง อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีขนาดด้านละ 7.20 เมตร สร้างบนลานหินธรรมชาติของภูฝ้าย ปัจจุบันหลงเหลือเฉพาะส่วนฐานรองรับเรือนธาตุ ซึ่งก่อด้วยศิลาเเลง สูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.75 เมตร มีศึกษาเปรียบเทียบกับปราสาทหลังอื่นๆ พบว่า แผนผังเรือนธาตุของปราสาทภูฝ้าย มีลักษณะคล้ายกับปราสาทเนียงเขมา กลุ่มโบราณสถานเกาะเเกร์ ปราสาทมีชัย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรเเบบแปรรูป พ.ศ.1487- 1511) และปราสาทเบง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรแบบบันทายสรี พ.ศ.1511-1544) จากรายงานฉบับดังกล่าว จึงกำหนดให้ ปราสาทภูฝ้าย น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง กลางพุทธศตวรรษที่ 15 - กลางพุทธศตวรรษที่ 16           อีกไฮไลต์ สำคัญ ของปราสาทภูฝ้าย คือ ภาพสลักทับหลังพระวิษณุอนันศายินปัทมนาภะ (นารายณ์บรรทมสินธุ์) ปัจจุบันไม่ได้ติดกับตัวปราสาท เเต่เก็บรักษาไว้ ณ วัดสุพรรณรัตน์ (วัดบ้านพราน) ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ           แม้ว่าร่องรอยหลักฐานของภูฝ้าย จะหลงเหลือไม่มากนัก เเต่ด้วยทำเลที่ตั้ง ซึ่งสร้างปราสาทอยู่บนเขาลูกโดด ในฐานะ ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เเละเป็นสถาปนาภูเขานี้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะเดียวกันนี้ ยังปรากฏให้เห็นในหลายแห่ง อาทิ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทปลายบัด 1 ปราสาทปลายบัด 2 และปราสาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาลูกโดด ด้วยเช่นกัน----------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล :  นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ----------------------------------------------------------แหล่งข้อมูลอ้างอิง - ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีกุรุเกษตร. รายงานผลการปฏิบัติงาน โครงการขุดแต่งเเละจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ตำบลภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ม.ป.พ. . 2556.


เลขทะเบียน: กจ.บ.261/1:1ก, กจ.บ.262/1.,กจ.บ.263/1.,กจ.บ.264/1.ชื่อเรื่อง: ฌาปนกิจจานิสงสกถา,พระอานิสงส์สลากภัตตาทาน,กฐินทานานิสงฆ์,พระอานิสงส์ทำบุญ 7วันข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดทุ่งสมอ ต.ทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี (กจ.บ.261/1:1ก จำนวน 1คัมภีร์ 2 ผูก ,กจ.บ.262/1.จำนวน1คัมภีร์1ผูก กจ.บ.263/1 จำนวน1คัมภีร์1ผูก กจ.บ.264/1.จำนวน1คัมภีร์1ผูก)จำนวนหน้า: 184 หน้า