ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,561 รายการ




           วันอังคารที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการแถลงข่าวการแสดงรายการ “เหมันต์เบิกบาน  สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ และรายการ “ผันผ่านกาลเวลา ล้ำเลอค่าโรงละคร” เนื่องในวาระปิดปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ โดยมีนายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ร่วมแถลงข่าว ณ โรงละครแห่งชาติ    นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ได้จัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี เพื่ออนุรักษ์ สืบทอด สร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์และดนตรีให้กว้างขวางสู่สายตาประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยมี  โรงละครแห่งชาติ เป็นสถานที่สำหรับศิลปินเพื่อแสดงออกในศิลปะการแสดงทุกประเภท ซึ่งในพุทธศักราช ๒๕๖๕ โรงละครแห่งชาติ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมครั้งใหญ่ กำหนดเป็นโครงการต่อเนื่อง ๓ ปี เริ่มต้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ดำเนินการเสริมความแข็งแรงของส่วนเวทีการแสดง รวมทั้งติดตั้งลิฟต์เวทีสำหรับการแสดง ติดตั้งระบบงานวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการวางระบบพื้นฐานการควบคุมแบบศูนย์กลางด้วยคอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานสากล ติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีห้องควบคุมระบบความปลอดภัย ระบบไฟฟ้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาคารใหม่ ดำเนินการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางวิศวกรรม และระบบประกอบอาคาร รวมถึงระบบแสงเสียง ภาพ ระบบเครื่องกลประกอบการแสดง การออกแบบจัดสรรพื้นที่การใช้สอยเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ มั่นคงแข็งแรง มีศักยภาพ ถึงพร้อมในทุก ๆ ด้าน และเป็นไปตามมาตรฐานโรงละครระดับนานาชาติ     โอกาสนี้ กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต จึงได้จัดนิทรรศการประวัติความเป็นมาของโรงละครแห่งชาติ รวมทั้งภาพถ่ายเก่าเล่าถึงอดีตที่เกี่ยวข้องกับโรงละครแห่งชาติ  การบรรเลง - ขับร้องและการแสดงรายการ “ผันผ่านกาลเวลา ล้ำเลอค่าโรงละคร” เนื่องในวาระปิดปรับปรุงโรงละครแห่งชาติขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๗  และวันอาทิตย์ที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ ประกอบด้วย การบรรเลง - ขับร้อง ดนตรีสากล “สำเนียงเสียงฝรั่งหลวง งามโชติช่วงเพลงกรมศิลป์” การแสดงละคร เรื่องไกรทอง ตอนไกรทองรบชาละวัน และการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “รามบดีจักรีวงศ์” เปิดให้จองบัตรเข้าชมการแสดงได้ที่ https://ntt.finearts.go.th            นอกจากนี้ ยังได้จัดการแสดงรายการ "เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต" โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ ซึ่งเป็นการแสดงประจำปีของสำนักการสังคีต เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โดยมีการแสดงหลากหลายรูปแบบทั้งการแสดงโขน ละคร วิพิธทัศนา การบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล โดยศิลปินของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กำหนดจัดการแสดงทุกวันอาทิตย์ ระหว่างวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ค่าเข้าชมการแสดงคนละ ๒๐ บาท ทั้งนี้ ได้จัดรายการพิเศษ “นาฏกรรมสุขศรี สุนทรีย์พร    ปีใหม่” ชมการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ และโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด “สุครีพสุริโยโอรส” โดยงดเก็บค่าเข้าชมในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมการแสดงรายการ “เหมันต์เบิกบาน  สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ และรายการ “ผันผ่านกาลเวลา ล้ำเลอค่าโรงละคร” เนื่องในวาระปิดปรับปรุงโรงละครแห่งชาติ ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th และเฟสบุ๊ก เพจ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร 



ชื่อผู้แต่ง        พระศรีปริยัตโยดม ( จันทร์ เขมจารี ) และคนอื่นๆ ชื่อเรื่อง          ประเพณีภาคทักษิณ ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      บริษัท วัชรินทร์การพิมพ์จำกัด ปีที่พิมพ์         2535 จำนวนหน้า     78 หน้า หมายเหตุ       มูลนิธิสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลงานพระราชทานเพลิงศพพระ                      สุทธิวงศาจารย์ รายละเอียด              เป็นหนังสือที่เรียบเรียงเรื่องประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของชาวภาคใต้ รวม 8 ประเพณี ประกอบด้วย ประเพณีทำบุญวันศารท  ประเพณีสงกรานต์  ประเพณีชักพระ ประเพณีเอาผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีงดใช้แรงงานสัตว์   ประเพณีรวมขวัญข้าว ประเพณีกินเจและประเพณีทอดผ้าป่าข้าวสุกหน้าบ้านในวันออกพรรษา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 150/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/7ก เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


เป็นงานวิจัยเอกสารประกอบกับการสัมภาษณ์บุคคลซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเป็นนักปกครองตัวอย่างของพระยารัษฎานุประดิษ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ซึ่งจัดทำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ภิญโญ ตันพิทยคุปต์


ชื่อผู้แต่ง           - ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมศาสตร์ Engineering  Journal  (ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๑) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        สหมิตรการพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๑ จำนวนหน้า      ๙๕  หน้า รายละเอียด      วารสารของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วยบทความเรื่องการจำลองสภาพในการวางแผนพัฒนาทรัพยากรแห่งน้ำ  การสร้างไคโอครอยต่อและอิลาสติคบัคกลิ้งของคอร์ดบนของทรัสสะพานแบบโพนี่


      ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์ : ประติมากรรมประดับจุกภาชนะสมัยทวารวดี       ประติมากรรมดินเผารูปสิงห์จำนวน ๒ ชิ้น พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง       ชิ้นที่ ๑ ขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร สูง ๕.๗ เซนติเมตร สิงห์มีใบหน้ายาวรี ตากลมโตเบิกโพลง จมูกแบน รูจมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟัน ใบหน้าดุร้าย มีแผงคอรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน ๒ ชั้น ตกแต่งด้วยเส้นขีด อยู่ในท่าหมอบบนฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัวหงาย บริเวณด้านข้างลำตัวทั้งสองด้านเจาะรูกลมทะลุถึงกัน อาจใช้สำหรับร้อยเชือก        ชิ้นที่ ๒ ขนาดกว้าง ๕ เซนติเมตร สูง ๘.๕ เซนติเมตร สิงห์มีใบหน้ากลม มีตากลมโตเบิกโพลง จมูกแบน รูจมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟัน ใบหน้าดุร้าย มีแผงคอรูปสามเหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้นตกแต่งด้วยเส้นขีด อยู่ในท่านั่งบนฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัวหงาย ฐานส่วนล่างหักหายไป ระหว่างขาหน้าและขาหลังทั้งสองด้านเจาะรูกลมทะลุถึงกัน อาจใช้สำหรับร้อยเชือก       สิงห์เป็นสัตว์มงคลที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ สง่างาม แข็งแกร่งและกล้าหาญ เป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูงที่มีอำนาจในการปกครองอย่างกษัตริย์หรือจักรพรรดิ ทั้งนี้ในคติความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธ สิงห์เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธเจ้า เนื่องจากพระองค์ได้รับการขนานนามว่าเป็นสิงห์แห่งศากยวงศ์         ประติมากรรมรูปสิงห์พบมากในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี นอกจากประติมากรรมดินเผา ๒ ชิ้นนี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทองยังพบตราดินเผารูปสิงห์อีกหลายชิ้น และยังพบประติมากรรมรูปสิงห์สำริดด้วย นอกจากนี้ยังพบรูปสิงห์ที่เป็นประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นประดับศาสนสถานตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี เช่น เจดีย์จุลประโทนและพระประโทนเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เขาคลังใน จังหวัดเพชรบูรณ์ บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ ทุ่งเศรษฐี จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น       สันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปสิงห์ทั้ง ๒ ชิ้นนี้เป็นประติมากรรมที่ประดับอยู่บนจุกดินเผา ซึ่งใช้อุดปากภาชนะประเภทปากแคบหรือขวดที่มีความสำคัญ อาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ หรืออาจเป็นเครื่องใช้ของบุคคลชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองก็เป็นได้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. ดวงกมล  อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.


เลขทะเบียน : นพ.บ.403/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4 x 52.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 146  (58-70) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มาลัยหมื่น--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.534/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 574 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 179  (291) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มหาวงศ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อผู้แต่ง : ตรี อมาตยกุล ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต จำนวนหน้า : 126 หน้า สาระสังเขป : หนังสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางริ้ว ประกาศสุขการ และนายสุธี ประกาศสุขการ เนื้อหากล่าวถึงสภาพภูมิประเทศและสภาพทั่วไปของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงตำนานเมืองตั้งแต่ 2,000 ปีที่ผ่านมา และประวัติของสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ ป้อมเพชร พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท วัดศรีสรรเพชญ วัดเจ้าพญาไท และโบราณสถานในเกาะบางปะอิน เป็นต้น



พระอังคารพระอิศวรทรงสร้างจากกระบือ ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีชมพูหม่น พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษผิวสีทองแดง ทรงกระบือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน เป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ สัญลักษณ์เลข ๓ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘