ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,550 รายการ
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-ฉกษัตริย์)
สพ.บ. 417/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 72 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.179/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 101 (80-85) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง สลากริวิชาสุตฺต (สลากวิชาสูตร)
สพ.บ. 319/2ข
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 4.6 ซม. ยาว 58 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.275/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 3.5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 117 (232-239) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : กฐินเภทวินิจฺฉยกถา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ผลการตรวจสอบโบราณสถานโคกพระ ซึ่งอยู่ในวัดโคกพระ บ้านหนองพยอม - สวนหอม ตำบลตะคุอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
๑. พื้นที่ที่พบหลักฐาน ตั้งอยู่ในเขตวัดโคกพระ บ้านสุขัง หมู่ ๙ ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านสุขังสภาพปัจจุบันภายในพื้นที่วัดเป็นพื้นที่ราบค่อนข้างสูง โดยมีระดับสูงจากพื้นที่โดยรอบประมาณ ๑ เมตรตำแหน่งที่พบหลักฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่วัด ซึ่งมีต้นไม้ขนาดกลาง ขนาดเล็กและวัชพืชขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณ
๒. หลักฐานโบราณวัตถุสำคัญที่พบ ได้แก่ หินทรายชิ้นส่วนเสาประดับกรอบประตู จำนวน ๓ ชิ้น วางซ้อนกันเป็นช่องประตู เป็นกรอบประตูตัวข้าง ๒ ชิ้น และกรอบประตูตัวบน ๑ ชิ้น ส่วนด้านล่างมีดินถมปิดทับอยู่ กรอบประตูทั้ง ๓ ชิ้น มีการสลักตกแต่งเป็นเส้นนูนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตามรูปแบบที่พบทั่วไปในโบราณสถานที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมเขมรประเภทปราสาทหิน ซึ่งในเขตพื้นที่อำเภอปักธงชัยพบโบราณสถานประเภทนี้จำนวนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบหลักฐานแท่งหินทรายรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๑ ชิ้น วางนอนอยู่บนพื้นดินใกล้กับตำแหน่งของกรอบประตูตัวข้าง หินทรายก้อนนี้มีร่องรอยการสลักตัวอักษรเป็นภาษาไทย อ่านเป็นใจความสำคัญได้ว่า “พระอนนท จารุวัณโน ภิกษุ สามเณร และชาวบ้านสุขัง ร่วมใจบูรณปฏิสังขรณ์ ๔ ก.พ.๒๕๒๕”
๓. จากการสำรวจตรวจสอบพื้นที่โดยรอบโบราณวัตถุดังกล่าว ไม่พบหลักฐานโบราณวัตถุหรือร่องรอยของซากโบราณสถานหรือสิ่งก่อสร้างใดๆ เพิ่มเติมอีก และพบว่ากรอบประตูทั้ง ๓ ชิ้น ไม่ได้มีลักษณะหรือมีร่องรอยการวางซ้อนประกอบกันเป็นชุดกรอบประตูของแท้ดั้งเดิม ตามรูปแบบและเทคนิควิธีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเขมรประเภทปราสาทหิน ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า กรอบประตูทั้ง ๓ ชิ้น น่าจะถูกขนหรือเคลื่อนย้ายมาจากโบราณสถานปราสาทหินแห่งอื่น ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง และนำมาจัดวางประกอบซ้อนกันไว้ในพื้นที่ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕
๔. ฐานข้อมูลกรมศิลปากร ฐานข้อมูลสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา และฐานข้อมูลกลุ่มโบราณคดี ไม่พบข้อมูลว่าพื้นที่ที่พบหลักฐานนี้ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมเขมรประเภทปราสาทหิน หรือเป็นโบราณสถานประเภทอื่นๆ
นายประพันธ์ เนื่องมัจฉา นายช่างสำรวจชำนาญงาน
นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ
นางสาวทัศนีย์ ศรีจรัสวัฒนชัย เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศ
นายอมรวุฒิ สังข์ศิลปชัย พนักงานขับรถยนต์
วันศุกร์ ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสำนักช่างสิบหมู่ พร้อมมอบแนวนโยบายในการทำงาน เพื่อสนองตอบภารกิจของกรมศิลปากร ในการนี้นายสุรัฐกิจ พีรพงศ์ศิลป ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ พร้อมผู้บริหารสำนักช่างสิบหมู่ ให้การต้อนรับ พร้อมนำชมการทำงานในส่วนต่างๆ ของสำนักช่างสิบหมู่
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครอิเหนา เล่ม 5. พระนคร: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, 2510.
บทละครอิเหนามีที่มาจากนิทานอิงพงศาวดารชวา ต่อมาบทละครอิเหนาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ว่าเป็นวรรณคดีไทยที่เป็นยอดของบทละครรำเพราะเป็นหนังสือที่แต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา ความไพเราะ ทั้งกระบวนการที่จะเล่นละครประกอบกัน และเป็นหนังสือดีสำหรับการศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ
ชื่อเรื่อง สพ.ส.22 คาถาอาคมประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ 9; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง ไสยศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค.2538
ชุดองค์ความรู้ "นานาสาระ...คาม" ตอนที่ 3 "โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส : 3 มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า คู่หล้ากันทรวิชัย"
โบราณสถานวัดสุวรรณาวาส ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นั้น ภายในวัดมีมรดกวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญ ถึง 3 รายการ ได้แก่ 1) สิมหลังเก่า 2) พระพุทธรูปมิ่งเมือง ที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี สลักจากหินทรายก้อนเดียว เเละเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง 1 ใน 2 องค์ ของชาวกันทรวิชัย และ 3) จารึกหินทรายสีแดง จารอักษรไทยน้อย ภาษาไทย-ภาษาบาลี ซึ่งปัจจุบันเลือนรางลงมากแล้ว โดยโบราณสถานแห่งนี้จะมีข้อมูลทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์อย่างไรบ้างนั้น โปรดติดตามได้เลยครับ ...
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เรื่อง “หนังตะลุง” ศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ ตอนที่ ๒ ค้นคว้าและเรียบเรียงโดย นางปรางวไล ทองบัว เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ปฏิบัติงานที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช https://www.facebook.com/nakhon.museum/posts/pfbid034RDC3uobY77VctX7C2JXmxg99cyC7zU4QBsJnXWUMUCBWQcnVU4rYXt3JtuEJCExl
๙๑ ปี เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย ถึงแก่พิราลัย๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ วันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายมหาอำมาตย์โท เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าน้อย มหาพรหม ณ น่าน) ม.ป.ช., ป.ม., ท.จ.ว., ว.ป.ร. ๓ นายพลตรี ราชองครักษ์พิเศษ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๔ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายของน่าน ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามประเทศ ในปี ๒๔๗๕ และยกเลิกระบบเจ้าผู้ครองนครเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เป็นโอรสที่ ๓ ของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชฏฐมหันต์ ชัยนันทมหาราชวงศาธิบดี เจ้านครน่าน มารดาชื่อเจ้าหญิงขอดแก้ว ประสูติในสมัยรัชกาลที่ ๓ ณ บ้านช้างเผือก ตำบลเวียงเหนือ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๘๙ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะเมีย มีนามเดิมว่า "เจ้าน้อย มหาพรหม ณ น่าน"-เมื่อมีชนมายุได้ ๑๗ ปี บิดาได้มอบให้เป็นศิษย์พระสังฆราชนันทชัย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำ เพื่อให้ศึกษาข้อปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และได้บรรพชาสามเณรอยู่ที่วัดพระธาตุช้างค้ำ ๒ พรรษา ถึง -พ.ศ.๒๔๐๗ ได้ลาจากสมณเพศ เพื่อตามบิดาลงไปเฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร ทูลเกล้าฯ ถวายช้างพลายคำหมื่น-พ.ศ.๒๔๐๙ เสกสมรสกับเจ้าหญิงศรีโสภา ซึ่งเป็นธิดาของพระยาวังขวา (คำเครื่อง) และเจ้าหญิงอุสา เจ้ามหาพรหมสุรธาดามีโอรสธิดากับเจ้าศรีโสภา รวม ๘ คน คือ โอรส ๖ คน และธิดา ๒ คน-พ.ศ.๒๔๒๔ เป็นหัวหน้าคุมเครื่องราชบรรณาการลงไปทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๕ ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐๐ ปี ใน พ.ศ.๒๔๒๕-พ.ศ.๒๔๓๒ เป็นหัวหน้าควบคุมกำลังพล และช้างปราบปรามกบฏฮ่อ-พ.ศ.๒๔๓๓ รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าราชบุตร-พ.ศ.๒๔๓๔ จัดการตั้งบ้านเมืองที่หลวงน้ำทา และเมืองภูคา ติดต่อกับสิบสองปันนา-พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราวิจิตราภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๕ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.))-พ.ศ.๒๔๓๖ รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าราชวงศ์ ในงานรัชฎาภิเษก และได้รับพระราชทานตราช้างเผือกชั้นที่ ๔ ภูษณาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๔ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)) กับเหรียญรัชฎาภิเษก-พ.ศ.๒๔๔๓ รับราชการตำแหน่งเสนามหาดไทยจังหวัดน่าน และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอุปราช ได้รับพระราชทานตรานิภาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๓ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.))-พ.ศ.๒๔๔๘ ได้รับพระราชยศเป็นนายพันโทพิเศษในกรมทหารบกราบที่ ๑๘ และนำเครื่องราชบรรณาการลงไปน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในงานฉลองพระบรมรูปทรงม้า ณ พระราชวังดุสิต -พ.ศ.๒๔๔๙ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)-พ.ศ.๒๔๕๑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๒ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)-พ.ศ.๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์เอก และเลื่อนยศเป็นนายพันเอกพิเศษในกรทหารบก ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ ๒ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)-พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นมหาอำมาตย์ตรี ได้รับพระราชทานตราจุลวราภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๒ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.))-พ.ศ.๒๔๖๑ รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้เลื่อนยศเป็นนายพลตรีพิเศษในกรมทหารบก และได้รับพระราชทานสายสะพายตราปถมาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๑ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย)-พ.ศ.๒๔๖๒ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้ามหาพรหมสุรธาดา นันทบุราธิวาศวงศ์ บรมราชประสงค์สฤษดิรักษ์ นิตยสวามิภักดิ์อาชวาศัย ประสาสนนัยวิจิตร กิติคุณาดิเรก เอกโยนกมหานคราธิบดี เจ้าผู้ครองนครน่าน และได้รับพระราชทานยศเสือป่าเป็นนายกองเอก ในกองเสือป่า จังหวัดน่าน-พ.ศ.๒๔๖๓ เลื่อนยศเป็นมหาอำมาตย์โท-พ.ศ.๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานสายสะพายตราปถมาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๑ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.))-พ.ศ.๒๔๖๘ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว-พ.ศ.๒๔๖๙ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ ณ เมืองเชียงใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้เป็นผู้อัญเชิญพระขวัญในนามของเจ้าประเทศราชในมณฑลพายัพ และได้รับพระราชทานสายสะพายตรามหาปรมาภรณ์ช้างเผือกชั้นสูงสุด (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ป่วยโรคชรา ถึงพิราลัยวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๔ เวลา ๑๖.๐๐ น. สิริชนมายุได้ ๘๕ ปี ในการพระราชทานเพลิงศพเจ้ามหาพรหมสุรธาดา (น้อย มหาพรหม ณ น่าน) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์โทพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศคิริวงศ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ เสด็จแทนพระองค์ พร้อมด้วยเจ้าพนักงานกรมภูษามาลา กรมสนมพลเรือน แผนกพระราชกุศล และแผนกกระบวนอิสสริยยศ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๔ (พ.ศ.๒๔๗๕) เวลาบ่าย เจ้าพนักงานโดยสารรถไฟออกจากกรุงเทพฯ ถึงสถานีเด่นชัยวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ แล้วขึ้นรถยนต์ต่อไปถึงจังหวัดน่าน วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ เจ้าพนักงานจัดโกศโถประกอบศพ มีฐานตั้งรองโกศ ๑ ชั้น พร้อมด้วยเครื่องอิสริยยศ ฉัตรเบญจาตั้ง ๔ คัน เจ้าภาพบำเพ็ญการกุศล มีประโคมกลองชะนะ ๑๐ จ่าปี่ ๑ ตามเวลา ครั้งวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๕ เจ้าพนักงานยกโกศศพลงเปลื้องเสร็จแล้วยกขึ้นตั้งบนจิตกาธาน ณ สุสานดอนชัย ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าทศศิริวงศ์ ทรงทอดผ้าไตรของหลวง ๑๐ ไตร กับพระราชทานเงิน ๑ ชั่ง พระสงฆ์บังสุกุล อนุโมทนา เจ้าพนักงานเชิญหีบเพลิงและเครื่องพระราชทานเพลิง เข้าไปถวายผู้แทนพระองค์ทรงจุดเพลิงพระราชทานพร้อมด้วยเจ้านายบุตรหลานของเจ้านครน่าน เจ้าพนักงานสุมอัฐิไว้คืนหนึ่ง รุ่งขึ้นเจ้าพนักงานประมวลแปรรูปปิดคลุมไว้ เจ้าภาพบำเพ็ญกุศลสามหาบแล้ว เจ้านายบุตรหลานเก็บอัฐิไปทำการกุศลต่อไปเป็นเสร็จการเอกสารอ้างอิงประวัติ มหาอำมาตย์โท และนายพลตรีเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน. โรงพิมพ์ศรีหงส์ มุมถนนอุณากรรณ. ๒๔๘๐.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๘ หน้า ๑๘๘๘ วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๗๔ เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/1888.PDFราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๘ หน้า ๔๘๗๖ – ๔๘๗๘ วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๗๕ เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/4876.PDF