ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,550 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยร่วมกับกองทุนพระองค์เจ้าวิมลฉัตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น และสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย จัดโครงการประกวดสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้กรอบแนวคิด “การอนุรักษ์และพัฒนามรดกโลกโดยเยาวชน” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ อาคารวรรณกลาง สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย
จัดขึ้นในวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2554 (วันขึ้น 2-3 ค่ำ เดือน 3) บริเวณศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๔ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี ได้ร่วมกับชุมชนวัดบ้านนาควาย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย โดยภายในงานประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้และตอบข้อซักถามเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์สิมบ้านนาควาย ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจอันดีระหว่างสำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี และชาวชุมชนวัดบ้านนาควย นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานของสำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี ที่ผ่านมา รวมถึงการร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบโบราณสถานอีกด้วย
เว็ปไซต์หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี : www.finearts.go.th/suphanburiarchives
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2536 เห็นชอบโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (หน่วยงานต้นสังกัดในขณะนั้น) ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรขยายงานจดหมายเหตุและจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติประจำภูมิภาค เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาเอกสารสำคัญของชาติ รวมทั้งให้บริการค้นคว้าวิจัยแก่ส่วนราชการและประชาชนในท้องถิ่น
กรมศิลปากร โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (หน่วยงานต้นสังกัดในขณะนั้น) ได้จัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ขึ้น เนื่องจากเห็นว่าจังหวัดสุพรรณบุรีมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงเป็นจังหวัดที่มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการที่สำคัญในพื้นที่ภาคตะวันตก
อาคารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ออกแบบโดยสถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร โดยเริ่มก่อสร้างอาคารในปี พ.ศ. 2538 บนพื้นที่ดอนย่างแย้ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ภายในแบ่งเป็นส่วนสำนักงาน ส่วนคลังเก็บเอกสาร ส่วนปฏิบัติการ และส่วนบริการ โดยเฉพาะส่วนเก็บเอกสารมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อรักษาเอกสารให้คงสภาพดี มีอายุยาวนานด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี และในปี พ.ศ. 2542 ได้เริ่มปฏิบัติงานตามระบบงานจดหมายเหตุ กระทั่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดในสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติงานรวม 5 ประการ คือ
1. พิจารณา ตรวจสอบ ติดตาม และรับมอบเอกสารสำคัญที่สิ้นกระแสการปฏิบัติงานจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนในพื้นที่รับผิดชอบ รวม 18 จังหวัด (รายละเอียดโปรดคลิก)
2. วิเคราะห์ ประเมินคุณค่า จัดหมวดหมู่ จัดทำเครื่องมือช่วยค้นคว้า และอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ
3. รวบรวมข้อมูล สังเกตการณ์ และบันทึกเหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่น
4. ให้บริการค้นคว้าวิจัยข้อมูลและจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานจดหมายเหตุ
5. ปฏิบัติงานสารบรรณ บุคลากร การเงินและพัสดุ การจัดทำแผนงานงบประมาณ ดูแลอาคารสถานที่ และรักษาความปลอดภัย
หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21
ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี - ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ
- เพื่อเป็นเกียรติยศแก่บุคคลที่กระทำคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองและสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูยึดถือให้เป็นแบบอย่าง
- เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมประวัติ ผลงาน และเกียรติคุณของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 สำหรับให้ผู้สนใจได้ศึกษา ค้นคว้า และนำไปเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิต
- เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์
อาคารหอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ออกแบบโดยสถาปนิกจากสถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร เริ่มก่อสร้างในวันที่ 25 กันยายน 2541 แล้วเสร็จในวันที่ 16 ตุลาคม 2543 ลักษณะเป็นอาคารศิลปะไทยประยุกต์ 2 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนจัดแสดง ส่วนสำนักงาน ห้องบริการค้นคว้า ห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์ และส่วนชั้นบนเป็นส่วนจัดแสดง ภายหลังเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 โดยกรมศิลปากรมอบหมายให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ดูแลรับผิดชอบการดำเนินงาน
ปัจจุบันหอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 สังกัดในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติงานรวม 2 ประการ คือ
1. รวบรวมและบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับนายบรรหาร ศิลปอาชา
2. ให้บริการข้อมูลและข่าวสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนายบรรหาร ศิลปอาชา
เอกสารจดหมายเหตุคืออะไร?
เอกสารจดหมายเหตุ หมายถึง ข้อมูลทุกรูปแบบที่หน่วยงานผลิตขึ้นใช้ในการปฏิบัติงาน แต่สิ้นกระแสการปฏิบัติงานแล้ว และได้รับการประเมินว่ามีคุณค่าเป็นข้อมูลชั้นต้นที่แสดงถึงการดำเนินงานและพัฒนาการของหน่วยงานนั้นๆ รวมถึงเอกสารส่วนบุคคลที่ได้รับมอบจากบุคคลสำคัญหรือทายาท ซึ่งมีคุณค่าต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ประวัติศาสตร์ของหน่วยงานและบุคคล โดยสามารถแบ่งประเภทเอกสารจดหมายเหตุได้เป็น
1.เอกสารจดหมายเหตุประเภทลายลักษณ์อักษร คือ เอกสารที่สื่อความหมายเนื้อหาด้วยลายลักษณ์อักษร อาจเป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เอกสารประเภทนี้ อาทิ เอกสารโต้ตอบ เอกสารการประชุม รายงาน บทความ ฯลฯ
2.เอกสารจดหมายเหตุประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ คือ เอกสารที่สื่อความหมายเนื้อหาด้วยภาพหรือเสียง เอกสารประเภทนี้ อาทิ ภาพถ่าย ฟิล์ม (เนกาทีฟและภาพยนตร์) สไลด์ โปสเตอร์ ปฏิทิน บัตรอวยพร แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ฯลฯ
3.เอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ แผนผัง เอกสารประเภทนี้ อาทิ แผนที่ แผนผัง แบบแปลน พิมพ์เขียว ฯลฯ
4.เอกสารจดหมายเหตุประเภทวัสดุคอมพิวเตอร์ คือเอกสารที่บันทึกข้อมูลและค้นหาข้อมูลที่บันทึกไว้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เอกสารประเภทนี้ อาทิ ซีดี วีซีดี แผ่นดิสก์ ฯลฯ
ความสำคัญของเอกสารจดหมายเหตุ
- เป็นหลักฐานอ้างอิงการปฏิบัติงานและพัฒนาการของหน่วยงาน เช่น ประวัติการจัดตั้งหน่วยงาน นโยบาย โครงการและกิจกรรมที่ปฏิบัติ ฯลฯ
- เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของชาติ เช่น เอกสารเกี่ยวกับเขตแดน ฯลฯ
- เป็นประโยชน์ด้านการคุ้มครองสิทธิ์ เช่น เอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ฯลฯ
- เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ
ที่มาของเอกสารจดหมายเหตุ
· รับมอบจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงเอกสารของสมาคม มูลนิธิต่างๆ
· รับมอบจากบุคคลสำคัญหรือทายาทเป็นผู้บริจาคหรือมอบให้โดยพินัยกรรม ซึ่งเป็นเอกสารแสดงให้เห็นถึงประวัติและผลงานของบุคคลนั้น
· จัดซื้อเอกสารเพื่อให้ข้อมูลประเทศครบถ้วนสมบูรณ์ โดยจัดซื้อต้นฉบับหรือจัดทำสำเนาเอกสาร
· จากการแลกเปลี่ยนเอกสาร โดยมีการทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงาน เช่น โครงการแลกเปลี่ยนเอกสารจดหมายเหตุระหว่างประเทศไทยกับประเทศรัสเซีย
· หอจดหมายเหตุแห่งชาติจัดทำขึ้น อาทิ บันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ บันทึกประวัติศาสตร์บอกเล่า ฯลฯ
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. 2550. คู่มือการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมศิลปากร. 2551. คู่มือการจัดตั้งหอจดหมายเหตุท้องถิ่นและการจัดทำบันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ, กรุงเทพฯ:สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม.
ขออนุญาตทำการค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
ขั้นตอนที่ ๑ ยื่นคำขอได้ที่สถานที่ ดังนี้
๑.๑ กรณีผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ให้ยื่น ณ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
๑.๒ กรณีที่ผู้ขอมีสถานที่ทำการค้าในเขตจังหวัดอื่นนอกจากข้อ ๑.๑ ให้ยื่น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น หากในจังหวัดนั้นไม่มีพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ ให้ยื่น ณ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแห่งจังหวัดนั้น
ขั้นตอนที่ ๒ กรอกแบบฟอร์ม ศก.๑
๒.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
๒.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
๒.๓ กรณีเป็นนิติบุคคล
ขั้นตอนที่ ๓ แนบเอกสารและหลักฐาน
๓.๑ กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
(ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
(ค) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(จ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้า หรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๒ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
(ก) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ข) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
(ค) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
(ง) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการ นาด ๑ นิ้ว ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป
(จ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า
(ฉ) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๓ กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการจดทะเบียน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด(ข) บัญชีรายชื่อและสัญชาติของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน (ค) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งแทนบัตรประจำตัวประชาชนได้ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ(ง) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ(จ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการ ขนาด ๕ x ๖ เซนติเมตร ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวน ๒ รูป (ฉ) แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ทำการค้า(ช) สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ ใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
๓.๔ กรณีเป็นบริษัทจำกัด
(ก) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจโบราณ
ปราสาทจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ และ
ปราสาทยายเหงา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
วันอังคารที่ ๑๒ และ วันพุธที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖