ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,950 รายการ




ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ปีที่พิมพ์ : 2466 หมายเหตุ : -              โคลงเรือลอยพระประทีปเล่มนี้ หลวงสารประเสริฐ นุช แต่งเมื่อแรกสร้างเรือพระประทีปขึ้น พรรณนาชื่อเรือและชื่อผู้ทำเรือถวายทุก ๆ ลำ เป็นเหมือนบัญชีรายชื่อเรือพระประทีปที่มำในครั้งนั้น


          พระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธเจ้าขนาบข้างด้วยรูปบุคคล จากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง           จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง



ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาวิภังค์-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  129/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี




ชื่อผู้แต่ง            ดำรงแพทยาคุณ , พระยา ชื่อเรื่อง             หนังสือจดหมายเหตุ ของ พลตรี พระยาดำรง แพทยาคุณ ว่าด้วยการศึกษาการทำงาน และการท่องเที่ยว ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์       พระนคร สำนักพิมพ์         โรงพิมพ์ตีรณสาร ปีที่พิมพ์            ๒๔๙๖ จำนวนหน้า        ๑๕๒  หน้า หมายเหตุ          นางสาวเชื้อชื่น  พุทธิแพทย์ พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ(ชื่น  พุทธิแพทย์) ป.ม. , ท.จ. , ภ.ป.ร.๒ , ร.ด.ม.(ศ) , 9 ณ เมรุหน้าพลัลพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๖                      หนังสือจดหมายเหตุนี้ พระยาดำรงแพทยาคุณได้เรียบเรียงขึ้นไว้เองจากบันทึกประจำวันที่ได้จดไว้เป็นเวลา ๕๐ ปีเศษ ว่าด้วยการศึกษา การทำงาน และการท่องเที่ยว



ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๑๑๔ เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)



          ตุ๊กตาสังคโลก เป็นสังคโลกประเภทหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏหลักฐานการพบเครื่องสังคโลก นิยมปั้นเป็นรูปบุคคลในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น สตรีอุ้มเด็ก บุคคลขี่กระบือ และรูปสัตว์ อาทิ ช้าง วัว นก แม่ไก่กับลูก           ตุ๊กตาสังคโลกเป็นหลักฐานหนึ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยสุโขทัยได้ชัดเจนมากขึ้น อาทิ การแต่งกาย การเลี้ยงสัตว์ สัตว์พาหนะ นอกจากนี้ ยังสะท้อนความเชื่อและการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนใกล้เคียงด้วย ตัวอย่างเช่น ตุ๊กตาสังคโลกที่มีการผสมระหว่างคนและสัตว์นั้น ในหนังสือ “สาส์นสมเด็จ” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเคยมีพระวินิจฉัย เรียกว่า นรสิงห์ เป็นสัตว์ผสมที่มีศีรษะเป็นคนสวมเครื่องประดับศีรษะ มีลำตัวเป็นสิงห์ ซึ่งปรากฏในตำนานของชาวมอญแถบ เมืองสะเทิมในประเทศพม่า           ปัจจุบัน เรายังไม่พบหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ว่าตุ๊กตาสังคโลกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีผู้สันนิษฐานว่าทำขึ้นเพื่อเป็นของเล่น หรือใช้ในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์โดยใช้ตุ๊กตาเป็นตัวตายตัวแทน เมื่อเสร็จพิธีก็จะหักคอ แขน หรือขาของตุ๊กตา หรือที่คนไทยมักเรียกกันว่า ตุ๊กตาเสียกบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หน้าที่การใช้งานที่แท้จริงของตุ๊กตาสังคโลกก็ยังคงเป็นปริศนาที่ต้องศึกษาหาคำตอบต่อไป ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก


 สวัสดีค่ะ!  #พี่โข๋ทัยมีเรื๋องเล๋า ღ วันนี้จะพาไปทัวร์แหล่งเตาที่พบใหม่ในจังหวัดพิจิตรกันค่ะ โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ นี้ ที่แห่งนี้นับเป็นโบราณสถานสำคัญอีกแห่งหนึ่งที่สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย กำลังดำเนินงานศึกษาทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่องมาจากในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ นั่นก็คือ #แหล่งเตาบึงวัดป่า  . ซึ่ง! มีรายละเอียดและความคืบหน้าเป็นอย่างไรนั้น มาค่ะ! ตามพี่โข๋ทัยฯ มาทางนี้เลยค่ะ . . ::: โครงการโบราณคดีภาคเหนือตอนล่าง : ศึกษาแหล่งเตาบึงวัดป่า  ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร  ระยะที่ ๒ (ตอนที่ ๑)  ::: . ประวัติการค้นพบ  . แหล่งเตาบึงวัดป่าตั้งอยู่บริเวณบึงวัดป่า ซึ่งอยู่ห่างจากแม่น้ำน่านประมาณ ๖๐๐ เมตร ในเขตพื้นที่หมู่ ๔ ตำบลท่านั่ง  อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร เป็นกลุ่มเตาสมัยสุโขทัยที่เพิ่งค้นพบใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑ ระหว่างการขุดลอกแหล่งน้ำบึงวัดป่า บริเวณขอบบึงได้พบร่องรอยเตาเผาภาชนะดินเผาที่ถูกขุดไปบางส่วน และมีบางส่วนยังอยู่ในผนังชั้นดิน ลักษณะเป็นเตาขุดใต้ดินมิได้ก่ออิฐ ผนังเตามีคราบซิลิก้าละลายติดอยู่ พบเศษภาชนะดินเนื้อแกร่ง (Stone Wares) ทั้งแบบไม่เคลือบผิวและเคลือบสีน้ำตาล ประเภท ไห กระปุก ครก เป็นต้น  . สรุปการดำเนินงานทางโบราณคดี ปีงบประมาณ ๒๕๖๓  . ผลการดำเนินการทางโบราณคดีในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ข้อสรุปว่าแหล่งเตาบึงวัดป่าเป็นแหล่งเตาในสมัยสุโขทัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ โดยผลิตภาชนะประเภทไหเนื้อแกร่งเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งประเภทเคลือบสีน้ำตาลและประเภทไม่เคลือบผิว . การขุดค้นทางโบราณคดีในระยะที่ ๑ พบหลักฐานเป็นเตาเผาโบราณ ลักษณะเป็นเตาระบายความร้อนแบบแนวนอน (crossdraft klin) เตามีหลังคาโค้งรีคล้ายประทุนเรือ ก่อด้วยดิน ผนังเตามีคราบซิลิก้าละลายติดอยู่ เตามีขนาดกว้าง ๒.๙๐ เมตร ยาว ๙ เมตร วางตัวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ สภาพไม่สมบูรณ์ . แหล่งเตาแห่งนี้นับว่าเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง และในพื้นที่จังหวัดพิจิตร เพราะแหล่งเตาเผาภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่งในประเทศไทยนั้นมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น  . จากความสำคัญของแหล่งเตาบึงวัดป่า สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย จึงจัดทำโครงการศึกษาแหล่งเตาบึงวัดป่าระยะที่ ๒ เพื่อทำการศึกษาแหล่งเตาให้ได้ข้อมูลมากขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ต่อไป นอกจากนี้ ข้อมูลจากแหล่งเตาบึงวัดป่า จะเป็นส่วนเติมเต็มให้กับข้อมูลแหล่งเตาในเขตภาคเหนือตอนล่างที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งด้วย . การดำเนินงานทางโบราณคดี ปีงบประมาณ ๒๕๖๔  . ปัจจุบันอยู่ในระหว่างขั้นตอนดำเนินงานขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี ในที่ดินของ นางสาวนพเก้าว์ สุวรรณ์ ราษฎรในพื้นที่พบแหล่งเตา ซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน โฉนดที่ดินเลขที่ ๖๒๕๕ หมู่ ๔  ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร อนุญาตให้สำนักศิลปากร  ที่ ๖ สุโขทัย ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี . หลุมขุดค้นมีขนาด ๔ x ๗  เมตร สภาพผิวดินที่พบร่องรอยแหล่งเตาถูกปกคลุมด้วยต้นผักชีและวัชพืช จากการดำเนินงานในปัจจุบัน เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเตาที่พบใหม่นี้น่าจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์...  . ซึ่งในส่วนของรายละเอียดความคืบหน้า จะแจ้งให้ทราบทางแฟนเพจสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย โปรดติดตามตอนต่อไป พบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ  .



Messenger