ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ขอเชิญร่วมกิจกรรม Happy Library ประจำเดือนตุลาคม พบกับกิจกรรมเล่นบอร์ดเกม มันส์สนั่น และการฝึกความจำ เรียนรู้เรื่องสี จำแนกกลุ่มสิ่งของ นับจำนวน คิดเลข เรียนรู้เรื่องสัตว์ ผู้สนใจสามารถร่วมสนุกได้ที่ห้องบริการเด็กและเยาวชน หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ทุกวันเสาร์ตลอดเดือนตุลาคม ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม สอบถามเพิ่มเติม โทร. 035 535 343
ด้วยไมตรีถิ่นศรีตรัง ที่ระลึกการแข่งขันกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.คัพ) 14 จังหวัดภาคใต้ ครั้งที่ 3 4-7 มิถุนายน 2546
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี และจังหวัดราชบุรั
ISBN 974-418-094-3
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
กรมศิลปากร
จำนวน 308 หน้า
งานตลาดปสานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จัดขึ้นทุกวันศุกร์-เสาร์ แรกของเดือน เวลา 5 โมงเย็น - 3 ทุ่ม บริเวณท่าน้ำริมตระพังตระกวน ด้านหลังพระบรมราชานุเสารีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ขอเชิญชม พระอาทิตย์อัสดงในจุดที่สวยที่สุดในสุโขทัย เลือกซื้อ เลือกชิม อาหารพื้นบ้าน นานาชนิดช้อป สินค้าของฝาก ของที่ระลึกในงาน ถนนคนเดิน ชมอาทิตย์อัสดง ตลาดปสาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (Sunset Foods & Culture)
พิเศษ ชมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม มินิไลท์แอนด์ซาวด์ โดยเยาวชนชาวสุโขทัย ฟรี!!!!!!
ติดต่อสอบถาม เพจ Facebook อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
https://www.facebook.com/skt.his.park/?ref=bookmarks
หรือโทรศัพท์ 055-633236 หรือ 055-697527
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจัดกิจกรรมวัน เด็กแห่งชาติ วันเสาร์ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๕ เวลาประมาณ ๙.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งมีผู้สนับสนุนเงิน อาหาร ของขวัญและของเล่นสำหรับเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การแสดงความสามารถบนเวทีของเด็กระดับอนุบาล ประถม และมัธยม เช่น การแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ การเต้นประกอบเพลง การร้องเพลง การแสดงมายากล กิจกรรมเกมภาคสนาม เช่น การตอบคำถามด้านวิชาการ การเล่นเกมต่างๆ
มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นเด็กและผู้ปกครองจำนวนรวมกว่า ๑,๐๐๐ คนเศษ
ในระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม - ๘ เมษายน ๒๕๕๔ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดำเนินโครงการเครื่องแก้วโบราณจากฐานความรู้โบราณคดี โดยการฝึกอบรมสมาชิกเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียดให้เกิดความรู้และทักษะในการทำลูกปัดแก้ด้วยวิธีการและเทคนิคสมัยใหม่ เพื่อให้สามารถนำไปสู่การต่อยอดให้เป็นอาชีพเสริมในยามว่างจากอาชีพเกษตรกรรมและเสริมสร้างทัศนะคติที่ดีต่อการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่แหล่งโบราณคดีดอนไร่ ด้วยแนวทางเก็บรักษาของเก่าไว้ศึกษาเรียนรู้ ทำของใหม่เพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องประดับและของที่ระลึก ซึ่งในอนาคตทางสมาชิกเครือข่ายมีแนวทางร่วมกันที่จะก่อตั้งร้านค้าพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทองเพื่อจำหน่ายสินค้าของชุมชนให้กับผู้สนใจที่เข้ามาเยี่ยมพิพิธภัณฑ์ชุมชนอย่างต่อเนื่องกว่า ๓๐,๐๐๐ คน ตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมา และลูกปัดแก้วก็จะเป็นหนึ่งในสินค้าที่จะเป็นเอกลักษณ์ของร้านค้าพิพิธภัณฑ์ชุมชนแห่งนี้ต่อไป
วันจันทร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๔๐ - ๑๓.๓๐ น. คุณเต้ย นำนักท่องเที่ยวชาวฮอลแลนด์ ๔ คน เข้าเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท โดยมีนายสมพงษ์ ช่วยแสง เป็นวิทยากรนำชม
พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน
ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet
ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ
การนำเข้าโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักร
ขั้นตอนและวิธีการขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรโบราณวัตถุที่จะขออนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. ประเภทของโบราณวัตถุ
โบราณวัตถุที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ โบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในต่างประเทศ ประเภทพระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพในศาสนา และชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถานตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ ๙๗๐๓.๐๐๙ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. พระพุทธรูป
๒. เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา
๓. ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน
๒. วัตถุประสงค์ในการขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
๑. นำมาจัดแสดงเพื่อการศึกษาและเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาในการจัดแสดง และส่งกลับไว้แน่นอน
๒. เพื่อการสักการบูชา ในปริมาณไม่เกิน ๒ ชิ้น
๓. เพื่อบริจาคให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
๓. ระยะเวลาที่ขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
กรมศิลปากรจะได้พิจารณาอนุญาตเป็นกรณี ๆ ไป
๔. ผู้ขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตจะต้องไปซื้อแบบฟอร์มในการขออนุญาตนำเข้า (แบบ ข.๑ ข.๒ หรือ ข.๓ แล้วแต่กรณี) ที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบฟอร์ม
(๒) ผู้ขออนุญาตทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร โดยแจ้ง เรื่อง ขออนุญาตนำพระพุทธรูป หรือ เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา หรือชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน หรือทั้งหมด เข้ามาในราชอาณาจักร โดยแจ้งรายละเอียด จำนวน ชนิด ขนาด (กว้าง, ยาว, สูง เป็น เซนติเมตร) ของโบราณวัตถุ และระบุสถานที่เก็บโบราณวัตถุที่นำเข้าพร้อมหมายเลข โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
(๓) เอกสารแนบการขออนุญาตนำเข้าประกอบด้วย
๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. หลักฐานการซื้อขาย ๔. ใบขนส่งสินค้า หรือ Invoice ๕. ถ้าเป็นโบราณวัตถุจะต้องขอใบอนุญาตนำของออกจากประเทศนั้นๆ ด้วย
(๔) ภาพถ่ายโบราณวัตถุที่ขออนุญาตนำเข้าเฉพาะด้านหน้า โดยถ่ายภาพ ๑ ครั้ง อัดพร้อมกันจำนวน ๒ ใบ ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว
(๕) ผู้ขออนุญาตจะต้องทำหนังสือขออนุญาตด่านศุลกากรเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุในคลังตามระเบียบกรมศุลกากร
(๖) ผู้นำเข้าจะต้องจัดพาหนะ รับ – ส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ไปตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุนั้น ๆ
๕. สถานที่ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
• สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ , โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓, ๐ ๒๒๘๑ ๖๗๖๖
• สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มนิติการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๔๕๖๖, ๐ ๒๒๒๕ ๘๙๕๘ โทรสาร ๐ ๒๒๒๖ ๑๗๕๑