ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,511 รายการ

          กรมศิลปากร ประกาศปิดการให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร หอสมุด แห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ และโรงละครแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ ๒๐ กรกฎาคม – ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๓๗) โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๘) ออกประกาศปิดสถานที่ต่าง ๆ ในท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม – ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 กรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่ดูแลแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติทั่วประเทศ จึงได้ออกประกาศ กรมศิลปากรปิดการให้บริการและการเข้าชมแหล่งเรียนรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมในความดูแลของกรมศิลปากรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๒๐ กรกฎาคม – ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ พร้อมทั้งได้ออกมาตรการให้หน่วยงานในสังกัดปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) เต็มรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละหน่วยงานโดยนำเทคโนโลยีออนไลน์เข้ามาช่วยในการสั่งการและการดำเนินงานไม่ให้กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามภารกิจของหน่วยงานและการบริการประชาชน พร้อมทั้งกำชับให้มีวินัยในการปฏิบัติตน หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด          นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้พัฒนาระบบการให้บริการออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ง่ายๆ ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ๔๑ แห่งและโบราณวัตถุ ๓๖๐ องศา อุทยานประวัติศาสตร์เสมือนจริง เรียนรู้มรดกโลก โบราณสถาน โบราณคดีที่สำคัญ สืบค้น ย้อนดูอดีต ผ่านเอกสารจดหมายเหตุ ภาพเก่าอันทรงคุณค่าและเรื่องราวในอดีตที่น่าค้นหา ท่องห้องสมุดดิจิทัล อ่านหนังสือหายาก เอกสารโบราณ หนังสือพิมพ์เก่าและหนังสือจากสำนักพิมพ์ชั้นนำ พร้อมคลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และวีดิโอที่น่าสนใจ เสพศาสตร์งานศิลป์กับข้อมูลศิลปกรรม ประณีตศิลป์จากช่างชั้นครู เลือกซื้อหนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากรผ่านระบบออนไลน์ ทำให้สามารถซื้อง่าย จ่ายสะดวก ที่สำคัญยังส่งตรงหนังสือถึงบ้าน ตลอดจน เพลิดเพลินกับการดูโขนละครออนไลน์ และองค์ความรู้จากครูกรมศิลป์ ผ่านช่องทาง YouTube กรมศิลปากร โดยสามารถติดตามรายละเอียดบริการต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเจตน์ ประยูรเวช ณ เมรุวัดสว่างชาติประชาบำรุง ตำบลบ้านยาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐





          ศิลาจารึกปุษยคีรี (หนังสือจารึกในประเทศไทย เล่มที่ ๑ เรียกว่า จารึกเขาปุมยะคีรี เลขทะเบียน รบ.๓) พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จารึก ๑ ด้าน ๑ บรรทัด ด้วยอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต เป็นชื่อเฉพาะ แปลว่า “ปุษยคิริ” (ปุษย หมายถึง ดอกไม้ และ คิริ หมายถึง ภูเขา) พิจารณาจากรูปแบบอักษรสามารถกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ราว ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) นักวิชาการได้ศึกษาและตีความจารึกดังกล่าว มีประเด็นสำคัญในการศึกษา แบ่งเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้          ๑. คำอ่านและคำแปลจารึก นักวิชาการได้อ่านและแปลจารึกแผ่นนี้เป็น ๒ แนวทาง ได้แก่ อ่านว่า “ปุมฺยคิริ” แปลว่า ปุมยคิริ หรือ เขาปุมยะ และ “ปุษยคิริ” แปลว่า ปุษยคิริ หรือ เขาปุษยะ ทั้งนี้ หากแปลว่า “ปุษยคิริ” น่าจะตรงกับการเทียบเคียงรูปแบบตัวอักษรสมัยหลังปัลลวะ และการแปลความหมายในภาษาสันสกฤตมากกว่า          ๒. การตีความชื่อเขาปุษยคีรีกับหลักฐานด้านภูมิศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีในเมืองโบราณอู่ทอง โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ตีความว่าชื่อ “ปุษยคีรี” ที่ปรากฏในจารึกดังกล่าว หมายถึงเขาทำเทียม ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของเมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งพบโบราณสถานสำคัญในสมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา รวมทั้งมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุสำคัญจำนวนมากในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้คงเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทองมายาวนาน ตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงสมัยอยุธยา โดยอาจเกี่ยวข้องกับความเชื่อท้องถิ่นผสมผสานกับความเชื่อที่แพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมอินเดีย และอาจเป็นภูเขาที่ใช้เป็นหลักหมาย (landmark) ในการเดินทางของนักเดินทาง          ๓. ความสัมพันธ์กับการรับวัฒนธรรมอินเดีย มีผู้เสนอว่า การพบจารึกปุษยคีรีในดินแดนไทย เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดียมายังประเทศไทย เนื่องจากมีความพ้องกับชื่อภูเขาศักดิ์สิทธ์ ได้แก่ ปุษฺปคีรี ในรัฐโอริสสา ซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าอโศกมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๗๐ – ๓๑๑) ทรงสถาปนา และเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการติดต่อกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะเวลาต่อมา ทั้งนี้ในเมืองโบราณอู่ทองยังไม่พบหลักฐานที่มีอายุเก่าไปถึงช่วงเวลาดังกล่าวที่จะช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ อย่างไรก็ตาม ชื่อเขาปุษยคิริ ในอินเดียคงเป็นชื่อมงคลที่ส่งอิทธิพลมาถึงการเรียกชื่อสถานที่สำคัญในวัฒนธรรมทวารวดี ให้มีความเกี่ยวข้องกับดินแดนศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธศาสนา ก็เป็นได้          จารึกปุษยคีรี จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ในวัฒนธรรมทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ ซึ่งสัมพันธ์กับการรับวัฒนธรรมและความเชื่อจากอินเดียในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ภูเขาปุษยคีรีอาจเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของคนในท้องถิ่นตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยอยุธยา ---------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง---------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔), กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙. นพชัย แดงดีเลิศ, จารึกทวารวดี : การศึกษาเชิงอักขรวิทยา, วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๒. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “ปุษยคิริ : เขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองอู่ทองที่ถูกลืมเลือน”, วารสารดำรงวิชาการ, ๑๓,๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗), หน้า ๑๓๓ – ๑๕๘. ที่มาของสำเนาภาพจารึก กรมศิลปากร, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ (อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๔), กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๕๙, หน้า ๓๑๐.


ชื่อเรื่อง                     นิราศสุพรรณผู้แต่ง                       เสมียนมี ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณกรรมเลขหมู่                      895.9112 ส921นสถานที่พิมพ์               พระนคร  สำนักพิมพ์                 รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์                    2503ลักษณะวัสดุ               38 หน้าหัวเรื่อง                     กวีนิพนธ์ไทย               ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกเนื้อหาภายในประกอบด้วยอธิบายนิราศสุพรรณ ที่เป็นสำนวนของเสมียนมีเพราะมีโคลงบอกไว้ตอนท้ายว่า เสมียนมีแต่งถวาย แต่งขณะที่ได้เดินทางไปเก็บอากรที่เมืองสุพรรณ


เลขทะเบียน : นพ.บ.180/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา, มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 102 (86-90) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พฺรยาสีสสารวตฺถุสุตฺต (พรยาสีสสารวตฺถุสูตร)  ชบ.บ.56/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                สลากริวิชาสุตฺต (สลากวิชาสูตร) สพ.บ.                                  319/3ก ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                               พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                           8 หน้า กว้าง 5.6 ซม. ยาว 57.7 ซม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                            บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี





"พระพุทธโสธร ประวัติ ตำนาน และงานพุทธศิลป์" ............................................................ --สืบเนื่องจากกระแสข่าวขององค์พระพุทธโสธร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จึงขอนำเรื่องราว ประวัติ ตำนาน และรูปแบบทางพุทธศิลปกรรม มาเผยแพร่ในโอกาสนี้ --พระพุทธโสธร หรือที่โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า หลวงพ่อโสธร ตามประวัติความเป็นมากล่าวว่าประดิษฐานที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๓๑๓ มีตำนานแสดงถึงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่าเดิมทีนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคเหนือ ต่อมาบ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ระส่ำระสายจึงได้แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำลงมาพร้อมกับพี่น้อง ๓ องค์ พระพุทธรูปองค์พี่มีขนาดใหญ่ล่องไปถึงแม่น้ำแม่กลอง ชาวประมงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “หลวงพ่อบ้านแหลม” พระพุทธรูปองค์เล็กล่องเข้าไปที่คลองบางพลี คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนพระพุทธรูปองค์กลางนั้นล่องไปทางแม่น้ำบางปะกง เมื่อมาถึงบริเวณหน้าวัดหงส์ ชาวบ้านจำนวนมากช่วยกันยกฉุดแต่ก็ไม่สามารถนำขึ้นจากน้ำได้ จนมีอาจารย์ผู้หนึ่งได้ทำพิธีบวงสรวง และใช้ด้ายสายสิญจน์คล้องพระหัตถ์อัญเชิญขึ้นจากน้ำเป็นอันสำเร็จ วัดหงส์นี้กาลภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโสธร และขนานนามพระพุทธรูปศักดิ์สิทธินี้ตามชื่อวัดคือ “หลวงพ่อโสธร” --พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม รศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๕๑) คราวเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี ทรงกล่าวถึงพระพุทธโสธรไว้ว่า “...กลับมาแวะวัดโสธรซึ่งกรมหลวงดำรงคิดจะแปลว่า ยโสธร จะให้เกี่ยวข้องแก่การที่ได้สร้างเมื่อเสดจกลับจากไปตีเมืองเขมรแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถหรือเมื่อใดราวนั้น แต่เปนที่น่าสงสัยด้วยเห็นใหม่นัก พระพุทธรูปว่าทำด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สำคัญว่าเปนหมอดีนั้นคือองค์ที่อยู่กลาง ดูรูปตักและเอวงามเปนทำนองเดียวกันกับพระพุทธเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายไป เปนด้วยฝีมือผู้ที่ไปปั้น ว่าลอยน้ำมาก็เปนความจริง เพราะเปนพระศิลาคงจะไม่ได้ทำในที่นี้ ความนิยมนับถือในความเจ็บไข้อยู่ข้างจะมาก มีคนไปมาเสมอไม่ขาดจนถึงมีร้านธูปเทียนประจำอยู่ได้ ทั้งสี่สะพานและที่ประตูกำแพงแก้วกว่า ๒๐ คน ถามดูว่าขายได้อยู่ในวันละกึ่งตำลึง มีทอดติ้วพวกจีนเข้ารักษา เจ้าศรีไสยถวายกำปั้นเหล็กเจาะช่องไว้สำหรับเรี่ยไรใบหนึ่ง...” --จากเนื้อความดังกล่าวแสดงหลักฐานว่าพระพุทธโสธรนี้เป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหิน อภินิหารความศักดิ์สิทธิขององค์พระพุทธโสธรทำให้มีผู้คนเดินทางมาบูชาสักการะเป็นจำนวนมากมิได้ขาดมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ จวบจนมาถึงปัจจุบันก็ยังมีประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธามากราบขอพรให้สำเร็จสมความปรารถนาอยู่เป็นจำนวนมาก --ในด้านพุทธศิลป์ พระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๕ นิ้ว หรือ ๑๖๕ เซนติเมตร สูง ๑๙๘ เซนติเมตร พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่ง พระเนตรเล็กและเหลือบลงต่ำ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นทรงสูง สัดส่วนพระอุระค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับพระเพลาที่ดูกว้าง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวจรดพระนาภี ปลายแยกเป็นสองชายคล้ายเขี้ยวตะขาบ ด้วยลักษณะสำคัญเช่น พระพักตร์ พระเศียร พระรัศมี รูปแบบชายสังฆาฎิ และเทคนิคการสร้างอ้างอิงจากการอนุรักษ์ครั้งสำคัญราวปี พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยกรมศิลปากร ซึ่งมีนายสุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมการบูรณะในขณะนั้น พบว่าพระพุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินทรายแยกเป็นชิ้นรวมจำนวน ๑๑ ชิ้น นำมาประกอบเข้าด้วยกันและลงรักปิดทอง ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้น ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาศิลปากร ได้กำหนดรูปแบบเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ สมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ --ทั้งนี้ ด้วยความสำคัญของประวัติ ความเป็นมา รูปแบบอายุสมัย ตลอดจนความเชื่อ ความศรัทธาของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา และพุทธศาสนิกชนไทย ในฐานะพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๔๗ น ๘ ++อ้างอิง++ --กรมศิลปากร. พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประกาสมณฑลปราจีน เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑). กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.], ๒๔๙๕ (พิมพ์ในงานพระเมรุ พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วันที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๕). --คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.], ๒๕๔๒ --เลิศลักษณา บุญเจริญ (บรรณาธิการ). โสธรวรารามวรวิหาร มงคลคู่แปดริ้ว (ที่ระลึกในงานพระราชพิธียกยอดฉัตรพระอุโบสถหลังใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดาวฤกษ์ จำกัด, ๒๕๕๔ --วัดโสธรวรารามวรวิหาร. ประวัติหลวงพ่อโสธร. [ม.ป.ท.], ๒๕๑๑ --ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธปฏิมา งานช่างพลังแห่งศรัทธา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๔ ++ผู้เรียบเรียบ: นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี++


วิสันต์  บัณฑวงศ์.  ปูชนียสถานและโบราณวัตถุ.  พระนคร: ป.พิศนาคะ การพิมพ์, 2514.           นำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ความรู้และแนวศึกษาเกี่ยวกับปูชนียสถานและโบราณวัตถุต่างๆ ของไทย


ขอเชิญรับชม เรือนพระยาสุนทรานุรักษ์ในห้วงเวลา https://youtu.be/GMcRKf8i0B4


สวัสดีค่ะ วันนี้อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ได้นำสาระน่ารู้เรื่อง นาคปัก ไปชมกันได้เลยค่ะ นาคปักเป็นชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่ง ประดับบริเวณมุมประธานของชั้นวิมาน หรือชั้นหลังคาของปราสาทในวัฒนธรรมเขมร โดยทำเป็นรูปพญานาคอยู่ในโครงสามเหลี่ยม วิวัฒนาการมาจาก “ปราสาทจำลอง” ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของอินเดียใต้ เช่น วิหารมาวลีปุรัม เมืองมหาพลิปุรัม รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย แล้วจึงแพร่เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในวัฒนธรรมเขมรโบราณ การใช้ปราสาทจำลองประดับตกแต่งมุมชั้นวิมานของปราสาทเขมรพบได้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ และปลาย พุทธศตวรรษที่ ๑๖ สมัยศิลปะเกลียง – บาปวน รัชสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๑ ถึงพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ ๒ จึงเริ่มถูกแทนที่ด้วยนาคปัก ปราสาทที่ประดับด้วยนาคปักในช่วงเริ่มแรก ได้แก่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัด ศรีสะเกษ ปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว และปราสาทแม่บุญตะวันตก จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา เมื่อเข้าสู่สมัยนครวัด พุทธศตวรรษที่ ๑๗ การใช้นาคปักประดับปราสาทมีความแพร่หลายมากขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ สมัยบายน รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ พระองค์ทรงนับถือและอุปถัมภ์ศาสนาพุทธแบบมหายาน ทำให้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับรูปแบบสรวงสวรรค์ของศาสนาฮินดู แต่ใช้การประดับใบหน้าบุคคลขนาดใหญ่ คือ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร" บริเวณส่วนเรือนยอดของปราสาทแทน ทำให้การใช้นาคปักถูกลดบทบาทลง คติการใช้นาคปัก สันนิษฐานว่า มาจากตำนานพื้นเมืองเขมรเกี่ยวกับปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเขมรที่มาจากดินแดนอื่นได้เสกสมรสกับธิดานางนาค และปกครองอาณาจักรเขมร อีกทั้ง การใช้นาคปักประดับมุมประธาน ทำให้ยอดปราสาทมีลักษณะทรงพุ่มเป็นยุคแรก ๆ ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สอบเป็นยอดแหลม ดูรูปทรงอ่อนช้อย และงดงาม ไม่ดูแข็งเป็นมุมเหมือนใช้ปราสาทจำลอง นาคปักของปราสาทสด๊กก๊อกธมทำจากหินทราย มีลักษณะเป็นพญานาค ๕ เศียรอยู่ภายใน กรอบสามเหลี่ยม ตัวกรอบประดับตกแต่งด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา โดยประดับอยู่บริเวณมุมประธานของชั้นวิมาน บนยอดของปราสาท ยอดของปราสาทสด๊กก๊อกธมจัดเป็นปราสาททรงพุ่มยุคแรกของปราสาทในวัฒนธรรมเขมร ที่มาภาพ https://wanderwisdom.com/.../must-see-attractions-in...) https://www.facebook.com/.../a.216597220.../2443189699160582) อ้างอิง - ราฆพ บัญฑิตย์, ปราสาทสด๊อกก๊อกธม : ปราสาทเขมรทรงพุ่มรุ่นแรกในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร) - สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล, การกลายรูปจากอาคารจำลอง-นาคปัก-บรรพแถลงของปราสาทในศิลปะขอมมาเป็นกลีบขนุนของปรางค์ในศิลปะไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร) - กรมศิลปากร. (๒๕๖๕). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. -อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๖๒). ทิพยนิยายจากปราสาทหิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.