ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ


พระเสาร์พระอิศวรทรงสร้างจากเสือ ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ พรมด้วยน้ำอมฤตได้พระเสาร์มีสีกายดำคล้ำ ทรงเสือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ สัญลักษณ์เลข ๗ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐



สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการส่วนพระองค์            วันศุกร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๑๗ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๘ จัดแสดงโบราณวัตถุและโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีบริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี อาคารหลังเดิมเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ขนาด ๕๔ ตารางเมตร จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญพร้อมคำอธิบายประกอบ มีการจำลองหลุมขุดค้นและจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินใหม่ เมื่อมีการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีในจังหวัดกาญจนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงมากขึ้น กรมศิลปากรเล็งเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ให้สอดคล้องกับบริบทการศึกษาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน จึงมอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตามแผนพัฒนาระยะ ๕ ปี (พุทธศักราช ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) เมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ก่อสร้างอาคารจัดแสดงหลังใหม่ จำนวน ๑ หลัง เพื่อจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ลักษณะอาคารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สีดินเทศ มีเจาะช่องหน้าต่างขนาดต่าง ๆ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของหลุมขุดค้นทางโบราณคดี รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ อาคารสำนักงาน และส่วนบริการนักท่องเที่ยวให้อำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชม เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม           ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการ ซึ่งได้รับการปรับปรุงและออกแบบนิทรรศการถาวรใหม่ทั้งหมด โดยนำเทคโนโลยีร่วมสมัยมาเป็นสื่อจัดแสดง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้าชมสนใจ เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาของนิทรรศการมากยิ่งขึ้น แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๓ ชั้น ได้แก่   การจัดแสดงชั้นที่ ๑ นำเสนอวีดีทัศน์ “การค้นพบแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า” การค้นพบเครื่องมือหิน ๘ ชิ้น นำไปสู่การขุดค้นทางโบราณคดีอย่างเป็นทางการที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ข้อมูลหลักฐานและองค์ความรู้เกี่ยวกับคนบ้านเก่าในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตลอดจนพัฒนาการของผู้คนในลุ่มน้ำแควน้อย – แควใหญ่ ที่สืบเนื่องมาจากสมัยหินเก่า สู่สมัยหินใหม่ และบ้านเก่าในปัจจุบัน             การจัดแสดงชั้นที่ ๒ จัดแสดงเรื่องวัฒนธรรมบ้านเก่า คนบ้านเก่า วิถีชีวิต เครื่องมือเครื่องใช้ในวัฒนธรรมบ้านเก่า เช่น เครื่องมือหินกะเทาะ หินขัด เครื่องมือกระดูกสัตว์ เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา “หม้อสามขา”  เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมบ้านเก่า            การจัดแสดงชั้นที่ ๓ จัดแสดงนิทรรศการบ้านเก่า และภาคตะวันตกจากสมัยหินสู่สมัยโลหะ นำเสนอเรื่องราวของผู้คนในช่วงที่มีการใช้เครื่องมือโลหะ ทั้งสำริดและเหล็กในภูมิภาคตะวันตก จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจากแหล่งโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ศิลปะถ้ำ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมภาพเขียนสีบนผนังของผู้คนในยุคนั้น เช่น ภาพเขียนสีถ้ำตาด้วง เขาวังกุลา ถ้ำรูปเขาเขียว ถัดมาเป็นเรื่องราววัฒนธรรมโลงไม้ หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นพิธีกรรมการฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์      ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดกาญจนบุรี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคตะวันตก ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ก่อให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืนและมั่นคงสืบไป พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี เปิดบริการทุกวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๕๐ บาท  


          หนังสือ : เจ้าชายไม่วิเศษ           ผู้เขียน  : ปรีดา อัครจันทโชติ           ในเมืองที่ใคร ๆ ต่างก็มีของวิเศษติดตัวมาตั้งแต่เกิด ถ้าใครสักคนเกิดมาอย่างธรรมดาจะเป็นอย่างไร แล้วถ้าใครคนนั้นไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็นลูกชายของพระราชาล่ะ ผู้เป็นพ่อแม่จะกลุ้มอกกลุ้มใจขนาดไหน เป็นลูกพระราชาแต่ไม่มีของวิเศษให้พ่อแม่เชิดหน้าชูตา แน่นอนว่า หนทางเดียวคือต้องออกตามหาของวิเศษมาให้ได้ ฟังดูเหมือนพล็อตเรื่องธรรมดา ๆ สุดท้ายเจ้าชายก็ได้ของวิเศษ ได้พบเจ้าหญิง และครองรักอย่างมีความสุข ? เพียงแต่ว่า เรื่องนี้มันไม่ธรรมดาอย่างนั้น มันไม่เดินตาม “ขนบ” ของการเล่าเรื่องแบบเจ้าชายเจ้าหญิงที่ผู้อาจอ่านจะคาดเดาได้ตลอดเรื่อง แต่ขณะเดียวกัน กลับใช้ฉากที่คุ้นเคย และยังดึงเอาเพื่อนเก่า ๆ ของคนอ่านเข้ามาร่วมเดินทางด้วยให้ได้อมยิ้มเป็นระยะ และอาจถึงกับต้องกลับไปค้นหาเพื่อนเก่า ๆ เหล่านั้นด้วย ดังนี้แล้ว ถ้าใครคิดว่า เจ้าชายไม่วิเศษ เป็นเรื่องธรรมดา ๆ ของเจ้าชายธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ก็อาจจะต้องคิดใหม่ ด้วยว่า แม้จะเป็นเรื่องของเจ้าชายไม่วิเศษ แต่เรื่องราวของเขาอาจจะวิเศษก็ได้             ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ           เลขหมู่ :  895.913 ป471จ


ชื่อเรื่อง                         ปริวารปาลิ(ปริวาร)อย.บ.                            297/8หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  54 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         พระไตรปิฏก                                                        บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมศิลปากร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567เป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก แผนปฏิบัติการด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรมศิลปากร พ.ศ. 2566-2570 ซึ่งภายในประกอบด้วยกิจกรรม/โครงการที่เป็นงานเชิงยุทธศาสตร์และงานประจำของการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2567


           สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงเนื่องในโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗“เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” ทุกวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ ๑๔ มกราคม - ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ประกอบด้วยการแสดงที่หลากหลาย ทั้งการแสดงโขน ละคร การบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล ทั้งนี้ได้นำเสนอ การแสดงสำคัญชุดหนึ่งของกรมศิลปากร คือ การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง ซึ่งกล่าวถึงการอวตารของพระนารายณ์ในปางต่าง ๆ เพื่อปราบยุคเข็ญของชาวโลก นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑ ๑. ปางวราหะวตาร ๒. ปางมัจฉาวตาร ๓. ปางมหิงสาวตาร ๔. ปางทุลกีวตาร ๕. ปางทวิชาวตาร ๖. ปางนรสิงหาวตาร ๗. ปางสมณาวตาร ๘. ปางมหัลลกอสุรวตาร ๙. ปางอัปสราวตาร ๑๐. ปางรามาวตาร 


ชื่อเรื่อง                     สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 3)ผู้แต่ง                       สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.916 น254ส                    สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 คลังวิทยาปีที่พิมพ์                    ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ               658 หน้า หัวเรื่อง                     จดหมาย                              รวมเรื่องภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาค 3 ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  


          โขนเรือ: โขนเรือพระราชพิธีส่วนหนึ่ง  ได้รับความเสียหายจากระเบิดเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เห็นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโขนเรือที่ได้นำมาเก็บรักษา และจัดแสดงให้ผู้สนใจได้เห็นถึงวิถีและความปราณีตของคนไทยที่มีต่อเรือ  ทั้งที่ใช้ประกอบในพระราชพิธี  และที่ใช้เพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  โดยจัดแสดงไว้ในโรงเก็บเรือพระราชพิธี  ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี     ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges


ชื่อเรื่อง                    ประวัติและความสำคัญของเจดีย์ยอดเหล็กผู้แต่ง                      คณะครูกลุ่มไผ่ขวาง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรีประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่                  ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เลขหมู่                     959.37301 ค124ปสถานที่พิมพ์              สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                มนัสการพิมพ์ปีที่พิมพ์                   2506ลักษณะวัสดุ              40 หน้า :; 30 ซม.หัวเรื่อง                    เจดีย์ยอดเหล็ก – ประวัติ                             สุพรรณบุรี – โบราณสถานภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่กลางใจเมืองสุพรรณบุรี


สิมวัดโพธาราม ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม   รูปแบบสิมทึบก่ออิฐถือปูนฐานสูงหลังคาทรงจั่วมีเสารองรับปีกนกโดยรอบอาคารแต่เดิมหลังคามุงด้วยกระเบื้อง ไม้แบบแป้นเกล็ดหลังคาประดับด้วยโหง่ช่อฟ้า กลางสันหลังคามีลำยองแลหางหงส์ฝีมือช่างพื้นบ้านเขียนภาพจิตรกรรมทั้งผนังด้านนอกและด้านใน โดยช่างชื่อนายสิงห์เขียนภาพด้วยสีวรรณะเย็นเน้นสีฟ้าครามเขียวขาว ผนังด้านในเขียนเรื่องเวสสันดรชาดกพุทธประวัติผนังด้านนอกเขียนเรื่องพุทธประวัติเวสสันดรชาดกสินไชและพระมาลัยโปรดสัตว์ ภาพแต่ละตอนเขียนอักษรไทยน้อยบรรยายภาพไว้เป็นช่วงๆ


องค์ความรู้เรื่อง สงกรานต์…ประเพณีไทย ผู้เรียบเรียง : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ไปเยี่ยม สปอ.พะเยา -- สปอ. คืออะไร สปอ. ย่อมาจากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ ดังนั้น สปอ.พะเยา คือ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยา  การไปเยี่ยมสำนักงานนี้กล่าวได้ว่า เป็นการตรวจเยี่ยมของผู้บังคับบัญชาระดับสูง อาทิ ศึกษาธิการเขต ศึกษาธิการจังหวัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2530 ศึกษาธิการเขตกับศึกษาธิการจังหวัดพะเยา ตรวจเยี่ยมสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยา โดยปรากฏหลักฐานเป็นเอกสารจดหมายเหตุทั้ง 2 ครั้ง ได้แก่  วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2527 นายเสนาะ พ่วงภิญโญ ศึกษาธิการเขต 8 สรุปการตรวจเยี่ยมด้วยลายมือตนเองว่า " 1. พบอาคารสถานที่คับแคบ เขตจะประสานงานให้ขยายพื้นที่   2. การดำเนินงานโครงการต่างๆ เหมาะสมดี ปีต่อไปควรจัดอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ   3. เรื่องโรงเรียนที่เข้าประกวดโรงเรียนดีเด่น ขอให้ศึกษานิเทศก์ช่วยแนะนำมากขึ้น   4. มีผู้ผ่านการอบรมลูกเสือกับยุวกาชาดไม่มาก ขอให้สำนักงานจัดงบประมาณให้แก่ครูต่อไป " ส่วนวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ศึกษาธิการจังหวัดพะเยามาตรวจเยี่ยมโครงการของสำนักงาน ผลปรากฏว่า " ทุกโครงการเป็นไปได้ราบรื่นเรียบร้อย และเสร็จตามกำหนด ปัญหาเล็กน้อยสามารถแก้ไขได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด " นอกจากนี้ ยังมีปีอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชาตรวจเยี่ยมหรือเยี่ยมเยียนให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงาน ซึ่งแต่ละครั้งก็มีบันทึกการตรวจเยี่ยมเป็นเอกสารโต้ตอบเสมอ สะท้อนภารกิจในหน้าที่ของทุกฝ่ายเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การตรวจเยี่ยมสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยาดังกล่าว ยังขาดหลักฐานสำคัญคือ ภาพถ่ายการทำงาน กิจกรรม และโครงการที่ปฏิบัติประกอบ เฉกเช่นการรายงานในปัจจุบัน หากมีภาพถ่ายด้วยแล้ว หลักฐานการดำเนินงานตรวจเยี่ยมจะครบถ้วน มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น แต่กระนั้น เอกสารการตรวจเยี่ยมและรับการตรวจเยี่ยมเท่าที่มีนี้ ก็เป็นประจักษ์พยานการเอาใจใส่การดำเนินงานการศึกษาในภูมิภาค เห็นได้ชัดเจนว่า ผู้บังคับบัญชามิได้ละเลยหรือทอดทิ้งผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ อีกทั้งยังช่วยเหลือให้ได้รับความสะดวกสบายสม่ำเสมอ นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาให้ก้าวหน้ามาถึงปัจจุบันผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพะเยา (5) ศธ 3.1.2/7 เรื่อง บันทึกการตรวจเยี่ยมของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยา [ 7 ก.ค. 2530 - 25 ต.ค. 2532 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


ที่ระลึกพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี ผู้แต่ง : คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกฯ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องจันทบุรี) สำนักพิมพ์ : อมรินทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์ : 2524 รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน : น. 33 บ. 1834 จบ. (ร) เลขหมู่ : ท. 923.1593 ท539 สาระสังเขป : หนังสือจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ จังหวัดจันทบุรี วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2524 เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยความเป็นมาและการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประวัติเมืองจันทบุรี พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ลิลิตสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ตอนตีเมืองจันทบุรี และบทส่งท้าย เรื่อง จันทบุรีสำคัญอย่างไรต่อการกู้อิสรภาพของชาติไทย