ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,511 รายการ
ชื่อเรื่อง เทศนาสังคิณี – มาปัฏฐานสพ.บ. 148/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ทิพฺพมนฺต (ทิพพมนต์)สพ.บ. 234/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 6 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58.6 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง กมฺมวาจาวิธิ บอกวัตรสพ.บ. 136/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกุฏีทอง ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
"กู่นางอุสา" ศาสนสถานสองกาลเวลา
เพิงหินขนาดเล็กกลางลานกว้างที่ถูกล้อมรอบด้วยหลักหิน หรือ "ใบเสมาหิน" ขนาดใหญ่ทั้ง 8 ใบ นั้นถูกเรียกชื่อตามนิทานอุสา-บารสว่า "กู่นางอุสา" อันเป็นสถานที่เก็บกระดูกของนางอุสาและพี่เลี้ยง
แต่ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานถึงหน้าที่การใช้งานของกู่นางอุสาได้ดังต่อไปนี้
>>> 3000-1500 ปีมาแล้ว "กู่นางอุสา" อาจยังไม่มีชื่อเรียก หรือมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่คนปัจจุบันลืมไปแล้ว รวมทั้งยังไม่มีการนำใบเสมามาปักล้อมรอบ เป็นเพียงเพิงหินรูปร่างแปลกตาที่มีคนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาทำพิธีกรรมบางอย่างโดยการ นำสีแดงมาวาดไว้ (ซึ่งภาพวาดที่ว่านี้ก็เหลือมาถึงปัจจุบัน เรียกว่า ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์)
>>>ราว 1000 ปีก่อน ตรงกับสมัยทวารวดี อันเป็นสมัยที่ประเทศไทยเริ่มรับศาสนาจากอินเดียเข้ามา (เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์) บริเวณพื้นที่ภูพระบาทก็ได้รับเอาศาสนาพุทธเข้ามาด้วยเช่นกัน ตอนนี้แหละที่กู่นางอุสาได้มีการนำเอาหลักหินหรือเสมาหินมาปักล้อมรอบทั้ง 8 ทิศ และเข้าใจว่า กู่นางอุสาก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนา (ถึงตรงนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า กู่นางอุสา เคยมีชื่อเรียกว่าอะไร)
>>>ราว 200-300 ปีก่อน ตรงกับช่วงปลายอยุธยา-สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีหลักฐานถึงการอพยพเข้ามาของชาวไทยพวนยังพื้นที่รอบๆภูพระบาท และได้นำเอานิทานอุสา-บารสเข้ามาเล่าเรื่องราวโบราณสถานบนภูพระบาท (เข้าใจว่าเป็นช่วงเวลาที่ เพิงหินขนาดเล็กเพิงนี้ ได้ชื่อว่า กู่นางอุสา)
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิกถา)สพ.บ. 163/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระมหากาล พุทธสาวก--ชีวประวัติ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เพลงโคราช ว่าด้วยจารีตและคติความเชื่อ[๑]
เพลงโคราชเป็นการแสดงพื้นเมืองของจังหวัดนครราชสีมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สะท้อนถึงคติชนวิทยา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวจังหวัดนครราชสีมา สันนิษฐานว่าเพลงโคราชมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพลงโคราชมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากษ์ที่ไม่มีดนตรีประกอบการขับร้อง เน้นความคมคายและโวหารของเนื้อหาบทเพลงที่ใช้ในการขับร้องเป็นสำคัญ
จารีตและความเชื่อในกระบวนการเรียนรู้เพลงโคราช
ในอดีตการเรียนรู้การแสดงเพลงโคราช ผู้ที่สนใจจะเป็นหมอเพลงหรือผู้แสดงเพลงโคราชจะไปฝากตัวเป็นศิษย์กับครูเพลง เพื่อให้ครูเพลงพิจารณาน้ำเสียง บุคลิก และปฏิภาณไหวพริบซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นหมอเพลงโคราช หากครูเพลงเห็นควรรับเป็นศิษย์ก็จะให้มาพำนักที่บ้านครูเพลงเพื่อฝึกหัดเป็นหมอเพลง ทั้งนี้ เริ่มด้วยการยกครูหรือทำพิธีบูชาครู เครื่องบูชาครูประกอบด้วย กรวยครู ๖ กรวย ดอกไม้ขาว ๖ คู่ เทียน ๖ เล่ม ธูป ๑๒ ดอก ผ้าขาว ๑ ผืน เงินบูชาครู ๖ บาท (บางแห่งใช้ ๑๒ หรือ ๒๔ บาท) เหล้าขาว ๑ ขวด บุหรี่ ๑๒ มวน โดยศิษย์จะถือพานยกครูมาบูชาครูเพลงเพื่อขอเป็นศิษย์ แล้วครูเพลงกล่าวนำให้ศิษย์ว่าตาม ครูจะทำน้ำมนต์ ประสระ (ครูเทน้ำมนต์รดศีรษะศิษย์) เพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อศิษย์ทำการยกครูหรือบูชาครูแล้วครูเพลงมักจะให้ศิษย์เข้ามาพำนักอยู่ที่บ้านครูเพลง โดยช่วงเวลากลางวันศิษย์ก็จะช่วยครูเพลงทำงานบ้านหรืองานในเรือกสวนไร่นา ในช่วงเวลากลางคืน ศิษย์จะฝึกหัดเพลงโคราชด้วยการต่อเพลงกับครูเพลงแบบปากต่อปาก คืนละ ๑ กลอน ศิษย์ต้องท่องจำให้ขึ้นใจและว่าให้ครูฟังในตอนเช้า หากจำไม่ได้ก็ต้องต่อใหม่ในคืนถัดไปจนกว่าจำได้ ในขั้นตอนการฝึกหัดนี้นอกจากฝึกการต่อเพลงแล้วครูจะฝึกการเอื้อนทำนอง การออกเสียง และการด้นกลอนสดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เชี่ยวชาญ ครูบางท่านเสกคาถามุตโตลงบนใบไม้แล้วให้ศิษย์กิน หรือเสกน้ำมนต์ล้างหน้า เสกข้าว ๓ ปั้น ให้ศิษย์นั่งกินบนจอมปลวกช่วงตะวันขึ้น เชื่อกันว่าจอมปลวกเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้ศิษย์มีสติปัญญาและปฏิภาณไหวพริบเฉียบแหลม เรียกกันว่า “องค์สี่” คือ ปัญญาดี เสียงดี ชั้นเชิงดี และใจเย็น
จารีตและความเชื่อในการแสดงเพลงโคราช
หมอเพลงโคราชจะมีคติความเชื่อ และจารีตข้อห้ามในการแสดงหลายประการด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. จารีตและความเชื่อในลำดับการแสดง
ในการแสดงเพลงโคราชก่อนที่จะขึ้นแสดงบนเวที หมอเพลงจะต้องทำการยกครู (ไหว้ครู) โดยเจ้าภาพจะต้องเตรียมขันครู (เครื่องไหว้ครู) ให้กับหมอเพลง ประกอบด้วย กรวยพระ ๖ กรวย เทียน ๖ เล่ม ธูป ๑๘ ดอก (กรวยละ ๓ ดอก) เงิน ๒๔ บาท ผ้าขาว ๑ ผืน ดอกไม้ ๑๒ ดอก สุราขาว ๑ ขวด บุหรี่ ๑ ซอง[๒] อนึ่ง หมอเพลงแต่ละท่านจะมีรูปแบบของการไหว้ครูตามความเชื่อของแต่ละสายตระกูลแตกต่างกันไป
ตัวอย่างคำกล่าวยกครู สำนวนครูบุญสม กำปัง (นายบุญสม สังข์สุข)
“อิติปิโส ภะคะวา มือข้าพเจ้าสิบนิ้ว ยกขึ้นหว่างคิ้ว ข้าพเจ้าจะขอพนมกรนมัสการ สรรเสริญคุณพระพุทธคุณณัง พระธรรมคุณณัง พระสังฆคุณณัง คุณบิดรมารดา คุณครูบาอาจารย์ คุณอุปัชฌาย์อาจารย์ คุณพระอินทร์เจ้าฟ้า ขอเชิญท่านเสด็จลงมา รักษาดวงจิตดวงใจของข้าพเจ้า ให้เป็นสุขทุกราตรี ขอเชิญ พระเสื้อเมือง พระทรงเมืองผู้เริงราชย์ ขอเชิญท่านเสด็จลงมา รักษาดวงจิตดวงใจของข้าพเจ้าให้มั่นคง ข้าพเจ้าประสงค์สิ่งใด ขอให้ข้าพเจ้าได้สิ่งนั้น เทอญ” [๓]
นอกจากนี้ ในการยกครูนี้ หมอเพลงก็จะว่าคาถามหานิยม หรือคาถาทรงปัญญา เพื่อเป็น การเรียกผู้ชมให้นิยมหลงใหลในการแสดงของตน ในที่นี้ขอยกตัวอย่างคาถามหานิยม สำนวนของครูบุญสม กำปัง (นายบุญสม สังข์สุข)[๔] ดังนี้
คาถามหานิยม “สะสะนะมุโม โปร่งปรุปราดเปรื่อง ข้าฉลาดยะเอ็นดู นะโมพุทธายะ”
คาถาทรงปัญญา “โอมปุรุ ทะลุปัญญา”
คาถาสาลิกาลิ้นทอง “กะระวิเว วิเนอะ”
คาถาเสกแป้ง “นะเอยโมโม นะเอยซ่อนเมตตา นะเอยคนทั้งหลายดูกู นะ”
คาถาพุทธโอวาท “พุทธะ โอวาทะ”
๒. จารีตและความเชื่อเกี่ยวกับสถานที่แสดง
การสร้างโรงเพลง การแสดงเพลงโคราชจะแสดงบนเวทีการแสดงหรือที่เรียกกันว่า “โรงเพลง” มีลักษณะเป็นศาลายกใต้ถุนสูง มีเสา ๔ เสา แต่เดิมหลังคามุงด้วยทางมะพร้าว หรือหญ้า หรือแฝก ตามวัสดุที่มีมากในแต่ละท้องถิ่น สำหรับการตั้งโรงเพลงนี้จะมีจารีตในการสร้างอยู่หลายประการด้วยกัน[๕] เชื่อว่าหากไม่ปฏิบัติตามจะทำให้มีอุปสรรคในการแสดง ด้นเพลงไม่ออก หรืออาจทำให้หมอเพลงล้มป่วย สำหรับจารีตและความเชื่อเกี่ยวกับสถานที่แสดงที่สำคัญ มีดังนี้
(๑) ห้ามสร้างโรงเพลงคร่อมจอมปลวก
(๒) ห้ามใช้ต้นไม้เป็นเสาของโรงเพลงด้านใดด้านหนึ่ง
(๓) ห้ามสร้างโรงเพลงต่อจากยุ้งข้าว
(๔) ห้ามสร้างโรงเพลงใกล้ บดบัง หรือเสมอศาลพระภูมิ
หลังจากที่ทำการปลูกสร้างโรงเพลงเสร็จแล้ว ในอดีตจะมีการมัดตอกและบริกรรมคาถา เป็นการทำคุณไสยให้คู่แข่งมีอุปสรรค ไม่ประสบความสำเร็จในการแสดง ทั้งนี้ หากโรงเพลงถูดมัดด้วยตอกก็จะต้อง แก้ตอกเพื่อเป็นการแก้เคล็ด
การขึ้นโรงเพลง การจะขึ้นโรงเพลงของหมอเพลงนั้นมีจารีตในการปฏิบัติเช่นกัน โดยหมอเพลงจะต้องดูทิศและวันที่เป็นมงคลในการขึ้นโรงเพลง เช่น หากแสดงตรงกับวันเสาร์ หมอเพลงจะต้องขึ้น โรงเพลงจากทิศตะวันตก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ถ้าการแสดงตรงกับวันอาทิตย์ หมอเพลงจะต้องขึ้น โรงเพลงจากทิศเหนือ หันหน้าไปทางทิศใต้ หากฝ่าฝืนจะโดนผีหลวงหลาวเหล็ก ทำให้หมอเพลงด้นเพลงไม่ออก การแสดงมีอุปสรรค นอกจากการดูทิศแล้ว การจะก้าวขึ้นโรงเพลง หมอเพลงจะต้องก้าวเท้าตามลมหายใจข้างขวาหรือซ้าย ในก้าวแรกที่ขึ้นโรงเพลง เมื่อขึ้นโรงเพลงแล้วหมอเพลงก็จะว่าคาถามหานิยม คาถาทรงปัญญา เป็นต้น ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
[๑]นายภูวนารถ สังข์เงิน นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ค้นคว้าเรียบเรียง
[๒] สัมภาษณ์ นายบุญสม สังข์สุข นายกสมาคมเพลงโคราช วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘.
[๓] เรื่องเดียวกัน.
[๔] เรื่องเดียวกัน.
[๕] เรื่องเดียวกัน.
ตำราปลูกพืช ชบ.ส. ๑๐๐
เจ้าอาวาสวัดเขาคันธมาทน์ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.31/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
ปราสาทเขาโล้น ๔/๔ : ทับหลังและซุ้มประตูด้านตะวันออกของปราสาทประธาน
หลังจากที่สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับปราสาทเขาโล้นทั้ง ๓ ตอนนั้น บัดนี้กรมศิลปากรได้รับข่าวดีว่า ทับหลังที่เคยประดับที่ปราสาทเขาโล้น กำลังจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง บทความปราสาทเขาโล้น ตอนที่ ๔ นี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับทับหลังและซุ้มประตูด้านตะวันออกของปราสาทประธาน ดังนี้
เป็นที่ทราบกันดีว่าภาพถ่ายทับหลังปราสาทเขาโล้น ได้รับการตีพิมพ์เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๐ ในหนังสือ “ศิลปสมัยลพบุรี” โดยศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล ซึ่งภาพถ่ายนี้เป็นหลักฐานสำคัญในการทวงคืนทับหลังชิ้นนี้กลับสู่ประเทศไทย นอกจากนี้หน่วยศิลปากรที่ ๕ กรมศิลปากร ได้เคยบันทึกภาพทับหลังปราสาทเขาโล้นไว้เมื่อราวพุทธศักราช ๒๕๐๓ ด้วยเช่นกัน
ภาพถ่ายทั้งสองครั้งนั้นทำให้ทราบว่าทับหลังที่ซุ้มประตูด้านตะวันออกของปราสาทเขาโล้น ประกอบด้วยเทวดานั่งชันเข่าบนเกียรติมุข (หน้ากาล) ใต้ลิ้นของเกียรติมุขมีท่อนพวงมาลัยแยกออกทั้งสองด้านปลายท่อนพวงมาลัยขมวดเป็นวงโค้งสลับกัน จัดเป็นทับหลังศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบบาปวนตอนต้น ซึ่งปัจจุบันรูปเทวดาได้ถูกกะเทาะหายไป
นอกจากทับหลังแล้ว ส่วนประกอบซุ้มประตูทำจากหินทราย ได้แก่ แถวกลีบบัวเหนือทับหลัง ซึ่งมี ๒ ชิ้นนั้น สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้พบชิ้นที่เคยประดับด้านบนขวาของทับหลังจากการขุดแต่งปราสาทเขาโล้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๒ เสาประดับกรอบประตูแปดเหลี่ยม สลักลวดลายที่กำหนดอายุได้ในศิลปะเขมรในประเทศไทยแบบเกลียง ปัจจุบันยังไม่พบว่าอยู่ที่ใด
กรอบประตู สลักลายลวดบัวขนานกันไป ในพุทธศักราช ๒๔๔๗ เอเตียน เอโมนิเยร์ (Étienne Aymonier) ได้ระบุว่ามีจารึกภาษาสันสกฤตและเขมรบนกรอบประตูด้านเหนือและใต้ ซึ่งต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๙๗ ฌอช เซแด็ส (George Cœdès) ได้อ่าน-แปลและได้กำหนดทะเบียนเป็น K.232 เนื้อความในกรอบประตูด้านใต้ ระบุว่า ศรีมันนฤปทินทร ขุนนางของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ที่ได้มาปกครองดินแดนบริเวณนี้ ได้สร้างเทวสถาน ไว้บนภูเขา “มฤตสังชญกะ” เพื่อประดิษฐานรูปพระศัมภุ (พระศิวะ) พระเทวีและพระศิวลึงค์ (อีศลิงคะ) เมื่อมหาศักราช ๙๒๙ (พุทธศักราช ๑๕๕๐) ซึ่งจากการขุดค้นของกรมศิลปากรก็พบว่าปราสาทเขาโล้น เป็นปราสาท ๓ หลัง ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๑ ดังนั้นปราสาทเขาโล้นจึงเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายหรือนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่
ส่วนกรอบประตูด้านเหนือระบุว่าในมหาศักราช ๙๓๘ (พุทธศักราช ๑๕๕๙) พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้ มรตาญโขลญศรีวีรวรมัน มาประดิษฐาน “เสาจารึก” ที่ “ภูเขาดิน” หมายถึงภูเขา “มฤตสังชญกะ” แห่งนี้ ปัจจุบันกรอบประตูทั้งด้านเหนือและใต้นี้ เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้สำรวจและให้ทะเบียนกรอบประตูด้านเหนือเป็น จารึกวังสวนผักกาด (กท.๕๓) และกรอบประตูด้านใต้เป็นจารึกวังสวนผักกาด ๒ (กท.๕๔)
อย่างไรก็ตามกรอบประตูทั้งสองชิ้นนี้แตกหัก จึงได้พบชิ้นส่วนกรอบประตูจากการขุดค้นด้วย แต่ไม่สามารถนำกรอบประตูทั้ง ๒ ชิ้นนี้มาติดตั้งในตำแหน่งเดิมได้ ในการบูรณะจึงได้เสริมกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตูหินทราย ร่วมกับกรอบประตูชิ้นบนที่พบบริเวณปราสาท เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับติดตั้ง ทับหลังในอนาคต ดังที่ได้นำเรียนไปแล้วในบทความตอนที่ ๓
ผู้เขียน : นายสิขรินทร์ ศรีสุวิทธานนท์ (นักโบราณคดีชำนาญการ)
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี
สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ขอขอบคุณ
ดร.อมรา ศรีสุชาติ ที่ปรึกษากรมศิลปากร กรุณาเรียบเรียงคำอ่านจารึกปราสาทเขาโล้น
ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำหรับข้อสังเกตเกี่ยวกับจารึกปราสาทเขาโล้น
นายดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อนุเคราะห์ภาพถ่ายเก่าของปราสาทเขาโล้น
#สำนักศิลปากรที่๕ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม
ปราสาทเขาโล้น ๑/๔ : การดำเนินงานโบราณคดี
https://www.facebook.com/2360532577517366/posts/2770145389889414/
ปราสาทเขาโล้น ๒/๔ : โบราณวัตถุชิ้นเด่นและการกำหนดอายุ
https://www.facebook.com/2360532577517366/posts/2796066377297315/
ปราสาทเขาโล้น ๓/๔ : การอนุรักษ์โบราณสถานด้วยวิธีการก่ออิฐดั้งเดิมของสถาปัตยกรรมเขมร
https://www.facebook.com/2360532577517366/posts/2825649094339043/