ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,950 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.284/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 120  (253-257) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : เอกนิปาต--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชุดศิลปินหญิง วันอาทิตย์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๕เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติกำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันนี้ ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer)***ท่านที่ซื้อบัตรชมการแสดงทั้งสองรอบจะได้รับของที่ระลึกสุดพิเศษจากศิลปิน กรมศิลปากรหมายเหตุ บัตรชมการแสดงที่ซื้อไปแล้วยังสามารถใช้ได้ดังเดิม หรือจะนำมาเปลี่ยนที่ได้ในวันแสดง หากประสงค์จะคืนบัตร สามารถคืนและรับเงิน ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕ - วันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๕ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑ #การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด


         วันพฤหัสบดีที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดี กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก” ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ผู้สนใจสามารถ เข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า หนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ มีลักษณะไม่เหมือนกับหนังสือ หายากทั่วไป หนังสือส่วนใหญ่เป็นสมบัติส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ และ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ได้พระราชทาน ประทาน และบริจาคให้หอพระสมุดวชิรญาณ รวมทั้งหนังสือที่หอพระสมุด วชิรญาณจัดพิมพ์และจัดหาให้บริการ หนังสือเหล่านี้แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของภาษาและการพิมพ์ บางเล่มมีการผลิตอย่างประณีตสวยงามด้วยวัสดุอันมีค่า บางเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาการต่าง ๆ ในอดีต ซึ่งไม่สามารถหาได้ในหนังสือปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุดคือได้แสดงถึงประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการด้านการเมือง การปกครอง พระราชกรณียกิจ วัฒนธรรมประเพณี บันทึกการเดินทางของชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย สนธิสัญญาต่าง ๆ บันทึกการเดินทางท่องเที่ยวเยี่ยมเยือนเมืองสยามของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่สำคัญ การจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้จะทำให้ ผู้เข้าชมนิทรรศการได้รับความรู้และรู้สึกถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ไทย สังคมไทยหลายยุคหลายสมัย และคุณค่าหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน          สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดนิทรรศการ เรื่อง “เยี่ยมเยือนเมืองสยาม ย้อนเวลาไปกับหนังสือหายาก” แบ่งการจัดแสดงออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่          - ส่วนที่ ๑ “หนังสือหา (ไม่) ยาก” จัดแสดงเกี่ยวกับข้อมูลหนังสือหายากของหอสมุดแห่งชาติ คุณค่าและความสำคัญ ลักษณะหนังสือหายาก ๑๒ ประเภท พร้อมตัวอย่างหนังสือประกอบ          - ส่วนที่ ๒“เยี่ยมเยือนเมืองสยาม” เนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเมืองสยาม ประวัติความเป็นมาของการท่องเที่ยว รูปแบบการเดินทางท่องเที่ยว ประโยชน์ของการเที่ยว การเสด็จประพาสในรัชสมัยต่าง ๆ การท่องเที่ยวทั่วไทย โดยผ่านหนังสือหายาก จัดแสดงหนังสือพร้อมภาพการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวประกอบ          - ส่วนที่ ๓ “เพราะหนังสือจึงรังสรรค์” การนำหนังสือหายากมารังสรรค์และต่อยอด โดยนำไปพัฒนาจัดทำเป็นของที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ การพิมพ์หนังสือ (Reprint) ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ต้นฉบับและสืบทอดอายุหนังสือให้คงอยู่ต่อไป การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยนำลักษณะเด่นของหนังสือหายากมาสร้างสรรค์เป็นผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เข็มกลัด แฟ้มใส่เอกสาร ไปรษณียบัตร และการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยการนำเนื้อหาในหนังสือมาประยุกต์เป็นเกมส่งเสริมการเรียนรู้


บทความวิชาการจดหมายเหตุเรื่อง ภาพเก่าเล่าอดีต : ย้อนอดีต...วัดบวรนิเวศวิหารผู้แต่ง : บุศยารัตน์ คู่เทียม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรตีพิมพ์ลงนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๕ (เดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๔๙)หน้า ๗๗-๘๙


ตรีบูรแห่งเมืองสุโขทัย.คูเมือง-กำแพงเมืองสุโขทัยในปัจจุบันปรากฏคูน้ำ-คันดินทั้งหมดสามชั้น มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทั้งนี้ ในจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ได้กล่าวถึงเมืองสุโขทัยว่า “...รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา...” ทำให้แต่เดิมนักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า คูเมือง-กำแพงเมืองสุโขทัยนี้ มีสามชั้นมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มหรือในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของคูเมือง-กำแพงเมืองที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการดำเนินงานทางโบราณคดีในส่วนของคูเมือง ป้อมประตูเมือง และกำแพงเมือง ผลจากการดำเนินงานทำให้ทราบว่า คูเมือง-กำแพงเมืองเหล่านี้ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว คือ.- คูเมือง-กำแพงเมืองชั้นใน : จากหลักฐานที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า กำแพงเมืองชั้นใน คูเมืองชั้นใน และประตูเมืองทั้ง 4 สร้างในช่วงสุโขทัยตอนต้น-กลาง เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตพื้นที่และแสดงถึงความเป็นเมือง ต่อมาได้มีการสร้างเสริมบ้างในระยะหลังเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงของกำแพง .- กำแพงเมืองชั้นกลาง – กำแพงเมืองชั้นนอก : พิจารณาจากหลักฐานที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า กำแพงเมืองชั้นกลางและชั้นนอกก่อสร้างในช่วงที่สุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยาแล้ว ซึ่งได้พบการสร้างป้อมประตูเมืองของกำแพงเมืองชั้นกลางทับลงไปบนวัดที่เคยมีอยู่ก่อนแล้ว พร้อมทั้งขุดคูเมืองชั้นกลางและชั้นนอก และยังพบเศษภาชนะดินเผาในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 22. แล้วเหตุใดในจารึกหลักที่ 1 จึงกล่าวว่า “...รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา...” ?.นักวิชาการสันนิษฐานว่า คำว่า “ตรีบูร” นี้ ไม่ได้หมายความถึงกำแพงเมืองสามชั้นอย่างที่เข้าใจ เนื่องด้วย ไม่เพียงแต่เมืองสุโขทัยเท่านั้นที่ถูกกล่าวถึงว่ามี “ตรีบูร” แต่ยังมีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างร่วมสมัยกับเมืองสุโขทัยตอนต้น โดยในศิลาจารึกวัดเชียงมั่นได้กล่าวถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่ว่า “...พญามังรายเจ้าแล พญางำเมือง พญาร่วง ทั้งสามตนตั้งหอนอนในที่ชัยภูมิราชมนเทียน ขุดคือ ก่อตรีบูรทั้งสี่ด้าน แลก่อพระเจดีย์...” ซึ่งคูเมือง-กำแพงเมืองเชียงใหม่ที่ปรากฏร่องรอยให้เห็นในปัจจุบันนั้น เป็นกำแพงก่ออิฐขนาบด้วยคูเมืองในผังสี่เหลี่ยม ยกเว้นในส่วนทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกได้ปรากฏแนวกำแพงดินอีกหนึ่งชั้น โดยจากข้อมูลที่พบทำให้สันนิษฐานได้ว่า กำแพงเมืองเชียงใหม่ส่วนที่สร้างในสมัยพญามังรายนั้นคือกำแพงเมือง-คูเมืองในผังสี่เหลี่ยม ในส่วนของแนวกำแพงดินและคูเมืองที่ล้อมรอบทางด้านทิศใต้และทิศตะวันออกนั้น สันนิษฐานว่ามีการขยายเมืองขึ้นในช่วงที่เกิดสงครามระหว่างเชียงใหม่และอยุธยา จากร่องรอยและหลักฐานต่างๆที่เหลืออยู่ ไม่ปรากฏว่าเมืองเชียงใหม่มีกำแพงเมืองสามชั้นแต่อย่างใด .นอกจากนี้ ใน “กำสรวลสมุทร” ยังพบคำว่า ตรีบูร ที่กล่าวว่าถึงอยุธยาว่า “อยุธยาไพโรชใต้ ตรีบูร” ซึ่งไม่ปรากฏว่า กำแพงเมืองอยุธยานั้นมีสามชั้นแต่อย่างใดนักวิชาการจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่า “ตรี” นี้อาจมาจากภาษาทมิฬคำว่า “ติริ” มีความหมายตรงกับคำว่า “ศรี” แปลว่า กำแพงที่ดีงามมั่นคงแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง ปราการที่แข็งแกร่งทั้งสาม คือ กำแพงวิเศษที่เกิดขึ้นจากการหลอมรวมปราการที่แข็งแกร่งทั้งสามเข้าด้วยกัน (กำแพงบนโลก กำแพงในชั้นอากาศ และกำแพงในชั้นสวรรค์) มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ว่า เป็นกำแพงที่ไม่อาจทำลายได้  .เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. กองโบราณคดี. การขุดค้นทางโบราณคดีในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : บริษัท วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์ จำกัด, 2531.คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. เมืองและแหล่งชุมชนโบราณในล้านนา. กรุงเทพฯ : หจก.ไอเดีย สแควร์, 2539.คณะอนุกรรมการพิจารณาจารึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย กรมศิลปากร. จารึกล้านนาภาค 2 เล่ม 1 จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551.ธนิต อยู่โพธิ์. ประวัติและโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเดือนลอย บุนนาค. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2511.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. ฟื้นฝอยหาตะเข็บ. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.วินัย พงศ์ศรีเพียร. สุโขทัยคดี ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563.



จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส.  กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับกรุงธนบุรี กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ และ          วินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2516.          กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ มีด้วยกัน 2 ฉบับ คือ ฉบับกรุงธนบุรี และฉบับพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สำหรับกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับกรุงธนบุรี แต่งโดยพระยาสุภาวดี ผู้ช่วยราชการในกรุงนครศรีธรรมราช และพระภิกษุชื่ออินท์ โดยพระยาสุภาวดีเป็นผู้แต่งเริ่มต้นก่อน แล้วจึงอาราธนาพระภิกษุชื่ออินท์ให้ช่วยแต่งต่อ ส่วนกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับพระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส นั้น ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นสำหรับถวายพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อความเป็นโอวาทานุสาสนีสำหรับสตรีจะพึงปฏิบัติต่อสามี


วัดบ้านยางช้า ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านยางช้า ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีกลุ่มคนไทย-ลาว ได้มาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่บริเวณนี้มาตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือประมาณ ๑๕๐ ปีมาแล้ว มีสิ่งสำคัญคือ อุโบสถ (สิม) . อุโบสถ (สิม) วัดบ้านยางช้าเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน เจ้าอาวาสเพ็ง กันยวิมล ขณะบวชอยู่ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๐– ๒๔๗๕ ได้พาคณะผู้มีจิตศรัทธาร่วมมือกันก่อสร้างและลงมือเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง อีกด้วยมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางยาวตามแนวทิศเหนือ–ทิศใต้ กว้างประมาณ ๗.๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐.๘๐ เมตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ชุดฐานเอวขันค่อนข้างสูง ที่มุมฐานล่างตกแต่งด้วยกาบบัวงอน ส่วนหลังคาซ้อนกันสองชั้นเดิมมุงด้วยแป้นเกล็ดไม้ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสังกะสีตามยุคสมัย มีบันไดขึ้นด้านหน้าทางทิศเหนือ ราวบันไดมีปูนปั้นรูปจระเข้หมอบห้อยหัวลงต่อด้วยสิงห์ในท่ายืน ห้องมุขหน้าโล่ง ตกแต่งด้วยแผงรวงผึ้งแกะสลักลวดลายเป็นลายก้านขด คันทวยทำด้วยไม้แกะสลักเป็นแบบคันทวยหูช้าง ลายเป็นตัวเหงา ถัดเข้าไปภายในอุโบสถแบ่งเป็น ๓ ห้อง ผนังในสุดประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานชุกชี ทำช่องหน้าต่างข้างละ ๓ ช่อง พร้อมกรอบบานทำด้วยไม้ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ผนังมุขหน้าประตูทางเข้า และผนังภายในทั้ง ๔ ด้าน เขียนภาพพุทธประวัติและพระเวชสันดรชาดก ด้วยสีฝุ่น สีคราม ดำ น้ำตาล และเหลือง สิมได้รับการบูรณะซ่อมแซม ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยกรมศิลปากร มีการบูรณะเพื่อเสริมความมั่นคง ฐานราก เสา ผนังกะเทาะฉาบใหม่บางจุด ซ่อมเสริมชุดเครื่องหลังคาช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง เปลี่ยนเครื่องหลังคาและวัสดุมุงเป็นสังกะสี . กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง หน้า ๒ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๕ มีเขตพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๓ งาน ๓๓ ตารางวา ------------------------------ +++อ้างอิงจาก+++ . คันฉาย มีระหงส์. รายงานผลการตรวจสอบโบราณสถานวัดบ้านยางช้า. (เอกสารอัดสำเนา), กลุ่มอนุรักษ์ โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี, ๒๕๖๑. . สิริพัฒน์ บุญใหญ่, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี, ๒๕๕๙. หน้า ๑๒๗ . สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี (เล่ม ๑ : จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร จังหวัดมุกดาหาร). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์, ๒๕๖๓. ข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี


          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีรับมอบเงินสนับสนุนโครงการ บูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างกรมศิลปากร และบริษัท น้ำตาล เอราวัณ จำกัด จำนวน ๓,๘๘๖,๑๙๙ บาท โดยมีนายจตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ พล.ต.อ.ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท น้ำตาล เอราวัณ จำกัด และบริษัทในเครือ เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมชั้น ๕ กรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๕          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การสนับสนุนงบประมาณในโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดธาตุเมืองพิณ จังหวัดหนองบัวลำภู ของบริษัท น้ำตาล เอราวัณ จำกัด ในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการร่วมกันอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งพระธาตุเมืองพิณเป็นพระธาตุสำคัญของจังหวัดหนองบัวลำภู สร้างในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ มีการพบศิลาจารึก กล่าวถึงหลักฐานความเป็นมาของการก่อสร้าง ตรงกับสมัยพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านช้างและรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะนี้อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น จึงได้จัดทำรูปแบบและแนวทางการบูรณะเสริมความมั่นคงแข็งแรงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อให้โบราณสถานดังกล่าวกลับมามีความโดดเด่น สวยงามต่อไป โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงต้นปี ๒๕๖๖          โบราณสถานวัดธาตุเมืองพิณ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ขึ้นทะเบียนโบราณสถานและ กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๒๙ง ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕





-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ปี้ในบ่อนเบี้ยหัวเมือง -- บ่อนเบี้ย คือสถานที่สำหรับเล่นการพนันชนิดหนึ่งที่เรียกว่าถั่วโป หรือกำถั่ว  สันนิษฐานว่าเริ่มเกิดขึ้นในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่นกัน และมีการเล่นกันมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่ทางการอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยแต่เดิมมีเฉพาะชาวจีนที่ได้รับอนุญาตให้เล่นถั่วโป ต่อมาจึงอนุญาตให้คนไทยเล่นได้ โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง เรียกว่า “อากรบ่อนเบี้ย” ในสมัยรัชกาลที่ 2 รัฐมีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยมากขึ้น จึงมีการกำหนดพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองต่างๆ ให้เป็นแขวงสำหรับทำอากร โดยมีนายอากรบ่อนเบี้ยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการให้ผูกขาดการเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละแขวงหรือหัวเมือง นายอากรบ่อนเบี้ยนี้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ขุนพัฒนสมบัติ หรือขุนอื่นๆ ที่ขึ้นต้นว่า “พัฒน-” ประชาชนโดยทั่วไปจึงเรียกนายอากรว่า“ขุนพัฒน์” นอกจากการเปิดบ่อนและรับผูกขาดอากรบ่อนเบี้ยแล้ว นายอากรบ่อนเบี้ยยังได้ผลิตปี้ไว้สำหรับใช้แทนคะแนนสำหรับเล่นเบี้ยในบ่อน ปี้ในโรงบ่อนมีทั้งที่ทำจากกระเบื้องและโลหะ ซึ่งปี้ของนายอากรแต่ละคนจะมีลวดลายแตกต่างกัน การใช้ปี้นั้น เมื่อแรกยังคงมีการใช้กันเฉพาะในโรงบ่อน แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดสภาวะเงินปลีกในท้องตลาดขาดแคลน ประชาชนจึงนำปี้ในโรงบ่อนมาใช้จ่ายซื้อขายสินค้าในชีวิตประจำวันแทนเงินปลีก ภายหลังเมื่อทางการสั่งผลิตเหรียญกษาปณ์ทองแดงมาจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนในปี พ.ศ. 2418 แล้ว ปัญหาเงินปลีกขาดแคลนจึงสงบลง แต่การใช้จ่ายปี้นอกโรงบ่อนยังคงมีอยู่ต่อมา จนกรมสรรพากรต้องออกประกาศข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย ลงวันที่ 1 ตุลาคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) โดยมีข้อหนึ่งระบุว่า ห้ามมิให้นายอากรบ่อนเบี้ยนำปี้มาให้นักพนันใช้ทั้งในและนอกบ่อน รวมถึงห้ามใช้ปี้ซื้อขายสินค้าต่างๆ ซึ่งแม้ว่าทางการจะมีการออกประกาศมาแล้วก็ตาม แต่ยังคงมีการใช้ปี้โรงบ่อนอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศอยู่ ดังตัวอย่างจากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ ความดังนี้ เมื่อเดือนตุลาคม ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) ขุนศรีสมบัติ เจ้าพนักงานกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้รายงานว่า ขุนพัฒน์เจ้าของบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองต่างๆ ได้แก่เมืองชัยนาท เมืองสวรรคโลก เมืองตาก และเมืองกำแพงเพชรได้ใช้ปี้แทนเงินแพร่หลายออกไป ขุนศรีสมบัติได้รวบรวมปี้ตามหัวเมืองในชนิดราคาต่างๆ ได้จำนวน 27 อัน ซึ่งได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และเนื่องจากเรื่องนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ จึงทรงขอให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทำการสอบสวนว่า ผู้ว่าราชการเมืองและกรมการเมืองปล่อยปะละเลยให้เกิดการกระทำผิดหรือไม่ ในเวลาต่อมา กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ 5 มกราคม ร.ศ. 111 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2436) กราบทูลกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ ความว่า ได้ทรงไต่สวนแล้วพบว่า นายอากรบ่อนเบี้ยตามหัวเมืองนั้นใช้ปี้จริง แต่เป็นการใช้แทนเค้า (หมายถึงวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน – ผู้เขียน) ในบ่อน เนื่องจากการใช้เงินปลีกทองแดงแทนเค้านั้น เวลาเล่นเบี้ยนายอากรจะทำการเกี่ยวขอหัวเบี้ยไม่ค่อยสะดวก เพราะเงินปลีกเป็นเหรียญทองแดงที่มีลักษณะแบน การใช้ปี้จะเกี่ยวได้สะดวกกว่า ทั้งนี้เมื่อถึงเวลาเลิกเล่นเบี้ยแล้วก็ให้ผู้เล่นนำปี้มาแลกคืนเป็นเงินปลีกกลับไป ไม่ได้เป็นการตั้งใจใช้ปี้ในการใช้สอยแทนเงินปลีกตามท้องตลาดทั่วไปโดยตรง พระองค์จึงทรงมีพระดำริว่าไม่ควรจะให้เป็นความผิดหนักหนานัก และได้รับสั่งให้เก็บปี้เข้าถุงประทับตรารวมไว้ให้หมด แล้วนำเงินเฟื้องเงินสลึงติดขี้ผึ้งมาใช้แทนปี้ ส่วนตัวผู้ว่าราชการเมืองที่ปล่อยให้นายอากรใช้ปี้นั้น นับว่ามีความผิด โดยทางกระทรวงมหาดไทยจะตัดสินโทษเทียบตามที่กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ตัดสินโทษของนายอากรต่อไป ซึ่งต่อมากรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ทรงมีพระดำริว่า กรณีนายอากรบ่อนเบี้ยควรกำหนดภาคทัณฑ์ไว้ครั้งหนึ่งก่อน ต่อไปอย่าคิดใช้ปี้อีก ส่วนผู้ว่าราชการเมืองก็ควรภาคทัณฑ์โทษไว้ให้เอาใจใส่ตรวจตราการกระทำผิดกฎหมายมากกว่านี้เช่นกัน ส่วนเรื่องความลำบากของนายอากรในการเกี่ยวขอหัวเบี้ยนั้น ทางกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจะจัดปี้หลวงจำหน่ายให้นายอากรนำไปใช้เป็นเค้าในปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ต่อไปผู้เขียน : นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.5 ค 14.1 ค/2 เรื่อง บ่อนเบี้ยมณฑลฝ่ายเหนือ. [6 พ.ย. – 25 ม.ค. 111].2. “ข้อบังคับสำหรับนายอากรบ่อนเบี้ย.” (ร.ศ. 110). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 8, ตอนที่ 40 (3 มกราคม): 364-368.3. เฉลิม ยงบุญเกิด. (2514). ปี้โรงบ่อน. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสันต์ รัศมิทัต 1 พฤศจิกายน 2514).4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2463). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 17 ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. (พิมพ์ในงานศพนางยิ้ม มารดาคุณหญิงอินทรมนตรี ปีวอก พ.ศ. 2463). 5. นวรัตน์ เลขะกุล. (2543). เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สารคดี.6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. (2563). ปี้ เบี้ยบ่อน. เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จาก  https://www.facebook.com/.../pfbid02csKoR9hMnZAbR5j2qUCMW...#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ




Messenger