ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

อู่ตะเภา เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ที่ชัยนาท .. เมืองโบราณอู่ตะเภา ตั้งอยู่ริมลำน้ำอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมืองโบราณแห่งนี้เป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการมากว่า 50 ปี โดยการสำรวจของ นายมานิตย์ วัลลิโภดม แห่งกองโบราณคดี กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2506 .. เมืองโบราณอู่ตะเภา มีอายุสมัยอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ 11-16 เป็นเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พื้นที่โดยรอบเมืองเป็นที่ราบลุ่ม จึงเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาแต่โบราณ สภาพเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบนั้นอาจเพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณของเมือง หรือเพื่อเป็นการป้องกันศัตรูจากภายนอก หรือเพื่อป้องกันน้ำหลากเข้าท่วมเมือง หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ก็เป็นได้ .. ภายในเมืองโบราณอู่ตะเภา ค้นพบโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดี และพบโบราณวัตถุเก่าไปจนถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แสดงให้เห็นว่าก่อนจะมีพัฒนาการมาเป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีนั้น มีการใช้งานพื้นที่บริเวณนี้มาก่อนหน้านั้นแล้วคือในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย .. กิจกรรมของผู้คนในบริเวณเมืองโบราณอู่ตะเภานี้ มีการถลุงเหล็ก และประเพณีการฝังศพมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายแล้ว สันนิษฐานจากการพบหลักฐานประเภทเตาถลุงโลหะ และขี้แร่เหล็ก (Slag) ที่หลงเหลือจากการถลุงในบริเวณเมืองโบราณอู่ตะเภา และที่มีการพบหลุมศพที่มีโครงกระดูก ภายในเมืองโบราณแห่งนี้อีกด้วย ภายหลังเมื่อพื้นที่นี้เข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี จึงพบโบราณวัตถุเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีทั้งในเมืองและบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงเมืองโบราณแห่งนี้ ได้แก่ ตะเกียงดินเผา เหรียญเงินมีตรารูปสังข์ ศรีวัตสะ และเศษชิ้นส่วนธรรมจักรศิลา เสาแปดเหลี่ยมที่มีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี .. เมืองโบราณอู่ตะเภานั้น จึงเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญที่แสดงถึงร่องรอยของวัฒนธรรมทวารวดีที่ย่านภาคกลาง ณ เมืองชัยนาท เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ตะเภา. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิชาการกองโบราณคดี, 2534.


ชื่อเรื่อง                         มาเลยฺยสูตฺต (มาลัยสุตร)      สพ.บ.                           412/1หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    มาลัยสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    60 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 57.4 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ถ้ำครกอยู่ไหน? หมู่ที่ ๒ บ้านถ้ำครก ตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตำนานถ้ำครก กล่าวกันว่าในอดีตชาวบ้านได้อาศัยหลุมบนพื้นถ้ำแห่งนี้ ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของน้ำตามธรรมชาติ ใช้เป็นครกตำยาเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จึงเรียกถ้ำแห่งนี้ว่าถ้ำครก ลักษณะของถ้ำครก ถ้ำครกมีลักษณะเป็นถ้ำของภูเขาหินปูนขนาดเล็ก โดยตัวถ้ำทะลุจากภูเขาฝั่งหนึ่งไปยังภูเขาอีกด้านหนึ่ง โดยมีความยาวของถ้ำ ๕๒.๖๐ เมตร ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือกว้าง ๑๑ เมตร ส่วนปากถ้ำด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือกว้าง ๘ เมตร เจดีย์ปูนปั้น ประดิษฐานในบริเวณข้างพระพุทธรูป ชะง่อนหิน และโพรงถ้ำ เจดีย์เหล่านี้และมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีองค์ระฆังเพรียวชะลูดดังที่นิยมกันในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระซึ่งอาจพัฒนามาจากรูปทรงขององค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช มาตั้งแต่สมัยอยุธยา พระพุทธรูป ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่น้อยหลายองค์ บางองค์มีร่องรอยการลงรักปิดทอง ในขณะที่บางองค์มีร่องรอยการตกแต่งด้วยการทาสีแดงชาด นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท รวมถึงยังพบพระสาวกปูนปั้นปรากฏอยู่ด้วย พระพุทธรูปเหล่านี้แสดงอิทธิพลของศิลปกรรมแบบอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ผสมผสานกับศิลปะในท้องถิ่น ปูนปั้น : พุทธประวัติ เรื่องเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์(ออกบวช) พบบริเวณฐานชุกชีของพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ผนังถ้ำ โดยภาพแบ่งออกเป็นสองตอนคือ ตอนเจ้าชายสิทธัตถะประทับยืนทอดพระเนตรพระนางพิมพาและเจ้าชายราหุล และตอนเจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะมีท้างจตุโลกบาลทั้งสี่ประคองเท้าม้าองค์ละหนึ่งขาเพื่อออกผนวช ส่วนภาพพระอินทร์ที่ประคองปากม้านั้นแตกหักไปเหลือเพียงส่วนปลายของมงกุฏ ปูนปั้น : พุทธประวัติ ตอนมารวิชัย(ผจญมาร) พบบริเวณฐานชุกชีใหญ่ของพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ภายในถ้ำ ปรากฏภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม จนน้ำในมวยผมพระแม่ธรณีหลั่งไหลออกมาท่วมกองทัพมารจนพ่ายแพ้ไป ทั้งนี้น้ำที่ไหลออกมาจากมวยผมพระแม่ธรณีนั้นก็คือน้ำซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้กรวดน้ำลงบนพื้นดินอุทิศส่วนกุศลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายเมื่อได้กระทำบุญกุศลในอดีตชาตินั่นเอง ปูนปั้น : นรกภูมิ พบบริเวณผนังถ้ำใกล้ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเรื่องราวการลงโทษผู้กระทำผิดในนรกเช่นการปีนต้นงิ้ว การตกกระทะทองแดง เปรตชนิดต่างๆเช่นเปรตผู้มีจักรบนหัว ภาพจิตรกรรม พบบริเวณผนังถ้ำใกล้ปากถ้ำด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถัดจากภาพนูนต่ำรูปนรกภูมิ โดยปรากฏภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีขาวและแดง เป็นภาพบุคคลจำนวน ๔ คนนั่งอยู่บนหลังช้าง ใกล้กับต้นไม้ และมีภาพบุคคลกำลังเดินอยู่ ๒ คน ในทิศทางตรงกันข้ามกับการก้าวเดินของช้าง----------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา 



           พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดตั้งทวีปัญญาสโมสร ขึ้น ณ พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งเป็นสโมสรแรกในราชสำนักเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๗ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามัคคี เพิ่มพูนความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน ตลอดจนเพื่อส่งเสริมการประพันธ์และการละครอีกด้วย โดยมีสมาชิกเป็นพระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร และบุคคลภายนอก ที่ได้รับการรับรองจากกรรมการสภา ซึ่งกรรมการสภาในการดำเนินงานของทวีปัญญาสโมสรชุดแรกนั้น ประกอบด้วย สภานายกและเลขานุการดำรงตำแหน่งโดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ปฏิคมและบรรณารักษ์ดำรงตำแหน่งโดย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา ผู้ช่วยปฏิคมคือ ม.จ.ถูกถวิล ผู้ช่วยบรรณารักษ์คือ ม.จ.พงษ์พิณเทพ เหรัญญิกคือ นายหยวก ผู้ช่วยเลขานุการคือ นายสอาด ที่ปรึกษาคือ พระยาราชวัลภานุสิษฐ กรรมการพิเศษประกอบด้วย ม.จ.วงษ์นิรชร และ ม.จ.อิทธิเทพสรร สำหรับตำแหน่งพนักงานใหญ่แผนกปฏิคมคือ นายชุ่ม ภายหลังมีการเพิ่มตำแหน่งกรรมการอีก ๒ ตำแหน่ง ได้แก่ อุปนายก และสาราณียกร            ในส่วนของสมาชิกเข้าใหม่ของทวีปัญญาสโมสรนั้น ต้องเสียเงินค่าสมัคร ๕ บาท และเสียเงิน ค่าบำรุงสโมสรปีละ ๓๖ บาท โดยเก็บทุกครึ่งปี หรือจะเสียค่าบำรุงสโมสรครั้งเดียว ๔๐๐ บาทก็ได้ เมื่อสมาชิกได้ลงนามและเสียค่าบำรุงสโมสรแล้ว จะได้รับโปเจียม คือ เข็มติดอกเสื้อทำด้วยผ้า จากกรรมการ ๑ อัน เพื่อติดมาในวันที่มีการประชุมซึ่งมีทั้งการประชุมสมาชิกทั่วไป และการประชุมใหญ่กับกรรมการสภาตามที่สภานายกเห็นสมควร หากไม่ติดมาจะถูกบันทึกนามไว้ในห้องสมุด ถ้าเกิน ๓ ครั้งจะถูกปรับ ๓๒ อัฐ สำหรับที่ทำการสโมสรนั้น เดิมตั้งอยู่ในพระราชวังสราญรมย์ ภายหลังเริ่มคับแคบจึงได้ย้ายมาตั้งที่ทำการใหม่ ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเรือนกระจก เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๗ ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ - ๒๒.๐๐ น. ภายในมีห้องสมุดและมีหนังสือพิมพ์ ที่ออกในเมืองไทยและเมืองนอกบางฉบับให้สมาชิกได้อ่าน อีกทั้งยังมีโรงละครขนาด ๑๐๐ ที่นั่ง ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์ ริมถนนราชินีอีกด้วย ชื่อว่า โรงละครทวีปัญญา นอกจากนี้ภายในทวีปัญญาสโมสรยังมีการเล่นกีฬาในร่ม อาทิ บิลเลียด ปิงปอง หมากรุก และไพ่ฝรั่ง รวมทั้งมีเครื่องกีฬากลางแจ้ง ไว้ให้เล่นด้วย เช่น เทนนิส คริกเก้ต โครเก้ ฮ้อกกี้ ฯลฯ อีกทั้งยังใช้เป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงในโอกาส ต่าง ๆ ที่สำคัญยังใช้เป็นสถานที่ออกหนังสือพิมพ์รายเดือน ซึ่งทรงพระราชทานชื่อว่า ทวีปัญญา ภายหลังด้วยพระราชภาระที่มากขึ้นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการของทวีปัญญาสโมสรจึงสิ้นสุดลงโดยปริยายในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐            สำหรับเรือนกระจกซึ่งเคยเป็นที่ทำการของทวีปัญญาสโมสรได้ถูกปรับเปลี่ยนใช้สอยเปลี่ยนมือเรื่อยมาและยังคงตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน-------------------------------------------------------------------------เรียบเรียง : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ -------------------------------------------------------------------------บรรณานุกรม วรชาติ มีชูบท. จดหมายเหตุวชิราวุธ ตอนที่ ๑๒๙ สโมสร สมาคม และชมรม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๔, จาก: http://www.vajiravudh.ac.th/VC_Annals/vc_annal129.htm. ๒๕๕๗. วรชาติ มีชูบท. ราชสำนักรัชกาลที่ ๖. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๑. สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ (ก-ม). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๓. สุนทรพิพิธ, พระยา. พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๔.


เลขทะเบียน: กจ.บ.7/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 42 หน้า


เลขทะเบียน: กจ.บ.6/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระมหาปฏฺฐาน เผด็จข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 44 หน้า



          อาณาจักรหลักคำ หรือกฎหมายเมืองน่าน สร้างขึ้นและใช้ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ - ๒๔๕๑ ลักษณะเป็นพับสา มีไม้ประกับสองด้าน จำนวน ๑ เล่ม ๖๑ หน้า ขนาด กว้าง ๑๑.๘ เซนติเมตร ยาว ๓๖.๕ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร ต้นฉบับเป็นอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้รับมอบจาก นางสุภาพ สองเมืองแก่น เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๐           อาณาจักรหลักคำหรือกฎหมายเมืองน่าน นอกจากจะมีความสำคัญในเมืองน่านเมื่อครั้งอดีต ในปัจจุบันยังนับเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่มีคุณค่าความสำคัญจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก" ของประเทศไทย ส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙           คำว่า "อาณาจักรหลักคำ" มีความหมายว่า "อาณาจักร" ในที่นี้หมายถึง "กฎหมาย" ดังปรากฎข้อความตอนหนึ่งในอาณาจักรหลักคำว่า "จึ่งได้หาเอาเจ้านายพี่น้องขัตติยราชวงสา ลูกหลานและท้าวพญาเสนาอามาตย์ ขึ้นเปิกสาพร้อมกันยังหน้าโรงไชย เจ้าพระยาหอหน้าเปิกสากันพิจารณา ด้วยจักตั้งพระราชอาณาจักรนั้นตกลงแล้ว” และในอีกนัยหนึ่ง กล่าวว่า อาณา เป็นคำบาลีตรงกับ อาชญา ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า อำนาจการปกครอง จักร แปลว่า ล้อ แว่นแคว้น รวมความแล้วจึงหมายถึง อำนาจปกครองของบ้านเมือง ส่วนคำว่า “หลักคำ” หมายถึง หลักอันมีค่าประดุจทองคำ คำว่า อาณาจักรหลักคำ จึงอาจหมายถึง “กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองอันมีคุณค่าประดุจดั่งทองคำ”          อาณาจักรหลักคำ เขียนขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๓๔) กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในเมืองน่าน และเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่าน เหตุที่ต้องมีการออกกฎหมายได้มีการกล่าวไว้ในตอนต้นของกฎหมายอาณาจักรหลักคำว่า บ้านเมืองในขณะนั้นเกิดความวุ่นวาย มีการลักขโมย การเล่นการพนัน ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนในเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเป็นไปด้วยความสงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงได้กำหนดกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา โดยอาณาจักรหลักคำเป็นกฎหมายใช้เรื่อยมาในเมืองน่านและเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่านมาจนถึงพุทธศักราช ๒๔๕๑ ในสมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๖๑) ได้ยกเลิกการใช้อาณาจักรหลักคำ และเปลี่ยนมาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ของกรุงรัตนโกสินทร์แทน เนื่องด้วยในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีนโยบายในการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง จึงทรงปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพและส่งข้าหลวงจากส่วนกลางมาเป็นส่วนหนึ่งของเค้าสนามหลวงประจำอยู่ที่เมืองน่าน           อาณาจักรหลักคำ มีลักษณะเป็นกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งออกโดยเจ้าเมืองน่าน เจ้านายบุตรหลาน ขุนนาง และพ่อเมืองต่างๆร่วมกันออกตัวบทกฎหมายเพื่อใช้ภายในบ้านเมืองของตน โดยในการใช้กฎหมายนอกจากใช้ในเขตเวียงน่านโดยมีเค้าสนามหลวงดำเนินการแล้ว ยังมีการกระจายอำนาจให้กับหัวเมืองต่างๆที่ขึ้นอยู่กับเมืองน่านให้มีอำนาจตัดสินคดีความ แต่หากคดีนั้นพิจารณาในหัวเมืองน้อยแล้วยังไม่ยอมความ สามารถที่จะฟ้องร้องต่อเค้าสนามในเวียงเพื่อพิจารณาคดีใหม่ได้          ในส่วนของเนื้อหากฎหมายในอาณาจักรหลักคำ อาจแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ กฎหมายในช่วงตอนต้นที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕ และกฎหมายในช่วงตอนหลังที่ออกใน พ.ศ. ๒๔๑๘            ๑. กฎหมายที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕ มีสาระสำคัญอยู่หลายมาตรา แต่ละมาตราจะมีรายละเอียดตัวบทกฎหมายและบทลงโทษผู้กระทำความผิดแตกต่างกันไป การทำความผิดในกรณีเดียวกันอาจรับโทษหนักเบาไม่เท่ากัน เนื่องจากมีการกำหนดระดับชนชั้นของผู้ที่กระทำความผิด คือ เจ้านาย ขุนนาง หรือไพร่ ชนชั้นสูงจะเสียค่าปรับมากกว่าสามัญชน กฎหมายที่สำคัญที่ลงโทษหนัก คือ การลักควาย ซึ่งในสมัยนั้นอาจมีการลักขโมยควายไปฆ่ากินอยู่บ่อยครั้ง จึงระบุโทษว่า ผู้ลักควายไปฆ่ากินจะมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต เนื้อหาของกฎหมายในช่วงนี้มีเพียงตัวบทกฎหมายซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน แต่ไม่มีตัวอย่างคดีความที่เกิดขึ้นจริงให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายปรากฏอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อความในกฎหมายก็ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการเมืองการปกครอง สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเมืองน่านในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่ในช่วงตอนต้นนี้มักจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองน่านในด้านต่างๆ ได้แก่ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การเก็บของป่า การแลกเปลี่ยนสินค้า การประมง การแบ่งชนชั้น ตลอดจนความเชื่อค่านิยมและประเพณี ดังเนื้อความที่ปรากฏในอาณาจักรหลักคำ เช่น การทำเครื่องมือจับปลาในแม่น้ำจะต้องเว้นช่องไว้ให้เรือผ่านได้สะดวก, การห้ามฟันไร่บริเวณต้นน้ำและริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและนำน้ำเข้าสู่ไร่นา หากฝ่าฝืนมีโทษ เฆี่ยนหลัง ๓๐ แส้ และปรับเงิน ๓๓๐ น้ำผ่า นอกจากนั้นยังมีกฎหมายห้ามฆ่าค้างคาวในถ้ำ ห้ามเบื่อปลาในน้ำ และห้ามตัดต้นไม้บางชนิด , กฎหมายห้ามปลอมแปลงเงินตรา โดยมีโทษต้องเข้าคุก ปรับไหมและเฆี่ยนตี ความว่า “...คันว่าบุคคลผู้ใดเบ้าเงินแปลกปลอมและจ่ายเงินแปลกปลอมเงินดำคำเส้านั้น คันรู้จับตัวไว้จักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตร ไว้แล้ว...จักไหม ๓๓๐ น้ำผ่า เฆี่ยน ๓๐ แส้...” เป็นต้น            ๒. กฎหมายในช่วงตอนหลัง มีลักษณะแตกต่างจากช่วงตอนแรก ประกอบด้วย กฎหมายที่ออกเพิ่มเติมขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๘, พ.ศ. ๒๔๒๓ และบันทึกการตัดสินคดี พ.ศ. ๒๔๑๙ และบันทึกกฎหมายเก่าที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๘๗ นอกจากนี้ยังมีบันทึกเหตุการณ์ที่จดแทรกเข้ามา ได้แก่ บันทึกเหตุการณ์เจ้าเมืองล้าส่งบรรณาการมาให้เจ้าเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๔๒๑) และจดบันทึกนาสักดิ์เจ้านาย ขุนนางและไพร่ แสดงให้เห็นว่าในช่วงตอนหลังการบันทึกในอาณาจักรหลักคำนอกจากกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว ยังมีการจดแทรกเพิ่มเติมเรื่องอื่นไว้ด้วยโดยไม่ได้ลำดับศักราชและเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่ออกในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๘ ก็มีความสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องออกกฎหมายใหม่เพิ่มเติมให้ทันกับสถานการณ์บ้านเมือง คือ เรื่องห้ามสูบฝิ่น ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ๓ ปี และกฎหมายห้ามจับควายละเลิง (ควายป่า, ควายไม่มีเจ้าของ) ที่มาของกฎหมายห้ามสูบฝิ่น แสดงให้เห็นถึงคนจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขายในเมืองน่านมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งที่คนจีนนำเข้ามาคือการสูบฝิ่น สืบเนื่องมาจากมีเจ้านายบุตรหลานเมืองน่านผู้หนึ่งติดฝิ่น สร้างปัญหาให้กับบิดา จึงได้มีการเสนอเรื่องนี้พิจารณาในระดับชั้นเจ้า ในที่สุดเจ้าเมืองน่านจึงพิจารณาโทษเจ้านายบุตรหลาน และต่อมาก็ออกกฎหมายประกาศใช้ทั่วไป และมีหนังสือบันทึกกฎหมายใหม่ส่งไปยังหัวเมืองต่างๆในการปกครองของเมืองน่านได้รับรู้ด้วย           ปัจจุบัน อาณาจักรหลักคำ ซึ่งถูกจัดเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้มีโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดทำโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ได้บันทึกภาพอาณาจักรหลักคําไว้ในรูปไมโครฟิล์ม เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และต่อมาจึงได้มีการปริวรรตโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล ซึ่งผู้ที่สนใจศึกษาเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดในอาณาจักรหลักคำ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมตามเอกสารอ้างอิง------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน https://www.facebook.com/1116844555110984/posts/3728196513975762------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - กรมศิลปากร. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ, ๒๕๓๗. - ชฎาพร จีนชาวนา. การวิเคราะห์สังคมเมืองน่านจากกฎหมายอาณาจักรหลักคำ (พ.ศ. ๒๓๙๕ – ๒๔๕๑). ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๔๙. - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่านเล่มที่ ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน, ๒๕๔๗. - สรัสวดี อ๋องสกุล. หลักฐานประวัติศาสตร์ล้านนาจากเอกสารคัมภีร์ใบลานและพับหนังสา. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๔.


ชื่อเรื่อง                                ปาติโมกข์แปล (สัปปาฏิโมกข์)  สพ.บ.                                  366/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           68 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-13  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.186/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 107 (123-132) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.257/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 (217-225) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สลากริวิชาสุตฺต(สลากริวิชาสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ประจำเดือนตุลาคม เรื่อง "หน้าบุคคลทั้ง ๔ บนซุ้มปราสาทเฟื้อง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง"          ซุ้มปราสาทเฟื้อง เป็นชื่อเรียกของปราสาทขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ตั้งอยู่บนซุ้มประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง กำหนดอายุจากรูปแบบศิลปะ อยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยคำว่า “เฟื้อง” มีความหมายว่า ขนาดเล็ก มีที่มาจากหน่วยนับเงิน ซึ่งมีค่าน้อยกว่าสตางค์         หน้าบุคคลทั้ง ๔  มีเค้าโครงของใบหน้าสี่เหลี่ยมและดวงตามองตรง ลักษณะการแสดงออกทางใบหน้าคล้ายคลึงกับประติมากรรมรูปใบหน้าบุคคล ๔ หน้า ที่ปรากฏในศิลปะเขมร สมัยบายน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘  ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างซุ้มปราสาทเฟื้องนี้ มีข้อสันนิษฐาน ๒ แนวคิด คือ แนวคิดที่ ๑ สันนิษฐานว่า เป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข ผู้คอยดูแลทุกข์สุขของคนโดยทั่วไป คำว่า สมันตมุข แปลว่า มีพระพักตร์รอบทิศหรือเห็นได้โดยรอบ มีความหมายสอดคล้องกับข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงดูแลสรรพสัตว์ ทุกภพทุกภูมิทุกทิศ ช่วยเหลือให้พ้นจากมหันตภัยนานัปการ  ส่วนแนวคิดที่ ๒ เชื่อว่าน่าจะหมายถึง ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวจาตุมหาราช หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔  ซึ่งความหมายหลังนี้น่าจะมีความเป็นได้มากกว่าเพราะซุ้มปราสาทเฟื้องนี้อยู่ที่ประตูทางเข้าบรรณานุกรม ธีรนาฎ มีนุ่น, พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข ปางสมันตมุข [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ ๒๐  กันยายน ๒๕๖๔. แหล่งที่มา https://finearts.go.th/promotion/view/๑๖๘๑๔-พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข-ปางสมันตมุขศักดิชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพลส,๒๕๖๑. สงวน รอดบุญ. พุทธศิลป์สุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๓. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย ภูมิหลังทางปัญญา-รูปแบบทาง ศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๓๗.


Messenger