ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)  ชบ.บ.49/1-13  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.186/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 107 (123-132) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : มหาวิภงฺคปาลิ, ปาจิตฺติปาลิ(บาฬีปาจิตตี)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.257/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 (217-225) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สลากริวิชาสุตฺต(สลากริวิชาสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ประจำเดือนตุลาคม เรื่อง "หน้าบุคคลทั้ง ๔ บนซุ้มปราสาทเฟื้อง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง"          ซุ้มปราสาทเฟื้อง เป็นชื่อเรียกของปราสาทขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ตั้งอยู่บนซุ้มประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง กำหนดอายุจากรูปแบบศิลปะ อยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยคำว่า “เฟื้อง” มีความหมายว่า ขนาดเล็ก มีที่มาจากหน่วยนับเงิน ซึ่งมีค่าน้อยกว่าสตางค์         หน้าบุคคลทั้ง ๔  มีเค้าโครงของใบหน้าสี่เหลี่ยมและดวงตามองตรง ลักษณะการแสดงออกทางใบหน้าคล้ายคลึงกับประติมากรรมรูปใบหน้าบุคคล ๔ หน้า ที่ปรากฏในศิลปะเขมร สมัยบายน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘  ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างซุ้มปราสาทเฟื้องนี้ มีข้อสันนิษฐาน ๒ แนวคิด คือ แนวคิดที่ ๑ สันนิษฐานว่า เป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสมันตมุข ผู้คอยดูแลทุกข์สุขของคนโดยทั่วไป คำว่า สมันตมุข แปลว่า มีพระพักตร์รอบทิศหรือเห็นได้โดยรอบ มีความหมายสอดคล้องกับข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงดูแลสรรพสัตว์ ทุกภพทุกภูมิทุกทิศ ช่วยเหลือให้พ้นจากมหันตภัยนานัปการ  ส่วนแนวคิดที่ ๒ เชื่อว่าน่าจะหมายถึง ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวจาตุมหาราช หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔  ซึ่งความหมายหลังนี้น่าจะมีความเป็นได้มากกว่าเพราะซุ้มปราสาทเฟื้องนี้อยู่ที่ประตูทางเข้าบรรณานุกรม ธีรนาฎ มีนุ่น, พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข ปางสมันตมุข [ออนไลน์], สืบค้นเมื่อ ๒๐  กันยายน ๒๕๖๔. แหล่งที่มา https://finearts.go.th/promotion/view/๑๖๘๑๔-พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเอกาทศมุข-ปางสมันตมุขศักดิชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพลส,๒๕๖๑. สงวน รอดบุญ. พุทธศิลป์สุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๓๓. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๕. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย ภูมิหลังทางปัญญา-รูปแบบทาง ศิลปกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน,๒๕๓๗.




ชื่อผู้แต่ง             ขุนช้าง ขุนแผน ชื่อเรื่อง              นิทานจากเสภาเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์         พระนคร สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์ตรีรณสาร ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๖ จำนวนหน้า          ๔๙๔  หน้า หมายเหตุ             อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระตรีรณสารวิศวกรรม(ตรี  ตีรณสาร) ม.ว.ม. , ป.ช. , ท.จ.ว.                          การเขียนนิทานจากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เหตุที่พระตรีรณสารวิศวกรรม จะเขียนนิทานจากเสภาเรื่องขุยช้างขุนแผน ซึ่งได้นำมาลงพิมพ์ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ คือปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านสุขภาพไม่ดี ลูกสาวคนโตเกรงว่าท่านจะเหงา จึงได้เสนอให้ท่านอ่านหนังสือวรรณคดีเก่าๆ และเขียนเล่าเรื่องเป็นร้อยแก้ว เพราะอาจเป็นประโยชน์สำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่คิดว่าไม่มีเวลาอ่าน ได้อ่านเรื่องโดยย่นย่อลง และได้อ่านบางตอนที่น่าสนใจของฉบับจริง ซึ่งแทรกไว้แล้วนั้น


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 39 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 64 (ต่อ) พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันนุมาศ (เจิม) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวจำนวนหน้า : 332 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 39 ภาคที่ 64 (ต่อ) กล่าวถึง เรื่องราวกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าฟ้าอุทุมพร โดยบรรยายถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น อาทิ การเสด็จยกทัพหลวงไปเมืองเมาะลำเลิง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จประพาสเมืองพระพิษณุโลก พระราชพิธีสงครามาภิเษก การสถาปนาวัดชุมพลนิกายาราม พระราชพิธีลบศักราช พม่ายกทัพประชิดกรุง และการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ณ วันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน จ.ศ.1129 (พ.ศ.2310)


ชื่อผู้แต่ง         กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ชื่อเรื่อง           กรมพระจันทบุรี (เมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังฯ) ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    ม.ป.ท. สำนักพิมพ์      ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์          ๒๔๗๔ จำนวนหน้า      ๕๐๔ หน้า หมายเหตุ        ข้าราชการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พิมพ์แจกในงานการรับพระอัฏฐิพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ                       หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการไว้อาลัยแด่พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถมหาอำมาตย์เอกกระทรวงพระคลังฯ  ประกอบกับเนื้อหาทางการคลัง และกฎหมาย ได้แก่ เงินตรา, งบประมาณ, กรมพระคลังมหาสมบัติ, การตรวจเงินแผ่นดิน, การควบคุมเงินรายได้รายจ่าย, การศุลกากร, สรรพากร, ฝิ่น, สุรา, การสถิติพยาการณ์ และการพาณิชย์, ที่ดินราชพัสดุ, คลังออมสิน, การพิทักษทรัพย์ศัตรู, การเกื้อหนุนราษฎรที่ต้องอุทกภัย และการกำกับตรวจตราเข้า



พระพิมพ์ปางสมาธิ (พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว) แห่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี .. พระพิมพ์ คือ รูปเคารพขนาดเล็กในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์ โดยวัสดุในการสร้างนั้นมีหลายประเภท เช่น โลหะประเภทต่าง ๆ และสิ่งที่ไม่ใช่โลหะ อันได้แก่ ดิน ซึ่งมีทั้งดินเผา และดินดิบ .. คติในการสร้างพระพิมพ์นั้นมีหลากหลาย เช่น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นกุศลสำหรับตัวเองหรืออุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้อื่น หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ที่สร้างขึ้นเพื่อการสักการบูชาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเฉกเช่น เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล .. พระพิมพ์ปางสมาธินี้ สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นพระพิมพ์เนื้อผง ที่มีขนาดกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร สูง ๒ เซนติเมตร .. พระพิมพ์มีลักษณะเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับในอิริยาบถสมาธิ พระเศียร (หัว) ค่อนข้างกลม พระกรรณ (หู) ยาว พระเกตุมาลา (ส่วนยอดเหนือพระเศียร) แหลม พระอังสา (ไหล่) กว้าง หงายพระหัตถ์ (มือ) วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) ครองจีวรห่มเฉียง ประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิราบบนฐานบัว พระพิมพ์องค์นี้อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยมมุมมน ฐานด้านล่างองค์พระปรากฏรูที่เกิดจากขั้นตอนการนำพระออกจากแม่พิมพ์ .. ตามประวัติบันทึกไว้ว่า พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท สร้างพระพิมพ์ปางสมาธิเนื้อผง (พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว) นี้ ขึ้นราว พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๔๖๓ นักสะสมพระเครื่องพระพิมพ์ เรียกพระพิมพ์นี้ว่า “พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว” เนื่องด้วยมีการเล่าขานกันต่อมาว่า มีการแจกพระพิมพ์นี้ให้กับผู้ที่มาช่วยทำครัวที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยพระพิมพ์องค์นี้ พระครูแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ สืบไป .. โดยท่านผู้สนใจสามารถเข้าชมพระพิมพ์ปางสมาธิ (พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว) นี้ได้ที่อาคารจัดแสดงชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท .. ที่มาภาพ : หนังสือพระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.14 จันทโครบประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยขาวISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  วรรณคดีลักษณะวัสดุ              125; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    วรรณคดี              ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค.2538 


กรมศิลปากร.  กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.  นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องประชาพร้อมพรัก อนุรักษ์มรดกไทย ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.  กรุงเทพฯ  :  กรมศิลปากร,  2532.          แสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ประชาชนมอบให้พิพิธภัณฑสถาน วิธีการอนุรักษ์โบราณวัตถุ การสำรวจและการขึ้นทะเบียนวัตถุ ข้อควรทราบเกี่ยวกับการจัดกลุ่มของศิลปวัตถุ สถิติ แผนภูมิ และทำเนียบนามผู้มอบศิลปะโบราณวัตถุให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.


 วัดโพธิ์ศิลา บ้านเปือย หมู่ที่ ๖ ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ มีลักษณะเป็นเนินดินสูง สภาพปัจจุบันปูพื้นด้วยศิลาแลง มีบันไดทางขึ้นเนินอยู่ด้านทิศตะวันตก ส่วนรอบเนินอีกสามด้าน  มีขอบกั้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ถัดลงไปเป็นเขื่อนหินกั้นดินสไลด์ และได้มีการนำใบเสมามาปักเรียงใหม่เป็น ๒ แถว อยู่บนพื้นที่ปูด้วยศิลาแลง รวมจำนวน ๑๖ ใบ สลักจากหินทราย มีขนาดใหญ่ ที่ฐานสลักเป็นกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุด แตก หัก มี ๒ ใบ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ใบเสมาวัดโพธิ์ศิลากำหนดอายุอยู่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นในวัฒนธรรมทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕           เสมาใบที่ ๑ สลักลวดลายกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย รองรับสันนูนตรงกลางคล้ายสถูปยอดเรียวชะลูดจนสุดปลายใบ อีกด้านสลักลวดลายคล้ายกันมีหม้อปูรณฆฏะ(หม้อน้ำ)ที่ส่วนยอด ซึ่งมีการแตกหักหายไปบางส่วน             เสมาใบที่ ๒ สลักลวดลายหม้อปูรณฆฏะ(หม้อน้ำ)รองรับสันนูนตรงกลางคล้ายสถูปยอดเรียวชะลูดจนสุดปลายใบ อีกด้านสลักคล้ายกันมีฐานบัวสลักลายรูปธรรมจักรแทรกที่ส่วนยอด สภาพยอดแตก บิ่นเล็กน้อย  ใบเสมาวัดโพธิ์ศิลา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง หน้า ๒ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๕ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๖ ไร่ ๑ งาน ------------------------------------------------ อ้างอิงจาก - คันฉาย มีระหงส์. รายงานผลการตรวจสอบโบราณสถานวัดโพธิ์ศิลา. (เอกสารอัดสำเนา), กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี, ๒๕๖๑. - สิริพัฒน์  บุญใหญ่ และคณะ. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี, ๒๕๕๙, หน้า ๑๒๗.    ------------------------------------------------ ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02Mp6rqU38t8gXiegT72DkRjdPouNWB9AWdZ8NZRuv7zcnd142sR11HNk1aFXmDCJwl&id=835594323191791


          ถ้ำหมอเขียว ตั้งอยู่ที่ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นเพิงผาบนเทือกเขาหินปูน อยู่ห่างจากชายทะเลประมาณ 8 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเพิงผาที่มีความยาวประมาณ 30 เมตร โดยมีคูหาขนาดกว้างประมาณ 3 เมตร 2 คูหา ขนาบข้างในด้านทิศตะวันออกและตะวันตก           มีเรื่องเล่าของคนในพื้นที่ว่าเดิมมีหมอสมุนไพรชื่อ “เขียว” อาศัยอยู่ในบริเวณถ้ำ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ถ้ำหมอเขียว” ต่อมาเมื่อหมอเขียวเสียชีวิตลง ชาวบ้านได้มาขุดหาขี้ค้างคาวไปขาย ทำให้พบร่องรอยหลักฐานที่ถูกขุดขึ้นมาขณะขุดขี้ค้างคาว           การขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำหมอเขียว เริ่มขึ้นโดยอาจารย์สุรินทร์ ภู่ขจร ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ได้ขุดค้นภายใต้โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย ดำเนินการขุดค้นในปี พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2537 หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2551 อาจารย์ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ได้ขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียวอีกครั้งเพื่อตรวจสอบการใช้พื้นที่เพิ่มเติม           ผลการขุดค้นทั้งสองครั้งโดยสรุป พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 4 โครง เป็นเด็ก 1 โครง และผู้ใหญ่ 3 โครง รูปแบบการฝังศพมีทั้งการฝังในท่างอเข่า 1 โครง และท่านอนหงายเหยีดยาว 3 โครง ทั้งสี่โครงกำหนดอายุได้ในช่วงประมาณ 25,000-10,000 ปี ตรงกับสมัยหินเก่าตอนปลายถึงช่วงก่อนสมัยหินใหม่ นอกจากนี้ยังพบเครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว เครื่องมือหินกะเทาะสองหน้า สะเก็ดหิน เครื่องมือกระดูกสัตว์ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ เปลือกหอย ชิ้นส่วนเมล็ดพืช และร่องรอยการใช้ไฟ เมื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบหลักฐานจากการขุดค้นแล้ว ผู้ขุดค้นสันนิษฐานว่า ถ้ำหมอเขียวเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ก่อน 25,000 ปีมาแล้วจนถึงราว 3,000 ปีมาแล้ว และใช้พื้นที่อยู่อาศัยร่วมกับการฝังศพในช่วงประมาณ 25,000-10,000 ปีมาแล้ว           โครงกระดูกมนุษย์ที่พบที่ถ้ำหมอเขียวซึ่งกำหนดอายุจากตัวอย่างถ่านที่พบร่วมกับได้อายุประมาณ 25,000 ปีมาแล้ว จัดได้ว่าเป็นโครงกระดูกมนุษย์ โฮโม เซเปียนส์ ที่เก่าที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับถ้ำตาบน ประเทศฟิลิปปินส์ และถ้ำนีอาห์ ประเทศอินโดนีเซีย แม้ว่าก่อนหน้านี้จะพบร่องรอยเครื่องมือเครื่องใช้ที่ถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่ กำหนดอายุได้ถึง 37,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ไม่พบโครงกระดูกมนุษย์โดยตรง อันจะเป็นตัวเชื่อมในการทำความเข้าในพัฒนาการทางกายภาพและวัฒนธรรมของมนุษย์สมัยใหม่ได้ชัดเจนขึ้น การศึกษาลักษณะทางกายภาพของรูปกะโหลกยังบ่งชี้ว่ามนุษย์โบราณที่ถ้ำหมอเขียวอาจมีบรรพบุรุษร่วมกับชนพื้นเมืองดั้งเดิมของออสเตรเลีย และชนพื้นเมืองบริเวณหมู่เกาะในทะเลแปซิฟิกอีกด้วย           ส่วนหลักฐานประเภทเครื่องมือหิน กระดูกสัตว์และเปลือกหอย พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเครื่องมือ และประเภทของกระดูกสัตว์อย่างชัดเจนระหว่างสมัยหินเก่าตอนปลายและสมัยหินใหม่ โดยในสมัยหินเก่าตอนปลายพบกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่จำพวก เก้ง/กวาง วัว/ควาย หมี ใช้เครื่องมือหินกะเทาะขนาดใหญ่ และนิยมบริโภคหอยน้ำจืดมาก ส่วนสมัยหินใหม่พบกระดูกสัตว์ขนาดเล็กลง เช่น ลิง ค่าง ชะนี หมูป่า อีเห็น มีการบริโภคหอยน้ำเค็มมากขึ้น และใช้เครื่องมือหินขัดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนให้เห็นการปรับตัวเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในช่วงไพลสโตซีนตอนปลาย ซึ่งเป็นเป็นช่วงน้ำทะเลลดต่ำ ไปเป็นช่วงโฮโลซีนซึ่งอากาศอบอุ่นขึ้น และน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ถ้ำหมอเขียวจึงอยู่ใกล้ทะเลมากขึ้น และเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่ป่าห่างไกลทะเลเป็นพื้นที่ใกล้ชายฝั่งแทน   -------------------------------------------------- แหล่งที่มาข้อมูล • White, Joyce C. (2011). “Emergence of cultural diversity in mainland Southeast Asia: a view from prehistory.” in Dynamics of Human diversity, 19. Acessed May 20. Available from http://seasiabib.museum.upenn.edu:8001/.../2011_White.pdf • Forestier, Hubert et al. (2021). “Hoabinhian variability in Mainland Southeast Asia revisited: The lithic assemblage of Moh Khiew Cave, Southwestern Thailand.” Archaeological Research in Asia, 25. Acessed May 20. Available from https://doi.org/10.1016/j.ara.2020.100236 • Matsumura, Hirofumi and Surin Pookajorn. (2005). “A Morphometric analysis of the Late Pleistocene Human Skeleton from the Moh Khiew Cave in Thailand.” Homo-Journal of Comparative Human Biology 56: 93-118. • ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2561). “มนุษย์สมัยใหม่รุ่นบุกเบิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ซากบรรพชีวินและหลักฐานทางโบราณคดี.” วารสารมานุษยวิทยา 1, 1 (มกราคม-มิถุนายน), 11. • โครงการวิจัยวัฒนธรรมโหบินเนียนในประเทศไทย. (2534). รายงานเบื้องต้นการขุดค้นที่ถ้ำหมอเขียว จ.กระบี่, ถ้ำซาไก จ.ตรัง และการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดีชนกลุ่มน้อยเผ่าซาไก จ.ตรัง. กรุงเทพฯ: โครงการฯ. • อำพล ไวศยดำรง. (2535). “ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างหอยที่ได้จากการขุดค้นทีถ้ำหมอเขียว จังหวัดกระบี่ และถ้ำซาไก จังหวัดตรัง ประจำปี พ.ศ. 2534.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. • พิชญ ปานมี. (2551). “รูปแบบเครื่องมือหิน: การขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ปี พ.ศ. 2551.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.   ------------------------------------------------ เรียบเรียงข้อมูล/กราฟฟิค : สิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ และ โสมสินี สุขเกษม นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เผยแพร่ข้อมูลทาง https://www.facebook.com/100055227468299/posts/516868276830750/?d=n  


ชื่อเรื่อง                     การอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม จังหวัดปทุมธานีผู้แต่ง                       สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์เลขหมู่                      959.9313 ส691กสถานที่พิมพ์               ปทุมธานีสำนักพิมพ์                 กิตติพงศ์การพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2545ลักษณะวัสดุ               92 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง                     การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย                              ปทุมธานี -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงจังหวัดปทุมธานี ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน และมีแหล่งทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์หลายแห่ง มุ้งเน้นด้านการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ภายในจังหวัดปทุมธานีและข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการฟื้นฟูและการอนุรักษ์    


Messenger