ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

             กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดการเสวนาทางวิชาการ ประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๖๗ มีหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ - วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗         เรื่อง แผนภูมิของแผ่นดิน  จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์         วิทยากร                  นายไอยคุปต์ ธนบัตร, นายภูวนารถ สังข์เงิน, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ         ผู้ดำเนินรายการ       นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์   - วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗         เรื่อง ตราประจำจังหวัด  จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ         วิทยากร                  นายกำพล เวชสุทัศน์, นายสุเมธ พุฒพวง,                                       นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร, นางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์         ผู้ดำเนินรายการ       นางประภาพร ตราชูชาติ - วันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๗         เรื่อง สานสัมพันธ์ด้วยสัญญา  จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ         วิทยากร                  นางภาวิดา  สมวงศ์, นางสาวทรายทอง ทองเกษม,                                       ผู้แทนกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์         ผู้ดำเนินรายการ       นางสาวนัทธมน จิตเจตน์ - วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๗         เรื่อง แรกมีการพิมพ์  จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ         วิทยากร                  นางอัจฉรา จารุวรรณ, นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน, นายยุทธนาวรากร  แสงอร่าม         ผู้ดำเนินรายการ       นางสาวอุดมพร  เข็มเฉลิม - วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗         เรื่อง ต้นร่างสร้างเมืองเรืองรองศิลปกรรม  จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ         วิทยากร                  ดร.วสุ โปษยะนันท์, นายจักริน อุตตะมะ, ดร.พรธรรม ธรรมวิมล, นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล                                                        ผู้ดำเนินรายการ       นางสาวชนาธิป พฤกษ์อุดม - วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗         เรื่อง ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง  จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ         วิทยากร                  นางจุฑาทิพย์  อังศุสิงห์, นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา         ผู้ดำเนินรายการ       นางบุศยารัตน์ คู่เทียม - วันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๗         เรื่อง ด้วยพระปรีชาญาณ นำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท  จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ         วิทยากร                  นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวณัฏฐา  กล้าหาญ, นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน                 ผู้ดำเนินรายการ       นายบารมี  สมาธิปัญญา - วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗         เรื่อง เล่าขานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ  จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์         วิทยากร                  นางสาวนันทพร  บรรลือสินธุ์, นางสาวรัตติกาล  สร้อยทอง, นางสาวกมลทิพย์  ชัยศุภมงคลลาภ         ผู้ดำเนินรายการ       นางสาวพัชรา  สุขเกษม               ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดการเสวนาทางวิชาการ ผ่านทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม https://www.facebook.com/FineArtsDept



           สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ร่วมกับบริษัท ปตท.สผ. จัดทำโครงการอบรมถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุนวัดในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในวันพุธที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ วัดโพธิ์ปฐมาวาส พระอารามหลวง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา            การจัดโครงการอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงฆ์เพื่อถวายความรู้และสร้างความเข้าใจถึงคุณค่าความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม หลักการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่อยู่ภายในวัด ตลอดจนระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่พระสังฆาธิการซึ่งเป็นกำลังและสถาบันหลักในการครอบครองและดูแลทรัพย์สินอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และเกิดความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


สำนักงานกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน. กรุงเทพ ฯ (เวลา 08.30 น.) จำนวน 110 คนวันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. สำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน. นำคณะผู้เข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำมวลชน กอ.รมน. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ จำนวน ๑๑๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญร่วมกิจกรรม "workshop การเขียนลายรดน้ำ" โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นโครงการบรรยายให้ความรู้ด้านทัศนศิลป์แก่สาธารณชน ประจำปี 2567 ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป โดยนำลวดลายจากโบราณวัตถุมาเป็นต้นแบบในการออกแบบลวดลายและสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะแบบไทยประเพณี วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 เวลา 12.30 - 16.00 น. (ลงทะเบียนเวลา 12.30 น. เริ่มกิจกรรมเวลา 13.00 น.) ณ ห้องอเนกประสงค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป             ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดจากสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อลงทะเบียนหรือสมัครทาง link นี้ https://docs.google.com/.../1FAIpQLSfdZJNvqEw4QB.../viewform  (รับจำนวนจำกัดเพียง 50 ท่านเท่านั้น)   


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญร่วมฟัง Special Talk Show "นิทรรศการ '200 Years Journey Through Thai Modern Art History จากหลายมุมมอง” ในวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567 เวลา 9.30 - 11:00 น. ณ อาคารนิทรรศการถาวรชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ผ่านมุมมองของ Art Standers ทั้ง 5 ท่าน ได้แก่ 1. คุณนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2. คุณพิริยะ วัชจิตพันธ์ The Art Auction Center 3. ผศ.ดร.สิทธิธรรม โรหิตะสุข นักวิชาการ อาจารย์ประจำภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 4. คุณสมศักดิ์ เชาวน์ธาดาพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2560 5. คุณวิลาสินี ทองศรี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : The National Gallery of Thailand 



            กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดปราสาท นนทบุรี“ วิทยากร นายอลงกรณ์ เทียมจันทร์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส กองโบราณคดี และนายศุภกิจจ์ เสถียรอินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ กองโบราณคดี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรม


ชื่อเรื่อง : เทศบาลตำบลท่าช้าง หัวเรื่อง :1. เทศบาลตำบลท่าช้าง 2.ท่าช้าง 3.จันทบุรี 4.รำไพพรรณี 5.เมืองจันท์  คำค้น : เทศบาลตำบลท่าช้าง, ท่าช้าง, จันทบุรี, จังหวัดจันทบุรี, รำไพพรรณี, เมืองจันท์, ในหลวง, พระแม่เจ้า, ตามรอยเสด็จฯ, ประวัติศาสตร์จันทบุรี, ภาษา, อาหารพื้นบ้าน, พันธ์ผลไม้, พรรณไม้เมืองจันท์, พันธุ์สัตว์เมืองจันท์, บรรพบุรุษ, ช้าง, ท่าหลวง, ตำนานจระเข้, อัญมณี ผู้แต่ง : เทศบาลตำบลท่าช้าง แหล่งที่มา : ต้นฉบับหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ลิขสิทธิ์ :  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี หน่วยงานที่รับผิดชอบ : โรงพิมพ์งานช่าง รูปแบบ : PDF ภาษา : ภาษาไทย ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี) รายละเอียดเนื้อหา : จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในการเปิดสำนักงานเทศบาลตำบลท่าช้าง 21 เมษายน 2548 เนื้อหาเกี่ยวกับในหลวงของเรา พระแม่เจ้าชาวไทย พระนางเจ้ารำไพพรรณี ตามรอยเสด็จฯ เมืองจันท์เมื่อวันวาน บ้านฉันมีของดี สรรหาเอามาฝาก,ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี, ต้นตระกูลไทย, บรรพบุรุษคนเมืองจันท์, เรื่องของช้าง, รำลึกถึงเมืองจันท์, ท่าหลวง,ตำนานจระเข้วัดโบสถ์, ภาพเก่าๆ เก็บเอามาฝากและอัญมณี จังหวัดจันทบุรี เลขทะเบียน : น 48 บ. 59195 จบ. (ร) เลขหมู่ : ท 959.9326 ท657ท


            สำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญร่วมกิจกรรมการเผยแพร่องค์ความรู้ และกิจกรรม Work shop การสืบสานงานช่างศิลป์ไทย ของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ประกอบด้วย งานช่างบุ งานช่างมุก งานช่างลายรดน้ำ งานช่างปั้นไทย และ Mobile Knowledge ภายในงาน Thailand Friendly Design Expo 2024 : มหกรรมอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 12 – 15 ธันวาคม 2567 เวลา 10.30 – 18.30 น. ณ ฮอลล์ 101 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม ณ บูธกระทรวงวัฒนธรรม B11 - B20)


กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือ เรื่อง “ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป” ผลงานของ ดร.อมรา ศรีสุชาติ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของกรมศิลปากร สำหรับผู้สนใจศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พัฒนาการทางวัฒนธรรม สังคมของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำหน่ายในราคาเล่มละ ๑,๔๕๐ บาท   หนังสือเรื่อง ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป มุ่งเน้นนำเสนอเรื่องอาณาจักรศรีวิชัยที่อยู่บนผืนแผ่นดิน ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญว่าเป็น สุวรรณทวีป (เกาะทอง) หรือที่เรียกกันว่า คาบสมุทรมลายู ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย อีกทั้งยังประมวลสาระสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏบนเกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะอื่นๆ ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งบางครั้งได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น “สุวรรณทวีป” เช่นเดียวกัน                            เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นผลจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัยของ ดร.อมรา ศรีสุชาติ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของกรมศิลปากร ผู้ปฏิบัติงานในฐานะโบราณคดีและภัณฑารักษ์ ทั้งจากการสำรวจและขุดค้นโบราณคดีภาคสนามในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย สหพันธรัฐมาเลเซีย และอินโดนีเซีย อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี โดยนำเสนอภาพ “ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป” จากการแปลความหมายและวิเคราะห์หลักฐาน ทั้งที่เป็นศิลาจารึก เอกสารโบราณ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ทั้งเก่าและใหม่ โดยใช้ภาพประกอบเนื้อหาเป็นสื่อสำคัญ ทั้งนี้ การนำเสนอเรื่องราวได้แยกเป็นบท เน้นเฉพาะเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปซึ่งไม่ใช่นักประวัติศาสตร์-โบราณคดี สามารถเข้าใจได้ง่าย และได้รับความรู้หรือได้รับคำตอบบางประการในเรื่องรัฐ/ประเทศบนสุวรรณทวีปก่อนศรีวิชัยและเมื่อเป็นศรีวิชัยในสุวรรณทวีป และที่สำคัญ เนื้อหาสาระที่ลงในหนังสือนี้สามารถใช้อ้างอิงในการวิจัยได้   จำหน่ายราคาเล่มละ ๑,๔๕๐ บาท (ไม่รวมค่าบริการจัดส่ง) ผู้สนใจสามารถติดต่อสั่งซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔, ๐ ๒๒๒๒ ๓๕๖๙ (คุณรัชณี  งามเจริญ)


ชื่อเรื่อง : ประวัติพระยาพิชัยดาบหัก ต้นสกุล”วิชัยขัทคะ” ผู้แต่ง : ทิว วิชัยขัทคะ ปีที่พิมพ์ : 2532 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ส.ทรัพย์การพิมพ์      ประวัติพระยาพิไชยดาบหัก ต้นสกุล “วิชัยขัทคะ” เป็นหนังสือ ประวัติวีรกรรม 41 ปี แห่งชีวิตพระยาพิชัยดาบหัก โดยย่อ ตั้งแต่ชีวิตเริ่มต้นชีวิตวัยรุ่น ชีวิตผจญภัย ชีวิตวัยหนุ่ม ชีวิตร่วมทำสงครามสู้รบกอบกู้เอกราชในฐานะทหารเอกคู่พระทัยพระเจ้าตากสินมหาราช และชีวิตอวสาน


โบราณสถานในเขตกำแพงเมืองชั้นใน ชื่อโบราณสถาน                                                 วัดมหาธาตุ ที่ตั้ง                                           ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองสุโขทัย ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย   พิกัดทางภูมิศาสตร์                  รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๐ พิลิปดาเหนือ                                                 แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๐ พิลิปดาตะวันออก   อายุสมัย                                      สุโขทัย  ลักษณะและสภาพ วัดมหาธาตุเป็นวัดที่สำคัญของสุโขทัยมาแต่โบราณ เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองสุโขทัย พื้นที่บริเวณวัดกว้าง ยาว ด้านละ ๒๐๐ เมตร มีพระเจดีย์มหาธาตุรูปดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นหลักของวัด ภายในรายรอบไปด้วยเจดีย์แบบต่างๆ ฐานวิหาร ฐานโบสถ์ และซุ้มคูหาพระพุทธรูป ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้ ๑.      เจดีย์มหาธาตุ เป็นเจดีย์ประธานตั้งอยู่กลางวัด ลักษณะรูปทรงแบบดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ตั้งอยู่บนชั้นแว่นฟ้า ๓ ชั้น รอบฐานชั้นล่างสุดมีปูนปั้นรูปพระสาวกเดินพนมมือโดยรอบ ขนาดของฐานเจดีย์ กว้างยาวด้านละ ๒๗ เมตร สูง ๒๙ เมตร บนฐานอันเดียวกันโดยรอบมีปรางค์ ๔ องค์ ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ทั้ง ๔ ทิศ และบริเวณที่มุม ทั้ง ๔ ทิศ มีเจดีย์ทรงปราสาทแบบศรีวิชัยผสมลังกา ๔ องค์ ตั้งอยู่เป็นเจดีย์บริวารของเจดีย์ประธาน ๒.      เจดีย์รายแบบต่างๆ รายรอบภายในบริเวณวัด จำนวน ๒๐๐ องค์ ๓.      ฐานวิหาร ขนาดต่างๆกัน ๑๐ แห่ง ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดวิหารที่สำคัญมีขนาดใหญ่ ได้แก่ วิหารพระศรีศากยมุนี ตั้งอยู่ด้านหน้า หรือตะวันออกของเจดีย์พระมหาธาตุ ๔.      ซุ้มคูหา จำนวน ๘ ซุ้ม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ตั้งอยู่ทั่วไปในวัด ๕.      ฐานโบสถ์ ตั้งอยู่ด้านเหนือของเจดีย์มหาธาตุ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ก่อด้วยอิฐ ๖.      สระน้ำ ๔ สระ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตก ๗.      กำแพงแก้ว ก่อด้วยอิฐ ล้อมรอบบริเวณวัดทั้ง ๔ ด้าน กว้างยาวด้านละ ๒๐๐ เมตร   ประวัติ                                        วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนต้น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช ๑๘๓๕ (หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๓ –๒๖) ได้กล่าวว่า “กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปอันราม” ที่วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัยนี้จะพบว่ามีพระเจดีย์มหาธาตุเป็นเจดีย์ประธานของวัด และยังมีปรางค์เจดีย์อื่นๆมากมาย           ภายในวิหารหลวง ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดแบบสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร พระมหาธรรมราชาลิไทโปรดฯ ให้หล่อขึ้นและทำการฉลองในปี พ.ศ. ๑๙๐๔ มีความบางตอนจากศิลาจารึกกล่าวถึงพระพุทธรูปองค์นี้ด้วยเช่นกัน จากศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทย หลักที่ ๑ พุทธศักราช ๑๙๐๔ (หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๘ –๑๓) กล่าวไว้ว่า “เมื่อแล้วออกพรรษา จึงกระทำมหาทานฉลองพระสัมฤทธิ์อันหล…ตนพระพุทธเจ้าเราอันประดิษฐานกลางเมืองสุโขทัย ซึ่งลวงตะวันออกพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น ฉลองสดับธรรมทุกวัน ถ้วนร้อยวัน”           ยังมีข้อความบางตอนบันทึกไว้ในจารึกกรุงสุโขทัยกล่าวถึงเชิงประวัติศาสตร์โบราณสถานแห่งนี้อีก จากศิลาจารึกวัดศรีชุม ประมาณพุทธศักราช ๑๘๘๔-๑๙๑๐ (หลักที่ ๒ ด้าน ๒ บรรทัดที่ ๒๑ –๓๕) ความว่า           “พระศรีราชจุฬามุนีเป็นเจ้าพยายามให้แผ้วแล้วจึงก่ออิฐขึ้นเจ็ดวา สทายปูนแล้วบริบวรณพระธาตุหลวงก่อใหม่เก่าด้วยสูงได้ร้อยสองวาขอมเรียกพระธมนั้นแล๐ สถิตครึ่งกลางนครพระกฤษณ์๐ เมื่อจักสทายปูนในกลางป่านั้นหาปูนยากหนักหนา หาปูนมิได้ พระศรีราชจุฬามุนีเป็นเจ้า จึงอธิษฐานว่าดังนี้…กูแลยังจักได้ตรัสแก่สรรเพญุเดญาณเป็นพระพุทธจริงว่าไซร้ จงให้พบปูน ครั้นกูอธิษฐานบัดแมงแห่งนั้นดายกลายพบโป่งปูน อนึ่งทายาดหนักหนา เอามาสทายพระธาตุก่อใหม่เก่าแล้วเอามาต่อพระพุทธรูปหินอันหักอันพังบริบวรณแล้ว ปูนก็ยังเหลือเลย๐  พระมหาธาตุหลวงนั้นกระทำปาฏิหาริย์อัศจรรย์หนักหนา และมีพระธาตุอันใหญ่ล้อมหลายแก่กม๐ ก่อทั้งมหาพิหารใหญ่ด้วยอิฐเสร็จบริบวรณแล้ว จึงไปสืบค้นหาเอาพระพุทธรูปหินเก่าแก่แต่บูราด้วยไกล ชั่วสองสามคืน เอามาประดิษฐานไว้ในมหาพิหารลางแห่งได้คอได้ตน ลางแห่งได้ผมได้แขนได้อก ลางแห่งได้หัวตกไกล แลสี่คนหาม เอามาจึงได้๐ ลางแห่งได้แข้งได้ขา ลางแห่งได้มือได้ตีน ย่อมพระหินอันใหญ่ ชักมาด้วยล้อเกวียน เข็นเข้าในมหาพิหารเอามาต่อติดประกิดด้วยปูน มีรูปโฉมพรรณอันงามพิจิตรดังอินทรนิรมิตเอามาประกิดชิดชนเป็นตนพระพุทธรูป อันใหญ่ อันถ่าว อันรามงามหนักหนา เอามาไว้เต็มในมหาพิหารเรียงหลายถ่อง ช่องงามหนักหนาแก่กม…..”           วัดมหาธาตุเป็นวัดที่สำคัญและเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองสุโขทัย ดังนั้นจึงเป็นจุดศูนย์รวมทั้งงานด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง           ในบริเวณวัดมหาธาตุนี้ ได้จบจารึกจำนวน ๓ หลักด้วยกัน จารึกหลักแรกคือ ศิลาจารึกปู่ขุนจิดขุนจอด พุทธศักราช ๑๙๓๕ อักษรไทยสุโขทัย พบบริเวณริมเสาเบื้องขวาหน้าวิหารหลวง ด้านหลังวิหารสูง วัดสองมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย หลักที่สองคือ ศิลาจารึกเจดีย์น้อย พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ อักษรสุโขทัย-ขอมสุโขทัย ภาษาไทย-สันสกฤต พบที่เจดีย์น้อย ด้านหน้าเจดีย์ ๕ ยอด วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย และหลักที่สามคือ จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ พุทธศักราช ๑๙๑๙ อักษรไทยสุโขทัย-ธรรมล้านนา ภาษาไทย-บาลี พบบริเวณฐานพระประธานในอุโบสถ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย   การดำเนินการ                                ๑. ประกาศขึ้นทำเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา     เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘                                                 ๒. ขุดแต่งบูรณะ ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๖                                                 ๓. บูรณะครั้งต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๑                                                 ๔. บูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๖   ชื่อโบราณสถาน                                                                เนินปราสาท ที่ตั้ง                                                   อยู่ภายในสุโขทัยเก่า บริเวณทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุโดยห่างประมาณ ๑๐๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พิกัดทางภูมิศาสตร์                            รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๐ พิลิปดาเหนือ                                                             แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๓๐ พิลิปดาตะวันออก อายุสมัย                                                 สุโขทัย ลักษณะและสภาพ                                     บริเวณเนินปราสาทนั้นเป็นพื้นที่ที่เป็นเนินดินที่มีระดับสูงกว่าทุกแห่งภายใน กำแพงเมืองสุโขทัย มีขนาดกว้างยาวด้านละ ๒๐๐ เมตร ภายในบริเวณพื้นที่ มีฐานโบราณสถานอยู่ ๑ แห่ง เป็นฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รอบขอบฐานที่บัวเส้นลวดและหน้ากระดาน บางแห่งฉาบปูนไว้ เรียกกันว่า เนินปราสาท ขนาดของฐานกว้าง ๒๗.๕๐ เมตร ยาว ๕๑.๕๐ เมตร สูง ๒.๕๐ เมตร และนอกจากนี้ภายในบริเวณนี้ยังมีสระน้ำอยู่อีก ๒ สระ ในบริเวณใกล้ๆ กับเนินปราสาทด้วย จากการขุดแต่ง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้พบชิ้นส่วนศีรษะของรูปตุ๊กตาสำริดและชิ้นส่วนของตุ๊กตาหินรูปสิงโตที่บริเวณใกล้ฐานของโบราณสถานด้วย ประวัติ                                                   ประวัติของโบราณสถานแห่งนี้มีความบางตอนจากศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้ กล่าวอ้างไว้ความตอนหนึ่งจากศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร (หลักที่ ๔ ด้าน ๒ บรรทัดที่ ๓๘-๕๕) กล่าวเป็นเชิงประวัติไว้ว่า “ค่ำวันนั้นพระบาทกัมรเดงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชก็สมาทานศีลเป็นดาบสเพศ เฉพาะพระเนตรพระพุทธรูปทอง ที่ประดิษฐานอยู่บนพระราชนมเทียรและเสด็จไปนมัสการบูชาทุกวัน แล้วจึงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราช พระเถรานุเถรภิกษุสงฆ์ทั้งหลายขึ้นบนปราสาทราชมนเทียรทอง จึงบวชเป็นสามเณร เมื่อเวลาจะบวชของศีลนั้นพระบาทกัมรเดงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช เสด็จยืนขึ้นยกอัญชลีนมัสการพระพุทธรูปทอง และพระไตรปิฎกที่เก็ฐไว้บนราชมนเทียร…อธิษฐานบวชแล้วจึงทรงเสด็จลงจากปราสาททองบทจรไปถึงป่ามะม่วง...” ยังมีข้อความอีกตอนหนึ่งจากศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทยหลักที่ ๑ พุทธศักราช ๑๙๐๔ กล่าวไว้อีกว่า                                                             “พระยาศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช...หากสมาทานทศศีลเป็นดาบส...หน้าพระพุทธรูปทองอันประดิษฐานไว้เหนือราชมนเทียรอันตนแต่ง...วันนั้นแล แล้วจึงอัญเชิญมหาสามีสังฆราชด้วยเถรานุเถรภิกษุสงฆ์ทั้งหลายขึ้นเมื่อเถิงราชมนเทียร..องจึง...บวชเป็นสามเณรที่นั้นเมื่อจัก...ศีลนั้น พระยาศรีสุริ(ย)พงศ์ราม(มหา)ธรรมราชาธิราชจึงจักยืนยอมือนบพระพุทธทองนบทั้งพระปิฎกไตร...บ ไว้ที่นั้น นบทั้ง มหาสามีสังฆราช จึงจักอธิษฐานว่าดังนี้ด้วย”                                                             เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาที่เนินปราสาทแห่งนี้ พบศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง มีลักษณะเป็นแท่งศิลารูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลมมนสูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร และพระแท่นมนังคศิลาบาตรทำด้วยหินอ่อนกว้าง ๑.๒๐ เมตร ยาว ๑.๖๐ เมตร หนา ๓ เซนติเมตร ปัจจุบันนี้ศิลาจารึกดังกล่าวจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ส่วนพระแท่นมนังคศิลาบาตรอยู่ที่วิหารยอด ข้างปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร การดำเนินการ                              ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘                                                 ๒. ขุดแต่งและบูรณะครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๖                                                 ๓. ขุดแต่งและบูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๐                                                 ๔. บูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๖   ชื่อโบราณสถาน                                                                วัดศรีสวาย ที่ตั้ง                                                       อยู่ภายในกำแพงเมือง ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุระยะทางประมาณ  ๓๕๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พิกัดทางภูมิศาสตร์                                    รุ้ง ๑๗ องศา ๐ ลิปดา ๕๓ พิลิปดาเหนือ                                                             แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๐ พิลิปดาตะวันออก อายุสมัย                                                 ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ลักษณะและสภาพ                                     เดิมเป็นเทวสถาน สร้างก่อนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นวัดในพระพุทธศาสนา โบราณสถานประกอบด้วย ๑.      ปรางค์ ๓ องค์ ฐานก่อด้วยศิลาแลง และตอนบนก่อด้วยอิฐ หันหน้าไปทางทิศใต้ ฐานกว้างด้านละ ๖.๕๐ เมตร ๒.      วิหาร ๒ ตอน ตั้งอยู่ด้านหน้าหรือทิศใต้ของปรางค์ ๓ องค์ เป็นวิหารที่ก่อด้วยอิฐและเสาศิลาแลง ฐานกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ๓.      กำแพงแก้ว ล้อมรอบปรางค์ ๓ องค์ และส่วนหนึ่งของวิหารตอนในไว้ กว้าง ๓๔ เมตร ยาว ๔๔ เมตร ๔.      กำแพงวัด ก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบโบราณสถานภายในไว้ทั้งหมดพื้นที่กว้าง ๑๐๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๑๗.๕๐ เมตร และมีซุ้มประตูทางเข้าทางทิศใต้หรือด้านหน้าของวัด ๕.      สระน้ำ จำนวน ๑ สระ อยู่ภายในเขตกำแพงวัด เป็นสระกว้างและยาว โอบล้อมโบราณสถานกลุ่มปรางค์ ๓ องค์ และวิหารอยู่ทางด้านทิศเหนือและตะวันออก ๖.      ฐานวิหาร ก่อด้วยศิลาแลง อยู่ภายในบริเวณวัด แต่อยู่ภายนอกกำแพงแก้วทางด้านทิศตะวันตก กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๐ เมตร จำนวน ๑ ฐาน ประวัติ                                       ชื่อ “วัดศรีสวาย” ไม่ปรากฏในศิลาจารึก วัดศรีสวายสร้างขึ้นรายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการบูรณะเพิ่มเติมในสมัยอยุธยา สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า วัดนี้เดิมคงเป็นเทวสถานและคงมีชื่อเรียกว่า “ศรีศิวายะ” ซึ่งหมายถึงพระศิวะ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสและทรงพบรูปพระสยม “พระศิวะ” ในวิหารและหลักไม้ปักอยู่ในโบสถ์ซึ่งทรงสันนิษฐานไว้ว่า “เดิมคงเป็นโบสถ์พราหมณ์ใช้ในพิธีโล้ชิงช้า(ตรียัมปวาย)” บริเวณรอบนอกองค์ปรางค์ มีคูน้ำล้อมรอบด้านหลัง ชาวบ้านเรียกว่า “สระลอยบาป” ตามลัทธิพราหมณ์ เพราะลัทธิพราหมณ์ถือว่าทุกคนมีบาป ปีหนึ่งๆจะต้องทำพิธีลอยบาปหรือล้างบาปกันครั้งหนึ่ง                                                             ในเวลาต่อมาวัดนี้กลายเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีการพบพระพุทธรูปแบบศิลปะลพบุรีด้วย การดำเนินการ                              ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘                                                 ๒. ขุดแต่งและบูรณะ พ.ศ. ๒๔๙๖   ชื่อโบราณสถาน                                                                วัดสระศรี ที่ตั้ง                                                       อยู่ในกำแพงเมืองด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ระยะทางประมาณ ๓๕๐ เมตร โดยตั้งบนเกาะกลางตระพังตระกวน ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พิกัดทางภูมิศาสตร์                                    รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๑๒ พิลิปดาเหนือ                                                             แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๑๘ พิลิปดาตะวันออก อายุสมัย                                                 สุโขทัย ลักษณะและสภาพ                                     เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดกลางตั้งอยู่บนเกาะกลางตระพังตระกวนหรือ สระน้ำขนาดใหญ่ โบราณสถานในวัดนี้ประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้าง ดังต่อไปนี้ ๑.       เจดีย์ทรงกลมแบบลังกาขนาดใหญ่ รูปทรงสมบูรณ์ถึงยอดมีฐานชั้นล่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกพื้นสูงเป็นฐานทักษิณ และมีระเบียงคดอยู่โดยรอบฐาน ฐานกว้างยาวด้านละ ๑๗.๒๐ เมตร ก่อด้วยอิฐ ๒.       ฐานวิหาร อยู่ด้านหน้าหรือตะวันออกของเจดีย์ประธาน มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานที่ฐานชุกชี วิหารกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๑ เมตร ๓.       เจดีย์ขนาดเล็กแบบศรีวิชัยผสมลังกา มีซุ้มพระพุทธรูปอยู่ทั้ง ๔ ทิศ สภาพสมบูรณ์ ก่อด้วยอิฐ ฐานกว้างด้านละ ๔ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ประธาน ๔.       ฐานเจดีย์รายขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทั่วไปโดยรอบ จำนวน ๕ องค์ ๕.       ฐานโบสถ์ ตั้งอยู่บนเกาะขนาดเล็กกลางน้ำ ด้านทิศตะวันออกของเกาะที่ตั้งกลุ่มโบราณสถานใหญ่ โดยมีสะพานไม้ข้ามต่อถึงกันได้ เป็นโบสถ์ขนาดกว้างยาวด้านละ ๑๐ เมตร มีเสมาหินปักโดยรอบ ๖.       สระน้ำขนาดใหญ่ หรือตระพังตระกวน เป็นสระน้ำขนาดพื้นที่ประมาณ ๗๐ ไร่เศษ โดยมีเกาะที่ตั้งกลุ่มโบราณสถานอยู่ตรงกลาง เดิมมีถนนทางหลวงผ่ากลางสระ ปัจจุบันได้ขุดรื้อถนนออกไปแล้ว ประวัติ                                                   ไม่ปรากฏชื่อวัดสระศรีในหลักฐานด้านเอกสารและศิลาจารึก การดำเนินการ                                          ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๙๘                                                             ๒. ขุดแต่งและบูรณะ พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๘                                                             ๓. บูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๘                                                             ๔. บูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๕   ชื่อโบราณสถาน                                                                วัดตระพังเงิน ที่ตั้ง                                                       อยู่ภายในกำแพงเมือง ด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ หรือตั้งอยู่โดยรอบตระพังเงิน หรือสระน้ำขนาดใหญ่ด้านทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย พิกัดทางภูมิศาสตร์                                    รุ้ง ๑๗ องศา ๐ ลิปดา ๕๕ พิลิปดาเหนือ                                                             แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๘ พิลิปดาตะวันออก อายุสมัย                                                 สุโขทัย ลักษณะและสภาพ                                     เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดกลางที่สร้างในสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่โดยรอบขอบสระน้ำหรือตระพังเงิน สมารถแบ่งสิ่งก่อสร้างในวัดตระพังเงินนี้ออกเป็น ๓ กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้ ๑.      กลุ่มที่หนึ่ง เป็นกลุ่มโบราณสถาน ที่ตั้งอยู่ริมขอบตระพังเงินด้านทิศตะวันตก ประกอบด้วย ๑.๑ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม ที่ตั้งอยู่บนฐานสูงหลายชั้นซ่อนกันขึ้นมา โดยเฉพาะที่เรือนธาตุจะมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน อยู่ทั้ง ๔ ทิศ สภาพสมบูรณ์ ขนาดกว้างของฐานด้านละ ๑๐.๕๐ เมตร ๑.๒ ฐานวิหาร ๗ ห้อง ตั้งอยู่ด้านหน้าหรือทิศตะวันออกของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ก่อด้วยอิฐ มีเสาศิลาแลง ที่ฐานชุกชีมีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่ ฐานกว้างประมาณ ๑๒ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ๑.๓ เจดีย์ทรงวิมาน ยอดหักมีซุ้มประพุทธรูปอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ ๗.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ ๑.๔ ฐานเจดีย์รายขนาดเล็ก ๓ องค์ ๑.๕ บ่อน้ำโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหาร ๑.๖ คูน้ำ เป็นแนวยาวโอบล้อมกลุ่มโบราณสถานนี้ไว้ทั้งสามด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ โดยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ล้อมรอบพื้นที่ กว้างยาวด้านละประมาณ ๑๐๐ เมตร ๒.  กลุ่มที่สอง อยู่ทางริมขอบตระพังเงิน ด้านทิศเหนือ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง ดังต่อไปนี้ ๒.๑ ฐานวิหารก่ออิฐ เสาก่อด้วยศิลาแลง มีฐานชุกชีสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดกว้างประมาณ ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถาน ๒.๒ ฐานกลุ่มเจดีย์รายขนาดต่างๆกัน และรูปทรงต่างๆตั้งอยู่โดยรอบฐานวิหารก่อด้วยอิฐ ได้รับการบูรณะแล้วทั้งหมดจำนวน ๘ ฐาน ๒.๓ ซุ้มประตูและแนวกำแพง อยู่ด้านทิศใต้ของฐานวิหารต่อริมขอบตระพังเงิน จำนวน ๑ แห่ง ๒.๔ ฐานวิหาร ริมขอบตระพังเงิน ด้านทิศเหนือและอยู่ทางทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานส่วนใหญ่ เป็นฐานก่ออิฐขนาดฐานกว้างประมาณ ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร ๓. กลุ่มที่สาม ตั้งอยู่บริเวณเกาะกลางตระพังเงิน มีโบราณสถาน ดังนี้ ๓.๑ ฐานโบสถ์ ก่อด้วยอิฐและเสาศิลาแลง ขนาดของฐานกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๑๙ เมตร มีเสมาหินปักรอบแปดทิศ ๓.๒ ฐานเจดีย์รายขนาดเล็ด ๑ ฐาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของโบสถ์ ๓.๓ บ่อน้ำโบราณ จำนวน ๑ บ่อ ด้านทิศตะวันตกของฐานโบสถ์ ประวัติ                                                   ไม่ปรากฏหลักบานชื่อวัดตระพังเงินในศิลาจารึก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ มีข้อความกล่าวถึงตระพังเงินไว้ว่า “ที่ริมวัดมหาธาตุทางด้านตะวันออก มีที่ดินว่างเปล่าอยู่แปลงหนึ่ง เป็นรูปสี่เหลี่ยมรีทางด้านเหนือกับด้านใต้ มีเนินดินและมีคูต่อไปประจบกับคูวัดมหาธาตุเป็นอันเดียวกัน ด้านตะวันตกที่ติดกับวัดมหาธาตุนั้น มีกำแพงแต่ไม่มีคู ด้านตะวันออกมีคู คูด้านเหนือและใต้นั้นยาวต่อไปจนจดคูด้านตะวันตก เข้าใจว่าน้ำในตระพังทองด้านตะวันออกกับตระพังเงินด้านตะวันตก จะมีทางไขให้เดินเข้าคูวัดกับที่แปลงต่อนั้นได้ตลอด” การดำเนินการ                                          ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ๑.       ขุดแต่งและบูรณะครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๙ ๒.       ขุดแต่งและบูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๐ ๓.       ขุดแต่งและบูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๖



อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 20 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด    


Messenger