ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
บานประตูไม้จำหลักรูปเซี่ยวกาง ซึ่งจัดแสดงในห้องเครื่องไม้จำหลัก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เซี่ยวกาง หรือรูปอารักษ์แบบจีน
มักเป็นทวารบาลรักษาประตู มีหนวดเครายาว แต่งกายท่อนบนคล้ายกับยักษ์คือสวมมงกุฎยอดน้ำเต้าหรือมงกุฎยอดหางไก่ สวมเสื้อเกราะ แต่นุ่งผ้าทิ้งชายสามเหลี่ยมระหว่างขา ยืนบนสิงห์โตแบบจีน
ในห้องเครื่องไม้จำหลัก มุขเด็จด้านตะวันตก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดแสดงบานประตูไม้จำหลักรูปเซี่ยวกางคู่หนึ่ง ตามประวัติระบุว่าเดิมเป็นบานประตูซุ้มทางขึ้นฐานไพทีปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เมื่อทรงปรับปรุงอัฒจันทร์ทางขึ้นปราสาทพระเทพบิดรจึงรื้อซุ้มประตูทิศตะวันออก ทิศใต้ฟากตะวันออก และทิศเหนือลง และในภายหลังจึงนำบานประตูไม้จำหลักรูปเซี่ยวกางมาจัดแสดงในห้องโถงทางขึ้นพระที่นั่งพรหมเมศธาดาด้านตะวันออกเมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานหมู่พระวิมานพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครในรัชกาลที่ ๗ แล้วจึงได้ย้ายมาจัดในแสดงในมุขเด็จด้านตะวันตกจนถึงปัจจุบัน
ท่านที่สนใจยังสามารถไปชมบานประตูไม้จำหลักรูปเซี่ยวกาง อีก ๒ คู่ ซึ่งคงอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ ซุ้มประตูทางขึ้นฐานไพทีปราสาทพระเทพบิดร ทิศตะวันตก และทิศใต้ฟากตะวันตก สำหรับอีกคู่หนึ่งนั้นปัจจุบันเก็บรักษาที่คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี
บานประตูไม้จำหลักรูปเซี่ยวกาง ซึ่งเก็บรักษาที่คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานีรายละเอียดภาพจำหลักรูปวิถีชีวิตที่เชิงบานประตูไม้จำหลักทั้ง ๔ บานภาพถ่ายเก่าราวต้นรัชกาลที่ ๖ ปรากฏซุ้มทางขึ้นฐานไพทีปราสาทพระเทพบิดร ด้านทิศตะวันออกภาพถ่ายในรัชกาลที่ ๕ ยังคงเห็นซุ้มทางขึ้นฐานไพทีปราสาทพระเทพบิดร ด้านทิศเหนือฟากตะวันออกซุ้มทางขึ้นฐานไพทีปราสาทพระเทพบิดร ด้านทิศตะวันตกในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๔)
เลขทะเบียน : นพ.บ.90/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 68 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 53 (118-121) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : วินยกิจฺจ (สัปวินัยกิจ นามศัพท์-แปล) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง อุโปสถกรานิสํสกถา (อานิสงส์สร้างอุโบสถ)สพ.บ. 157/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 54 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา พุทธศาสนา อานิสงส์ สร้างอุโบสถ
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๗๗
เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.28/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
....ผืนป่าเมืองน่าน ( ตอนที่ ๑ ) ...
ป่าไม้ คือปัจจัยหลักของความอุดมสมบูรณ์ เพราะเป็นแหล่งกำเนิดของสายน้ำลำธาร พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และทรัพยากรธรรมชาติอีกนานัปการ
ประมาณทศวรรษที่ ๒๕๐๐ - ๒๕๑๐ กรมป่าไม้สำรวจพื้นที่ป่าทั่วประเทศ หนึ่งในนั้นคือผืนป่าน้ำสาฝั่งซ้าย อำเภอสา จังหวัดน่าน
จากเอกสารจดหมายเหตุประเภทแผนที่ แสดงสภาพป่าดังกล่าวด้วยมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ อย่างชัดเจนว่า มีลำห้วย ทางน้ำไหล เฉดสีพันธุ์ไม้ และอาณาเขตป่า
สิ่งที่น่าสนใจคือ " เฉดสีพันธุ์ไม้ " นั้น สีชมพูแทนป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduous Forest ) หรือจำพวกไม้ผสมผลัดใบ และสีส้มแทนป่าแดง ( Deciduous Dipterocarp Forest ) หรือไม้เต็งรังในภูมิภาคเขตร้อนชื้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปกคลุมพื้นที่ส่วนบนของห้วยน้ำสาอย่างหนาแน่น อีกทั้งยังมีลำห้วย ๒ แห่งช่วยหล่อเลี้ยงบริเวณนี้สม่ำเสมอ
ความสำคัญของแผนที่นี้ บ่งบอกถึงปริมาณทรัพยากรธรรมชาติและความบริสุทธิ์ของอากาศได้ดีเยี่ยม
นอกจากผืนป่าน้ำสาฝั่งซ้ายแล้ว กรมป่าไม้ได้สำรวจพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดน่านด้วย ส่วนสภาพจะเป็นเช่นไร ความหนาแน่นของป่าไม้ ณ ขณะนั้นมีมากน้อยแค่ไหน ?
โปรดติดตาม ...
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ ( นักจดหมายเหตุ )
เอกสารอ้างอิง : หจช.พย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผจ นน 1.6 / 17 แผนที่สังเขปแสดง
สภาพป่า ป่าน้ำสาฝั่งซ้าย อำเภอสา จังหวัดน่าน ( ม.ท. )
ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นทางโบราณคดี
ณ โบราณสถานวัดหลง
.
เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ถึง ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามโครงการขุดค้นชุมชนโบราณไชยา อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาชุมชนโบราณในเส้นทางข้ามคาบสมุทรในภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย โดยทำการขุดค้นทางโบราณคดีจำนวน ๗ หลุม ได้แก่ (๑) หลุมขุดค้น TP.1 แหลมโพธิ์ ๑ (๒) หลุมขุดค้น TP.2 แหลมโพธิ์ ๒ (๓) หลุมขุดค้น TP.3 ศรียาภัยอนุสรณ์ (๔) หลุมขุดค้น TP.4 วัดแก้ว (๕) หลุมขุดค้น TP.5 วัดหลง (๖) หลุมขุดค้น TP.6 วัดพุมเรียง และ (๗) หลุมขุดค้น TP.7 วัดอุบล สำหรับองค์ความรู้ชุดนี้เป็นการนำเสนอผลการขุดค้นทางโบราณคดีของหลุมขุดค้นที่ ๕ (TP.5) วัดหลง ดังนี้
.
โบราณสถานวัดหลง ตั้งอยู่ในตำบลตลาด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นหนึ่งในศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนานิกายมหายานที่สำคัญของภาคใต้ และยังเป็นสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในเมืองโบราณไชยา โบราณสถานวัดหลงได้รับการขุดศึกษาทางโบราณคดีครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ โดย Jean Yves Claeys นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ซึ่งทำการขุดตรวจฐานรากโบราณสถานวัดหลง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๔๙๐ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ เข้ามาดำเนินการขุดตรวจฐานรากอาคารโบราณสถานวัดหลง พบว่าเป็นโบราณสถานก่ออิฐแบบไม่สอปูน ลักษณะแผนผังอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
.
จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๗ กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานวัดหลง พบร่องรอยเจดีย์ก่ออิฐซึ่งเหลือเพียงส่วนฐาน ลักษณะฐานเจดีย์อยู่ในผังรูปกากบาท ขนาดประมาณ ๒๑.๖๕ x ๒๑.๖๕ เมตร ลักษณะผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมรับกับเรือนธาตุทรงจตุรมุข ตัวเรือนธาตุมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน โดยมีมุขทางเข้าอยู่ด้านทิศตะวันออก จากรูปแบบสถาปัตยกรรมแสดงให้เห็นว่าฐานอาคารเดิมของเจดีย์วัดหลงสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ ส่วนฐานชั้นล่างของเจดีย์ สันนิษฐานว่าถูกสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง คือราวสมัยอยุธยา โดยการก่ออิฐล้อมรอบฐานเจดีย์แล้วถมดินเป็นลานกว้าง ลักษณะคล้ายแนวกำแพงกันดินสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ แล้วทำทางขึ้นใหม่ตรงกับมุขทั้งสี่ด้านของเรือนธาตุ สำหรับโบราณวัตถุที่พบร่วมกับการขุดแต่ง ได้แก่ พระพิมพ์ดินดิบ อิทธิพลศิลปะทวารวดีและขอม อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์สุ้งและราชวงศ์หยวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง เครื่องถ้วยสุโขทัย และภาชนะดินเผาพื้นเมือง ทั้งนี้ ในการขุดแต่งครั้งดังกล่าว นักโบราณคดีได้ทำการขุดตรวจเพื่อค้นหาโบราณสถานอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเจดีย์ เช่น กำแพงแก้ว และเจดีย์ทิศ โดยเลือกพื้นที่นอกกำแพงกันดินมาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศใต้ ห่างออกมาด้านละ ๘ เมตร ซึ่งผลการขุดตรวจไม่พบรากฐานของสิ่งก่อสร้างใด ๆ ในบริเวณใกล้เคียงเจดีย์วัดหลง
.
ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบราณสถานวัดหลง ผลการขุดค้นพบ “แนวอิฐ” ตั้งอยู่ห่างจากเจดีย์วัดหลงมาประมาณ ๒๖ เมตร แนวอิฐดังกล่าวอยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบันประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ขนาดกว้างประมาณ ๗๓ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๖๐ เซนติเมตร วางตัวยาวตามแนวทิศเหนือ - ใต้ ขนานกับแนวกำแพงกันดินสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ก่อล้อมรอบฐานเจดีย์ ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าแนวกำแพงกันดินข้างต้นน่าจะถูกสร้างเพิ่มเติมในสมัยอยุธยา และที่น่าสนใจคือพบว่าแนวอิฐที่พบใหม่นี้มีขนาดความกว้างของแนวอิฐเท่ากันกับแนวกำแพงกันดิน (คือกว้างประมาณ ๗๓ เซนติเมตร) รวมทั้งมีเทคนิคการก่ออิฐและการวางเรียงอิฐรูปแบบเดียวกัน คือเป็นการก่ออิฐแบบไม่สอปูน และวางเรียงอิฐด้วยการนำอิฐหักมาเรียงเป็นกรอบ แล้วถมอัดด้านในด้วยเศษอิฐหักและอิฐป่นขนาดเล็ก ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการนำเศษอิฐหักจากส่วนประกอบของโครงสร้างเจดีย์วัดหลงมาใช้ในการก่อสร้าง นอกจากนั้น ในการขุดค้นครั้งนี้ยังพบโบราณวัตถุสมัยอยุธยาในระดับชั้นดินเดียวกันกับแนวอิฐ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๒) จากข้อมูลดังกล่าว ในเบื้องต้นจึงสันนิษฐานว่าแนวอิฐที่พบใหม่นี้น่าจะเป็น “ฐานอาคารโบราณสถาน” หรืออาจเป็น “แนวกำแพงแก้ว” ของโบราณสถานวัดหลง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในระยะเดียวกับการก่อสร้างแนวกำแพงกันดินล้อมรอบเจดีย์ อย่างไรก็ตาม จะมีการดำเนินการขุดตรวจแนวอิฐที่ต่อเนื่องมาจากหลุมขุดค้นเดิมลงมาทางด้านทิศใต้อีกครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบขอบเขตของแนวอิฐ และเพื่อให้ทราบถึงลักษณะของโบราณสถานดังกล่าวได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
.
สำหรับโบราณวัตถุอื่น ๆ ที่พบจากการขุดค้นในครั้งนี้ เช่น ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ชิ้นส่วนเครื่องแก้วสีเขียว อิฐบัว อิฐดินเผา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินมีลายกดประทับ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์สุ้ง (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๙) ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐) เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๒) และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง (พุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๕) จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่ของโบราณสถานวัดหลง ซึ่งปรากฏมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย และมีการใช้พื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งมีการเข้ามาก่อสร้างเพิ่มเติมอีกครั้งในสมัยอยุธยา และสันนิษฐานว่าคงมีการใช้พื้นที่สืบเนื่องมาถึงยุคสมัยหลังด้วย เนื่องจากยังคงพบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนที่ต่อเนื่องมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง (พุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๕) ทั้งนี้ สำหรับหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการขุดค้นในครั้งนี้ จะทำการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำเป็นรายงานเผยแพร่ต่อไป
.
เรียบเรียง/กราฟิก : นางสาวนภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
.
อ้างอิง
๑. กรมศิลปากร. โครงการขุดแต่งและบูรณะวัดหลง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ : หน่วยศิลปากรที่ ๑๔ กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๒๕.
๒. กรมศิลปากร. รายงานการปฏิบัติงานโครงการขุดแต่งและบูรณะวัดหลง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ : หน่วยศิลปากรที่ ๑๔ กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๒๖.
๓. กรมศิลปากร. รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์โบราณคดีศรีวิชัย ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ ๒๕-๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๒๕.
กรมศิลปากร. สมบัติวรรณคดี (บทอ่านทำนองเสนาะปีที่ 10 - 11). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526. สมบัติวรรณคดี (บทอ่านทำนองเสนาะปีที่ 10 - 11) นี้ เป็นบทอ่านทำนองเสนาะที่รวบรวมคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองจากวรรณคดีนิพนธ์ไทยเรื่องเด่นๆ หลายเรื่อง ที่มีคุณค่า ซึ่งล้วนเป็นผลงานของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงทั้งในอดีตและปัจจุบัน
การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอนที่ ๖
เหรียญกษาปณ์ที่ใช้ในล้านนา
เงินรูปีอินเดียเป็นเงินตราที่อังกฤษนำเข้ามาใช้ซื้อขายสินค้าในล้านนา โดยเข้ามากับการค้าไม้สักและการเปิดเสรีการค้าชายแดนล้านนากับพม่า ส่งผลให้เงินรูปีกลายเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจล้านนา
หลังจากที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดียได้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นที่เมืองมัทราส (Madras) เมื่อปีพ.ศ. ๒๑๘๓ เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นในในดินแดนอาณานิคม ต่อมาในปีพ.ศ.๒๓๓๓ ได้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นอีกที่เมืองกัลกัตตา (Calculta) โดยนำเครื่องผลิตเหรียญเงินแบบยุโรปเข้าไปใช้ และใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเรื่อยมา ต่อมาเมื่ออังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในพม่าและได้พม่าเป็นอาณานิคม อังกฤษได้นำเงินรูปีอินเดียเข้ามาใช้ในระบบเศรษฐกิจของพม่า ด้วยเหตุที่เหรียญเงินรูปีมีขนาด น้ำหนักและรูปร่างที่ได้มาตรฐานอีกทั้งมีปริมาณเหรียญจำนวนมาก จึงเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป
หลังจากที่รัฐบาลสยามทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษในปีพ.ศ.๒๓๙๓ ได้มีการตกลงเรื่องการใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยอนุญาตให้ใช้เงินรูปีอินเดีย เงินแท่ง เงินบาทเป็นสื่อกลางในการค้าขายระหว่างพ่อค้าอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษกับพ่อค้าในล้านนา ส่งผลให้เงินรูปีอินเดียแพร่สะพัดในล้านนามากขึ้น และส่งผลให้คนในบังคับอังกฤษทั้งพ่อค้าชาวพม่า ชาวไทยใหญ่ ชาวอินเดียเดินทางเข้ามาค้าขายในล้านนามากยิ่งขึ้น
เงินรูปีอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปในล้านนาว่า “เงินแถบ” โดยเงินแถบชนิดแรกที่เข้ามาแพร่หลายในล้านนาเป็นเหรียญรูปพระนางเจ้าวิคตอเรียสวมมงกุฎ ต่อมาเป็นเหรียญรูปกษัตริย์เอ็ดเวิร์ด
ในขณะที่เงินรูปีอินเดียถูกนำเข้ามาใช้ในล้านนาเป็นจำนวนมาก รัฐบาลสยามได้พยายามนำเงินบาทเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจล้านนาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๔๑ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากในช่วงเวลานั้น สยามยังประสบปัญหาการผลิตเงินปลีกได้ในปริมาณที่ไม่มากพอกับความต้องการ ประกอบกับความไม่สะดวกในการขนส่ง แต่หลังจากที่มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่แล้ว ระบบเศรษฐกิจทางภาคเหนือขยายตัวอย่างรวดเร็วมีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจส่วนกลางของไทยมากขึ้นเงินรูปีจึงค่อยๆ ลดบทบาทลง ต่อมาเมื่อไทยสามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ในปริมาณมากขึ้นประกอบกับค่าเงินรูปีลดต่ำลง เงินบาทจึงสามารถเข้ามาแทนที่และถูกใช้หมุนเวียนได้มากขึ้น
นอกจากเงินรูปีอินเดียแล้วเหรียญกษาปณ์อีกชนิดที่พบว่ามีการนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายในล้านนาอยู่บ้างคือเหรียญอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเหรียญที่ฝรั่งเศสผลิตขึ้นเพื่อใช้ในประเทศแถบอินโดจีนที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
เอกสารอ้างอิง
เงินตราล้านนา : นวรัตน์ เลขะกุล/ธนาคารแห่งประเทศไทย นพบุรีการพิมพ์ เชียงใหม่, ๒๕๕๕
เงินตราล้านนาและผ้าไท : ธนาคารแห่งประเทศไทย อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๓
เงินรูปีอินเดียในประวัติศาสตร์ล้านนา : อภิรัฐ คำวัง วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ (ม.ค.-มิ.ย.๒๕๕๖)
เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗
เงินรูปีอินเดียเป็นเงินตราที่อังกฤษนำเข้ามาใช้ซื้อขายสินค้าในล้านนา โดยเข้ามากับการค้าไม้สักและการเปิดเสรีการค้าชายแดนล้านนากับพม่า ส่งผลให้เงินรูปีกลายเป็นสกุลเงินหลักที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจล้านนา
นอกจากเงินรูปีอินเดียแล้วเหรียญกษาปณ์อีกชนิดที่พบว่ามีการนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายในล้านนาอยู่บ้างคือเหรียญอินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเหรียญที่ฝรั่งเศสผลิตขึ้นเพื่อใช้ในประเทศแถบอินโดจีนที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
แผ่นหินจำหลักภาพพระพุทธรูป ในวัฒนธรรมทวารวดี
แผ่นหินจำหลักชิ้นนี้ เป็นโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ปรากฏร่องรอยการสลักภาพบนแผ่นหินเป็นภาพพระพุทธรูปอยู่ตรงกลาง เบื้องขวาของพระพุทธรูป สลักเป็นรูปธรรมจักรตั้งอยู่บนเสา เบื้องซ้ายของพระพุทธรูป สลักเป็นรูปสถูป ซึ่งโบราณวัตถุชิ้นนี้ ขุดพบบริเวณเมืองดงคอน (เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี) อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โดยพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัตโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท เก็บรวบรวมไว้ และมอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เก็บรักษาต่อมาจวบจนถึงปัจจุบัน
แผ่นหินสลักภาพพระพุทธรูป ชิ้นนี้ นับเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า ธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดีนั้น มีการประดิษฐานไว้บนเสา โบราณวัตถุชิ้นนี้ ยังมีรูปแบบที่พ้องกับพระพิมพ์หินจำหลักที่พบที่โบราณสถานหมายเลข ๑ เมืองโบราณคูบัว อำเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี คือมีการปรากฏของพระพุทธรูป ธรรมจักรประดิษฐานอยู่บนเสา และสถูป อยู่บนแผ่นหินจำหลัก ด้วยรูปแบบของโบราณวัตถุที่คล้ายคลึงกันนี้อาจแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองดงคอน ในจังหวัดชัยนาท และเมืองคูบัว ในจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี เฉกเช่นเดียวกัน
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสูตฺต (มาลัยสุตร) สพ.บ. 412/3หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง พุทธศาสนา มาลัยสูตรประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 60 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 57.5 ซม. บทคัดย่อเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เรื่อง ซ้อมรบเสือป่าที่ราชบุรี ยุทธวิธีป้องกันอริราชศัตรูเรียบเรียงโดย นางสาวปราจิน เครือจันทร์