ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

ชื่อเรื่อง                           มงฺคลตฺถทีปนี (มงคลทีป) สพ.บ.                                 432/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย              คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                       58 หน้า : กว้าง 4.8 ซม.  ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา--พระไตรปิฏก                                         คัมภีร์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับลานดิบ ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



จารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2 ไปชมกันได้เลยค่าาาา  หลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2 เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร มีทั้งหมด 4 ด้าน ด้านที่ 1 มี 60 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 77 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 84 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 118 บรรทัด ตัวจารึกทำจากหินชนวน กว้าง 43 เซนติเมตร หนา 32 เซนติเมตร สูง 191เซนติเมตร รูปทรงสี่เหลี่ยม จารึกถูกสร้างขึ้นในปีมหาศักราช 974 หรือ พุทธศักราช 1595 ในสมัยพระเจ้าเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2 จารึกดังกล่าวถูกค้นพบที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยถูกกล่าวถึงครั้งแรกในบทความ La stêle de Sdok Kâk Thôm โดยนายเอเตียน แอโมนีเย (Etienne Aymonier) ในพุทธศักราช ๒๔๔๔ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๖๓ ร้อยตำรวจเอก หลวงชาญนิคมได้เข้ามาสำรวจปราสาทสด๊กก๊อกธม จึงได้ทำสำเนาจารึกซึ่งตั้งอยู่หน้าปราสาทเก็บไว้ จากนั้นในพุทธศักราช 2472 จารึกสด๊กก๊อกธม 2 จึงถูกขนย้ายเข้าสู่พระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนพุทธศักราช 2561 จึงนำมาจัดแสดงที่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี


กรมศิลป์ส่งนักโบราณคดีตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์ที่สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  จากประวัติพื้นที่คาดโครงกระดูกที่พบคงมีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมีการขุดพบกระดูกมนุษย์ บริเวณพื้นที่ก่อสร้างโดยรอบสนามฟุตบอล 2 สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช (ชาติตระการโกศล) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จึงส่งนักโบราณคดีเข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้รับเหมาก่อสร้าง จากการตรวจสอบพบว่ามีการขุดดินเป็นแนวยาวบริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกของสนามฟุตบอล 2 เป็นระยะทางประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 1.80 เมตร ลึกประมาณ 1.20 เมตร จำนวน 2 แนว เพื่อก่อสร้างรางระบายน้ำ            ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง และสำรวจบริเวณที่ขุดพบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์จำนวน 7 จุด (เคลื่อนย้ายหลักฐานออกไปก่อนการเข้าตรวจสอบจำนวน 3 จุด) และร่องรอยสิ่งก่อสร้างก่อด้วยอิฐ จำนวน 8 จุด จุดที่พบชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ทั้ง 7 จุด มีระยะห่างกันตั้งแต่ 12-30 เมตร ส่วนใหญ่มีร่องรอยขุดตัดจากการขุดแนวท่อระบายน้ำ หลักฐานที่คงเหลืออยู่ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนกระดูกรยางค์ ได้แก่ กระดูกปลายแขนด้านใน (Ulna) กระดูกปลายแขนด้านนอก (Radius) กระดูกนิ้วมือ (Phalanges) กระดูกต้นขา (Femur) กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) กระดูกน่อง (Fibula) และกระดูกแกนกลาง ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar vertebrae) กระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) สภาพกระดูกค่อนข้างเปื่อยจากความชื้นภายในดิน ชิ้นส่วนกระดูกวางเรียงตัวในระเบียบทางกายวิภาค บริเวณโดยรอบโครงกระดูกหลายจุดพบว่ามีแนววัสดุคล้ายปูน ความหนาประมาณ 2-5 เซนติเมตร ล้อมเป็นกรอบรอบโครงกระดูก สันนิษฐานว่าเป็นหลุมฝังศพที่จงใจฝังตามพิธีกรรมในศาสนา แต่เนื่องจากไม่พบโบราณวัตถุที่สามารถบ่งชี้อายุสมัยได้ในบริเวณจุดที่พบโครงกระดูกจึงระบุได้เบื้องต้นตามลักษณะการฝัง และประวัติพื้นที่ว่าโครงกระดูกที่พบคงมีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับจุดที่พบแนวอิฐก่อ จำนวน 8 จุด มีทั้งแนวอิฐที่เรียงตัวกับเป็นผืนในแนวระนาบ ลึกจากผิวดินประมาณ 50 เซนติเมตร บางแห่งพบใกล้กับหลุมฝังศพ และแนวอิฐก่อในแนวดิ่ง มีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร หนาประมาณ 50 เซนติเมตร จากการสัมภาษณ์พบว่ามีการอ้างถึงพื้นที่ฝังศพของชาวไทย ชาวจีน ชาวมุสลิม และชาวคริสต์ในพื้นที่ใกล้เคียงในอดีต จึงยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ว่าบริเวณนี้เป็นพื้นที่ฝังศพในศาสนาใดแน่           อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้นักโบราณคดีของสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ดำเนินการวิเคราะห์หลักฐานเพิ่มเติม และแจ้งเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้รับเหมาก่อสร้างว่า หากพบหลักฐานเพิ่มเติม ขอให้ระงับการดำเนินการไว้ชั่วคราว และแจ้งให้สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เข้าตรวจสอบพื้นที่ต่อไป



        การแบ่งยุคสมัยด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือ ในการแบ่งตามเกณฑ์นี้จะให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก โดยอ้างอิงจากเครื่องมือที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ได้ในแต่ละยุคสมัย ในเริ่มต้นมนุษย์จะเริ่มประดิษฐ์เครื่องมือจากไม้และหิน ต่อมาจึงเป็นโลหะ ในรูปแบบง่าย ๆ  แล้วจึงสั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้ ก่อนจะพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถผลิตเครื่องมือให้ซับซ้อนขึ้นได้ การแบ่งยุคด้วยเครื่องมือจะสามารถแบ่งได้ดังนี้         ๑. สมัยหิน กำหนดอายุได้ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มนำหินมากะเทาะเพื่อให้มีเหลี่ยมคมจนสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ สมัยหินได้ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ช่วงย่อย ๆ โดยจัดจำแนกตามความแตกต่างของรูปแบบเครื่องมือหิน คือสมัยหินเก่า สมัยหินกลาง และสมัยหินใหม่         ในสมัยหินเก่า หรือกำหนดอายุประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ – ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในพื้นที่ประเทศไทยปรากฎเครื่องมือหินที่เรียกว่า “เครื่องมือสับตัด” (Chopper – Chopping tools) สันนิษฐานว่านำไปใช้งานโดยการสับ ตัด ขุด ทุบ เป็นต้น ส่วนสะเก็ดของหินที่ถูกกะเทาะออกมา มีการนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหินใช้ในการตัด ฟัน เฉือนเรียกว่า “เครื่องมือสะเก็ดหิน” (Flake tools) ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่นที่ แหล่งโบราณคดีถ้ำวิมานนาคิน อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ, แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่, แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่, แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดลำปาง เป็นต้น           ในสมัยต่อมาประมาณ ๑๐,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ถูกเรียกว่าสมัยหินกลาง เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือหินก็ได้พัฒนาขึ้นมา มีการคัดเลือกประเภทของหินที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ และพัฒนาเทคนิคการกะเทาะให้ดียิ่งขึ้น สามารถกะเทาะหินให้มีรูปร่างเหมาะสมแก่การใช้งาน มีความละเอียด และขนาดที่เล็กลง เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น เช่น เจาะ ขูด เป็นต้น เรียกว่า “เครื่องมือหินแบบหัวบิเนียน” (Hoabinhian tool)  ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่นที่ แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน, แหล่งโบราณคดีถ้ำปุงฮุง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน, แหล่งโบราณคดีถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี          และช่วงท้ายของยุคหินในช่วงประมาณ ๖,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จะถูกนับให้เป็นสมัยหินใหม่ เทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือหินถูกพัฒนาขึ้นไปอีก มีการนำเครื่องมือหินมาขัดให้ผิวเรียบ เพื่อให้เกิดมีความแข็งแรงมากขึ้น และสะดวกต่อการใช้งานในการตัดต้นไม้ และทำเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เรียกว่า “เครื่องมือหินขัด” ยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดี เช่น แหล่งโบราณคดีหนองแช่เสา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี, แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นต้น         ๒. สมัยสำริด สมัยสำริดเริ่มขึ้นเมื่อการปรากฏของหลักฐานทางโบราณคดีประเภทสำริด ซึ่งคือโลหะผสมโดยมีทองแดงและดีบุกเป็นส่วนผสมหลัก โดยในพื้นที่ประเทศไทยพบร่องรอยการถลุง และผลิตเครื่องมือ เครื่องประดับสำริด กำหนดอายุได้ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตสำริด เช่น เบ้าหลอมดินเผา ขวานสำริด กระพรวนสำริด กำไลสำริด เป็นต้น แหล่งโบราณคดีสำคัญสมัยสำริด ได้แก่แหล่งโบราณคดีบ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น, แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี, แหล่งโบราณคดี แหล่งโบราณคดีบ้านพุน้อย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น          ๓. สมัยเหล็ก เทคโนโลยีในการผลิตโลหะมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก จากเดิมที่สามารถถลุงได้เฉพาะสำริด ได้พัฒนาวิทยาการให้สามารถถลุงโลหะได้ดียิ่งขึ้นจนสามารถถลุงโลหะเหล็กได้ สมัยเหล็กในพื้นที่ประเทศไทยปรากฏขึ้นในช่วงประมาณ ๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตเหล็ก เช่น ขวานเหล็ก ใบหอกเหล็ก กำไลเหล็ก เป็นต้น แหล่งโบราณคดีสำคัญสมัยเหล็ก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีนิลกำแหง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย พัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ภาพการเก็บและคัดเลือกหินมากะเทาะเพื่อใช้เป็นเครื่องมือภาพการนำหินมากะเทาะเพื่อผลิตเป็นเครื่องมือภาพตัวอย่างการใช้เครื่องมือหิน (มัดหินกับกิ่งไม้เพื่อทำเป็นขวานหิน)ภาพลายเส้นเครื่องมือหินของเครื่องมือหินแบบหัวบิเนียน ที่มา : กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. “โบราณคดีสำหรับเยาวชน เล่ม ๒ ยุค สมัยทางโบราณคดี.” (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)), 2560, น. 38.ภาพการนำแร่มาแต่งและถลุงภาพการนำแร่ที่ถลุงแล้วมาหลอมในเบ้าหลอมและเทใส่แม่พิมพ์ภาพเครื่องมือขวานสำริด--------------------------------------------- ผู้เรียบเรียง :  นายพรหมพิริยะ พรหมเมศ  ผู้ช่วยนักโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี --------------------------------------------- บรรณานุกรม กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. “โบราณคดีสำหรับเยาวชน เล่ม ๒ ยุค สมัยทางโบราณคดี.” (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)), 2560. --------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : เฟสบุ๊ก สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี https://www.facebook.com/100064881662778/posts/pfbid0X8hjeBweJG9gH1UQ9PBzizkySSTwhwCVwrpfVHMq78hmTn8ouEY5Kstk7buHQpCVl/?mibextid=WiMSqg


สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ชวนระลึกถึงความหลังด้วยชุดภาพถ่าย "บ้านเก่าที่บึงกาฬ" ภูมิใจนำเสนอโดยภาพ : กุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการกราฟิก : ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์ ปฏิบัติงานด้านโบราณคดีและวิชาการวัฒนธรรม⋯⋯✦⋯✧✦✧⋯✦⋯⋯✦⋯⋯✦⋯✧✦✧⋯✦⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร


//พบแล้ว​ จารึกประตูท่าแพ​ ที่แท้ยังคงซ่อนอยู่ภายในโครงสร้าง​ประตูท่าแพปัจจุบัน​//. ตามที่สังคมให้ความสนใจตามหา​ "จารึก​ประตูท่าแพ" หรือ​ "จารึกเสาอินทขีลประตูท่าแพ" เมืองเชียงใหม่​ และได้มีกลุ่มนักวิชาการ​บางส่วน​ให้ข้อมูล​ว่า​ จารึกดังกล่าวเก็บรักษา​ไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน​แห่งชาติ​เชียงใหม่​ เพื่อทำให้ประเด็น​ข้อสงสัยดังกล่าวกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น​ สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ จึงได้ประสานข้อมูล​กับภาคส่วนต่าง​ ๆ​ จนทำให้เริ่มพบเบาะแส​ของจารึกประตูท่าแพ​ ซึ่งไม่มีผู้ใดพบเห็นเลย​ ตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ทศวรรษ. เพื่อไขปริศนา​ดังกล่าว​ วันนี้​ (1 พฤศจิกายน​ 2566​) สำนักศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ นำโดย​ นายเทอดศักดิ์​ เย็น​จุ​ระ​ ผู้อำนวยการ​กลุ่ม​อนุรักษ์​โบราณสถาน​ พร้อมด้วย​ ผู้แทนเทศบาลนคร​เชียงใหม่​ ผู้แทนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์​ ผู้แทนคณะวิจิตรศิลป์​ ผู้แทนคลังข้อมูล​จารึก​ล้านนา​ มหาวิทยาลัย​เชียงใหม่​ และนักวิชาการ​ท้องถิ่น​ ร่วมกันเปิดประตูห้องที่ซ่อนอยู่ภายในโครงสร้างประตูท่าแพปัจจุบัน​ ซึ่งไม่ได้เปิดมาตลอดระยะเวลา​หลายสิบปี​ และเข้าไปทำการสำรวจภายในจนพบว่า​ "จารึก​ประตูท่าแพ" หรือ​ "จารึกเสาอินทขีลประตูท่าแพ" ยังคงปักยืนตระหง่าน​ ซ่อนตัวอยู่ภายในโครงสร้างประตูท่าแพ​ จนกระทั่งปัจจุบัน​ นำมาซึ่งความปิติ​ของทีมผู้ร่วมค้นหาทุกท่าน.  ทั้งนี้จารึก​ประตูท่าแพ​ เป็นหนึ่งในจารึกหลักสำคัญ​ที่ฝังอยู่​ร่วมกับประตูเมืองมาตั้งแต่อดีต​ ต่อมาราวช่วงปี​ พ.ศ.​ 2529 ​- 2530  จารึกหลักนี้ถูกเคลื่อนย้าย​ในช่วงระยะเวลาที่มีการปรับปรุง​ประตู​ท่าแพให้เป็น​ Landmark ของเมืองเชียงใหม่​ หลังจาก​นั้น​ ก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นจารึกประตูท่าแพตลอดระยะเวลาเกือบ​ 40​ ปี​ จนกระทั่งมีการตามหาจนพบในวันนี้. สำหรับ​ความสำคัญ​ของจารึก​ประตูท่าแพ​ จากการศึกษา​ของ​ ศ.​ ประเสริฐ​ ณ​ นคร​ พบว่า​ เป็นจารึกอักษร​ธรรมล้านนา​ ตารางบรรจุตัวเลข​ และวงดวงชะตา​ ข้อความอักษร​เมื่อถูกกลับให้ถูกทิศทางแล้ว​ ถอดความตามส่วนดังนี้​ ข้างบนมีข้อความว่า​ "อินทขีล​ มังค (ล)​ โสตถิ"  ข้างซ้ายมีข้อความ​ว่า​ "อินทขีล​ สิทธิเชยย"  ข้างขวามีข้อความว่า​ "อิน...."  และข้างล่างมีข้อความว่า​ "อินทขีล​ โสตถิ​ มังคล" โดยคำสำคัญ​ที่ปรากฏในจารึกหลักดังกล่าว​ว่า​ "อินทขีล" เป็นภาษาบาลี​ แปลว่า เสาเขื่อน​ เสาหลักเมือง​ หรือธรณีประตู​ จึงสรุปนัยสำคัญ​ได้ว่า​ จารึก​หลักนี้​ มีความสำคัญ​ในฐานะเสาประตูเมือง.  นอกจากข้อความ​ข้างต้นแล้ว​ จารึกประตูท่าแพยังมีความพิเศษ​ตรงที่​ เทคนิคการทำจารึก​ ซึ่ง แต่เดิมจารึกด้านที่​ 1 ไม่มีผู้ใดสามารถอ่านได้ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี​ จนกระทั่งในช่วง​ พ.ศ.​ 2529 อ.เรณู​ วิชาศิลป์​ แห่งวิทยาลัยครู​เชียงใหม่​ (ขณะนั้น)​ ได้ค้นพบและเสนอว่าเป็นจารึกตัวหนังสือกลับ​ คล้ายดังเป็นเงาในกระจก​ จึงสามารถอ่านจารึกประตูท่าแพได้.  การค้นพบจารึกหลักสำคัญ​ที่หายไป​จากความทรงจำในวันนี้​ สำนักศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ ต้องขอขอบคุณ​ผู้มีส่วนร่วมสำคัญทุกท่าน​ ประกอบด้วย​ ศาสตราจารย์​เกียรติคุณ​สุรพล​ ดำริห์กุล, พ่อครูศรีเลา​ เกษพรหม​ ศูนย์​การเรียนรู้จารึก​และเอกสารโบราณ, เทศบาลนคร​เชียงใหม่, คุณ​อรช บุญ-หลง​ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผศ. ดร. ปรัชญา​ คัมภิรานนท์และ​ ผศ.กรรณ​ เกตุเวต​ คณะวิจิตรศิลป์​  มหาวิทยาลัย​เชียงใหม่, และ​ ดร.อภิรดี​ เตชะศิริวรรณ​ คลังข้อมูล​จารึก​ล้านนา​ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่​. เครดิต​ภาพสำเนาจารึก​ฯ : ฐานข้อมูล​จารึกในประเทศ​ไทย​ ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิรินธร​ (องค์​การมหาชน) และภาควิชาภาษาตะวันออก​ คณะโบราณคดี​ มหา​วิทยาลัย​ศิลปากร


ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.50 คาถาอาคมประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  ไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ              21; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    คาถาอาคม                    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538


โบราณสถานวัดวังไทร  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านวังไทร ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช .....มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติวัดวังไทรว่า เดิมแถบนี้เป็นป่าดง มีช้างอาศัยเป็นจำนวนมาก พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งจึงสั่งให้พระยาไทรบุรี – ยะรัง เป็นหัวหน้ามาตั้งเพนียดจับช้างเพื่อส่งให้แก่เมืองหลวง จึงได้มาสร้างที่พำนักหรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่าวังอยู่บริเวณนี้จึงเรียกว่า “วังพระยาไทย” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “วังไทร” อย่างไรก็ดี ชื่อวังไทรนี้บ้านว่ามาจากชื่อต้นไทรใหญ่อยู่ริมคลองในบริเวณวัด .....โบราณสถานสำคัญภายในวัดได้แก่ เจดีย์ สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน ๔ องค์ ตั้งเรียงตามแนวทิศตะวันออก – ทิศตะวันตก ซึ่งกรมศิลปากรขุดค้น ขุดแต่งและบรูณะในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบด้วย เจดีย์องค์ที่ ๑ (องค์ทิศตะวันตกสุด) ขนาดฐานกว้างด้านละ ๑.๖๐ เมตร เจดีย์องค์ที่ ๒ ขนาดฐานกว้างด้านล่ะ ๑.๘๐ เมตร เจดีย์องค์ที่ ๓ ขนาดฐานกว้าง ด้านละ ๑.๓๐ เมตร และเจดีย์องค์ที่ ๔ (องค์ทิศตะวันออกสุด) ขนาดฐานด้านล่ะ ๑.๓๐ เมตร เจดีย์เหล่านี้ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด ส่วนเรือนธาตุย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนองค์ระฆังเป็นดินเผาแกะสลักลวดลาย มีการประดับตกแต่ง ด้วยลายปูนปั้นที่งดงาม    อายุสมัย : สมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓   วัดวังไทร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๘๓ ง  หน้า ๑ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๑ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๘๗ ตารางวา    จัดทำโดย นายสรรชัย แย้มเยื้อน และ นายสหภาพ ขนาน นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาการจัดการสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช #วัดวังไทร #โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนนครศรีธรรมราช   อ้างอิง นภัคมน ทองเฝือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๓


            กรมศิลปากร โดยกลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ "เอกสารล้ำค่า จารึกสยาม (Priceless Document of Siam)" การสาธิต "การสวดมหาชาติคำหลวง : ราชประเพณีที่สืบทอดจากกรุงศรีอยุธยา" วิทยากรโดย เจ้าหน้าที่พิธี กรมการศาสนา และดำเนินรายการโดย นางสาวชนิดา สีหามาตย์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ในวันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๓.๐๐ น. และเริ่มกิจกรรมการสาธิตฯ เวลา ๑๓.๐๐ น.)             ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน (google form) ได้ทาง https://shorturl.at/S6Q7F (รับจำนวนจำกัด) หรือติดตามรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จัดกิจกรรม "วาดภาพ ระบายสีบอกรักแม่" ขอเชิญชวนน้อง ๆ วาดภาพ ระบายสี ประดิษฐ์การ์ดที่ระลึก เพื่อเป็นของขวัญบอกรักแม่ ณ มุมกิจกรรม Museum Kid's Zone ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี สามารถร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ตลอดเดือนสิงหาคมนี้ เปิดบริการวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00-16:00 น. ปิดวันจันทร์ – อังคาร สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3721 1586 พิกัดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อยู่ที่ ถ.ปราจีนอนุสรณ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 google map : https://maps.app.goo.gl/tAcTjUtEEgV7zY9s9


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่กับความสนุกในรูปแบบต่าง ๆ  ในหัวข้อ "นววินายักยาตรา" ซึ่งเป็นกิจกรรมเนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถี พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันที่ ๗ - ๘ กันยายน และ ๑๑ - ๑๕ กันยายน ๒๕๖๗ สำหรับกิจกรรมที่ ๒ ในงานนี้ได้แก่ กิจกรรม "ตามรอยนววินายัก" เกมล่าหาตราประทับและสะสมสติ๊กเกอร์พระคเณศทั้ง ๙ โดยมีขั้นตอนการร่วมกิจกรรม ดังนี้              - ซื้อบัตรเข้าชมที่ห้องจำหน่ายบัตร              - รับพาสปอร์ตได้ที่อาคารมหาสุรสิงหนาท               - ไม่จำกัดจำนวนต่อคน              - เก็บตราประทับและสติ๊กเกอร์ที่ระลึกตามลายแทง              - เก็บสะสมให้ครบภายในวันที่ ๑๕ กันยายน เท่านั้น              - เมื่อเก็บครบทั้ง ๙ องค์แล้วนำพาสปอร์ตไปรับของรางวัล              - ค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม ชุดละ ๑๐๐ บาท              ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรม "นววินายักยาตรา" ณ พิพิธภัณฑสถานแหงชาติ พระนคร สามารถซื้อบัตรเข้าชมได้ตามปกติ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท เริ่มวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๗ ติดตามรายละเอียดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ทาง Facebook Page : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 


          เมื่อถึงเทศกาลลอยกระทงด้วยเอกลักษณ์ของเทศกาล ที่มีการจัดงานอย่างสวยงามตามแต่ละพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ความสวยงามของการประดิษฐ์กระทงในรูปแบบต่าง ๆ ความสวยงามของนางนพมาศ ด้วยเอกลักษณ์ที่เป็นขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของประเพณีไทยนี้ ยังมีอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเทศกาลลอยกระทงก็คือ เพลงรำวงลอยกระทง เพราะเมื่อหากเปิดเพลงขึ้นเมื่อไรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็สามารถร้องและตั้งวงรำกันได้ ด้วยทำนองเนื้อร้องจังหวะของเพลงที่สนุกสนานและเข้าใจง่าย เพลงรำวงลอยกระทงจึงเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย           เพลงรำวงลอยกระทงแต่งขึ้นโดยครูแก้ว อัจฉริยะกุล(ผู้แต่งคำร้อง) และครูเอื้อ สุนทรสนาน(ผู้แต่งทำนอง) แม้จะไม่มีหลักฐานของปี พ.ศ. ที่แต่งอย่างชัดเจน แต่ประวัติและที่มาของเพลงรำวงลอยกระทงนี้เกิดจากภรรยาของครูเอื้อ ซึ่งเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอให้ครูเอื้อช่วยแต่งเพลงสำหรับงานลอยกระทงที่จะจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์           ด้วยกาลเวลาที่มีการพัฒนาตามยุคสมัย เพลงรำวงลอยกระทงจึงได้ถูกนำไปดัดแปลงและเรียบเรียงใหม่ในหลายรูปแบบ ทั้งในด้านทำนอง เนื้อร้อง และภาษาเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและความนิยมของผู้ฟัง ซึ่งปัจจุบันเพลงรำวงลอยกระทงมีถึง 6 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ สเปน เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน รวบรวมโดยกระทรวงวัฒนธรรม สามารถกดลิงก์เพื่อเข้าไปรับชมได้ค่ะ https://www.facebook.com/ThaiMCulture/videos/1093015585787932


Messenger