ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
เลขทะเบียน: กจ.บ.7/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาดประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูกจำนวนหน้า: 38 หน้า
ชื่อเรื่อง โบราณคดีคอกช้างดินผู้แต่ง ภัทรพงษ์ เก่าเงินประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 974-418-116-8หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่ 959.373 ส691บสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ ฟันนี่ พับบลิชชิ่งปีที่พิมพ์ 2545ลักษณะวัสดุ 172 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง ไทย – โบราณสถาน โบราณคดี – สุพรรณบุรีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง โบราณคดีคอกช้างดิน ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ข้อมูลความรู้ให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าของโบราณสถาน และร่วมมือร่วมใจรักษาไว้คงอยู่ของมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
ชื่อเรื่อง ปาติโมกข์แปล (สัปปาฏิโมกข์)
สพ.บ. 366/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศน์มหาชาติ คาถาพัน ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
"บารายเมืองสุโขทัย" หนึ่งในระบบจัดการน้ำสมัยสุโขทัย •.บารายเมืองสุโขทัย หรือเรียกตามชื่อโบราณสถานของอุทยานว่า ทำนบ 7 อ. หรืออ่างเก็บน้ำหมายเลข 2 เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นคันดินมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คันดินกว้าง 25-30 เมตร สูง 2-4 เมตร มี 3 ด้าน ด้านทิศเหนือยาว 1,400 เมตร ด้านด้านทิศตะวันออกยาว 750 เมตร ด้านทิศใต้ยาว 1,050 เมตร และด้านทิศตะวันตกไม่พบแนวคันดินเนื่องจากติดคลองแม่ลำพัน.#การใช้ประโยชน์ของบารายเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ทำการศึกษาทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ.2560-2561 พบหลักฐานทำให้สันนิษฐานได้ว่าบารายหรือทำนบ 7 อ. แห่งนี้ไม่ได้กักเก็บน้ำไว้ตลอดเวลา แต่เป็นการกักเก็บน้ำไว้ในช่วงฤดูน้ำหลากของแต่ละปี โดยใช้กักเก็บน้ำในฤดูน้ำหลาก สำหรับรับน้ำจากคลองแม่ลำพันมาเก็บไว้ เมื่อผ่านพ้นฤดูน้ำหลากในแต่ละปีแล้วจึงปล่อยที่กักเก็บไว้ออกสู่พื้นที่ทางการเกษตรโดยรอบบารายเมืองสุโขทัย.#การกำหนดอายุสมัยของบารายเมืองสุโขทัย ได้ส่งตัวอย่างถ่าน จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่พบการขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อ ปี พ.ศ.2560 เพื่อหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธี Radiocarbon Dating (AMS) ที่มหาวิทยาลัย Waikato ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ค่าอายุดังนี้- ตัวอย่างถ่านที่ 1 จากหลุมขุดตรวจคันดินบารายด้านทิศตะวันออก T.1 E.1 ได้ค่าอายุ 613 +-15 B.P. หรือ 628 - 598 ปีมาแล้ว ตรงกับ พ.ศ.1865 - 1895 ซึ่งตรงกับสมัยพระยาเลอไท- ตัวอย่างถ่านที่ 2 จากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบนเนินโบราณสถานวัดโบสถ์ TP.1 ได้ค่าอายุ 578 +-15 B.P. หรือ 593 - 563 ปีมาแล้ว ตรงกับ พ.ศ.1900 - 1930 ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยพระยาลิไท - พระยาลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1-2).สรุปได้ว่าบารายเมืองสุโขทัยหรือทำนบ 7 อ. นั้นสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพระยาเลอไทหรือพระยางั่วนำถมเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย ช่วงระหว่างปี พ.ศ.1842-1890 ต่อมาในช่วงสมัยพระยาลิไทจึงมีการเริ่มถมพื้นที่เพื่อก่อสร้างโบราณสถานวัดโบสถ์ขึ้น ส่วนโบราณสถานอื่นๆ ภายในพื้นที่บริเวณดังกล่าวก็น่าจะสร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกัน.#สภาพปัจจุบันของบารายเมืองสุโขทัยกรมศิลปากรโดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ดำเนินงานโครงการเพื่อฟื้นคืนสภาพดั่งเดิมของคันดินของบารายเมืองสุโขทัยขึ้นมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2562-2563 จากภาพมุมสูงที่ถูกถ่ายเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงหน้าที่การใช้งานของบารายเมืองสุโขทัยในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี คือ เมื่อปริมาณน้ำจากคลองแม่ลำพันมีมากเกินไป ก็จะล้นไปลงบารายเมืองสุโขทัยที่อยู่ทางด้านตะวันออก น้ำจะถูกกักไว้เพื่อชะลอความเร็วของน้ำในระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อปริมาณน้ำมีมากเกินกว่าระดับคันดินของบารายจะรับไหว ก็จะล้นออกไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต่ำกว่าหรือพื้นที่สำหรับรับน้ำในสมัยสุโขทัย ที่เรียกตามศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหง ว่า "ทะเลหลวง".#เอกสารสำหรับอ่านเพิ่มเติม1) บทความเรื่อง บารายเมืองสุโขทัย โดย ธงชัย สาโค ในนิตยสารศิลปากร ปีที่ 62 ฉบับที่ 6 พ.ย.-ธ.ค.2562 หน้าที่ 57-75 (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ตามลิงก์นี้ >>> https://www.finearts.go.th/.../cuPFUeeUEipwNzjJAUkML1hI1e...)2) หนังสือ ระบบชลประทานสมัยสุโขทัย โดย เอนก สีหามาตย์และคณะ (ดาวน์โหลดและอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งก์นี้ >>> https://drive.google.com/.../1TYO1yCMtoodAHEXgamH.../view...)3) รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บารายเมืองสุโขทัย) โดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปีงบประมาณ 2560 - 2561 (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งก์นี้ >>> https://drive.google.com/.../1yJK3lURcVgbYexhRAN1.../view...)
โพธิปกฺขิยธมฺม (โพธิปกฺขิยธมฺม)
ชบ.บ.49/1-14
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 307/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 54.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้มรดกศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากร ผ่านช่องทางอินสตราแกรม เพียงสแกน qr code และกดติดตามได้เลย
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีเรื่อง คำช่างโบราณ ตอน ฐานบัว
หอสมุดเปิดให้บริการ วันอังคาร ถึงวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น ถึง เวลา 17.00 น.หยุด วันอาทิตย์ วันจันทร์ และวันหยุดนขัตฤกษ์
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65 - 66) พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี จดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวจำนวนหน้า : 324 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 40 ภาคที่ 65 กล่าวถึง พระราชพงศาวดารเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพออกจากวัดพิชัย รบฝ่ากองทัพพม่า มุ่งตรงไปนครนายก เดินทัพไปพักอยู่ที่จังหวัดระยอง และเข้ายึดจันทบุรี และเนื้อหาเกี่ยวกับการกู้ชาติ โดยยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาปราบพม่าโพสามต้น และตั้งต้นรวมอาณาจักรไทย ในส่วนของประชุมพงศาวการ ภาคที่ 66 กล่าวถึงจดหมายรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี เมื่อคราวปราบเมืองพุทไธมาศและเขมร เมื่อ พ.ศ. 2314
ชื่อผู้แต่ง สหธรรมมิกบ้านธรรมประสิทธิ์
ชื่อเรื่อง เดินไปสู่ความสุข ๒
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์บูรพาศิลป์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๘๙ หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่ระลึก เนื่องในโอกาสทอดผ้าป่า ของวัดปากน้ำภาษีเจริญ เนื่องในวันวิสาขบูชาวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๔ สร้างธรรมศาลา ของศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม ที่คลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนสติพุทธศาสนิกชนให้หันมาสนใจปฏิบัติธรรม กระทำแต่ความดีทั้งกาย วาจาและใจ
รายงานสรุปเบื้องต้น การดำเนินงานทางโบราณคดี (เดือนพฤษภาคม 2565) โครงการศึกษาทางโบราณคดีและรูปแบบสถาปัตยกรรมกลุ่มโบราณสถานทางทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน โบราณสถานเขาคลังนอก ปีงบประมาณ 2565
>>>โบราณสถานค.น.5<<<