ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ
ชื่อเรื่อง : นิทานพื้นบ้านเมืองจันทบุรี
หัวเรื่อง :1. นิทานพื้นบ้าน 2.จันทบุรี-นิทาน
คำค้น : นิทานพื้นบ้านจันททบุรี, นางกาไก, เมืองจันทบุรี, จันทบุรี, บ้านบางกะจะ, บ้านโป่งแรด, อำเภอท่าใหม่, บ้านหนองตาลิ่น, บ้านโป่งกวาง, วัดเขาสุกิม, วัดสามผาน, เขาพลอยแหวน, แหล่งพลายจันทบุรี, หมู่บ้านต้นกระบกท้องแก่, ตลิ่งทอง, สระแก้ว, เขาบายศรี, ตำบลเขาวัว, ตำบลเขาวัว, ตำบลสีพยา, เขาสระบาป, อำเภอมะขาม, ตำบลหมู่บ้านตะปอน-คานรูด-เกวียนหัก, เขาตาหน่วย, สี่เกลอเกี่ยวหญ้าคา, กระต่ายเจ้าปัญญา, ทนายแก้ต่าง, หอยกับกระต่าย, สามเมา, เสือกับคางคก, คางคกกับเสือ
ผู้แต่ง : ศุภวัฒน์ เอมโช
แหล่งที่มา : ต้นฉบับหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ลิขสิทธิ์ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
รายละเอียดเนื้อหา : เป็นการรวบรวม นิทานพื้นบ้านจันทบุรี ได้แก่ นางกาไว (ตำนานเมืองจันทบุรีโบราณ) เมืองจันทบุรีโบราณสำนวนที่สอง ที่มาของชื่อ “จันทบุรี” ตำนานบ้านบางกะจะ ตำนานหมู่บ้านโป่งแรด ตำนานอำเภอท่าใหม่ ตำนานหมู่บ้านหนองตาลิ่น หมู่บ้านโป่งกวาง ตำบลวัดเขาสุกิม ตำนานวัดสามผาน เขาพลอยแหวน แหล่งพลอยจันทบุรี (เขาพลอยแหวน) ตำนานหมู่บ้านต้นกระบกท้องแก่ ตำนานตลิ่งทอง สระแก้ว เขาบายศรีตำบลเขาวัว ตำบลสีพยา เขาสระบาปเคยเป็นเขาหัวโล้นมาก่อน ที่มาของอำเภอมะขาม ตำบลหมู่บ้านตะปอน-คานรูด-เกวียนหัก เขาตาหน่วย สี่เกลอเกี่ยวหญ้าคา กระต่ายเจ้าปัญญา ทนายแก้ต่าง หอยกับกระต่าย สามเมา เสือกับคางคก นิทานคำกลอน เรื่องคางคกกับเสือ นิทานคำกลอนเรื่องเจ้าชายงู ความรักกับดวงดาว (นิทานเกี่ยวกับเจ้าแม่เขาเกลือและเขาสอยดาว) เป็ดกับไก่ ยาสั่ง-คุณไสย ฝรั่งกับคนไทย การแบ่งเขตชายแดนไทย-กัมพูชา ช่องแคบเขาเกลือ ที่มาของชื่ออำเภอแก่งหางแมว ชื่อหมู่บ้านพวา อำเภอ-แก่งหางแมว เขาวงกต เขาแหลมสิงห์ ตำนานเรื่องเท่งตุ๊ก บางสระเก้าร้อยกรอง บางสระเก้าร้อยแก้ว รอยพระพุทธบาท (เขาคิชฌกูฏ)
เลขทะเบียน : น 56 บ. 69245 จบ. (ร)
เลขหมู่ : ท 398.2 ศ723น
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน “Night at the Museum เรือพระราชพิธี ศรีแห่งนครา” เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ให้เข้าชมความงดงามของเรือพระราชพิธี มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งสายน้ำ ระหว่างวันที่ 27 - 29 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 20.30 น. ไฮไลท์อยู่ที่การแสดงเรือพระราชพิธีประดับแสงไฟในบรรยากาศยามค่ำคืน การแสดงเห่เรือประกอบการพายเรือ กิจกรรมเวิร์คชอบ การออกร้านสินค้าทางวัฒนธรรม และอาหารเลิศรสย่านบางกอกน้อย มีพื้นที่จอดรถในกองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ซึ่งเดิมเป็นอู่เรือเก่า ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อพุทธศักราช 2517 จัดแสดงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พร้อมทั้งเรือที่มีโขนเรือ 4 ลำ ประกอบด้วย เรือเอกชัยเหินหาว เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรืออสุรวายุภักษ์ รวมทั้งยังมีนิทรรศการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเรือพระราชพิธี ซึ่งบรรจงสร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีต แสดงภูมิปัญญาของช่างไทยหลายแขนง ทั้งช่างแกะสลัก ช่างรัก ช่างประดับกระจก ช่างไม้ ช่างเขียน องค์ประกอบสำคัญของกระบวนเรือพระราชพิธี และอื่นๆ
ผู้สนใจสามารถเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี แหล่งเรียนรู้เรื่องเรือพระราชพิธี ในบรรยากาศยามค่ำคืน ตั้งอยู่ที่ริมคลองบางกอกน้อย แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 27 - 29 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 น. - 20.30 น. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2424 0004
กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์หนังสือ เรื่อง “เทวสตรี: คติพุทธ พราหมณ์ และความเชื่อในประเทศไทย”ประกอบนิทรรศการเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๕๘ จัดพิมพ์สี่สีพร้อมภาพประกอบสวยงาม จำหน่ายราคาเล่มละ ๓๕๐ บาท
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๕ บท ได้แก่ บทที่ ๑ เทวสตรี: คติความเชื่อจากอดีตกาล บทที่ ๒ เทวสตรีในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู: พลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของสตรี นำเสนอเรื่องราวของเทวสตรี ๓ องค์ได้แก่ พระนางปารวตี พระลักษมี และพระสรัสวดี บทที่ ๓ เทวสตรีในศาสนาพุทธ: ผู้ทรงพลังแห่งพุทธิปัญญา นำเสนอเรื่องราวของเทวสตรี ๔ องค์ ได้แก่ พระนางปรัชญาปารมิตา พระนางโยคินี พระนางตารา และพระนางจุนทา บทที่ ๔ พระแม่ เจ้าแม่ ในความเชื่อท้องถิ่น: ขุมพลังแห่งธรรมชาติ นำเสนอเรื่องราวของพระแม่ธรณี พระแม่โพสพ และพระแม่คงคา และบทที่ ๕ รายการโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ จำนวน ๕๕ ชิ้น ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าชมนิทรรศการและผู้สนใจให้ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทวสตรีในประเทศไทยได้เป็นอย่างดียิ่ง
ผู้สนใจติดต่อซื้อได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการในวันที่ ๒๙ เมษายน - ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ หลังจากนั้นสามารถซื้อได้ที่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๐๔๓๓, ๐ ๒๒๘๑ ๖๗๖๖
ผู้แต่ง : สมถวิล เทพยศปีที่พิมพ์ : 2532สถานที่พิมพ์ : แพร่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยอุตสาหการพิมพ์ ประวัติและผลงานของศรีวิใจ (โข้) เป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของศรีวิใจ ศรีวิใจโข้ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2400 เป็นบุตรคนที่สี่ ของเจ้าน้อยเทพและนางแก้ว เทพยศ ศรีวิใจโข้ เป็นนักกลอนหรือนักกวี ได้ประพันธ์บทกวีว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ค่าวประวัติเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ และยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การฮ่ำบอกไฟ (บ้องไฟ) (จรวดไม้ไผ่) การฮ่ำฉลองวัดร่องกาศ
แบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑. มรดกดีเด่นทางวัฒนธรรม เช่น สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว ปูชนียวัตถุที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ประเพณีวัฒนธรรม เทศกาลงานประเพณีอาหารพื้นบ้านและหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น ๒. มรดกดีเด่นทางธรรมชาติ ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางธรรมชาติ เช่น อุทยานหินเขางู โป่งยุบ แก่งส้มแมว เป็นต้น รวมทั้งต้นไม้และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดราชบุรี ๓. บุคคลสำคัญ ได้แก่ บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์ให้แก่จังหวัดในด้านต่าง ๆ เช่น ปูชนียบุคคลที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญทางด้านทหาร การเมืองและการปกครอง รวมทั้งบุคคลสำคัญทางด้านวัฒนธรรมและศิลปินเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ นางธาดา สังข์ทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นำข้าราชการ พนักงานราชการ ร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันปิยมหาราช พร้อมหัวหน้าส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร
ประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙
วันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
และต้อนรับข้าราชการที่ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่
ที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
-นางสาวพิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ นักโบราณคดีชำนาญการ
หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
-นายลักษมณ์ บุญเรือง ภัณฑรักษ์ชำนาญการ
สังกัดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
-นายวีระชาติ พงค์ชนะ นักโบราณคดีปฏิบัติการ
สังกัดกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา