ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.28/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


-- ภาพกว๊านพะเยาบนแผนที่ (ตอนที่ ๒) --    ในตอนที่ ๑ ได้นำเสนอแผนที่กว๊านพะเยา อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย ปี ๒๕๑๘ ซึ่งแสดงให้เห็นบริเวณโดยรอบและลักษณะของพื้นที่อย่างละเอียดนั้น  -- ครั้นสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุต่อเนื่องพบว่า แผนกช่าง กองบำรุง กรมประมง ได้จำลองแผนที่กว๊านพะเยาขึ้นมาก่อนแล้วหลายสิบปี โดยวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ เจ้าหน้าที่คัดลอกแผนที่จากกระดาษแก้วต้นฉบับชำรุด และอ้างว่าลงที่หมายมาตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ หรือช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั่นเอง ..  ในแผนที่มีสิ่งที่น่าสนใจคือ  แผนที่ถูกจำลองด้วยมาตราส่วน ๑ : ๑๖,๐๐๐ ซึ่งชัดเจนกว่าแผนที่ปี ๒๕๑๘ ที่ใช้มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐  มีการระบุเครื่องหมายต่างๆให้เข้าใจง่าย เช่น หลักเขตคอนกรีตกว๊านพะเยาหรือขอบเขตความกว้างของกว๊าน หลักหมุดท่อซีเมนต์ (ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้) ที่ตั้งของชุมชน ถนน เขตห้ามสำหรับสงวนพันธุ์สัตว์น้ำ เขตอนุญาตจำกัดการใช้และวิธีการจับสัตว์น้ำบางอย่าง เป็นต้น  พื้นที่บริเวณทิศตะวันออกของกว๊าน สองข้างถนนประชาธิปัตย์ (ถนนพหลโยธินสายใน) ระบุศาสนสถานสำคัญทั้งวัดสรีคำโคม (พระเจ้าตนหลวง) ซึ่งในแผนที่เขียนอย่างนี้ วัดราชสันฐาน วัดราชครึห์ วัดสรีอุมงค์คำ พบร่องรอยกำแพงเก่า (กำแพงเมืองหรือไม่ ?) นอกจากนั้นปรากฏโรงสีข้าว ๓ แห่ง กลุ่มตลาดสด ที่ว่าการอำเภอพะเยาตั้งอยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจ ที่ทำการเทศบาล และที่น่าสนใจคือ มุมขวาล่างของถนนมีทางแยกเป็นถนนดินไปหมู่บ้านดอกคำใต้ ซึ่งยังเป็นหมู่บ้านก่อนที่จะจัดตั้งเป็นตำบลและอำเภอตามลำดับ         แผนที่กว๊านพะเยานี้แสดงถึงขอบเขตความกว้างใหญ่ของกว๊านอย่างชัดเจน เพราะระบุหลักเขตคอนกรีตแน่นอน สามารถตอบคำถามที่เกริ่นไว้ในตอนที่ ๑ ได้ว่า กว๊านใหญ่โตเพียงใด        อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เจ้าหน้าที่แผนกช่าง กองบำรุง กรมประมง จะคัดลอกแผนที่จากกระดาษของเดิมปี ๒๔๘๓ ในปี ๒๔๙๔ แต่มุมล่างสุดกลับมีข้อความเขียนว่า พื้นที่กำจัดวัชพืชปี ๒๕๑๘ นั่นหมายความว่า แผนที่มีการคัดลอกและเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆเรื่อยมา สำหรับสถานีบำรุงพันธุ์ ๒ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย ใช้ปฏิบัติงานประมงนั่นเอง       จากแผนที่ดังกล่าวมาทั้งหมด หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา ยังมุ่งมั่นศึกษา วิเคราะห์ เอกสารจดหมายเหตุอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะและอนุชนรุ่นหลังสืบไป ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ) เอกสารอ้างอิง : หจช.พย. แผนที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา กรมประมง กระทรวงเกษตร  และสหกรณ์ ผจ (2) กษ 1 / 21 เรื่องแผนที่แสดงเขตกว๊านพะเยา อำเภอ  พะเยา จังหวัดเชียงราย (14 ม.ค. - 14 มี.ค. 2494)



กรมศิลปากร. บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สำคัญ พ.ศ. 2514. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2514.          บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สำคัญ พ.ศ. 2514 นี้ เป็นการรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญเฉพาะเรื่อง ทั้งที่เป็นรายงานข่าว ข้อมูลอันแสดงสภาวะแวดล้อมและเงื่อนไขทางการเมืองและสังคม ตลอดจนบทความอันแสดงถึงความคิดเห็นของประชาชน



การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอนที่ ๗ ลูกชั่ง หรือ ลูกเป้ง       จากการที่ล้านนามีการติดต่อค้นขายกับพ่อค้าจากเมืองต่างๆ ส่งผลให้มีการนำเงินตราของดินแดนใกล้เคียงที่มีการติดต่อค้าขายกันมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเงินตราของไท พม่า จีน และลาว รวมไปถึงการชั่งน้ำหนักซึ่งพบว่ามีการใช้ตราชั่งทั้งแบบตาเต็งหรือตาชั่งจีนและตาชูหรือตาชั่งแบบสุเมเรียน ในการใช้ตาชูนี้ต้องมีลูกชั่งซึ่งเป็นโลหะที่กำหนดน้ำหนักไว้เป็นมาตรฐานเพื่อนำมาชั่งน้ำหนักสิ่งของต่างๆ ที่นำมาซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมถึงใช้ชั่งโลหะที่นำมาเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยลูกชั่งนี้นิยมทำเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี เช่น หงส์ สิงห์ มอม เป็นต้น ชาวมอญในพม่านิยมใช้ลูกชั่งรูปหงส์เนื่องจากเป็นสัตว์ในวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเมืองหงสาวดี         สำหรับลูกชั่งที่ใช้ในล้านนา เรียกอีกอย่างว่า ลูกเป้ง นอกจากทำเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดีแล้วยังพบว่ามีการหล่อลูกชั่งเป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิด เรียกกันว่า ลูกเป้ง ๑๒ นักษัตร พรหมชาติล้านนากล่าวถึงโฉลกในการพกลูกเป้งและการเลือกใช้ถุงสำหรับบรรจุทรัพย์สำหรับผู้ที่เกิดในปีนักษัตรต่างๆ ไว้ดังนี้     ปีชวด  พกลูกเป้งรูปหนู     ปีฉลู    พกลูกเป้งรูปวัว ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลืองด้านในสีแดง     ปีขาล   ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็นถุง ๓ ชั้น ชั้นนอกสีแดง กลางสีขาวและชั้นในสีเขียว      ปีเถาะ   พกลูกเป้งรูปกระต่าย     ปีมะโรง พกลูกเป้งรูปนาค     ปีมะเส็ง พกลูกเป้งรูปงู     ปีมะเมีย  พกลูกเป้งรูปม้า ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเหลือง     ปีมะแม  พกลูกเป้งรูปแพะ     ปีวอก    พกลูกเป้งรูปลิง ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีเหลือง     ปีระกา   พกลูกเป้งรูปไก่ ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็นถุง ๓ ชั้น ชั้นนอกสีเขียว ชั้นกลางสีขาว ชั้นในสีเทา     ปีจอ    พกลูกเป้งรูปสุนัข ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลือง ชั้นในสีขาว     ปีกุน   พกลูกเป้งรูปช้าง ถุงบรรจุทรัพย์ควรเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกสีเหลืองชั้นในสีขาว          นอกจากนี้ยังมีโฉลกในการเลือกใช้ถุงบรรจุทรัพย์และการพกลูกเป้งสำหรับผู้ที่เกิดในเดือนต่างๆ ดังนี้    เดือน ๗ พกลูกเป้งรูปช้าง ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีขาว    เดือน ๘ พกลูกเป้งรูปแพะ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีม่วง สายสีขาว    เดือน ๙ พกลูกเป้งรูปหงส์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำ ด้านในสีเทา    เดือน ๑๐ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีดำหรือสีเขียว ด้านในสีเหลือง สายสีแดง    เดือน ๑๑ พกลูกเป้งดังรูปลูกหว้า ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเหลือง สายสีขาว    เดือน ๑๒ พกลูกเป้งรูปเรือ  ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเขียว สายสีเหลือง    เดือนเกี๋ยงหรือเดือน ๑ พกลูกเป้งรูปหอยสังข์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีขาว สายสีดำ    เดือนยี่ พกลูกเป้งรูปราชสีห์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีขาว ด้านในสีดำ สายสีเหลือง    เดือน ๓ พกลูกเป้งรูปวัว ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีม่วง ด้านในสีเหลือง สายสีแดง    เดือน ๔ พกลูกเป้งรูปหงส์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีแดง ด้านในสีเขียว สายสีขาว    เดือน ๕ พกลูกเป้งรูปเต่า ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีม่วง ด้านในสีเขียว สายสีแดง    เดือน ๖ พกลูกเป้งรูปช้างหรือรูปราชสีห์ ถุงใส่ทรัพย์ ๒ ชั้น ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาว สายสีดำ        ซึ่งการกำหนดโฉลกในการพกลูกเป้งรูปต่างๆ นี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของลูกเป้งที่มีการผลิตขึ้นเพื่อใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันบางรูปแบบพบไม่มากนัก โดยลูกเป้งส่วนใหญ่ที่พบได้แก่รูปหงส์ รูปสิงห์ เป็นต้น เอกสารอ้างอิง เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗ พรหมชาติล้านนา : สนั่น ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๐


"วันอัฏฐมีบูชา"  วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๘  วัน ตรงกับวันแรม ๘  ค่ำ เดือน ๖ (เดือนวิสาขะ) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔ ในปฐมสมโพธิกถา ปริเฉทที่ ๒๗ ธาตุวิภัชนปริวรรต กล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานว่า ในครั้งนั้นเหล่ากษัตริย์มัลลราช ได้นำของหอม ดอกไม้ ผ้าสาฎก ๕๐๐ คู่ และประโคมด้วยเครื่องดนตรีหลากชนิด เพื่อบูชาและตกแต่งพระบรมศพพระพุทธเจ้า โดยทำการสักการบูชาอยู่ ๖ วัน  ครั้นถึงวันที่ ๗ กษัตริย์มัลลราชทั้ง ๘ องค์ จึงมีดำริจะอัญเชิญพระบรมศพพร้อมด้วยเครื่องสักการบูชาและเครื่องดนตรีทั้งหลาย ไปทางทิศตะวันออกไปสู่มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา เพื่อถวายพระเพลิง และปรึกษาพระอานนท์ว่าจะตกแต่งพระบรมศพอย่างไรจึงจะเหมาะสม พระอานนท์กล่าวแก่เหล่ากษัตริย์ว่า “ให้หุ้มห่อพระศพพระชินสีห์ด้วยพระภูษาจนถ้วนได้ ๕๐๐ ชั้น แล้วจงเชิญลงในพระหีบทองอันเต็มไปด้วยน้ำมัน แล้วให้เชิญพระหีบขึ้นสู่พระเชิงตะกอน อันประกอบด้วยสรรพสิ่งเสาวคนธชาติ จึงถวายพระเพลิง”  กษัตริย์มัลลราชกระทำตามคำพระอานนท์ทุกประการ แต่ไม่สามารถจุดไฟที่เชิงตะกอนให้ติดได้ จึงสอบถามสาเหตุจากพระอนุรุทธเถระ พระอนุรุทธเถระจึงบอกว่า "อธิบายแห่งเทพยดาทั้งหลายจะคอยท่าพระมหากัสสปเถรอันเป็นพระสาวกผู้ใหญ่ก่อน เบื้องว่าพระมหากัสสปยังมิได้มานมัสการพระบาทยุคลพระทศพลตราบใดเพลิงก็ยังมิได้ไหม้พระเชิงตะกอนตราบนั้น” เมื่อพระมหากัสสปะเดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ จึงน้อมนมัสการพระบรมศพ ครั้นเปลวเพลิงก็ลุกท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดา ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใด ๆ ฟุ้งขึ้นเลย ภายหลังจากถวายพระเพลิงพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าแล้ว โทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นคนกลางในการแบ่งพระธาตุ โดยการจัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนเท่า ๆ กัน มอบให้แก่กษัตริย์ ผู้ครองนครต่าง ๆ รวมทั้งเทวดา พรหม และนาค มาอัญเชิญไปบูชายังสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ “พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำฝ่ายขวาก็ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองกาลึงคราษฐ์ กาลบัดนี้ไปสถิตอยู่ในลังกาทวีป พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนฝ่ายซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราษฐ์ พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำฝ่ายซ้ายไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ พระรากขวัญเบื้องช้ายกับพระอุณหิศ ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสเจดีย์ ณ พรหมโลก พระทนต์ทั้ง ๓๖ แลพระเกศาโลมาแลพระนขาทั้ง ๒๐ นั้นเทพยดานำไปองค์ละองค์สู่จักรวาลต่างๆ ต่อๆ กันไป แลพระปริขารธาตุทั้งหลายนั้นพระกายพันธน์ไปสถิตอยู่ ณ เมืองปาตลีบุตร”   ภาพ: จิตรกรรมพุทธประวัติ เขียนบนไม้กระดานคอสอง ภายในอุโบสถหลังเก่า วัดท้าวโคตร  อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ปริเฉทที่ ๒๗ (ธาตุวิภัชนปริวัตต์) เล่าเรื่องตอนอัญเชิญพระบรมศพของพระพุทธเจ้าไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา และพระมหากัสปะมานมัสการพระบรมศพ / ภาพด้านซ้ายเป็นขบวนแห่พระบรมศพซึ่งทรงเครื่องประดับอันมีชื่อว่ามหาลดาปสาธน์ แวดล้อมด้วยพระสงฆ์สาวก และเหล่ามัลลกษัตริย์ ภาพกลางเป็นภาพเครื่องดนตรีสมโภชน์พระบรมศพ และภาพด้านขวาเป็นภาพพระมหากัสปะน้อมนมัสการพระบรมศพของพระพุทธเจ้า เรียบเรียง/ภาพ: นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ อ้างอิง: สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. พระปฐมสมโพธิกถา . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร, ๒๕๓๙.



          ตอนนี้เรื่องของกัญชามีกระแสมาแรง ไม่ว่าจะนำมาเป็นส่วนผสมทำอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่ม และเมนูอื่นอีกหลากหลาย ผู้เขียนไม่อยากตกกระแสจึงต้องรีบค้นคว้าหาเอกสารจดหมายเรื่องนี้ว่าจะมีข้อมูลอะไรบ้างเพื่อนำมาเล่าสู่กันค่ะ จากการค้นคว้าพบว่าใน พ.ศ.2474 มีเอกสารจดหมายเหตุกล่าวถึงว่ากรมตรวจกสิกรรม(ปัจจุบันเป็นกรมวิชาการเกษตร)สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมว่ามีการสำรวจจังหวัดต่างๆในเรื่องการเพาะปลูกกัญชามากน้อยเพียงใด          จากการสำรวจในครั้งนั้นพบว่าจันทบุรี ไม่นิยมปลูกกัญชาแต่ประการใด มีเพียงท้องที่กิ่งกำพุช สังกัดอำเภอมะขาม เพียงแห่งเดียวที่มีการเพาะปลูกกัญชา โดยมีชาวบ้านทำการเพาะปลูกประมาณ 10 คน พื้นที่ปลูกรวมประมาณ 1 ไร่ เก็บได้ครั้งละประมาณ 1 หาบหรือ 100 ชั่งจีน ราคาซื้อขายกันชั่งละ 50 สตางค์ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลผลิตที่จำหน่ายจะเป็นต้นกัญชากับกระหรี่กัญชา ซึ่งกว่าต้นกัญชาตัวเมียออกดอกหรือนักสูบเรียกว่า"กระหรี่แก่"จะใช้เวลาปลูกยาวนานอยู่หลายเดือน(พฤษภาคม ถึง ธันวาคม) ซึ่งต่างจากการปลูกในปัจจุบัน ที่ไม่สามารถใช้ ช่อ ดอกและเมล็ดของกัญชา เพราะยังถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5          หากใครสนใจอยากลองชิมเมนูอาหารหวานคาวที่มาจากส่วนผสมของกัญชา ก็ต้องไปร้านที่ได้รับอนุญาตนำส่วนประกอบของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด เช่น เส้นใย เปลือก กิ่ง ก้าน ราก และใบกัญชาที่ไม่มียอดหรือช่อดอก จากสถานที่ปลูกหรือผลิตในที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ในการนำเสนอข้อมูลเรื่องกัญชาของผู้เขียนครั้งนี้เป็นเพียงอยากบอกเล่าว่าในอดีต จังหวัดจันทบุรี ไม่ได้มีผู้สนใจปลูกกัญชากันสักเท่าไหร่ อาจเพราะเป็นเมืองกสิกรรม ทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกผักผลไม้ ปลูกข้าว ปลูกพริกไทยหรือปลูกกาแฟได้ผลผลิตและมีกำไรดีกว่าก็เป็นได้--------------------------------------------------------------------ผู้เขียน : สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี--------------------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท2.5/38 เอกสารเอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ส่งคำถามของกรมตรวจกสิกรรม เรื่องขอทราบการเพาะปลูกกัญชามาให้สอบสวน (15 มีนาคม 2474 – 22 เมษายน 2475



องค์ความรู้ สรรพสาระ อยุธยา... เนื่องในวันอนุรักษ์ มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๔ เรื่อง “แนวทางการรักษาโบราณสถาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” เรียบเรียงโดย นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


เลขทะเบียน: กจ.บ.7/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 46 หน้า


ชื่อเรื่อง                     ประชุมกาพย์เห่เรือผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9111082 ฉ253ปชสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์                    2503ลักษณะวัสดุ               140 หน้า หัวเรื่อง                     กวีนิพนธ์ไทย – รวมเรื่องภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกอธิบายตำนานแห่เรือ บทเห่เรือ กาพย์เห่เรือ


ชื่อเรื่อง                                ปาติโมกข์แปล (สัปปาฏิโมกข์)  สพ.บ.                                  366/1ขประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 6 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          ในวาระที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษย์ชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช จึงได้จัดแสดงกระเบื้องมุงหลังคาชิ้นพิเศษที่มีรอยประทับรูปบุคคลทำท่าคล้ายรำโนรา พร้อมด้วยกระเบื้องมุงหลังคาที่มีรอยประทับลายอื่นๆ และกระเบื้องเชิงชาย จากขุดค้นทางโบราณคดี ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินการโดยสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดี และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของโบราณสถานในท้องถิ่น ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหนมรดกทางศิลปวัฒนธรรม โดยจัดแสดงโบราณวัตถุ กระเบื้องมุงหลังคาและกระเบื้องเชิงชาย จำนวน ๑๓ รายการ           ผู้สนใจสามารถเข้าชมการจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญนี้ได้ระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ เปิดทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช (ตรงข้ามวัดสวนหลวง) ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. ๐ ๗๕๓๔ ๑๐๗๕


Messenger