ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
"ปราสาทสระกำแพงน้อย"
อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
เป็นปราสาทศิลปะขอมสมัยบายนราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายประกอบด้วยปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อาคารทั้งสองล้อมรอบด้วยกำแพงมีซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก และมีสระน้ำกรุขอบสระด้วยศิลาแลงอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีสระน้ำหรือบารายขนาดใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกอีก ๑ สระ
ตะบันหมาก
พุทธศตวรรษที่ ๒๖
โครงการศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้ยืม
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตะบันหมาก คือ อุปกรณ์ตำหมากสำหรับผู้สูงอายุหรือบุคคลที่ฟันไม่สามารถเคี้ยวหมากแข็งได้ โดยคำว่า “ตะบัน” สามารถเทียบคำว่า “ตฺบาล่” ในภาษาเขมรซึ่งหมายถึง “ครก” ตะบันหมากหนึ่งชุดประกอบด้วย ๑. ‘ตะบันหมาก’ รูปทรงกระบอก มี ‘ดาก’ ไม้กลมอุดก้นกระบอก ๒. ‘ลูกตะบัน’ ลักษณะเป็นแท่งโลหะที่มีด้ามสำหรับจับและมีปลายแบนและมีคม ใช้สำหรับตำหมาก และ ๓. ‘สาก’ มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวผอม ใช้ตำเพื่ออัดหมากที่แหลกแล้วให้แน่น
ตะบันหมาก เป็นหนึ่งในอุปกรณ์การกินหมากที่จัดรวมเอาไว้ในเชี่ยนหมาก* วิธีการใช้งานตะบัน เริ่มจากการนำปูนป้ายลงบนใบพลูแล้วใส่ลงในตะบันหมาก ใส่หมากที่เจียนแล้วลงไป โดยอาจใส่เปลือกสีเสียด กานพลู หรือสิ่งอื่น ๆ ลงไปด้วย ใช้ลูกตะบันตำให้แหลกพอที่จะเคี้ยวได้ แล้วใช้สากตำอัดหมากจนแน่น จากนั้นใช้ลูกตะบันหรือสากกระแทกดากที่ก้นกระบอก ดันหมากที่ตำแล้วให้ออกทางปากกระบอกเป็นคำ ๆ
ตะบันหมากคู่นี้ทำจากเหล็ก ตกแต่งด้วยกรรมวิธีคร่ำเงิน และคร่ำทอง ลำตัวกระบอกตะบันหมากคร่ำลายราชวัตรดอกลอย ปากกระบอกและก้นกระบอกประดับแถบลายเกลียวดอกสี่กลีบ ลูกตะบันมีด้ามเป็นรูปทรงกระบอก ประดับลายราชวัตรดอกลอย และสากมีเป็นลักษณะแท่งเหล็กกลมยาวประดับลายราชวัตรดอกลอยเช่นกัน
*เชี่ยนหมาก ภาชนะสำหรับใส่เครื่องหมากพลู อาทิ ซองพลู เต้าปูน จอกใส่หมาก ผอบใส่ยาเส้น ยาฝอย พิมเสน ตลับสีผึ้ง กรรไกรหนีบหมาก มีดเจียนหมาก ตะบันหมาก ครกตำหมากฯ
หมายเหตุ : อ่านราละเอียดเกี่ยวกับงานคร่ำได้ใน
https://www.facebook.com/.../pb.../5721898347862344/...
อ้างอิง
กาญจนา โอษฐ์ยิ้มพราย และอลงกรณ์ จันทร์สุข. กิน อยู่ อย่างไทย. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, ๒๕๕๒.
"เลาะริมโขง เบิ่งสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น"ที่รัตนวาปีของดีที่ไม่ได้มีแค่บั้งไฟพญานาค #อย่าลืมแวะเที่ยววัดริมโขงกันนะคะค้นคว้า/เรียบเรียง : ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์, กุลวดี สมัครไทยกราฟิก : ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่นสอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#องค์ความรู้ #บทความ #รัตนวาปี#สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #อีสาน
ชื่อเรื่อง สพ.ส.51 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 31; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำรายาแผนโบราณ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้เพื่อการพัฒนากับทั้งสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่ให้ออกมาเป็นต้นแบบอันทรงคุณค่ามากมาย ปัจจุบันกล้องถ่ายรูปดังกล่าวนี้ได้นำมาจัดแสดงไว้ในตู้จัดแสดงตู้ที่ 2 โดยจัดแสดงร่วมกับวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือสำหรับงานศิลปะ และของใช้อื่นๆ ของท่าน ภายในห้องจัดแสดงห้องแรก ซึ่งอยู่โซนด้านหน้าภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s08ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เรื่อง “เฉลิมพระเกียรติราชวงศ์จักรี พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวสุรินทร์” ตั้งแต่บัดนี้จนถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๗ ณ ห้องนิทรรศการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
นิทรรศการพิเศษในครั้งนี้ แบ่งการจัดแสดงเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ นำเสนอพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวจังหวัดสุรินทร์ ส่วนที่ ๒ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำเสนอพระราชประวัติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่วนที่ ๓. จัดแสดงโบราณวัตถุ พระพุทธรูปบุเงินบุทอง การค้นพบใหม่ในจังหวัดสุรินทร์
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ “เฉลิมพระเกียรติราชวงศ์จักรี พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวสุรินทร์” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เปิดทำการวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๔๔๕๑ ๓๒๗๔
โรงเรียนวัดศรีเมือง นร. ชั้น ป.1-ป.2 จ.นครนายก (เวลา 13.00 น.) จำนวน 88 คนวันศุกร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๓๐ น. คณะนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๒ จากโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง อ.เมือง จ.นครนายก จำนวน ๙๙ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีนางสาวณัฏฐกานต์ มิ่งขวัญ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน และว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
นับแต่พุทธศักราช ๒๔๖๔ ที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอาราธนาพระภิกษุสามเณรเข้าเยี่ยมชมหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเป็นกรณีพิเศษ ปีละ ๒ วัน ในวันแรม ๔ ค่ำ และ วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี เมื่อมีการจัดพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้นใหม่จึงผนวกการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานเป็นกรณีพิเศษตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๐ เป็นต้นมา
กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งขาติ พระนคร ขอเชิญประชาชนร่วมถวายภัตตาหารเพล น้ำปานะ และกัปปิยภัณฑ์ (สิ่งของที่ควรแก่พระภิกษุ) แด่พระภิกษุสามเณร เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันพุธที่ ๒๔ และ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยมีกิจกรรมนิมนต์พระภิกษุ สามเณร เยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สักการะพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และชมนิทรรศการต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์
ท่านผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคปัจจัยและกัปปิยภัณฑ์ ได้ที่งานธุรการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐ หรือติดต่อสอบถามที่ฝ่ายวิชาการ โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ (เปิดทำการวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.)
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การอนุรักษ์โบราณสถานตามมาตรฐานกรมศิลปากร” วิทยากร นายธีระยุทธ์ สุวลักษณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
การทำหนังสือขอใช้พื้นที่โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ หอพระอิศวร หอพระนารายณ์ หอพระสิหิงค์ หอพระสูง และกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในกรณีของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. จัดทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ในหนังสือฯ ระบุดังนี้
- สถานที่ วันและเวลาจัดกิจกรรม
- วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
- รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นอย่างไร หลักฐานประกอบ เช่น ผังการจัดงาน เป็นต้น
- ชื่อ และ เบอร์โทรศัพท์ของผู้ประสานงานจากหน่วยงานนั้น ๆ
2. ส่งมาที่ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000 หรือ E-mail: fad_12@finearts.go.th
3. สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จะดำเนินการนำเสนออธิบดีกรมศิลปากร พิจารณาอนุญาต ต่อไป
สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช เปิดทำการ วันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. (ปิดทำการทุกวันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 7535 6458 หรือ Inbox Facebook : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง : โบราณวัตถุสถานภาคตะวันออก 7 จังหวัด
หัวเรื่อง :1.โบราณสถานภาคตะวันออก 2.จันทบุรี-โบราณสถาน 3.ฉะเชิงเทรา-โบราณสถาน 4.ชลบุรี-โบราณสถาน5.ตราด-โบราณสถาน 6.นครนายก-โบราณสถาน 7.ปราจีนบุรี-โบราณสถาน 8.นครนายก-โบราณสถาน
คำค้น : นิทานพื้นบ้านจันททบุรี, นางกาไก, เมืองจันทบุรี, จันทบุรี, บ้านบางกะจะ, บ้านโป่งแรด, อำเภอท่าใหม่, บ้านหนองตาลิ่น, บ้านโป่งกวาง, วัดเขาสุกิม, วัดสามผาน, เขาพลอยแหวน, แหล่งพลายจันทบุรี, หมู่บ้านต้นกระบกท้องแก่, ตลิ่งทอง, สระแก้ว, เขาบายศรี, ตำบลเขาวัว, ตำบลเขาวัว, ตำบลสีพยา, เขาสระบาป, อำเภอมะขาม, ตำบลหมู่บ้านตะปอน-คานรูด-เกวียนหัก, เขาตาหน่วย, สี่เกลอเกี่ยวหญ้าคา, กระต่ายเจ้าปัญญา, ทนายแก้ต่าง, หอยกับกระต่าย, สามเมา, เสือกับคางคก, คางคกกับเสือ
แหล่งที่มา : ต้นฉบับหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ลิขสิทธิ์ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
รายละเอียดเนื้อหา : รวบรวมข้อมุลของโบราณสถาน วัดสำคัญและสถานที่สำคัญต่างๆ รวม 7 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และระยอง
เลขทะเบียน : น 36 ร. 10518 จบ. (ร)
เลขหมู่ : ท 959.3023 ห391บ ฉ.04
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้จัดพิมพ์หนังสือ “แผ่นดินไทยในอดีต”ประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง ประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งสำคัญหลังหนึ่งภายในเขตพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าในอดีต และบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ และอารยธรรมอันรุ่งเรืองของชาติไทย เรียงลำดับเวลาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นำเสนอผ่านภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยมทุกสมัยที่พบในประเทศไทย กว่า ๕๐ รายการ หนังสือนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าชมนิทรรศการและผู้สนใจให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรมอันจะก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป
หนังสือจัดพิมพ์สี่สีพร้อมภาพประกอบสวยงาม ขนาดเหมาะแก่การพกพา จำหน่ายราคาเล่มละ ๒๘๐ บาท สามารถติดต่อซื้อได้ที่ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐