ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
จัดแสดงในสภาพทั่วไปของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา การสาธารณูปการ การอุตสาหกรรม การเกษตร ประชากรและที่สำคัญคือ พระราชกรณียกิจแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อจังหวัดราชบุรี อาทิเช่น สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี โครงการศึกษาวิธีฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม เป็นต้น
ตึกถาวรวัตถุ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นเนื่องในโอกาส 100 ปี แห่งการสวรรคตของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ตึกถาวรวัตถุ ซึ่งตึกนี้สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้เป็นพระที่นั่งทรงธรรมในการพระเมรุของพระองค์เอง ก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 จากนั้น พระราชทานเป็นที่ตั้งของหอสมุด วชิรญาณสำหรับพระนคร เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 คงให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ข่าว พระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิราวุธ ปัจจุบันเป็นอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กำเนิดอาคารถาวรวัตถุ อาคารถาวรวัตถุ หรือตึกแดง ตั้งอยู่ฝั่งทิศตะวันตกของสนามหลวง ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยพระราชประสงค์ 2 ประการ
ประการแรก เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย หลังจากที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหาธาตุวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2432 แต่ยังขาดสถานที่เรียนอันเหมาะสม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์ขึ้น ประการที่สอง ประจวบกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2437 โดยพระราชประเพณีจะต้องสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ตามพระเกียรติยศขึ้นที่ท้องสนามหลวง พระองค์มีพระราชดำริว่า เป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในการสร้างสิ่งที่ไม่ได้เป็นถาวรวัตถุ เพราะสร้างใช้งานชั่วคราว เสร็จงานแล้วก็รื้อทิ้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้อำนวยการสร้างอาคารตึกถาวรวัตถุขึ้น ณ บริเวณกุฏิสงฆ์วัดมหาธาตุด้านทิศตะวันออก ลักษณะอาคารเป็นยอดปรางค์ 3 ยอด เพื่อเป็นที่อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาประดิษฐานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลนั้นแล้วจะได้ถวายอาคารนี้ให้เป็นสังฆิกเสนาสนะสำหรับมหาธาตุวิทยาลัยต่อไป แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ (เพราะสวรรคตก่อน) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อจนเสร็จ แล้วพระราชทานให้เป็นที่ตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2459 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ตึกถาวรวัตถุนั้น ทรงให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิรญาณ ต่อมาและเป็นอาคารหอสมุดแห่งชาติ จนกระทั่งได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติไปตั้งที่แห่งใหม่ที่ท่าวาสุกรี เมื่อ พ.ศ. 2508 ตึกถาวรวัตถุยังเป็นที่ตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสถานต่อ จนกระทั่งสำนักงานย้ายไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ตึกนี้ไม่มีการใช้งานอื่นใด กรมศิลปากร สมัยนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต เป็นอธิบดี ได้ปรับปรุงเพื่อเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นที่องค์ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเอกสารในการปฏิรูปประเทศของรัชกาลที่ 5 เป็นมรดกโลก
รับสมัครข้าราชการตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ 1 ตำแหน่ง
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพุธ ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพุธ ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันอังคาร ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพุธ ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพุธ ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพุธ ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)
ชุดคำพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประจำสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)
พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน
ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet
ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ.
วันศุกร์ที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๔๐ คน อาจารย์ ๑ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ และนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม