ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,320 รายการ


      มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๒๗ เมษายน ๒๔๑๖ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์ย้อย (ธิดาหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร กับหม่อมอิ่ม) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๑๖      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงตั้งอยู่สัมมาปฏิบัติ ประพฤติพระองค์สมควรแก่ราชสกุลทุกประการและยังมีพระอัธยาศัยเผื่อแผ่กว้างขวาง ทรงเห็นประโยชน์ของสาธารณชนเป็นสำคัญ เช่น ตึกอรพินทุ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงสร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ตั้งอยู่ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ      เมื่อประชวรใกล้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงทำพินัยกรรมยกทรัพย์ในกองมรดกของพระองค์ ประทานให้เป็นทุนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อเก็บผลทำนุบำรุงสาธารณชนผู้ป่วย      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ ด้วยพระโรคพระหทัยพิการ ณ พระตำหนักที่ประทับริมคลองสามเสน เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๗๘ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๗๙) สิริพระชันษา ๖๒ ปี พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๘๐) ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร       พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค




ลวดลายเรือที่ปรากฏบนกลองมโหระทึกที่พบในจังหวัดมุกดาหาร เมื่อ พ.ศ.2563 สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี ได้พบกลองมโหระทึกที่บ้านโพน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร บริเวณไหล่กลองปรากฏลวดลายเรือจำนวน 6 ลำ แต่ละลำมีรูปบุคคลแบบนามธรรมนั่งอยู่ในเรือและมีบุคคลถือไม้พายอยู่บริเวณท้ายเรือ ซึ่งลวดลายเรือแบบนี้ได้พบบนกลองมโหระทึกในจีนตอนใต้และเวียดนามเหนือ จึงมีนักวิชาการตีความหมายไว้มากมาย เช่น อาจเป็นเทศกาลแข่งเรือ พิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ และพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย แต่อย่างไรก็ตามลวดลายเรือนี้ก็แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตเกี่ยวกับสายน้ำของกลุ่มคน “เยว่”(Yue) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้กลองมโหระทึกนี้ด้วย “เยว่”(Yue) เป็นชื่อที่กลุ่มคนจากพื้นที่ภาคเหนือของจีน (กลุ่มคนฮั่น) ใช้เรียกกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณทางภาคใต้ของประเทศจีน ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลของเมืองเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลกว่างตง ยาวจรดบริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ซึ่งในบันทึกของซือหม่าเชียน (Si Ma Qian) ก็เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “เยว่”ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองทางใต้ที่เรียกว่า “ไป๋เยว่”(Bai Yue) หรือพวกเยว่ร้อยเผ่าที่อยู่ทางภาคใต้ ใน มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลกว่างตง มณฑลกว่างซี มณฑลกุ้ยโจว มณฑลหยุนหนาน และในประเทศเวียดนามตอนเหนือ นอกจากเรือที่ใช้แล่นในแม่น้ำแล้วพวก “ไป๋เยว่” กลุ่มซีโอว (Xi Ou) และลั่วเยว่ (Luo Yue) ซึ่งเป็นชาติพันธุ์สาขาหนึ่งของไป๋เยว่ ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลด้วย รู้จักการสร้างเรือออกทะเลที่เมืองท่ากุ้ยกั่ง (Gui Gang Port) อ่าวหลัวปั๋ว (Luobowan) ได้พบกลองมโหระทึกที่มีลายเรือเป็นสิ่งยืนยันได้ว่าชนชาติเยว่รู้จักใช้ลำเรือคู่ (Catamaran) เดินทางออกสู่ทะเลแล้ว ในหนังสือ “เยว่เจวี๋ยซู”(Yue jue shu) ตอนที่ 2 กล่าวไว้ว่า “ชาวเยว่ใช้เรือฝั่ง(Fang,舫) หรือเรือสี่เหลี่ยม (Square boat) ในการสัญจรค้าขาย” คำว่าฟาง (Fang,方) ก็คือชื่อเรือฝั่ง(Fang,舫) ซึ่งเป็นชนิดของเรือที่ชาวเยว่ใช้ออกทะเลในยุคแรกเริ่ม ชาวเยว่ยังได้สร้างเรือสำริดโบราณอีกด้วย หนังสือหลิ่งว่ายไต้ต๋า (Ling wai dai da) อ้างจากหนังสือเจียวจื่อจี้ (Jiaozhi Ji) ว่า “ชาวเยว่หล่อสำริดเป็นเรือโป๋” (Bo,舶) เรือโป๋เป็นเรือออกทะเลขนาดใหญ่ จากงานเขียนของจื่อเยว่ (Zhi Yue) เรื่อง“ประวัติเศรษฐกิจของหลิ่งหนาน” (Lingnan jingji shihua) มีความเห็นว่า เทคโนโลยีการสร้างเรือในสมัยฮั่นมีพื้นฐานมาจากพัฒนาการต่อจากเรือใบที่มีลำเรือเป็นไม้ของสมัยราชวงศ์ฉิน ที่เป็นเรือใหญ่สองชั้นมีสิบพายหนึ่งกรรเชียง เรือใหญ่สองชั้นสามารถล่องไกลไปในทะเลได้และบนลำเรือมีพื้นที่ในการบรรทุกน้ำจืดและอาหารแห้งเพื่อยังชีพอย่างจำกัด เรือจึงไม่สามารถแล่นออกไปได้ไกลนัก เพราะต้องมาเติมเสบียงให้ทันเวลา ดังนั้นการล่องเรือยังคงเลียบไปตามเส้นชายฝั่ง ประกอบกับลักษณะชายฝั่งแถบหลิ่งหนานเป็นชายหาดยาวที่คดเคี้ยวไปมา ไม่เหมือนกับแนวชายหาดแถบมณฑลเจ้อเจียงที่มีลักษณะทอดยาวและยากต่อการต้านกระแสลมและกระแสน้ำ การจอดแวะพักเรือตามท่าเลียบชายฝั่งทางทิศใต้จึงเป็นเรื่องที่ปลอดภัยกว่า การเดินเรือและการติดต่อค้าขายทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนในจีนตอนใต้กับทางตอนเหนือของเวียดนามทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการติดต่อกับกลุ่มคนในเวียดนามและกลุ่มคนในชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศจีน แสดงให้เห็นว่าในบริเวณนี้มีการเดินเรือในระยะใกล้เพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในช่วงสมัยราชวงศ์ฮั่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนจีน เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการผสมผสานของกลุ่มคนจากมณฑลเสฉวน หยุนหนาน กวางซี กลุ่มคนเหล่านี้มีการแลกเปลี่ยนการทำสำริดและโลหะ โดยเฉพาะกลองสำริด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ จากข้อมูลดังกล่าว จึงทำให้สันนิษฐานได้ว่ากลองมโหระทึกที่บ้านโพน อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งปรากฏลวดลายเรือแบบเดียวกับที่พบบนกลองมโหระทึกในเวียดนามเหนือและจีนตอนใต้ น่าจะเป็นกลองมโหระทึกที่นำเข้ามาจากบริเวณดังกล่าวมากกว่าที่จะผลิตขึ้นในท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์ของผู้คนในวัฒนธรรมกลองมโหระทึกบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เวียดนามเหนือ และจีนตอนใต้ได้อย่างชัดเจน และคงส่งผลต่อวิถีวัฒนธรรม เทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนาการทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญที่ต้องศึกษากันต่อไป ข้อมูล นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ อ้างอิง -Zhao Ming long赵明龙(พรพรรณ จันทโรนานนท์ แปล), เหอผู่(เป๋ยไห่)คือท่าเรือใหญ่สุดจุดเริ่มต้นของเส้นทางแพรไหมทางทะเลแห่งแรกของจีน (สถาบันไทย-จีนศึกษา, 2002 ) -Erica Fox Brindley, Ancient China and The Yue (Cambridge: University Printing House, 2015)




กรมศิลปากร  และชมพูนุช  พงษ์ประยูร.  จิตรกรรมฝาผนังและภาพลายเส้นในประเทศไทย.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2515.         หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกกล่าวถึงเรื่องจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย ตอนที่สองกล่าวถึงเรื่องภาพลายเส้นในประเทศไทย ซึ่งทั้งภาพจิตรกรรมและภาพลายเส้น สำรวจพบว่ามีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยมนุษย์สมัยก่อนเขียนไว้ตามถ้ำ ถัดมาเป็นภาพจิตรกรรมสมัยทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์




-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : เมื่อจะเลี้ยงปลาจีน -- ปี 2523 สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ออกแบบและจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเลี้ยงปลาจีน ปลาที่ใครๆยอมรับว่ารสชาติดี ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เริ่มแรกนั้น เจ้าหน้าที่ต้องก่อสร้างบ่อเพาะเลี้ยงก่อน จึงได้ศึกษาและออกแบบบ่อ " ตามระบบการเพาะเลี้ยงปลาจีน แบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน " โดยกำหนดไว้ 2 แบบคือ 1. บ่อซีเมนต์ขนาด 48 ลูกบาศก์เมตร สำหรับเพาะพันธุ์กับรวบรวมลูกปลา 2. บ่อซีเมนต์ขนาด 24 ลูกบาศก์เมตร สำหรับเพาะฟักไข่ ถัดมาจึงกำหนดคอกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 แบบใกล้ๆกับบ่อ เพื่อส่งเสริมระบบอนุบาลลูกปลา ซึ่งทั้งหมดอยู่บนพื้นที่ระดับต่างกัน รูปทรงมีทั้งบ่อกลมและบ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วให้พื้นที่ตั้งอยู่ใกล้ลำแม่น้ำอิงเก่า มีเขื่อนคอนกรีตกั้นไว้ สิ่งที่น่าสนใจคือ บ่อรวบรวมลูกปลาขนาด 48 ลูกบาศก์เมตร ถูกระบุวิธีก่อสร้างว่า " ผนังด้านนอกใช้เหล็กตะแกรง ผนังด้านในฉาบปูนขัดมัน พื้นบ่อก็ฉาบปูนขัดมัน แต่เทพื้นให้ลาดไปหาท่อน้ำออก " การออกแบบดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเทคนิคที่เจ้าหน้าที่ประมงศึกษาจากต้นแบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งแสดงว่า การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในจังหวัดเกิดขึ้นทันทีที่ก่อตั้งจังหวัดไม่นาน ทำให้การเพาะเลี้ยงปลาจีนก้าวหน้า มีประสิทธิภาพ จวบจนปัจจุบันผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/29 แผนผังการวางบ่อ ขนาด 48 ม3 และบ่อขนาด 24 ม3 ตามระบบการเพาะพันธุ์ปลาจีน แบบของสาธารณรัฐประชาชนจีน [ 10 ม.ค. 2523 ]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           61/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               28 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง         ท.เลียงพิบูลย์ ชื่อเรื่อง           กฏแห่งกรรม ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์          2523 จำนวนหน้า      88 หน้า หมายเหตุ        พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลเอกประลอง  วีระปรีย รายละเอียด              กฏแห่งกรรมที่นำมาจัดพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเรื่อง ทานชีวิต  อโหสิกรรม ศีลธรรมกับการค้า  หัวอกพ่อแม่  กฎแห่งกรรมและศาสนาและชีวิตนี้เหมือนกำลังฝัน  ชมรมกฎแห่งกรรมของพลตรีแก้งเกตุทอง  ด้านหลังเป็นสารบัญเรื่องกฎแห่งกรรมชุดทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว เล่ม ๑ - ๕ ชุดเงาบุญเงาบาป เล่ม ๑-๒


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 153/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนีเผด็จ) ชบ.บ 181/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ปัญจมาสในชมพูทวีป และ ภาษาอินเดียพากย์ไทย ของ พระกัสสปมุนี แห่ง สำนักสงฆ์บีปผลิวนาราม ตำบลบางบุศม์ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ชื่อผู้แต่ง : พระกัสสปมุนี ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ จำนวนหน้า : 266 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นประสบการณ์การจาริกประเทศอินเดีย ของหลวงพ่อกัสสปมุนี เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ปิปผลิวนาราม จังหวัดระยอง ระหว่างปลายปีพุทธศักราช 2507 ต่อต้นปี 2508 เวลาประมาณ 5 เดือน ในคณะกอปรด้วยพระภิกษุและฆราวาส เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ด้วยความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธคุณ และเพื่อปลงธรรมสังเวชในความแปรเปลี่ยนของสังขารทั้งหลาย