ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 37,320 รายการ

ชื่อเรื่อง                                 เซอร์ยอนโบว์ริงผู้แต่ง                                    จอห์น เบาว์ริงประเภทวัสดุ/มีเดีย                  หนังสือหายากISBN/ISSN                            -หมวดหมู่                               รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครองเลขหมู่                                  327สถานที่พิมพ์                           พระนครสำนักพิมพ์                             โรงพิมพ์ตีรณสารปีที่พิมพ์                                 2502ลักษณะวัสดุ                           106 หน้าหัวเรื่อง                                  ไทย -- ประวัติศาสตร์ภาษา                                    ไทย


ชื่อผู้แต่ง         พุทธทาสภิกขุ ชื่อเรื่อง          การศึกษาคืออะไร ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์     สมชายการพิมพ์ ปีที่พิมพ์         ๒๕๒๑ จำนวนหน้า     ๑๔๗ หน้า หมายเหตุ       -                      หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึง สันติภาพ คือ ยอดปรารถนาของมนุษยชาติ ทุกชาติในโลกเรียกร้องหาสันติภาพ แต่ก็เป็นที่ประจักษ์ว่าสันติภาพอยู่ห่างไกลออกไปและทำให้สันติภาพมีขึ้นไม่ได้และสิ่งนั้นคือ การศึกษา เพราะว่าการศึกษาในปัจจุบัน ทำให้ให้คนในโลกตกเป็นทาสของความสุขทางเนื้อหนังหรือทางวัตถุมากขึ้น ทำให้ต้องเบียดเบียนกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้คนเห็นแก่ตัว เมื่อเป็นดังนั้นโลกจะมีสันติภาพได้หรือไม่


ประติมากรรมรูปครุฑศิลปะทวารวดีครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๒สูง ๕๓ ซม.ครุฑหน้าเป็นมนุษย์ มีปีกและกรงเล็บแบบนกเดิมประดับสถูปศิลปะทวารวดี พบที่โบราณสถานเมืองคูบัว จ.ราชบุรีเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานีHuman-faced Garuda with wings and clawsDecoration of a stupaDvaravati art, the first half of 7th century CEH. 53 cm.Found at Ku bua Ancient City, Ratchaburi ProvinceNational Museum Storage, Pathum Thani Provinceข้อมูล: สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค



          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เรื่อง “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์” เปิดให้ชมระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๖            นิทรรศการนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพและวันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน และเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเงินตราที่ใช้ในประเทศไทย การกำเนิด พัฒนาการของเงินตรา และรูปแบบของเงินตรา โดยเฉพาะที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เนื่องจากเงินตราเป็นสิ่งสำคัญที่คนทั่วไปใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยน มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม สภาพสังคมของแต่ละยุคสมัย ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการ “เงินตราในประเทศไทย : วิวัฒน์เงินตราไทย จากสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐ หรือทาง www.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum


เลขทะเบียน : นพ.บ.550/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 182  (311-323) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง : พงศาวดารจีน เรื่อง ชิดก๊กไซ่ฮั่น พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายตันซิวเม้ง หวั่งหลี ต.ม. และนางทองพูล หวั่งหลี จ.ม.,ข.ช. ณ เมรุวัดธาตุทอง วันจันทร์ ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2515 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ตีรณสาร จำนวนหน้า : 598 หน้า สาระสังเขป : พงศาวดารจีน เรื่อง ชิดก๊กไซ่ฮั่น กล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในระยะที่กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นเป็นเป็นผู้ครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง เรื่องไซ่ฮั่นเป็นเรื่องราวตอนหนึ่งที่แสดงถึงการทำสงครามล้างอำนาจ ตั้งตัวเป็นใหญ่มีบุคคลสำคัญในเรื่องนี้สองคน คือ เล่าปัง (หรือเล่าปั๋ง)คนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเป็นฮั่นอ๋องแล้วเป็นพระเจ้าฮั่นเต้ และห้างอิ๋ อีกคนหนึ่ง ต่อมาเป็นพระเจ้าฌ้อปาอ๋อง ได้ทำสงครมรบขับเคี่ยวกันจนในที่สุด เล่าปัง มีชัยชนะได้รับความยกย่องนิยมนับถือสูงสุด แล้วได้เสวยราชสมบัติเป็นฮองเต้ ปฐมราชวงศ์ฮั่น




๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖*..พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทรงสร้างสรรค์กำลังใจให้ความหวังเกษตรกรทั่วธานีมีพลังปลูกพืชพันธุ์งามสะพรั่งทั้งแผ่นดิน..*ประพันธ์ : นัยนา แย้มสาขา อดีตผู้อำนวยการสำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมภาพ : จิตรกรรมฝาผนัง วิหารวัดป่าแดด อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


ไซอิ๋ว เล่ม ๑.  พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๒.           ไซอิ๋ว เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นหนังสือชุดภาษาไทยลำดับที่ ๑๖ นับเป็นเรื่องที่แยกออกจากพงศาวดารซุยถังในแผ่นดินของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้กษัตริย์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์ถัง  โดยไซอิ๋ว เล่ม ๑ เป็นเรื่องราวของพระถังซัมจั๋งเป็นภิกษุที่อาสาไปเรียนพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปคือ ทิศตะวันตกที่เกาะลังกาสิง และได้พบกับศิษย์วิเศษผู้หนึ่งชื่อ เกาซือเทียน ซึ่งก็คือ หงอคง ภาษาไทยว่า หนุมานจีน ซึ่งในเล่มนี้จะกล่าวเรื่องประวัติของเกาซือเทียน คือ หงอคงหนุมานจีน


ชื่อเรื่อง                         ธมฺมบทวณฺณนา ธมฺมบทฏฺฐกถา (ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา) อย.บ.                            327/18 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                   52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม. หัวเรื่อง                         พระธรรมเทศนา                                                                       บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา


โบราณสถานปราสาททามจาน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมร ในศิลปะแบบบายน ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมร (พ.ศ.1724 - 1761) หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก มีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้า มีแนวกำแพงแก้วซึ่งก่อสร้างเชื่อมออกมาจากด้านข้างของโคปุระทั้งสองข้าง ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ล้อมเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบโบราณสถานที่อยู่ภายใน พนักงานดูแลรักษาโบราณสถาน : หยาดพิรุณ วิส


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน  "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี  ประจำเดือน "สิงหาคม" เชิญพบกับ "มีดตัดหวายลูกนิมิต" จัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖           “มีดตัดหวายลูกนิมิต” มีดสำคัญที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงใช้ประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๖           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "มีดตัดหวายลูกนิมิต" ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร) ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


           กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมประกวดผลงานภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ "แต่งไทย ชมวัดไชยฯ ยามราตรี" ชิงเงินรางวัลรวม 40,000 บาท ในงาน "ราตรีนี้...ที่วัดไชยวัฒนาราม Ayutthaya Sundown"            - รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล  20,000 บาท  จำนวน 1 รางวัล            - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 10,000 บาท  จำนวน 1 รางวัล            - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 5,000 บาท  จำนวน 1 รางวัล            - รางวัลพิเศษสำหรับภาพถ่ายวัยเกษียณสำราญ (นายแบบ/นางแบบ อายุมากกว่า 65 ปี )            - เงินรางวัล 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล             ผู้สนใจร่วมกิจกรรม สามารถติดตามรายละเอียดของกติกาการประกวด ได้ทาง Facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park  (www.facebook/AY.HI.PARK)