ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ โดยความร่วมมือระหว่างบรรดาลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณของท่านในฐานะผู้ให้กำเนิดการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2527 ซึ่งตรงกับวาระวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี โดยฯพณฯ ชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้นให้เกียรติมาเป็นประธาน จากนั้นจึงมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและบริหารจัดการ จนกระทั่งได้รับการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ เมื่อพ.ศ.2530 ปัจจุบัน สังกัดสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในเครือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
ภายในจัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ห้องชั้นนอก (บริเวณประตูทางเข้า) จัดแสดงผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ของบรรดาลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด เช่น นายเฟื้อ หริพิทักษ์ นายประยูร อุลุชาฎะ นายชลูด นิ่มเสมอ นายจำรัส เกียรติก้อง นายเขียน ยิ้มศิริ นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายทวี นันทขว้าง เป็นต้น ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรมในยุคเริ่มแรกของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย ซึ่งดำเนินรอยตามแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะตามหลักวิชาการที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางรากฐาน
ส่วนที่สอง ห้องชั้นใน จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งประกอบไปด้วย โต๊ะทำงาน เก้าอี้ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องมือปั้น ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยจำลองบรรยากาศโต๊ะทำงานดั้งเดิมเช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังมีชีวิตอยู่ ตลอดจนแบบร่างอนุสาวรีย์และประติมากรรมชิ้นสำคัญ เช่น แบบร่างพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 แบบร่างพระศรีศากยทศพลญาณ พระประธานพุทธมณฑล และต้นแบบพระเศียรรัชกาลที่ 8 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือหายากซึ่งเป็นหนังสือที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้สำหรับค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะตะวันตก ให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมภายในห้องจัดแสดง
วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายพิจิตร วัฒนศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารภายในบริเวณขอบเขตเมืองเก่ากำแพงเพชร ครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ โดยมีนางธาดา สังข์ทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในฐานะเลขานุการคณะทำงานกล่าวรายงานต่อประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ
วันอาสาฬหบูชา
หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกได้เพียง ๖๐ วัน คือ ตรัสรู้ได้เพียง ๖๐ วัน ก็ได้เกิดวันสำคัญในพระพุทธศาสนาขึ้นมาอีกวันหนึ่ง คือ วันที่พระพุทธองค์ได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก ในวันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งในกาลต่อมาเราเรียกวันสำคัญนี้ว่า “วันอาสาฬหบูชา” นั่นเอง
เทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า มีชื่อเต็มว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” แยกออกเป็นคำศัพท์ได้ ๓ คำ คือ
๑) ธัมมจักกะ แปลว่า “กงล้อคือพระธรรม” ซึ่งได้แก่อริยสัจ ๔ ที่พระองค์ตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ นั่นเอง เฉพาะคำว่า “จักกะ” หรือ “จักร” ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านได้ให้ความหมายได้ ๑๐ อย่าง คือ
๑.๑) สมบัติ ได้แก่ จักรธรรม ๔ อันเป็นดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ (อยู่ในประเทศอันสมควร-คบสัตบุรุษ-ตั้งตนไว้ชอบ และความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน)
๑.๒) รูปที่ปรากฏในกาย เป็นเครื่องหมายบอกว่าเป็นคนมีบุญหรือไม่มีบุญ
๑.๓) ล้อ เครื่องประกอบรถ
๑.๔) อิริยาบถ โดยพิสดารมี ๘ คือ ยืน, เดิน, นั่ง, นอน, คู้, เหยียด, เคลื่อน, ไหว
๑.๕) ทาน การบริจาค
๑.๖) จักรรัตนะ จักรของพระเจ้าจักรพรรดิราช
๑.๗) ธรรม ที่เรียกว่า ธรรมจักร (ล้อคือพระธรรม)
๑.๘) จักรกรด ที่เรียกว่า ขุรจักร
๑.๙) เครื่องประหาร ที่เรียกว่า ปหรณจักร หรือ กงจักร
๑.๑๐) สายฟ้า ที่เรียกว่า อสนีจักร
คำว่า “จักกะ” ในคำว่า “ธรรมจักกะ” นี้ หมายเอา ข้อ ๑.๗ คือ ธรรม
๒) ปวัตตนะ แปลว่า “ให้เป็นไปทั่ว” หรือ “ให้หมุนไปทั่ว”
๓) สูตร ได้แก่ พระธรรมเทศนา หรือ ธรรมกถา เรื่องหนึ่งๆ ที่แสดงเรื่องต่างๆ โดยยกบุคคลเป็นที่ตั้ง
ทั้ง ๓ คำ รวมกันเป็น “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” แปลว่า “พระธรรมเทศนาว่าด้วยการหมุนล้อคือพระธรรมให้เป็นไปทั่ว”
วัน “อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา) นักปราชญ์จึงจัดว่าเป็น วันพระธรรม
วันเข้าพรรษา (ตรงกับแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘)
สำหรับปีนี้ เป็นปีมหามงคล เนื่องด้วยเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา อาตมาภาพขอเชิญชวน ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้บำเพ็ญมหาทาน ๕ คือ อริยธรรม ๕ หรือ ศีล ๕ เพื่อน้อมเกล้าฯ อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เพราะถ้ารักษาได้ทั้ง ๕ ข้อ จะเป็นหลักประกันชีวิต – ทรัพย์สิน ครอบครัว – เครดิต และสุขภาพ ทั้งของตนเองและผู้อื่นได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไร กับขอวิงวอนให้ชาวไทยทุกหมู่เหล่าจงมีเมตตาให้แก่กันและกัน สร้างความรัก ความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในชาติบ้านเมืองของเราตลอดไป
ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย โปรดอภิบาลดลบัลดาลให้ท่านทั้งหลายจงประสบแด่ความสุข ความเจริญด้วย จตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติจงทุกประการทุกท่านเทอญ
ขอเจริญพร
พระธรรมโสภณ
เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา
ไซเดนฟาเดน. เรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 6 เที่ยวเมืองพิมายในจังหวัดนครราชสีมา. พระนคร : กรมศิลปากร, 2497. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนประมวญรถกรรม (โฮม วงศ์กำแหง) ว่าด้วยเรื่องเที่ยวเมืองพิมาย ประวัติเมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา การก่อสร้างสถานีรถไฟ สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา การเดินทางจากนครราชสีมาไปพิมาย ปี พ.ศ.2461 โดยใช้ม้าเป็นพาหนะ ท่าเรือเมืองนครราชสีมาที่เรียกว่าท่าช้าง ฯลฯ
ชื่อผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ชื่อเรื่อง ตำนานกฎหมายเมืองไทย แล ประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๓
จำนวนหน้า ๖๘
หนังสือ ตำนานกฎหมายเมืองไทย แล ประมวลคำอธิบายทางนิติศาสตร์ เล่มนี้ เจ้าภาพผู้จัดงานฌาปนกิจศพ นางพิสิษฐสังการ (ฉวี อัจฉะกาญจน์) ได้ขออนุญาต กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายเป็นวิทยาทาน เป็นอนุสรณ์แก่ผู้มาร่วมงานฌาปนกิจศพ นางพิสิษฐสังการ (ฉวี อัจฉะกาญจน์)
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ธรรมเทศนา ชาดก นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.32/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.7 x 57.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 18 (189-193) ผูก 1หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เตาเผาสังคโลกเป็นอย่างไร?
เตาที่ใช้เผาเครื่องสังคโลกที่พบจากเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิดคือ เตาประทุน เป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวนอน ลักษณะเตามีรูปร่างรี พื้นเรียบแบน ก่อหลังคาโค้งบรรจบกันคล้ายประทุนเรือ จึงเป็นที่มาของชื่อ “เตาประทุน” มักวางตัวลาดเอียงจากส่วนหน้าขึ้นไปยังส่วนท้ายประมาณ ๑๐ - ๓๐ องศา ส่วนประกอบของเตาประทุนแบ่งเป็น ห้องใส่ไฟ อยู่ส่วนหน้าในระดับต่ำที่สุด ตอนหน้ามีช่องใส่ไฟเจาะเป็นช่องโค้งรูปเกือกม้า ถัดมาเป็น ห้องบรรจุภาชนะ อยู่บริเวณตอนกลางเตา เป็นส่วนที่กว้างที่สุดและลาดเทจากส่วนหน้าเตาไปยังปล่องไฟ บนพื้นมักโรยทรายหนาประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร เพื่อใช้ฝังกี๋ท่อสำหรับรองรับภาชนะ และ ปล่องไฟ เป็นส่วนสุดท้ายของเตามีรูปร่างกลม
ส่วนเตาตะกรับเป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวดิ่ง ลักษณะเตามีรูปร่างกลม ส่วนประกอบของเตาตะกรับมีอยู่ ๒ ส่วนคือ ห้องบรรจุภาชนะ อยู่ตอนบนสุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ เมตร ใช้วางภาชนะที่จะเผาแล้วใช้เศษภาชนะดินเผาวางสุมทับด้านบนอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้ความร้อนไหลผ่านกลุ่มภาชนะได้ช้าลงและ ห้องใส่ไฟ เป็นบริเวณใส่เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นสู่ด้านบนมักมีช่องใส่เชื้อเพลิงยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อใส่เชื้อเพลิงได้สะดวกและกันความร้อนในเตาให้ไหลสู่ด้านบนได้มากขึ้น ระหว่างห้องบรรจุภาชนะและปล่องไฟจะมีแผ่นดินเหนียวกลมหนาประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ - ๑๐ เซนติเมตร จำนวนมากคั่นอยู่ เรียกว่า “แผ่นตะกรับ” ทำหน้าที่ให้ความร้อนไหลผ่านจากด้านล่างสู่ห้องบรรจุภาชนะด้านบนมักวางอยู่บนค้ำยันที่ทำจากดินเหนียวอยู่เบื้องล่างภายในพื้นที่ห้องใส่ไฟ
เตาเผาสังคโลกหมายเลข ๖๑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
วิชาโหราศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องดวงดาวมาสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีอายุยืนหลายพันปีมาแล้วจนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่ามีแหล่งกำเนิดจากที่ใดก่อน