ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.90/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 53 (118-121) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : วินยกิจฺจ (สัปวินัยกิจ นามศัพท์-แปล) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิ)สพ.บ. 159/20ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 60 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดสัปรสเทศ ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
พระมาลัยโปรดสัตว์และอื่นๆ ชบ.ส. ๘๐
เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.29/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ผืนนาในอำเภอเชียงคำ
ปี ๒๕๑๔ อำเภอเชียงคำคือหนึ่งในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญของจังหวัดเชียงราย
โดยก่อนหน้าที่จะรวมกันเป็นจังหวัดพะเยานั้น เกษตรอำเภอได้รายงานสภาพการทำนาว่า ผืนนามีพื้นที่ทั้งหมด ๔๖,๓๔๐ ไร่ แบ่งออกเป็นนาหว่าน ๖,๙๕๕ ไร่ และนาดำ ๓๙,๓๘๕ ไร่ ส่วนผลความอุดมสมบูรณ์ของข้าว " งดงาม "
จากรายงานสภาพการทำนาแสดงให้เห็นถึง เกษตรกรนิยมการทำนาดำมากกว่านาหว่าน
การเพาะปลูกอาจจะใช้วิถีธรรมชาติมากกว่าสารเคมี เพราะยังพบศัตรูพืชรบกวน และคาดคะเนได้ว่า การเกษตรบนพื้นที่ขนาดสี่หมื่นกว่าไร่ ยังไม่รวมการเพาะปลูกพืชไร่-พืชสวนด้วยนั้น คือพื้นฐานสำคัญที่สร้างให้อำเภอเชียงคำเป็นแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติ สนับสนุนการเปิดประตูการค้าของภูมิภาคล้านนาตะวันออกในสมัยต่อมา
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในเอกสารจดหมายเหตุไม่มีรายงานต่อเนื่องว่า การทำนาในปีอื่นๆเป็นอย่างไร ตัวเลขการเก็บเกี่ยวมีมากน้อยแค่ไหน หรือ... ราคาข้าวเกวียนละเท่าไหร่ ? มิฉะนั้น อาจวิเคราะห์การเติบโตของเศรษฐกิจอำเภอเชียงคำจากจุลภาคถึงมหภาคได้เป็นอย่างดี
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ ( นักจดหมายเหตุ )
เอกสารอ้างอิง : หจช.พย. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พย 1.13.7 / 3 เรื่องรายงานสภาพการทำนาปี 2514 ( 30 ก.ย. - 3 พ.ย. 2514 )
องค์ความรู้ เรื่อง กล้องยาสูบดินเผา (Clay Pipe) ตอนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปเรื่อง กล้องยาสูบดินเผาจากงานโบราณคดี เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวกุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
ภัคพดี อยู่คงดี และ พรทิพย์ พันธุโกวิท. การสำรวจโบราณสถานเมืองยะรัง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2535. นำเสนอเนื้อหาการสำรวจโบราณสถานเมืองยะรัง ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งทางตอนล่างของไทย โดยรวบรวมเนื้อหาที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพปัจจุบัน ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมืองโบราณและโบราณสถานเมืองยะรัง โบราณสถานในเขตเมืองโบราณบ้านวัด โบราณสถานในเขตเมืองโบราณบ้านจาเละ และโบราณสถานในเขตเมืองโบราณบ้านประแว
อั่งถ่อก้วย (红桃粿) เมืองน่าน หายไปไหน?
,,,,,,,,,,เนื่องจากวันนี้เป็นวันอาทิตย์แอดมินก็นึกถึงอะไรที่ออกโทนสีแดงๆ ขึ้นมา จึงนึกหาข้อมูลมาคุยกันครับ
,,,,,,,,,,หากพูดถึงขนมกุยช่ายคงจะเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แต่หากพูดถึงอั่งถ่อก้วยผู้คนไม่น้อยคงจะนึกกันไม่ออกว่าหน้าตาเป็นอย่างไร แต่อันที่จริงแล้วมีความคล้ายกันในกรรมวิธีการทำมาก เพียงแต่หน้าตาต่างกันเท่านั้นเอง โดยที่ขนมชนิดนี้เป็นการทำสีสันและรูปร่างเลียนแบบลูกท้อซึ่งเชื่อว่าเป็นผลไม้จากสวรรค์ (ตำนานเล่าว่า ซีหวังหมู่ [เชื่อถือกันว่าเป็นผู้ประทานอายุ โภคะ และสุข] บอกพระเจ้าฮั่นบูตี้ กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น ว่าให้ชาวเมืองจงทำเป็นขนมเลียนแบบรูปผลท้อ สำหรับเป็นขนมไหว้เทพเจ้า ไหว้บรรพบุรุษ ผู้ไหว้จะอายุยืน มีความสุข สุขภาพแข็งแรง)
,,,,,,,,,,คำว่าอั่งนั้นหมายถึงสีแดง (รวมถึงเฉดสีชมพู ส้ม ฯลฯ) ถ่อหมายถึงผลท้อ และก้วยหมายถึงขนม เมื่อรวมกันแล้วคงหมายถึงขนมที่มีสีแดงคล้ายผลท้อสุกนั่นเอง โดยไส้ที่นิยม ได้แก่ ไส้ข้าวเหนียวผสมถั่วลิสงและกุ้งแห้ง ไส้กุยช่าย และไส้หน่อไม้
,,,,,,,,,,ชาวจีนใช้อั่งถ่อก้วยในพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ เก๊างวยะ-เมื่อเด็กอายุครบ ๑ เดือน ครอบครัวจะทำอั่งถ่อก้วยไปไหว้เทพเจ้าตามคติความเชื่อของตน (บางแห่งว่าเป็นการไหว้แม่ซื้อ)
,,,,,,,,,,เมื่ออายุครบ ๑๕ ปี จะเป็นพิธี ชุกฮวยฮึ้ง ออกจากสวนดอกไม้ เพื่อต้องการปลุกจิตสำนึกให้เด็กที่เริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่นรู้รับผิดชอบตนเองและครอบครัว นอกจากนี้ในงานแซยิดอายุ ๖๐ ปี ต้องมีอั่งถ่อก้วย และเมื่อเสียชีวิตก็ใช้อั่งถ่อก้วยเป็นหนึ่งในขนมเส้นไหว้ในงานศพเช่นกัน (แต่ในช่วงไว้ทุกข์ ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน จะทำแป้งเป็นสีขาว)
,,,,,,,,,,นอกจากนี้เทศกาลประจำปี ได้แก่ ตรุษจีน/สารทจีน เทศกาลขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง) เทศกาลขนมบัวลอย และที่เห็นบ่อยๆ คือการไหว้เจ้าที่ที่บ้านในวันพระจีน (วัน ๑ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำของจีน)
,,,,,,,,,,นอกจากตัวอั่งถ่อก้วยจะเป็นการทำเลียนแบบผลท้อซึ่งมีความหมายถึงอายุวัฒนะ สีแดงอันเป็นสีมงคล เรายังเห็นว่าบนผิวของขนมชนิดนี้หลายครั้งยังปรากฏอักษรจีนอันเป็นมงคลตัวใดตัวหนึ่ง ได้แก่ ฮก หมายถึง บุญวาสนา ซิ่ว หมายถึง อายุยืน ซังฮี้ หมายถึง มงคลคู่, สุขทวีคูณ และยังมีอักษรจีนอื่นๆ อีกหลายตัว และบางครั้งยังมีลายที่ขอบเป็นลายประแจจีน ซึ่งมีความหมายถึง ความสุข โชคลาภ และความก้าวหน้าอีกด้วย
,,,,,,,,,,ขนมชนิดนี้คงเข้ามาสู่ความรับรู้ของชาวเมืองน่านพร้อมๆ กับชาวจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ผู้เขียนเคยลองสอบถามได้ความว่าในอดีตขนมชนิดนี้หาซื้อได้ไม่ยากนักในตลาดเย็นสมัยก่อนไม่เกิน ๑๐ ปีมานี้ แต่ปัจจุบันหาซื้อไม่ได้แล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารและวัฒนธรรมต่างๆ ของชาวจีนในเมืองน่านค่อยๆ จางหายไปกับผู้คนรุ่นก่อนอย่างช้าๆ (น่าจะเกิดขึ้นในอีกหลายๆ เมือง) รู้ตัวอีกทีสิ่งเหล่านั้นก็เหลือเพียงความทรงจำไปเสียแล้ว
________________________________________
อ้างอิง
- เสี่ยวจิว, รู้จัก “อั่งถ่อก้วย” ขนมทีเด็ดจากจีน หน้าตาแทบเหมือน “กุยช่าย” แต่ไม่ใช่กุยช่าย!, นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มิถุนายน ๒๕๕๒.
- เสี่ยวจิว, อั่งถ่อก้วย ขนมฟ้าประทานที่ใช้กันตั้งแต่เกิด-ตาย, นิตยสารศิลปวัฒนธรรม มิถุนายน ๒๕๕๒.
- พรพรรณ จันทโรนานนท์, ฮก ลก ซิ่ว โชคลาภอายุยืน, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2549).
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเธียร ปั้นงา ณ ฌาปนสถานวัดอัมพวา ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐
เหตุที่เขียนเรื่องนี้ เนื่องจากผู้เขียนได้เคยไปร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เมืองแกลง มีผู้เฒ่าผู้แก่มาคุยว่า...เมื่อก่อนอำเภอแกลงเค้าขึ้นกับเมืองจันท์นะ แต่ไม่รู้ทำไมถึงกลายมาขึ้นกับเมืองระยองได้... ผู้เขียนก็ใคร่อยากรู้เหตุผลของเรื่องนี้เช่นกัน จนเมื่อไม่กี่วันนี้ได้พบเอกสารจดหมายเหตุของส่วนกลางเป็นบันทึกการประชุม"เรื่องที่จะใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.124 ในมณฑลจันทบุรี" การประชุมในครั้งนั้น(วันที่ 17 ธันวาคม ร.ศ.125 บ่าย 3 โมง 10 นาที) เป็นการประชุม ณ ค่ายทหารเมืองจันทบุรี ประธานในการประชุมคือ นายพลเอก พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งแต่เดิมการทหารของแรกตั้งมณฑลจันทบุรี เป็นทหารเรือสังกัดกรมทหารเรือ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์ เป็นผู้จัดการคนในมณฑลนี้ ดังนั้นกรมทหารเรือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาเห็นว่าควรใช้พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร คือจะจัดตั้งโรงเรียนพลทหารเรือขึ้นที่เมืองจันทบุรีแห่งหนึ่ง และเมืองระยองแห่งหนึ่ง รับคนในเมืองหนึ่งคราวละ 200 คน ปีละ 2 คราว จึงเป็นที่มาการประชุมครั้งนี้ การประชุมในครั้งนี้มีหลายเรื่อง แต่ที่น่าสนใจคือ...ผู้เขียนได้พบว่า...สาเหตุที่ต้องให้อำเภอแกลงไปขึ้นกับเมืองระยองเพราะ...จำนวนพลเมืองของ 2 เมือง ไม่เท่ากัน ในเวลาเกณฑ์ทหาร -พลเมืองจันทบุรี มีประมาณ 40,000 คน แกลงมีประมาณ 20,000 คน ขลุงมีประมาณ 10,000 คน -พลเมืองระยองมีประมาณ 20,000 คน ประธานในการประชุมจึงรับสั่งว่า ..."คนเมืองระยองมีน้อย ถ้ายกอำเภอแกลงไปขึ้นเมืองระยอง จะมีการดีการเสียประการใดบ้าง" พระยาวิชยาธิบดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี บอกว่า"การเสียยังไม่เห็น แต่ส่วนดีนั้น พลเมืองจะได้เท่ากันเป็นการสะดวกอย่างหนึ่ง ผลประโยชน์ของเมืองระยองมีน้อยจะได้เพิ่มผลประโยชน์ขึ้นเป็นการสะดวกในการที่จะต้องจ่ายอย่างหนึ่ง ทางเดินจากอำเภอแกลงไปเมืองระยองสะดวกกว่าไปเมืองจันทบุรีอย่างหนึ่ง แต่จะได้ตรึกตรองทำความเห็นชี้การได้เสียยื่นภายหลังให้ละเอียดต่อไป..." ซึ่งเหตุผลดังกล่าวจากส่วนหนึ่งของการประชุมในคราวนั้น คงมีผลให้เกิดการยกอำเภอแกลงของเมืองจันทบุรี ไปขึ้นกับเมืองระยองในเวลาต่อมา ถ้ามีโอกาสไปอำเภอแกลงคราวหน้า ผู้เขียนคงมีข้อมูลไปเล่าให้ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ฟังให้หายข้องใจกันละคราวนี้--------------------------------------------------------------------ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี--------------------------------------------------------------------อ้างอิง สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 ก13.3/10 เอกสารรัชกาลที่ 5. เรื่องเกณฑ์ทหารมณฑลจันทบุรี แลมณฑลปราจิณบุรี (26 กันยายน ร.ศ.125 – 27 มกราคม ร.ศ.126--------------------------------------------------------------------
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากรขอเชิญร่วมกิจกรรม รถพิพิธภัณฑ์สัญจร (Mobile Museum)งานมหกรรมในหลวงรักเรา “ภูมิพลังแผ่นดิน"3 - 6 ธันวาคม 2564 เวลา 08.00 - 17.00 น.ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดปทุมธานี