ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
เอกมุขลึงค์พบจากการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๕ เมืองโบราณ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ จัดแสดงห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เอกมุขลึงค์พร้อมฐานโยนี ขนาดกว้าง ๗๕.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๐๐ เซนติเมตร สูง ๓๖ เซนติเมตร เดิมแตกเป็นชิ้นส่วน ปัจจุบันต่อไว้โดยเสริมส่วนที่ชำรุดหายไปด้วย ลักษณะเป็นศิวลึงค์ทรงกระบอกกลมปลายมน มีพระพักตร์ของพระศิวะสลักติดอยู่บริเวณส่วนล่างเกือบติดกับฐานโยนี โดยพระพักตร์มีความสูงประมาณ ๖ เซนติเมตร ทรงชฎามกุฎคือมีเส้นผมที่มุ่นมวยขึ้นไปด้านบนแบบนักบวช ทัดจันทร์เสี้ยวบนมวยผม มีพระเนตรที่สามอยู่กลางพระนลาฏ พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระพักตร์ส่วนล่างกะเทาะหักหายไป ส่วนฐานโยนีสลักติดกับศิวลึงค์ ลักษณะเป็นแท่นทรงสี่เหลี่ยมยกขอบข้างสูง กึ่งกลางด้านหนึ่งทำเป็นรางยื่นออกมา รูปแบบของเอกมุขลึงค์องค์นี้แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ หรือประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เอกมุขลึงค์เป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะ หมายถึง ศิวลึงค์ที่มีพระพักตร์ของพระศิวะปรากฏอยู่ ๑ พระพักตร์ โดยปกติจะประดิษฐานบนฐานโยนี ซึ่งเป็นรูปเคารพแทนองค์พระอุมา ชายาของพระองค์ มักประดิษฐานไว้ในเทวาลัยสำหรับทำพิธีกรรมโดยจะมีการบูชาและสรงน้ำลงบนศิวลึงค์ น้ำจะไหลลงมาบนฐานโยนีและไหล่ผ่านรางที่ยื่นออกมาเพื่อเป็นน้ำมนตร์หรือน้ำศักดิ์สิทธิ์ต่อไป พบมาแล้วในประเทศอินเดียและส่งอิทธิพลให้ดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยนอกจากเมืองโบราณอู่ทองแล้ว ยังพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วย
เอกมุขลึงค์องค์นี้ พบที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๕ โดยขุดพบบริเวณฐานศิลาแลงทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จึงสันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้อาจเป็นเทวาลัยสำหรับประกอบพิธีกรรม ทั้งยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการรับคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เข้ามาจากประเทศอินเดียของผู้คนท้องถิ่นบริเวณเมืองโบราณอู่ทองในสมัยนั้นด้วย
---------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง :
กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕.
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมือง โบราณ , ๒๕๖๒.
สมศักด์ นิลพงษ์. ศิวลึงค์ศิลาที่ค้นพบในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๖.
สมศักดิ์ รัตนกุล “การขุดแต่งโบราณสถานด้านทิศเหนือของคอกช้างดิน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ศิลปากร ๑๑, ๒ (กรกฎาคม ๒๕๑๐) : ๗๘ – ๘๔.
-------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
https://www.facebook.com/prfinearts/posts/pfbid0vex7qgLerLqYdX8HMMmDDbTKuysQTPJWTHRqQuv8T1qAwtZQQMXKNDvduPvTH3Djl
ชื่อเรื่อง โครงการธำรงรักษาดนตรี การแสดงและการละเล่นพื้นบ้านเพลงอีแซวผู้แต่ง วิทยาลัยนาฏศิลปะสุพรรณบุรีประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประเพณี ขนบธรรมเนียม เลขหมู่ 782.48 ว585คสถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ วิทยาลัยนาฏศิลปะสุพรรณบุรีปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 262 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง เพลงอีแซว สุพรรณบุรี – เพลงพื้นบ้านภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือเล่มนี้เป็นโครงการธำรงรักษาดนตรี การแสดงและการละเล่นพื้นบ้านเพลงอีแซว จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นมาและวิวัฒนาการการละเล่นเพลงอีแซวของจังหวัดสุพรรณบุรี รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเพลงพื้นบ้านอีแซวในรูปแบบสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา ส่งเสริม เผยแพร่และอนุรักษ์เพลงอีแซว ตลอดจนศิลปินที่เป็นภูมิปัญญาให้มีวิถีแห่งการสืบสานที่ยาวนานแก่เยาวชนรุ่นหลัง
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนกรกฎาคมเรื่อง ความเชื่อเรื่องหลักเมือง กับโบราณสถาน บน.๖ วัดหลักเมืองศรีสัชนาลัยความเชื่อเรื่องหลักเมือง เป็นความเชื่อที่ปรากฏมาอย่างช้านาน ภายใต้พื้นฐานการเคารพผีบรรพบุรุษและการไหว้ภูตผีภายในเสาบ้านของผู้คนในอดีต และเมื่อเข้าสู่สถานะความเป็นเมือง คติความเชื่อของศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามา โดยเฉพาะเรื่อง ศูนย์กลางจักรวาลหรือเขาพระสุเมรุ เข้ารวมกับความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องศูนย์กลางของชุมชน จากการไหว้เสาบ้านจึงถูกพัฒนาเป็นความเชื่อเรื่องเสาของเมือง หรือ เสาหลักเมือง ภายในเมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นหลักเมืองของเมือง ศรีสัชนาลัย นั่นคือ โบราณสถาน บน.๖ หรือ โบราณสถานวัดหลักเมือง ซึ่งแนวคิดเรื่องเสาหลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัย ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” จากการสันนิษฐานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ เมื่อครั้งเสด็จพระพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ โดยมีใจความว่า “…ข้าพเจ้าเชื่อว่า ไม่ใช่วัดพระพุทธศาสนาเป็นแน่และมิใช่โบสถ์พราหมณ์ แต่จะเกี่ยวเป็นศาลผีหรือเทวดาอันใดอันหนึ่งจึ่งได้เดาต่อไปว่าบางทีจะเป็นหลักเมืองคือที่ฝังนิมิตรของเมือง ที่นี่เป็นที่ออกจะเหมาะอยู่ใกล้รั้วใกล้วังดี อย่างไรๆ หลักเมืองที่อื่นนอกจากที่นี้ก็ไม่มีเลย ได้ให้ค้นหาอยู่หลายวันก็ไม่พบปรางค์นั้น ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าว่าใช้เป็นอนุเสาวรีย์เครื่องหมายว่าเป็นที่ฝังอะไรไว้ในที่นั้น มีพระธาตุหรืออัฐิคนเป็นต้น ก็ถ้าทำเป็นเครื่องหมายที่ฝังกระดูกคนได้แล้ว จะทำเป็นเครื่องหมายนิมิตดวงของเมืองไม่ได้เจียวหรือ ส่วนตัวข้าพเจ้าสมัครเชื่อข้างเป็นหลักเมืองมากกว่าเป็นที่ฝังอัฐิ เพราะมาตั้งอยู่ห่างนอกเขตวัด แต่นี่ก็เป็นการเดาในส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยแท้” อีกทั้งด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจากโบราณสถานอื่นๆ ที่พบภายในเมือง นั่นคือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ก่อด้วยศิลาแลงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นฐานเขียงซ้อนกันสองชั้นในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ ถัดขึ้นมาคือชุดฐานบัวลูกฟัก ๑ ชุด ต่อด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบอีก ๗ ชั้น โดยแต่ละชั้นประดับด้วยบันแถลงและกลีบแถลงที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้น และตำแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของพื้นที่พระราชวัง จึงเชื่อว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีความสำคัญต่อเมืองศรีสัชนาลัยหรือเป็นหลักเมือง นั่นเอง แต่ผลจากการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้พบพระพิมพ์ดินเผา อยู่บริเวณรอบวิหาร และซุ้มพระ ได้พบพระพิมพ์ขนาดเล็กทำด้วยดินเผา วัดแห่งนี้จึงน่าจะเป็นวัดในพระพุทธศาสนามากกว่าศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ปัจจุบัน ภายในโบราณสถานวัดหลักเมือง ได้มีการนำเสาหลักเมือง หรือเสาอินทขิล มาตั้งไว้บนฐานพระพุทธรูปเดิม ภายในมณฑปบนวิหาร แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำมาตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อใด อย่างไรก็ตามไม่ว่าในอดีตโบราณสถานวัดหลักเมืองจะใช่หลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัยหรือไม่ แต่ปัจจุบันโบราณสถานวัดหลักเมืองได้รับการนับถือว่าเป็นหลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัย อ้างอิงกองโบราณคดี กรมศิลปากร, รายงานทางวิชาการเพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำแผนแม่บท โครงการอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๓๓)พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ, เที่ยวเมืองพระร่วง, (กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ถนนราชดำเนินกลาง, ๒๕๒๖)อรุณโรจน์ กลิ่นฟุ้ง, “หลักเมือง หลักบ้าน "เสา พุทธ พราหมณ์ ผี”, (สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒)
ชื่อผู้แต่ง คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
ชื่อเรื่อง เศรษฐกิจปริทรรศ (ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๑
จำนวนหน้า ๕๗
รายละเอียด
วารสารเศรษฐกิจปริทรรศเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื้อหาภายในประกอบด้วย ๕ บทความเช่น นโยบายการศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจ, ข้อเสนอแนะทางเศรษฐกิจและการเงิน ฯลฯ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมข้อคิดเห็นทางวิชาการของผู้สนใจทั่วไปและอาจารย์ในคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 147/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5ง เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๘
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๙
จำนวนหน้า ๒๓๙ หน้า
รายละเอียด
เที่ยวเมืองพระร่วง เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องไปดูโบราณสถานต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจศึกษาโบราณคดีฟังและออกความคิดเห็น หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีผลให้คนไทยรู้สึกขึ้นมาได้ว่าชาติไทยเราไม่ใช่ชาติใหม่และไม่ใช่ชาติที่เป็นคนป่าแต่ชาติไทยเราเจริญรุ่งเรืองมามากแล้ว เป็นการให้สติเตือนใจคนรุ่นใหม่ว่า อย่าน้อยเนื้อต่ำใจแต่ให้เข้าใจเมืองไทยเรามีที่ท่องเที่ยวที่ดีกว่าต่างประเทศมากมาย คนไทยควรท่องเที่ยวที่เมืองไทยกว่าเที่ยวต่างประเทศ พร้อมแผนที่และภาพประกอบ
ชื่อผู้แต่ง เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระ.
ชื่อเรื่อง พระราชนิพนธ์บางเรื่องของสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๕
จำนวนหน้า ๖๐ หน้า : ภาพประกอบ
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพนายจินดา สิงหรัต ณ วัดโสมนัสวรวิหาร
วันจันทร์ ที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕
เป็นพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง เช่นเมื่อข้าพเจ้าตามเสด็จเยี่ยมราษฎร, เบื้องหลังการแต่งเพลงของข้าพเจ้า, ฉันชอบอ่านหนังสือ ฯ ของสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ
ชื่อเรื่อง : ตามใจผู้เขียน ชื่อผู้แต่ง : ส.ศิวรักษ์ ปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : หจก. รวมสาส์น จำนวนหน้า : 596 หน้า สาระสังเขป : ตามใจผู้เขียน เป็นภาคต่อจากหนังสือเล่ม คุยคนเดียว เป็นการรวบรวมงานพูดที่ ส.ศิวรักษ์ ได้พูดออกอากาศทาง ททท. เป็นจำนวน 39 เรื่อง แต่ละเรื่องล้วนแต่น่าสนใจทั้งในแง่ความรู้ และความคิดของนักคิดชื่อดังคนนี้ เรื่องในเล่มอาทิ -เที่ยวเรือตามคลองบางหลวง -อันเนื่องมาจากพระพุทธเลิศหล้าฯ -พระเจนดุริยางค์ -เที่ยวเรือกับท่านพุทธทาส -สยามสมาคม -ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล -อันเนื่องมาแต่ฟุตบอลประเพณี ฯลฯ
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๐ วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร ประสูติเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๐ เมื่อแรกประสูติมีพระนามว่า หม่อมเจ้าสุทธวงษวิจิตร ครั้นในปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ในการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ และ ๕ เชิญทั้งเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร และเครื่องราชูปโภค ทั้งหมด ๑๖ องค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยืนกลาง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงยืนเบื้องขวาพระองค์ แวดล้อมด้วยพระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ทรงเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียร ทั้งนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร พระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๕ เชิญพระแสงดาบฝักทองเกลี้ยง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร นับเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ สิริพระชันษา ๙๕ ปี
ภาพ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร
เลขทะเบียน : นพ.บ.392/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 144 (40-47) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ธรรมบทขั้นต้น--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.530/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178 (281-290) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม