ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
การวางฤกษ์ เป็นพิธีกรรมหรือประเพณีในการก่อสร้างอาคารเพื่อรวมความสวัสดิมงคล ให้เกิด ณ สถานที่นั้นก่อนการก่อสร้าง โดยมักวางแผ่นอิฐ แผ่นศิลา หรือสิ่งของมงคลไว้บริเวณใต้ฐาน ของอาคาร ก่อนจะสร้างสิ่งก่อสร้างเหนือพื้นที่นั้น
การวางฤกษ์ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่มีการก่อสร้างศาสนสถาน ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ทั้งในวัฒนธรรมทวารวดี และวัฒนธรรมเขมร (สมัยก่อนเมืองพระนคร) จากการดำเนินงานทางโบราณคดีทั้งการขุดศึกษาและการบูรณะโบราณสถานประเภทปราสาทในวัฒนธรรมเขมรโบราณซึ่งอยู่ในในความรับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้พบหลักฐานต่าง ๆ ที่นำมา ซึ่งการศึกษาด้านคติความเชื่อในการวางฤกษ์ปราสาทในวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ การวางฤกษ์แบบไม่ใช้แผ่นศิลาฤกษ์ การวางฤกษ์แบบใช้แผ่นศิลาฤกษ์ ซึ่งจำแนกรูปแบบการวางฤกษ์ออกได้ตามแต่ละยุคสมัยของปราสาท ทั้งนี้ จากการค้นพบล่าสุดใน พ.ศ. ๒๕๖๓ นำมาซึ่งข้อมูลการวางฤกษ์รูปแบบใหม่ในประเทศไทย นั่นคือ การวางฤกษ์โดยใช้ประติมากรรมรูปเต่าเป็นแท่นบรรจุวัตถุมงคลแทนแผ่นศิลาฤกษ์ โดยประติมากรรมรูปเต่าลักษณะใกล้เคียงกันนี้เคยค้นพบในประเทศกัมพูชา และคงมีความสัมพันธ์กับโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และคติความเชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงคติความเชื่อ ในการจำลองจักรวาล
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2567 นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ พร้อมด้วยนางสาวชลลดา สังวร หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าสำรวจสภาพโบราณวัตถุ โบราณสถานหลังน้ำท่วม ณ วัดหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา และวัดภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เพื่อประเมินผลกระทบและหาแนวทางในการป้องกันและอนุรักษ์โบราณวัตถุ โบราณสถานต่อไป พร้อมทั้งได้ให้คำแนะนำและแนวทางในการฟื้นฟูและบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดจากความชื้นต่อโบราณวัตถุและโบราณสถานในเบื้องต้นให้กับทางวัด
ภาพที่ 1-4 : วัดหนองบัว
ภาพที่ 5- 8 : วัดภูมินทร์
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาและการบรรยายจากผู้บริหารองค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ของไทย รวมถึงผู้ปฏิบัติงานพิพิธภัณฑ์มากกว่า 40 คน ที่จะมาร่วมกันบอกเล่าเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ สู่สาธารณชน ในงาน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ในวาระครบรอบ 150 ปี แห่งการเริ่มต้นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนครั้งแรกในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2567 ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
สำหรับการเสวนาและการบรรยาย ประกอบด้วย
วันที่ 19 กันยายน 2567
Session 1 : “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to wisdom” การเสวนาเล่าเรื่องจุดเริ่มต้นของกิจการพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย พัฒนาการ และทิศทางสู่อนาคต โดย สมลักษณ์ เจริญพจน์ อุปนายกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) และนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ
Session 2 : “พิพิธพัฒนาการพิพิธภัณฑ์ไทย” การบรรยายเจาะลึกการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ไทยที่น่าสนใจ ประกอบด้วย “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ. สรรใจ แสงวิเชียร ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล “๒๐ ปี พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย” โดย สุชีรา เทวะ นักจัดกิจกรรมภาพยนตร์ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) “กว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน” โดย ชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน
Session 3 : “พหุวัฒนธรรมการแต่งกาย” การเสวนาที่จะพาทุกคนไปสัมผัสวัฒนธรรมหลากหลายที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว กับประเด็น “พหุพัสตราภรณ์ ความหลากหลายแห่งแพรพรรณ” โดย ชนะภพ วัณณโอฬาร สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา “๑๕๐ ปี วิวัฒนาการผ่านผืนผ้า From westernized สู่ไทยพระราชนิยม” โดย ณชนก วงศ์ข้าหลวง พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “ผ้าราชสำนักในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” โดย ยุทธนาวรากร แสงอร่าม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
Session 4 : “รากฐานความรู้ สู่การเป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ระดับวิชาการ“ การบรรยายเล่าเรื่องเบื้องหลัง การรวบรวมสิ่งสะสมที่พัฒนาเป็นองค์ความรู้ทางวิชาการ ประกอบด้วย “จากแผ่นสู่ห้องสมุดเสียงร้อยเรียงเป็นแหล่งเรียนรู้” โดย ถนิมรัตน์ แกล้วทนงค์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์ “จากการสะสมวัตถุพยาน สู่พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้” โดย ชาตรี ชุ่มจิตร นักสื่อสารมวลชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน “จากสะสมสู่มิวเซียม: จุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด” โดย นิภาพร บุญทองใหม่ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด “กองทัพอากาศในกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม” โดย นาวาอากาศเอก วีระชน เพ็ญศรี ผู้อำนวยการกองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรมสารบรรณทหารอากาศ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ “สิ่งสะสมส่วนตัวสู่คลังสมบัติชาติ: นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล กับการวางรากฐานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาไทย” โดย ชัยนุพล สุวรรณกุลไพศาล ศูนย์บริหารคลังตัวอย่างทางธรรมชาติวิทยาและสัตว์สตัฟฟ์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “พิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง กับการจัดการผลงานโดยครอบครัวศิลปิน” โดย นวภู แซ่ตั้ง นักวิชาการศิลปะ ทายาทรุ่นที่ 3 ของศิลปิน จ่าง แซ่ตั้ง ผู้ร่วมก่อตั้งพิพิธภัณฑ์จ่าง แซ่ตั้ง
วันที่ 20 กันยายน 2567
Session 5 : “Museum as Soft Power” การบรรยายนำเสนอบทเรียนจากความสำเร็จการเป็นผู้นำด้าน Soft Power โดย ลี ซอนจู ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีแห่งประเทศไทย
Session 6 : “พิพิธภัณฑ์กับการเป็นแหล่งท่องเที่ยว” การเสวนาร้อยเรียงกระบวนการจัดการพิพิธภัณฑ์เพื่อตอบรับการท่องเที่ยวกระแสหลัก โดย ดร. บัลลังก์ เนื่องแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ณันท์นภัส โตพัน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) พนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณทสถานแห่งชาติ พระนคร (ผู้ดำเนินรายการ)
Session 7 : “พิพิธภัณฑ์กับการแปลงทุนทางวัฒนธรรมสู่การเรียนรู้” การบรรยายนำเสนอแนวทางการประยุกต์องค์ความรู้ที่เข้าถึงคนทุกวัย “บอร์ดเกมจากพิพิธภัณทสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์” โดย ชนน วัฒนะกูล ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณทสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
Session 8 : “พิพิธภัณฑ์กับวัฒนธรรมร่วมสมัย” การบรรยายเกี่ยวกับการตีความวัตถุทางวัฒนธรรมเพื่อสื่อสารในรูปแบบแฟชั่นดีไซน์ ประกอบด้วย “Redefining Ethnological Collections: Integrating Contemporary Indigenous Fashion.” โดย Yulun Huang Curatorial Assistant Researcher, National Museum of Prehistory, Taiwan “จากศิลปะ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดย ดร. วิจิตร อภิชาตเกรียงไกร (Ph.D in Visual Art) หอศิลป์ศาลเจ้า
Session 9 : “พิพิธภัณฑ์กับการสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้” การเสวนาว่าด้วยการออกแบบกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ “บทเรียนจากพิพิธภัณฑ์...สู่การสร้างสรรค์เมืองแห่งการเรียนรู้” โดย ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร มิวเซียมสยาม อัศรินทร์ นนทิหทัย ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมการเรียนรู้ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ พีรัช ษรานุรักษ์ นักออกแบบการเรียนรู้ Wizards of Learning ชนน์ชนก พลสิงห์ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรม มิวเซียมสยาม (ผู้ดําเนินรายการ)
วันที่ 21 กันยายน 2567
Session 10 : “เทคโนโลยีกับพิพิธภัณฑ์” การบรรยายนำเสนองานหลังบ้าน การวิเคราะห์โบราณวัตถุ และการจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วย “หน้าบ้านหลังบ้าน การใช้เทคโนโลยีในงานพิพิธภัณฑ์แบบทำได้จริง” โดย อานุภาพ สกุลงาม ผู้อำนวยการกองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “เทคโนโลยีกับการสร้างฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์โบราณวัตถุ” โดยเบญจวรรณ พลประเสริฐ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย “เทคโนโลยีกับการสร้างภาพจำใหม่ของโบราณวัตถุ” โดย นัยนา มั่นปาน ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
Session 11 : “พิพิธภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน“ การเสวนาเล่าเรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากคุณค่าวัตถุทางวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์: พิพิธภัณฑ์บันดาลไทย กับวิทยากรกลุ่มเซียมไล้และตัวแทนน้องๆ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม อาจารย์ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินศิลปาธร 2557 สาขาเรขศิลป์ และผู้ก่อตั้งกลุ่มเซียมไล้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลศิริ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สมาชิกกลุ่มเซียมไล้ ทานตะวัน วัฒนะ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์บันดาลไทย 2567 ทีมไทยเก๊ก ธนพล โลหชิตพิทักษ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพิพิธภัณฑ์บันดาลไทย 2567 ทีมประกายมรกต วัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี (ผู้ดำเนินรายการ)
Session 12 : “พิพิธภัณฑ์เพื่อสังคม“ การบรรยายเล่าเรื่องความรู้ ภูมิปัญญา และงานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคม ประกอบด้วย “บทบาทพิพิธภัณฑ์ในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” โดย พระปลัดประพจน์ สุปภาโต พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสำโรง “การส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ผ่านการเป็นอาสาสมัครเล่าเรื่องวัตถุตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” โดย มณีรัตน์ เปานาเรียง ผู้อำนวยการกองวิชาการประวัติวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาไทย สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
Session 13 : “พลวัต (การศึกษา) สู่อนาคตพิพิธภัณฑ์ไทย”การบรรยายนำเสนอทิศทางของพิพิธภัณฑ์ไทยในนวัตกรรมแห่งความรู้ ในหัวข้อ “พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ของอนาคต” โดย พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ พิพิธภัณฑ์นักเขียนไทย “จากการสั่งสมโบราณวัตถุ สร้างสรรค์บทสนทนาสู่การสร้างนวัตกรรมกรรมทางสังคม A passage of Knowledge, Conversation and Innovation” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พธู คูศรีพิทักษ์ ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพิพิธภัณฑศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Session 14 : “พิพิธภัณฑ์กับชุมชน” การเสวนานำเสนอกระบวนการสร้างสรรค์พื้นที่ของวัฒนธรรมชุมชน “ศิลปะชุมชน พื้นที่ของวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์” โดย อาจารย์ชุมพล อักพันธานนท์ บ้านศิลปินคลองบางหลวง ดร. ไพโรจน์ ทองคำสุก ศูนย์ฝึกโขนวัดสุวรรณาราม ชัยวัฒน์ ไชยประเสริฐ พิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน (ผู้ดำเนินรายการ).
ทั้งนี้ ในวันที่ 19 กันยายน 2567 สามารถเข้าร่วมรับฟังการเสวนาและการบรรยายได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป โดยมีการปาฐกถาพิเศษ “มองอนาคตของพิพิธภัณฑ์ในทศวรรษหน้า” โดย พนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และวันที่ 20 - 21 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษกับวัตถุสะสมชิ้นพิเศษจากพิพิธภัณฑ์เครือข่าย 24 แห่ง การออกร้านกิจกรรมพิเศษและการจำหน่ายของที่ระลึกจากพิพิธภัณฑ์เครือข่ายอีก 20 แห่ง ตลาดสินค้าสร้างสรรค์ประเภทอาร์ตทอย นอกจากนี้ในช่วงค่ำยังจัดให้มีกิจกรรม Museum Talk ยามค่ำ และกิจกรรม Night Museum เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์รอบพิเศษให้ทุกท่านเข้าชมนิทรรศการและความสวยงามของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยามค่ำคืน ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to Wisdom” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ไปจนถึง 20.00 น.
ติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ใน “150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A Passage to wisdom” ได้ทาง Facebook: Thai Museum Day และ Office of National Museums, Thailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โทร. 0 2164 2501-02 ต่อ 8045
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขอเชิญชวนร่วมประกวดแมว "แมวไทยโบราณคืนถิ่นกรุงศรี" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในการจัดกิจกรรมประกวดแมวคืนถิ่น พร้อมโชว์โบราณวัตถุแมวสุดเจ๋ง ชิงถ้วยพระราชทานและรางวัลมูลค่ากว่า 20,000 บาท ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2567
- กิจกรรมที่ 1 การประกวดแมวไทยโบราณยกทัพรวมตัวแม่มากันกงนี้เลย ไม่ว่าจะเป็น วิเชียรมาศ โคราช ขาวมณี ศุภลักษณ์ โกญจา และแมวที่หาชมได้ยาก เช่น วิฬาร์กรุงเทพ วิลาศ กลีบบัว วิเชียรมาศสีบลู วิเชียรมาศสีทอง แมวศุภโชค แมวศิริลักษณ์
เกณฑ์การตัดสิน ไม่ทำหมัน เหมาะแก่การอนุรักษ์ ลักษณะตรงตามสายพันธุ์ สง่างาม
- ประเภท แมวไทยโบราณ 5 สายพันธุ์ รุ่นแมวโต 8 เดือนขึ้นไป
- ประเภท แมวไทยโบราณ 5 สายพันธุ์ รุ่นลูกแมว 4-8 เดือน
- ประเภท แมวสีแปลก เช่น วิฬาร์กรุงเทพ วิลาศ กลีบบัว วิเชียรมาศสีบลู วิเชียรมาศสีทอง แมวศุภโชค(ไทยเบอร์มิส) แมวศิริลักษณ์(ไทยทองกีนิส)
- กิจกรรมที่ 2 การประกวดแมวบ้านสุขภาพดี (แมวไทย แมวต่างประเทศ แมวลูกผสม ได้ทุกสายพันธุ์ ทุกเพศ หมัน และไม่หมัน)
เกณฑ์การตัดสิน ความสมบูรณ์ ความสะอาด อารมณ์ ที่เหมาะสมกับการเป็นแมวบ้าน
- ประเภทแมวบ้านสุขภาพดี รุ่นเด็ก 4-8เดือน
- ประเภทแมวบ้านสุขภาพดี รุ่นโต 8 เดือนขึ้นไป
- กิจกรรมที่ 3 ประกวดแต่งกายแมวไท๊ยไทย "นุงโจง ห่มสไบ แต่งไทย จูงวิฬาร์" (เจ้าของแมวและน้องแมว แต่งชุดไทยสุภาพ เรียบร้อย ชิงเงินรางวัล)
เกณฑ์การตัดสิน การแต่งกายเข้าธีม ทั้งน้องแมวและเจ้าของแมว สวยงาม หรือแปลกแหวกแนว มีความคิดสร้างสรรค์ น้องแมวสุขภาพดีมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าของและน้องแมว
ผู้สนใจร่วมกิจกรรม สามารถกดสมัครตามลิ้งค์นี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScnkanIu_lPlagdBg_xGOwv17xfVeYl7Fvh8hGIwnc8wI7XFg/viewform?fbclid=IwY2xjawGGvIRleHRuA2FlbQIxMAABHTEixR842r15fP5CGcxGyZJllfHtAvZF6hR4Qn-KuSwzAY4flpqmFc8QtQ_aem_NGjJURMADbs2rziIozxvkg&pli=1
ค่าสมัครประกวด จำนวน 450 บาท ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 กรอกชื่อเจ้าของ และน้องแมว อายุแมว เพศ เบอร์โทร แนบสลิปการโอนเงิน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กเพจ TIMBA สมาคมแมวไทยโบราณนานาชาติ และไลน์ https://line.me/R/ti/g/KLK6uZp81D
ผู้แต่ง/ผู้แปล/ผู้เรียบเรียง : Author:
กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม.
Call#:
-
ครั้งที่พิมพ์ : Edition:
-
ผู้พิมพ์ : Publisher:
กรมศิลปากร
อธิบาย : Description:
แนะนำหนังสือห้องกรมศิลปากรและหนังสือหายาก เดือนกุมภาพันธ์ 2556
ISBN:
-
ราคา : Price:
-
กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม. ภูมิแผ่นดินมรดกไทย: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ- การเสด็จพระราชดำเนินแหล่งมรดกไทย.
กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2554. 256 หน้า. ภาพประกอบ.
จัดทำเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระ-ชนมพรรษา 7 รอบ วันที่5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 ภายในเล่มแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6บทคือบทที่1 พระมหากรุณาธิคุณต่อการนุรักษ์มรดกไทย บทที่2 แหล่งมรดกวัฒนธรรมโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในประเทศไทย บทที่3 พระมหากรุณาธิคุณต่อแหล่งมรดกฯ ภาคกลางและภาคตะวันออก บทที่4 พระมหากรุณาธิคุณแหล่งมรดกฯภาคเหนือ บทที่5 พระมหากรุณาธิคุณต่อแหล่งมรดกฯภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บทที่6 พระมหากรุณาธิคุณต่อแหล่งมาดกฯภาคใต้ ท้ายเล่มมีบรรณานุกรม และภาคผนวก ศ 930.1 ศ528ภ
ผู้แต่ง : พระเทพวิสุทธิเวทีปีที่พิมพ์ : 2531 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ ประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลัง จะว่าด้วยเรื่อง เมืองพะเยายุคหลัง และการแต่งตั้งผู้ครองเมืองพะเยา, ความสัมพันธ์ระหว่างวัดเหนือ – วัดใต้, บันทึกเหตุการณ์ประจำวันของครูศรีวิลาสวชิรปัญญา, เรื่องปู่แสนผิ่ว เสมอเชื้อ, เรื่องกัปตันเยนเซ่น, บันทึกเรื่องรื้อโบราณสถานและโบราณวัตถุเพื่อสร้างกำแพงเมือง และสืบชาตาเมือง
นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ. ๒๕๕๘
เรื่อง "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี - องค์เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย"
ที่ตั้ง วัดศรีธาตุประมัญชา บ้านหนองแวง ตำบลจำปี อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี
พิกัดแผนที่ แผนที่ระวาง 5642 IV มาตราส่วน 1: 50,000
พิมพ์ครั้งที่ 1 -RTSD ลำดับชุด L 7017
พิกัดกริด48 QUD 063771
เส้นรุ้ง ๑๗ องศา ๕๘ ลิปดา ๑๓ ฟิลิปดา เหนือ
เส้นแวง ๑๐๓ องศา ๑๐ ลิปดา ๕๐ ฟิลิปดา ตะวันออก
สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน
๑.พระธาตุเจดีย์
๒.อุโบสถ ( สิม )
ประวัติสังเขป
เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ราษฎรจากบ้านพันลำได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานและหักร้างถางพงได้พบเนินดินร้างซึ่งมีพระธาตุ และมีเสมาหินสลักเป็นรูปดอกบัว ปักเรียงรายอยู่โดยรอบ บนใบเสมายังมีอักษรโบราณจารึกไว้ ๒ แถว ( สูญหาย ) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ มีพระภิกษุจากบ้านท่าคันโทได้ธุดงค์มาพบวัดร้างนี้จึงได้อยู่จำพรรษา ภายหลังชาวบ้านจึงช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างวัดขึ้นใหม่ ได้สร้างพระอุโบสถหลังแรกขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๔
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
พระธาตุเจดีย์ ก่อด้วยอิฐสอดิน รูปทรงสี่เหลี่ยม ฐานล่างเป็นฐานกึ่งฐานบัว ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ถัดจากฐานบัวขึ้นไปเป็นองค์ระฆัง ลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้าง สันนิษฐานว่ารูปแบบที่สมบูรณ์ของพระธาตุน่าจะคล้ายคลึงกับพระธาตุอิงฮัง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีส่วนเรือนธาตุเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีเรือนธาตุ ๓ ชั้นซ้อนลดหลั่นกัน ส่วนยอดเป็นรูปดอกบัวตูม
อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ -๒๔ สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง
ประเภทโบราณสถาน
ศาสนสถานในพุทธศาสนา
ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน
เป็นที่เคารพสักการบูชาของท้องถิ่น
การดำเนินงาน
ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ ๗ ขอนแก่น ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะ
การขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ ง. วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒ พื้นที่ ๑ ไร่ ๑ งาน ๗๐ ตารางวา
ที่มาของข้อมูล
๑.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ ง. หน้า ๓ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒
๒.สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ ๗ ขอนแก่น , ทำเนียบโบราณสถานอีสานบน , เอกสารอัดสำเนา , ๒๕๔๒
วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จัดกิจกรรมในชื่อ "โครงการจัดกิจกรรมพิเศษเนื่องในวันสำคัญและเทศกาลประจำปีของไทย" เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกวันพระ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" ซึ่งได้จัดกิจกรรมนี้ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาเข้าปีที่ ๗ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกและทัศนคติที่ดีให้ชุมชนในการช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนศิลปกรรม ให้คงอยู่สืบไป กิจกรรมดัวกล่าวได้นิมนต์พระสงฆ์เข้ามาแสดงพระธรรมเทศนา สวดมนต์และนั่งสมาธิ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ประชาชนทั่วไป เข้ามาปฏิบัติในกิจกรรมดังกล่าวทุกครั้งที่มีกิจกรรมนี้ประมาณ ๕๐-๑๐๐ คน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี
ได้จัดพิมพ์หนังสือจำนวน ๒ เรื่องคือ ๑.จดหมายเหตุถนนสายสำคัญ เมืองอุบลราชธานี และ ๒.หนังสือแนะนำ
หอจดหมายเหตุอุบลฯ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องการทำลายหนังสือราชการ
ทั้งนี้ทางหจช.อุบลราชธานีได้ทำหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (๔ สีทั้งเล่ม) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับ
ผู้ที่สนใจ หากท่านใดสนใจหนังสือฉบับพิมพ์ (ขาว-ดำ) โปรดติดต่อทางหอจดหมายเหตุฯ อุบลราชธานีได้โดยตรง
วันศุกร์ที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๓๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๑ - ๓ โรงเรียนบ้านขอนแตก ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนนักเรียน ๖๕ คน คุณครูจำนวน ๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นางศรีสุดา ศรีสด พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม