ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ
เนื่องด้วยวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ถือเป็นวันที่คณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการพิจารณารับรองให้ "เสื้อชุดไทย" หรือ "เสื้อไทยพระราชทาน" เป็นเครื่องแบบข้าราชการและสามารถใช้แทนเสื้อสากลได้ เพื่อเป็นการประหยัดและเพื่อความเหมาะสมกับภาวะอากาศของประเทศไทย นอกจากนั้นให้ถือเป็นเครื่องแต่งกายที่สุภาพเสมอด้วยเครื่องแต่งกายสากล มีผลให้สมาชิกเนติบัณฑิตสภาใช้แต่งกายในเวลาปฏิบัติหน้าที่ในศาล รวมทั้งข้าราชการก็แต่งมาทำงานได้ ชุดพระราชทาน หรือ เสื้อพระราชทาน เป็นเครื่องแต่งกายของบุรุษ ลักษณะเป็นเสื้อคอตั้ง ผ่าหน้า กระดุม ๕ เม็ด ส่วนใหญ่ใช้ผ้าไทยตัดเย็บ ใส่คู่กับกางเกงสีสุภาพ หรือสีเดียวกับเสื้อ ถือเป็นชุดประจำชาติที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ริเริ่มขึ้นขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มีโอกาสเดินทางไปเยือนต่างประเทศแล้วพบว่าผู้แทนประเทศอื่นๆ ต่างมีชุดประจำชาติกันหลายประเทศ แต่ไทยเป็นประเทศเก่าแก่กลับไม่มีชุดประจำชาติ จึงนำความกราบบังคมทูลปรึกษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการนี้พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานชุดพระราชทานให้แก่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณไว้ในปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความเป็นไทยด้วยจิตวิญญาณ” เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๗ ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานชุดไทย สำหรับสุภาพบุรุษที่นิยมเรียกกันว่า ชุดพระราชทาน ผมรับแบบชุดไทยจากพระหัตถ์ของพระองค์ท่านเอง” จากนั้นพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้สวมชุดพระราชทานนี้ครั้งแรกในโอกาสเป็นประธานเปิดงานฉลองครบ ๖๐ ปี วงเวียน ๒๒ กรกฎาคม เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๒ และยังได้สวมชุดดังกล่าวเข้าประชุมสภาในปีเดียวกันด้วย ทำให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตื่นตาตื่นใจ สื่อมวลชนต่างลงข่าวเกี่ยวกับแบบเสื้อใหม่กันแทบทุกฉบับ และเสื้อพระราชทานกลายเป็นสัญลักษณ์ของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไปในที่สุด ต่อมาขณะท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ มีมติรับรองให้เสื้อไทยพระราชทาน เป็นเครื่องแบบข้าราชการและใช้แทนเสื้อสากลได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดและเหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทย นอกจากนั้นให้ถือเป็นเครื่องแต่งกายที่สุภาพเช่นเดียวกับเครื่องแต่งกายแบบสากลนิยมและมอบให้กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ร่วมกันพิจารณากำหนดรายละเอียดในเรื่องสีของผ้าและการประดับเครื่องหมายของทางราชการ ซึ่งได้ตกลงให้ชื่อเสื้อไทยพระราชทานนี้ว่า “เสื้อชุดไทย” ชนิดของผ้า ควรเป็นผ้าที่ทำในประเทศไทย มี ๓ แบบ คือ แบบแขนสั้น แบบแขนยาว และแบบแขนยาวคาดเอว ใช้ในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ชุดไทยแขนสั้น ใช้สีอ่อนหรือมีลวดลายสุภาพ สวมใส่ในโอกาสธรรมดาทั่วไปหรือในการปฏิบัติงาน หรือในงานพิธีการกลางวัน และอาจใช้สีเข้มได้ ในพิธีการเวลากลางคืน ๒. ชุดไทยแขนยาว ใช้สีอ่อนหรือมีลวดลายสุภาพ ในโอกาสพิธีการเวลากลางวัน และอาจใช้สีเข้มในโอกาสพิธีเวลากลางคืน //๓. ชุดไทยแขนยาวคาดเอว ใช้ในโอกาสพิธีการที่สำคัญ ถือเป็นแบบเต็มยศ ------------------------------------------------จัดทำข้อมูล : หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์-----------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๖๒). จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์(๑๙๗๗). หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. ภ นรม ๑/๖๘ ภาพกิจกรรมหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ภาพพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เดินทางมาเยี่ยมชมหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ ๒๖ ก.พ. ๒๕๔๕ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. ภ นรม ๑.๑.๑.๓/๓๖ ภาพกองงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภาพพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปี ๒๕๒๔ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. ภ นรม ๑.๑.๑.๓/๘๕ ภาพกองงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภาพพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานรักเมืองไทย ที่จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ค. ๒๕๒๖ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. ภ นรม ๑.๑.๑.๓/๑๙๘ ภาพกองงานโฆษก สำนักเลขาธิกานายกรัฐมนตรี ภาพพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้การรับรองเจ้านโรดมสีหนุ ประธานาธิบดีแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชาในโอกาสที่เข้าเยี่ยมคารวะ ที่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ เมื่อวันที่ ๒๘ ก.ค. ๒๕๒๖ -
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
ปีที่พิมพ์ : 2473
หมายเหตุ : พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยาอาทรธุรศิล์ป (ม.ล. ช่วง กุญชร) ทจ, ทม, ตช, รัตน ว ป ร 3, ร จ พ ฯลฯ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473
ประกอบด้วยจดหมายของมองเซนเยอร์ เดอซิเซ กล่างถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกรุงศรีอยุธยา ความต้องการให้ฝรั่งเศสเข้ามาค้าขายในเมืองไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮอลันดาและอังกฤษ
ปริวรรต/เรียบเรียง : นางสาวเอกสุดา ไชยวงศ์คต และ นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตรห้องจัดเก็บ : กรมศิลปากรประเภทสื่อ : สิ่งพิมพ์ - หนังสือISBN/ISSN : 978-616-283-524-7ผู้จัดทำ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหมวดหมู่ : พุทธศาสนาปีที่จัดทำ : 2563ลักษณะวัสดุ : 140 หน้า : ภาพประกอบ ; 25.5 ซม. ชื่อชุด : ฉบับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนมหัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--ว่าด้วยความเป็นไปของพระพุทธศาสนาในอนาคตกาลเบื้องหน้า สังฮอมธาตุ--คัมภีร์ใบลาน วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ : สังฮอมธาตุ ฉบับหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม นี้แปลปริวรรตจากเอกสารโบราณประเภทคัมภีร์ใบลานฉบับลานดิบทะเบียนเลขที่ นพ.บ.1039/1-5 ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม จำนวน 1 ผูก 88 หน้าลาน จารด้วยอักษรธรรมอีสาน สำนวนร้อยแก้ว คัดลอกโดยพระภิกษุจันทร์ เมื่อพุทธศักราช 2465 สังฮอมธาตุ จัดอยู่ในประเภทวรรณกรรมตำนานเนื้อหากล่าวถึงเหตุแห่งความเสื่อมสูญไปของพระพุทธศาสนา ความเสื่อมสูญของแนวทางการปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชนและการอันตรธานไปของพระบรมสารีรักธาตุ ในเวลาที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ 5,000 ปี เนื้อหามีลักษณะเดียวกันกับที่พบในจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน เพื่อให้ได้อานิสงส์จากการทำบุญ แต่ไม่สามารถระบุผู้แต่งที่แน่ชัดได้
ชื่อเรื่อง เตภูกถา (ไตรภูมิวินิจฉัย)สพ.บ. 107/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 54 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง เทศนา (ธัมมสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ. 179/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า กว้าง 4.4 ซ.ม. ยาว 55.3 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ภาษาบาลี-ไทย ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.91/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 54 (122-128) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (พระอภิธัมมสังคิรี-พระสมันตมหาปัฎฐาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิ)สพ.บ. 159/24ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดสัปรสเทศ ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
พระอภัยมณี ชบ.ส. ๘๑
เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.29/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
“ แรกมีอควาเรียม (Aquarium) ในพะเยา
อควาเรียม คือสถานที่อนุรักษ์และจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ส่วนมากเป็นอาคารห้องโถงขนาดใหญ่ ตกแต่งด้วยตู้ปลาหรือซุ้มกระจกโค้งตั้งแต่พื้นจรดเพดาน สำหรับเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด โดยผู้เข้าชมสามารถมองเห็นได้ถ้วนทั่ว
นับแต่ปลายสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมืองแรกๆ ที่มีอควาเรียมในประเทศไทยคือ จังหวัดพะเยา จากการสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุของสถานีประมงน้ำจืดพบว่า ปี ๒๔๘๖ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ได้มอบเงินจำนวน ๕,๐๐๐ บาท สำหรับก่อสร้างอควาเรียมภายในสถานีบำรุงพันธุ์ ๒ กว๊านพะเยา ทั้งนี้หัวหน้าแผนกสถานีได้เร่งงานโดยนำเสนอแบบแปลนการก่อสร้างให้ผู้บังคับบัญชาเห็นชอบอีกด้วย
เมื่อพิจารณาแบบแปลน ภายนอกเป็นอาคารทรงปั้นหยา มีมุขทางเข้าอยู่ตรงกลาง ด้านซ้ายและขวาประดับไม้ระแนงตกแต่งต้นไม้ ส่วนภายในอาคารแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เพราะเน้นพื้นที่ใช้สอยกว้างขวาง ประกอบกับความโค้งมนสี่ทิศของอาคาร ซึ่งสอดคล้องการจัดวางตู้ปลาอิงผนังแบบ ๓๖๐ องศาในแนวฉาก มีมุมนั่งพักผ่อนทอดสายตาชมพันธุ์สัตว์น้ำได้ ๒ ฝั่งอย่างลงตัว
หากนับถึงปัจจุบัน ไม่น่าเชื่อว่าจังหวัดเล็กๆ ที่เคยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย จะได้รับมอบหมายงานสำคัญ นั่นสะท้อนให้เห็นว่า ในขณะที่สงครามกำลังคุกรุ่นไปทั่วโลก ประเทศไทยเริ่มดำเนินงานอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำกันแล้ว
ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ)
เอกสารอ้างอิง : หจช.พย. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2) กษ 1.1.1.1.3 / 1 เรื่องการปลูกบ้านพักและซ่อมแซมภายในสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ( 29 ก.ย. 2482 - 20 ก.ค. 2503 )
งค์ความรู้ เรื่อง กล้องยาสูบดินเผา (Pipe/Clay Pipe) ตอนที่ ๒ การศึกษาเปรียบเทียบกล้องยาสูบดินเผาที่พบในวัฒนธรรมล้านช้างกับแหล่งโบราณคดีอื่น ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวกุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น