ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,342 รายการ

ไม่สามารถยืมหนังสือออกจากหอสมุดได้ แต่สามารถยืมไปถ่ายสำเนาที่ห้องธุรการได้ เนื่อจากหนังสือส่วนใหญ่ในหอสมุดมีเพียงเล่มเดียว


      "เพลงบินใบงิ้ว" ... ได้ยินว่าละครกำลังออนแอร์ ทางเรามีหนังสือนะ เผื่อเธออยากอ่านจะเหมือนกับละครมั้ยนะ ... คือแอดมินยังไม่ได้ดูละคร และยังไม่ได้อ่านหนังสือเลยค่ะ  แค่ได้ยินว่ามีละครเรื่องนี้ และมีหนังสือพร้อมให้อ่าน ก็รีบนำมาบอกเพื่อนๆ #มาอ่านกันเถอะๆหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา พร้อมบริการค่ะเปิดบริการทุกวันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 09.00 น.-17.00 น.


ชื่อเรื่อง                     สุภาษิตสอนสตรี ของสุนทรภู่ผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณีเลขหมู่                      398.9 ส798สสสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 พัฒนาการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               72 หน้าภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกสุภาษิตสอนสตรี ของสุนทรภู่ แต่งเมื่อราวระหว่าง พ.ศ.2380 จน พ.ศ. 2383 แต่งขึ้นเพื่อจะแต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 44 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 70 (ต่อ) - 71) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ (ต่อ) พงศาวดารละแวก ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 316 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 44 ภาคที่ 70 (ต่อ) กล่าวถึงเรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ ประกอบด้วยพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทร์ เรื่องการสร้างวัดพระแก้วศรีเชียงใหม่ ประวัติท้าวสุวอเจ้าเมืองหนองคาย พงศาวดารเมืองนครพนมโดยสังเขป เป็นต้น และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 71 เป็นเรื่องราวของพงศาวดารละแวก ประกอบด้วย บันทึกพงศาวดารเขมร พงศาวดารละแวก ฉบับแปล จ.ศ.1170 เป็นต้น


ชื่อผู้แต่ง        พระราชธรรมกวี ชื่อเรื่อง         ถึงเวลาแล้วที่ธรรมนำโลก โอวาทสมเด็จโต ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   ราชบุรี สำนักพิมพ์     ยุคใหม่ จำกัด ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๙ จำนวนหน้า    ๑๓๖ หน้า รายละเอียด    หนังสือโอวาทของเจ้าพระคุณสมเด็จโต ได้เทศน์และแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม รวมถึงคำสั่งสอนของพระศาสดา


วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙) เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ณ สี่แยกท่าเรือ บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวนฤมล  สักกามาส เจ้าหน้าที่ประจำห้อง ให้การต้อนรับ และเป็นวิทยากรนำชม


ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง คู่มือเมฆและปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศ = Cloud guide บัญชา ธนบุญสมบัติ. คู่มือเมฆและปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศ = Cloud guide. นนทบุรี: สารคดี, 2560 ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 551.576 บ253ค คุณเงยหน้ามองท้องฟ้าด้วยเหตุผลใด เพราะฟ้าครึ้มช่วงฝนใกล้จะตก เพราะแดดออกจนอากาศร้อน หรือเพราะคิดถึงใครบางคนที่ต้องไกลกัน หลายคนก็มีเหตุให้มองท้องฟ้าแตกต่างกันไปแต่ยังมีคนอีกหนึ่งกลุ่มที่มองท้องฟ้าเพราะรักและหลงใหลในกิจกรรมการดูเมฆจนก่อตั้งเป็นชมรมคนรักมวลเมฆ ที่ซึ่งรวบรวมภาพ ข้อมูล และปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับเมฆและชั้นบรรยากาศไว้มากมายทั้งของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพราะการมองเมฆไม่เพียงให้ความรื่นรมย์เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เข้าใจธรรมชาติและท้องฟ้าได้เป็นอย่างดี คู่มือเมฆและปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศ = Cloud guide เล่มนี้ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ พาเราไปพบกับ การดูเมฆ หรือ Cloudspotting ที่ไม่ใช่การเงยหน้ามองฟ้าเพื่อดูเมฆเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ ทั้งการเกิดสายรุ้ง สายฟ้า สายฝน พระอาทิตย์ทรงกลด และอีกมากมาย ผู้เขียนจึงให้คำนิยามกับหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นคู่มือชมเมฆชมฟ้า ทฤษฎีการดูเมฆและจัดประเภทอ้างอิงตาม International Cloud Atlas ฉบับล่าสุดขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เมฆทุกรูปแบบอยู่ในชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดพื้นโลก รูปร่างของเมฆแต่ละประเภทจะส่งผลต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติแตกต่างกันไป เช่น เมฆในตระกูลคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ลักษณะเป็นเมฆก้อนใหญ่จะทำให้เกิดฝนตกหนัก อาจมีฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือลูกเห็บร่วมด้วย เรียกง่ายๆ ว่าเป็นเมฆฝนฟ้าคะนอง เมฆในตระกูลซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) ลักษณะเป็นเมฆแผ่น อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ทรงกลด เนื่องจากผลึกน้ำแข็งในเมฆหักเหหรือสะท้อนแสงได้ ผู้เขียนยังได้รวบรวมภาพถ่ายตัวอย่างประเภทของเมฆและปรากฏการณ์ท้องฟ้าต่างๆ รวมถึงมี QR Code เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจและคลิปวิดีโอแสดงปรากฏการณ์บนท้องฟ้า สร้างความน่าสนใจให้กับหนังสือเล่มนี้มากยิ่งขึ้น ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)



    เหรียญรูปสังข์บรรจุภายในภาชนะดินเผา พบจากการขุดศึกษาโบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ จัดแสดงห้องโบราณคดีเมืองอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง   เหรียญขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑.๓ – ๑.๕ เซนติเมตร ลักษณะบางคล้ายเกล็ดปลา ด้านหน้ามีรูปสังข์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งลวดลายนี้พบบนเหรียญเงินสมัยทวารวดี ทั้งแบบที่มีรูปสังข์หน้าเดียว และแบบที่มีรูปสังข์ – ศรีวัตสะอยู่คนละด้าน ส่วนด้านหลังเรียบไม่มีลาย เหรียญอยู่ในสภาพชำรุด และติดกันแน่นเป็นกลุ่มอยู่กับดินบริเวณส่วนคอของภาชนะดินเผาทรงกลมที่มีคอสูง กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว   เหรียญรูปสังข์และภาชนะดินเผานี้ ขุดพบที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๑๘ เมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานเนื่องในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีลักษณะเป็นเนินดินที่มีวัสดุโครงสร้างของโบราณสถานได้แก่ ศิลาแลง ก้อนหินปูน และอิฐ กระจายอยู่ทั่วเนินดิน โดยพบภาชนะดินเผาดังกล่าวในลักษณะวางตั้งตรง ส่วนคอมีรอยแตก สามารถแยกออกจากลำตัวได้ ภายในมีเหรียญรูปสังข์บรรจุอยู่เต็ม เหรียญเกาะตัวกันแน่นจนไม่สามารถนำออกมาได้ ต่อมามีการนำเหรียญดังกล่าวออกจากตัวภาชนะ คงเหลือเพียงเหรียญที่ติดแน่นบริเวณส่วนคอจนกระทั่งปัจจุบัน    สันนิษฐานว่าเหรียญรูปสังข์พร้อมภาชนะดินเผานี้ ทำขึ้นสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรม หรืออาจเกี่ยวข้องกับการวางฤกษ์ศาสนสถาน การบรรจุเหรียญลงในภาชนะดินเผาแล้วฝังไว้บริเวณศาสนสถาน ยังพบที่โบราณสถานแห่งอื่นด้วย เช่น เหรียญเงินมีจารึก “ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺยะ” เหรียญมีสัญลักษณ์มงคล และแท่งเงินตัดบรรจุในภาชนะดินเผาพบที่โบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๗ และเหรียญรูปสังข์บรรจุในภาชนะดินเผาร่วมกับพระพิมพ์พบที่โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง เป็นต้น ------------------------------------------------ เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีคอกช้างดิน. กรุงเทพฯ : ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี. พระนคร : ศิวพร, ๒๕๐๙ วิภาดา อ่อนวิมล. “เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๖”. วิทยานิพนธ์ปริญญา         ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑. สมศักดิ์ รัตนกุล “การขุดแต่งโบราณสถานด้านทิศเหนือของคอกช้างดิน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” ศิลปากร ๑๑, ๒ (กรกฎาคม ๒๕๑๐) : ๗๘ – ๘๔. สุภมาศ ดวงสกุล และคณะ. ศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างบนเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์เมืองอู่ทอง : ผลการสำรวจ ทางโบราณคดีบนเขตภูเขานอกเมืองอู่ทอง พ.ศ. ๒๕๖๒. สุมทรสาคร : บางกอกอินเฮาส์, ๒๕๖๒.   ---------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/Uthongmuseum/posts/pfbid0ufj1FUrkPRG43G2CMUexRaeBoM21Wtjnabcfj9CfRxzDfZgLNM1YdXPRQ3pFXSdal  



ประวัติเกจิดังของชัยนาท พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข เกสโรเกิด พ.ศ. 2390 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านมะขามเฒ่า (ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง) ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ในวัยหนุ่ม ท่านเคยได้แต่งงานกับหญิงสาวจนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ทองล่าง จ.นนทบุรี โดยมีพระอธิการเชย จันทสิริ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านก็จำพรรษาอยู่ที่นี่ หลวงปู่ศุข ท่านได้อยู่ปรนนิบัติอาจารย์ ซึ่งเป็นพระที่เคร่งครัดในด้านวิปัสสนา จึงได้ศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเวทมนตร์คาถา ต่อมาท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่าม ปทุมวัน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชนะสงคราม บางลำพู ณ ที่นี่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ ร่วมกัน ท่านทั้งสองจึงมีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษ ต่อมาปี พ.ศ. 2435 ท่านได้ธุดงค์ เข้าเขตชัยนาท มาจำพรรษาอยู่ที่ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ท่านได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ขึ้นมาใหม่ ชาวบ้านต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติและพระเวทวิทยาคมของท่าน ท่านได้มีศิษย์เอกเป็นถึงเชื้อพระวงศ์ คือ "กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" รวมถึงมีตำนานเกี่ยวกับ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ได้นำผ้าเจียดจากหลวงปู่ศุขไปแจกให้แก่ทหารเรือ เพื่อทำการทดลองอาคม โดยมี "ยัง หาญทะเล" ซึ่งเป็นทหารคนสำคัญ เป็นผู้รับอาสาทดลอง หลวงปู่ศุข มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2466 สิริอายุได้ 76 ปี นับพรรษาได้ 54 พรรษา แต่แม้ หลวงปู่ศุข จะละสังขารมาล่วงกว่า 100 ปีแล้ว แต่ท่านยังเป็นที่เคารพศรัทธาจากชาวชัยนาท และลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ ด้วยท่านเป็นพระเกจิผู้เปี่ยมด้วยพุทธาคมแก่กล้า จนได้รับสมญา เจ้าสำนักทางพุทธาคมอันยิ่งใหญ่แห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่สร้างล้วนเป็นที่นิยมอย่างสูง ด้วยพุทธคุณเป็นเลิศ โดยเฉพาะแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และยังคงเป็นที่กล่าวขานและแสวงหา



ชื่อผู้แต่ง       คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ  ชื่อเรื่อง        เศรษฐกิจปริทรรศ (ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๓  ตุลาคม ๒๕๑๒) ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์     สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๒ จำนวนหน้า    ๖๐ หน้า รายละเอียด                    วารสารเศรษฐกิจปริทรรศเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาเศรษฐศาสตร์ และวิชาการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เนื้อหาภายในประกอบด้วย ๕ บทความเช่น ภาวะเศรษฐกิจของไทยด้านต่างประเทศ,จุดอ่อนด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยฯลฯ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมข้อคิดเห็นทางวิชาการของผู้สนใจทั่วไปและอาจารย์ในคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 147/7เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5จเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


Messenger