ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,618 รายการ
สมฺโพชฺฌงฺค (สติ-อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺค)
ชบ.บ.52/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง ตำราโหราศาสตร์ (เล็กเจ็ดตัว)
สพ.บ. 316/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ โหราศาสตร์ลักษณะวัสดุ 46 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 29.6 ซม.หัวเรื่อง โหราศาสตร์
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.265/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 116 ลาน2 (226-231) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปญญาปารมี(ปัญญาบารมี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
บทความทางวิชาการ " การบูรณะวิหารพระนาก วัดจักรวรรดิ์"
วิหารพระนาก วัดจักรวรรดิ์ สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.๒๓๗๐ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เดิมเป็นวิหารหรือหอพระที่ประดิษฐานพระบางเมื่อครั้งที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้อัญเชิญมาจากนครหลวงเวียงจันทร์
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานพระบางกลับไปประดิษฐานที่นครหลวงพระบาง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนาก จากหอพระในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกันมาประดิษฐานไว้ในวิหารแทน จึงเรียกวิหารหลังนี้ว่า วิหารพระนาก
วิหารพระนากมีความพิเศษหลายประการที่พบไม่บ่อยนักในอาคารในรุ่นราวคราวเดียวกัน อาทิเช่น การตกแต่งผนังภายนอกด้วยงานจิตรกรรมลายแผงหรือลายแย่งแบบราชวัตร (ลายตาราง) ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกพุดตานก้านแย่งจากดอกตูมออกไปทั้งสี่ทิศ ตัวลายสีเหลืองถมพื้นดำ คล้ายกับทำให้ดูเหมือนเป็นการตกแต่งด้วยลายทอง อย่างไรก็ตามการตกแต่งผนังภายนอกดังกล่าวนี้เป็นงานที่เขียนขึ้นใหม่ในยุคหลัง แต่ยังคงรูปแบบลวดลายตามอย่างของเดิม
ซุ้มประตู-หน้าต่าง ปั้นปูนเป็นลายดอกพุดตานปิดทอง ตัวบานเขียนด้วยลายทองสอดสีรูปมังกร สิงโต และสัญลักษณ์มงคลในวัฒนธรรมจีน ซึ่งถือเป็นงานศิลปกรรมชิ้นสำคัญของวิหารแห่งนี้
การตกแต่งหน้าบันด้วยลายปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบลายคราม แสดงเรื่องราวของแม่กาเผือกซึ่งเป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัลป์ และยังเป็นตำนานที่มีอิทธิพลมากในแถบล้านช้างและล้านนา
การทำช่องซุ้มประดับประทีป ซึ่งอาจพบเจอได้บ้างในวิหารที่อื่นๆ เช่น วัดไพชยนต์พลเสพย์ เป็นต้น แต่ช่องซุ้มประดับประทีปที่วิหารพระนากนี้ หากนับดูจะได้เท่ากับ ๒๔ ช่อง ซึ่งทำให้นึกไปถึงอดีตพุทธทั้ง ๒๔ พระองค์
การตกแต่งพนักบันไดด้านหน้าด้วยลายปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบลายคราม เป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของพุทธประวัติตอนมารผจญ ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่ปรากฏการการนำเรื่องราวดังกล่าวมาแสดงภายนอกอาคาร
นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการเขียนลายทองรูปดอกไม้ที่กรอบช่องเปิดพาไล (กรอบหน้าต่างแนวผนังรอบนอก) ซึ่งหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ที่สำคัญคาดว่าวิหารพระนาก หรือวิหารพระบางหรือหอพระบางเดิม อาจมีหน้าต่างตรงกรอบช่องเปิดพาไล (กรอบหน้าต่างแนวผนังรอบนอก) เนื่องจากพบว่าไม้กรอบพาไลบางส่วนมีร่องเดือย และร่องรางรับบาน
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม 4 : วัดสาคัญกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2525). 217-218
ปฐมพงษ์ สุขเล็ก. “พระบาง” จากลาวสู่สยาม มาเพราะ “การเมือง” ส่งกลับเพราะ “ความเชื่อ”, ใน ศิลปวัฒนธรรม, ฉบับมกราคม 2556.
อมรรัตน์ จริงวาจา. จิตรกรรมลายแผงสมัยรัชกาลที่ 3 – รัชกาลที่ 4 : วิเคราะห์ที่มารูปแบบและพัฒนาการ, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2560.
http://gis.finearts.go.th/fineart/ วัดจักรวรรดิราชาวาส
เรียบเรียง
ธีระยุทธ์ สุวลักษณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี
เอื้อเฟื้อข้อมูล
พงศธร เหียงแก้ว
ศุภกิจจ์ เสถียรอินทร์
เรียบเรียง
ธีระยุทธ์ สุวลักษณ์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน กองโบราณคดี
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "โฉมใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี" ในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube กรมศิลปากร
องค์ความรู้ สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน”
วันสุนทรภู่ หมายถึง วันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง ซึ่งมีผลงานด้านบทกลอนที่มีคุณค่าแก่แผ่นดินเป็นจำนวนมาก
สุนทรภู่ เกิดวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ณ บริเวณด้านเหนือของพระราช วังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนมารดาไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นคนจังหวัดใด สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เมื่อท่านเกิดได้ไม่ถึงหนึ่งขวบ บิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดากลับไปบวชที่วัดป่า อำเภอแกลง ส่วนมารดาได้ถวายตัวเป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข
สุนทรภู่อยู่กับมารดา เข้าเรียนที่สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม มีความรู้จนได้เป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ด้วยความไม่ชอบงานเสมียน ทำได้ไม่นานก็ลาออก สุนทรภู่อยู่ในวังกับมารดา จนอายุได้ 20 ปี ได้ลอบรักใคร่กับสาวชาววัง ชื่อ จัน จนถูกลงโทษจองจำและถูกโบย เมื่อพ้นโทษ ได้กลับไปหาบิดาที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง และแต่งงานกับจัน แต่อยู่กันไม่นานก็เกิดระหองระแหง คงเป็นเพราะสุนทรภู่เมาสุราอยู่เป็นนิตย์ จึงได้เลิกหย่าร้างกัน
ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับแต่งตั้งเป็นขุนสุนทรโวหาร เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด ในสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ถูกกล่าวหา ด้วยเรื่องเสพสุรา และเรื่องอื่นๆ จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร ต่อมาสุนทรภู่ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) และเดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่างๆ บวชใหม่ถึง 2 ครั้ง แล้วลาสิกขาบทถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปี พ.ศ. 2394 รับราชการอยู่ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี
ผลงานของสุนทรภู่มีนิราศ 9 เรื่อง นิทาน 5 เรื่อง สุภาษิต 3 เรื่อง บทละคร 1 เรื่อง บทเสภา 2 เรื่อง และบทเห่กล่อม 4 เรื่อง
ในปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปี สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นกวีเอกของโลก เพื่อรำลึกถึงสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่รำลึกถึงสุนทรภู่ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
เนื่องน้อย ชูโต. คำกลอนเรื่องลูกอิเหนา. พระนคร: ไทยเขษม, 2497.
ลูกอิเหนาเล่มนี้กล่าวถึงเมืองซังคราล หรือเมืองกุเรปัน มีโอรสชื่อบันหยีอินูเกรตาปดี ได้อภิเศกสมรสกับนางจันทร์กิระนะบุษบา และเป็นชายาคนที่ 2 รองจากนางอังเดรเน หรือนางจินตหรา ซึ่งลูกอิเหนากำเหนิดจากนางจันทร์กิระนะบุษบา ชื่อว่า มิสากุดาลาหลิน และได้ครองราชย์ต่อจากบิดาน
ชุดองค์ความรู้ "นานาสาระ...คาม" ตอนที่ 4 "สิมวัดยางทวงวราราม (วัดบ้านยาง) ตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม"
มาถึงตอนสุดท้ายกันแล้วนะคะ กับชุดองค์ความรู้ "นานาสาระ....คาม" ในวันนี้ พี่นักโบ ขอพาทุกท่านมาชม
สิมวัดยางทวงวราราม (วัดบ้านยาง) ตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
สิมวัดบ้านยางแห่งนี้มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและฮูปแต้มหรือภาพจิตรกรรมฝาผนังแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม
จะมีสิ่งที่น่าสนใจอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันได้เลยค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับองค์ความรู้ที่พี่นักโบนำมาฝากทุกท่านในวันนี้
หากมีโอกาสพี่นักโบอยากจะขอเชิญชวนทุกท่านมาชมสิมวัดยางทวงวรารามหรือวัดบ้านยางแห่งนี้ ณ สถานที่จริงกันไปเลย
เพื่อให้เกิดอรรถรสและชื่นชมความสวยงามของสิมแห่งนี้
สำหรับวันนี้พี่นักโบขอลาไปก่อน ตอนหน้าจะกลับมาพบกับองค์ความรู้ในเรื่องอะไรนั้นฝากติดตามกันด้วยนะคะ
เรียบเรียงนำเสนอโดย นางสาวปติมากร พึ่งพวก ผู้ช่วยนักโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
องค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ ของสำนักการสังคีต เรื่อง รำฉุยฉายพญาครุฑแปลง เรียบเรียงโดยนายรัฐศาสตร์ จั่นเจริญ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต
พระพิมพ์เมืองลำพูน พระกวางศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ดินเผากว้าง ๑๖ ซม. สูง ๑๓ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ -พระพิมพ์ทรงสามเหลี่ยมทรงสูง ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานสี่เหลี่ยมเป็นชั้นๆ ยกเก็จตรงกลางฐานประดับลายเม็ดปะคำ รอบพระเศียรมีประภามณฑลโค้งแหลม ขนาบข้างด้วยพระสาวกนั่งขัดสมาธิ เบื้องหลังพระพุทธรูปประธานเป็นอาคารทรงปราสาท ขนาบข้างด้วยยอดปราสาทขนาดเล็ก ๒ ข้าง -ฐานด้านล่างทำเป็นรูปกวางหมอบ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพระพิมพ์ในลักษณะนี้ ของกลุ่มผู้ศึกษาพระพิมพ์ว่า พระกวาง พบทั่วไปในจังหวัดลำพูน เช่น วัดดอนแก้ว วัดประตูลี้ และเวียงท่ากานในจังหวัดเชียงใหม่ จัดอยู่ในกลุ่มพระพิมพ์ที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับศิลปะทวารวดี ได้แก่ พระกลีบบัว และพระกล้วย อ้างอิง ผาสุข อินทราวุธ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาร่องรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานโบราณคดีในเขตจังหวัดลำพูนก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๓๖. สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๗.