ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

ชื่อเรื่อง : ตามใจผู้เขียน ชื่อผู้แต่ง : ส.ศิวรักษ์ ปีที่พิมพ์ : 2514สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : หจก. รวมสาส์น จำนวนหน้า : 596 หน้า สาระสังเขป : ตามใจผู้เขียน เป็นภาคต่อจากหนังสือเล่ม คุยคนเดียว เป็นการรวบรวมงานพูดที่ ส.ศิวรักษ์ ได้พูดออกอากาศทาง ททท. เป็นจำนวน 39 เรื่อง แต่ละเรื่องล้วนแต่น่าสนใจทั้งในแง่ความรู้ และความคิดของนักคิดชื่อดังคนนี้ เรื่องในเล่มอาทิ -เที่ยวเรือตามคลองบางหลวง -อันเนื่องมาจากพระพุทธเลิศหล้าฯ -พระเจนดุริยางค์ -เที่ยวเรือกับท่านพุทธทาส -สยามสมาคม -ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล -อันเนื่องมาแต่ฟุตบอลประเพณี ฯลฯ


         เรื่องราวของช้างที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดเพชรบุรี          ในพุทธศักราช ๒๕๒๑ จังหวัดเพชรบุรี โดยนายศุภโยค  พานิชวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมช้างสำคัญ ๓ เชือก แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช เป็นช้างพลายอายุประมาณ ๒ ปีเศษ ชื่อ "ภาศรี" และพัง "ขวัญตา" กระทั่งต่อมา สำนักพระราชวังได้ส่งผู้ชำนาญไปตรวจคชลักษณ์ คือ จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ) ผลปรากฏว่าลูกช้างพลายภาศรี และลูกช้างพังขวัญตา เป็นช้างสำคัญมีมงคลคชลักษณ์ถูกต้องตามตำราพระคชลักษณศาสตร์ อยู่ในตระกูล "วิษณุพงศ์" จำพวก "อัฏฐคช" ชื่อ "ดามพหัสดินทร์" ส่วนลูกช้างพลายดาวรุ่ง มีคุณลักษณะพิเศษ โดยมีเล็บครบเป็นช้างสำคัญที่หาได้ยาก เกิดในตระกูล “วิษณุพงศ์” จำพวก “อัฏฐคช” ชื่อ “ครบกระจอก”          ช้างสำคัญทั้ง ๓ เชือกนี้ ตามตำราพระคชลักษณศาสตร์นิยมว่า อุบัติมาเพื่อบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ควรแก่การขึ้นระวางสมโภชเป็นพระราชพาหนะ และเป็นสิริสวัสดิมงคลแก่อาณาประชาราษฎร์ ทั้งจะบังเกิดพืชผลผลาหารบริบูรณ์แก่ประเทศชาติ เมื่อปรากฏเป็นช้างสำคัญตามตำราพระคชลักษณศาสตร์เช่นนี้ ทางกระทรวงมหาดไทยร่วมด้วยประชาชนจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีความปลาบปลื้มยินดียิ่ง ที่ได้มีช้างสำคัญอุบัติขึ้นในจังหวัดเพชรบุรีถึง ๓ เชือกพร้อมกัน นับเป็นมหาอดิเรกบุญญาธิการ อันไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ชาติไทย จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานน้อมเกล้าฯ ถวายลูกช้างสำคัญทั้ง ๓ ช้าง เพื่อเป็นพระราชพาหนะคู่พระบารมีตามราชประเพณีสืบไป            ทั้งนี้ได้ทรงพระราชดำริเห็นว่า การที่มีช้างสำคัญเกิดขึ้นในพระราชอาณาจักร โบราณราชประเพณีย่อมนิยมว่าเป็นสิริมงคลอันอุดมประเสริฐแก่ประเทศชาติ เมื่อกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยประชาชน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญด้วยมงคลคชลักษณ์ตามตำราพระคชลักษณศาสตร์เช่นนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงรับการน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ ณ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นสิริมงคล เป็นเกียรติประวัติแก่ส่วนภูมิภาคนี้ และนับเป็นครั้งสุดท้ายในรัชกาลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีนี้ขึ้น ในจังหวัดที่พบช้างสำคัญ


เลขทะเบียน : นพ.บ.393/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 145  (48-57) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : คาถาพัน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.530/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 178  (281-290) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อเรื่อง                           มงฺคลตฺถทีปนี (มงคลทีป) สพ.บ.                                 432/9ประเภทวัสดุ/มีเดีย              คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                       64 หน้า : กว้าง 4.8 ซม.  ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา--พระไตรปิฏก                                         คัมภีร์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับลานดิบ ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีรับและขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญ ณ พลับพลาหน้าโรงพระราชพิธีช้างต้น จังหวัดเพชรบุรี (รหัสเอกสาร ฉ/ร/๖๕๑)



บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านในจุลสารแป้นเกล็ดเรื่อง "หอคำเมืองน่าน"จุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่านแป้นเกล็ด ฉบับที่ ๕ กันยายน-พฤศจิกายน ๒๕๖๐อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid02irzV77VbwLukG6Z57jjKo...


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญร่วมกิจกรรมพิเศษ "Art Activities @พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี" ในวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. เพื่อให้น้อง ๆ หนูๆ ที่มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์และปิดภาคเรียน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านศิลปะ โดยมีกิจกรรม DIY ประดิษฐ์พวงกุญแจแรงบันดาลใจจากโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ ประดิษฐ์ตุ๊กตาทำมือ และระบายสีที่คั่นหนังสือตามจินตนาการ ซึ่งน้อง ๆ ที่ร่วมกิจกรรมจะได้รับผลงานตัวเองกลับบ้านไปด้วย           สอบถามเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐



          วัดห้วยเสือ ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยเสือ หมู่ที่ 5 ตำบลสมอพรือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจากการเข้าไปสำรวจพบว่าวัดแห่งนี้มีการรวบรวมภาพจิตรกรรม โดยเป็นเรื่องราวของ “พระเวสสันดรชาดก” ชาติที่ 10 ของเรื่องราว “ทศชาติชาดก” หรือก็คือ 10 ชาติ ของการเล่าเรื่องราวการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ซึ่งในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้ถูกจัดเก็บไว้เป็นอย่างดี ณ วัดห้วยเสือ เพื่อเป็นการดำรงและรักษาภาพจิตรกรรมการแสดงคำสอนอันดีงามและเรื่องราวความเป็นมาทางพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป             สำหรับ ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่รู้จักมากที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาทศชาติชาดกทั้ง 10 ตอน และเป็นสาเหตุที่เวสสันดรชาดกถูกยกให้เป็นมหาชาตินั้น ก็เนื่องจากชาดกเรื่องนี้ถือเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นพระชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทานบารมี” ที่ทรงบริจาคทุกสิ่งทุกอย่างทุกอย่าง แม้แต่ภรรยาและบุตรของตนเองก็บริจาค ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่สุด            นอกจากนั้น สาเหตุที่ “พระเวสสันดรชาดก” นั้นเป็นที่ยกย่องและน่าเลื่อมใส เพราะเรื่องเวสสันดรชาดกนั้นมีคุณค่าที่สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ทุกระดับ โดย 13 กัณฑ์ ของเรื่องราว “พระเวสสันดรชาดก” สามารถศึกษาเเละทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ ดังนี้             เอกสารเเละหลักฐานสำหรับการสืบค้น           1. วัดห้วยเสือ, ภาพจิตรกรรม ทศชาติ เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ว่าด้วยเรื่อง 13 กัณฑ์.           2. เจริญ ไชยชนะ.  (2502),  มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 5 กัณฑ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไชยวัฒน์.           3. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.  (2561),  เทศน์มหาชาติมหากุศล.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.           4. ทิวาวรรณ อายุวัฒน์.  (2561).  ““ทศชาติชาดก 101”, ใน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี (ผู้รวบรวม), บทความทางวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี.  (หน้า 1).  นครปฐม :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.


เมืองโบราณโนนเมือง แหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดี ที่บอกเล่าเรื่องราวการดำรงชีวิต ของคนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำเชิญ เมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว ข้อมูลเพิ่มเติมจิ้มได้เลยค่ะ https://bit.ly/3M9fgIP #ขอนแก่น #ชุมแพ  #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น  #รีวิวชุมแพ  #รีวิวขอนแก่น ⋯⋯✧⋯✦⋯⋯✧✦✧⋯⋯✦⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี


            ชอง หรือ คนชอง (ช์อง) แปลว่า “คน” เป็นชื่อของกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ชาวชองอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่มีปรากฏหลักฐานซึ่งได้กล่าวถึงคนชองไว้ในนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ แต่งเมื่อ พ.ศ. 2350 และจดหมายเหตุของรัชกาลที่ 5 ครั้งเสด็จประพาสจันทบุรี นอกจากนี้ยังมีปรากฏในเอกสารของชาวต่างชาติ ได้แก่ ปาลเลอกัวซ์ (Pallegoix, 1853) ใช้ว่า Xong และครอฟอร์ด (Crawford, 1856) ใช้ว่า Chong และพจนานุกรมภาษาสยามของหมอบรัดเลย์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2416 ยังให้นิยามของคำว่า ชอง เอาไว้ด้วย ทั้งหมดนี้น่าจะมีที่มาจาก “ชอง” เดียวกันทั้งสิ้น           ชาวชองเป็นกลุ่มชนที่จัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตร - เอเชียติค (Austro - Asiatic) กลุ่มย่อยตระกูลมอญ - เขมร (Mon - Khamer) มีลักษณะรูปร่างสันทัด ผิวค่อนข้างดำ เส้นผมหยิกขอด รูปหน้าค่อนข้างเหลี่ยม คางและขากรรไกรค่อนข้างกว้าง จมูกไม่โด่งแต่ก็ไม่แบนราบ ริมฝีปากและสันคิ้วค่อนข้างหนา มีตาโต โดยทั่วไปมีนิสัยโอบอ้อมอารี ใจดี รักสงบ ซื่อสัตย์ และรักพวกพ้อง วิถีชีวิตแต่เดิมมีความเป็นอยู่อย่างลักษณะ คนป่า ยังชีพด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ มีการทำนาปลูกข้าวเพียงเพื่อการดำรงชีพเท่านั้น ชาวชองจะเลือกตั้งถิ่นฐานเพื่อสร้างหมู่บ้านอยู่อาศัยบริเวณป่าเขา การปลูกสร้างบ้านเรือนใช้สถาปัตยกรรมแบบเรือนเครื่องปลูก มีระบบครอบครัว ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง เช่น ประเพณีและพิธีกรรมการนับถือผีบรรพบุรุษที่เรียกว่าการเล่น “ผีหิ้ง และผีโรง” ประเพณีการแต่งงาน การปกครอง การจัดระบบระเบียบของสังคม ตลอดจนกฎเกณฑ์การควบคุมความประพฤติของชนในกลุ่ม มีภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่มีตัวอักษรหรือภาษาเขียน ดังนั้นชาวชองจึงไม่ได้บันทึกประวัติศาสตร์และความเป็นมาของตนเองไว้เลย ได้แต่ใช้วิธีการบอกเล่าและปฏิบัติสืบต่อกันมาเท่านั้น             อย่างไรก็ตามเมื่อชาวชองได้เป็นคนไทยตามพระราชบัญญัติของทางราชการ จึงหันมาพูดภาษาไทย และนับถือพุทธศาสนาตามแบบอย่างคนไทย วิถีชีวิตของชาวชองเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมและสภาพแวดล้อมปัจจุบัน มีการปรับตัวและรับเอาวัฒนธรรม รวมถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิต เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เครื่องมือการประกอบอาชีพ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องมือการสื่อสาร ตลอดจนการจัดระเบียบการปกครองตามรูปแบบของทางราชการ และการพัฒนาหมู่บ้านตามระบบสังคมอุตสาหกรรม ล้วนส่งผลกระทบให้วิถีชีวิตและสังคมของชาวชองเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว           ชาวชองอาศัยอยู่กันมากในแถบตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี บริเวณอำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันการใช้ภาษาชอง ตลอดจนวัฒนธรรมของชาวชองอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญหายเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการสูญเสียภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตามชาวชองได้มีความพยายามฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของตนเองตั้งแต่ พ.ศ. 2545 โดยได้มีการสร้างระบบตัวเขียนภาษาชองด้วยตัวอักษรไทย และการสร้างวรรณกรรมหนังสืออ่านภาษาชองระดับต่าง ๆ มีการสอนภาษาชองเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียน และมีการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมชองสำหรับเป็นแหล่งข้อมูล ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนได้ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูและเผยแพร่วัฒนธรรมชองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมนี้คงอยู่ได้สืบต่อไป แหล่งข้อมูลอ้างอิง กิตติพันธ์ ทิพย์สกุลชัย.  108 ปี ของดีมะขาม.  กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา, 2550. “ชาวชอง ชาติพันธุ์จันทบุรี ภาษาและวัฒนธรรมที่กำลังสาบสูญ.” การันต์.  2, 6 (28 เมษายน 2558): หน้า 4-7.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566,      จาก: https://issuu.com/satchukornkeiokun/docs มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม. ชนเผ่าพื้นเมืองชอง.  เชียงใหม่: มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม, ม.ป.ป. ศูนย์ภูมิวัฒนธรรมชอง.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566, จาก: https:// chong.thaiipportal.info ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ภาพถ่ายชอง.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566, จาก: https://culturio.sac.or.th/content/998 สุจิตต์ วงษ์เทศ.  คนชองกลายตนเป็นไทย ฝั่งทะเลภาคตะวันออก.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2566, จาก:                      https://www.matichonweekly.com/column/article_232480#google_vignette เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี  



Messenger