ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง มงฺคลตฺถทีปนี (มงคลทีป) สพ.บ. 432/8ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 62 หน้า : กว้าง 4.8 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา--พระไตรปิฏก คัมภีร์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ไปทรงเยี่ยมราษฎรอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง(รหัสเอกสาร ฉ/ร/๒๑๐)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดการบรรยายทางวิชาการออนไลน์สาธารณะ ประจำปี พ.ศ.2566 "คนพิพิธภัณฑ์อยากจะเล่า" ครั้งที่ 4 ขอเชิญร่วมฟังเรื่องเล่า ในหัวข้อ "อาคารเครื่องทอง นิทรรศการใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา" เล่าเรื่องโดย นางสาวศศิธร โตวินัส ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 10.30 น. เป็นต้นไป
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง facebook live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดการบรรยายทางวิชาการออนไลน์สาธารณะ ประจำปี พ.ศ.2566 "คนพิพิธภัณฑ์อยากจะเล่า" ครั้งที่ 5 ขอเชิญร่วมฟังเรื่องเล่า ในหัวข้อ “คฤหาสน์กูเด็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล” เล่าเรื่องโดย นางสาวณัฐกานต์ พิภูษณกาญจน์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล ในวันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.30 น. เป็นต้นไป
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง facebook live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ฐานโยนีโทรณะ
“ฐานโยนิโทรณะ”หรือที่มักเรียกกันว่า “ฐานโยนี” โดยคำว่า “โยนี” หมายถึง “อวัยวะเพศหญิง” และ “โทรณะ” หมายถึง “ทางเข้าออก” ซึ่งก็คือร่องน้ำของฐานโยนีที่ยื่นออกมา โดยฐานโยนีโทรณะ เป็นสัญลักษณ์แทนพระนางปารวตี ซึ่งใช้เป็นฐานรองรับการประดิษฐานองค์ศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ สวามีของพระนางปารวตี บริเวณตรงกลางของฐานโยนีโทรณะเจาะรูตรงกลางเพื่อให้เดือยขององค์ศิวลึงค์ด้านล่างเสียบเข้าไปได้ ส่วนบริเวณโดยรอบสลักเป็นร่องน้ำและรูน้ำไหลออกเพื่อให้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากการทำพิธีไหลลงมายังร่องน้ำดังกล่าว ซึ่งคติการสร้างฐานโยนิโทรณะ คือการแสดงถึงการให้กำเนิดชีวิต ในคติความเชื่อของศาสนาฮินดู นอกจากคำว่าโยนีโทรณะแล้ว ยังมีการใช้คำว่า “ปีฐะ” ที่แปลว่า “ฐาน” ซึ่งใช้เรียก ฐานรูปเคารพทุกชนิด ทั้งที่มีร่องรองรับการทรงน้ำและที่ไม่มีร่องรองรับน้ำ โดยฐานรูปเคารพที่มีร่องรองรับน้ำน้ำยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “สนานโทรณี”
ร่องรอยของฐานโยนีโทรณะเริ่มปรากฏขึ้นในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (2800-800 ปีก่อนพุทธกาล) โดย John Marshall เริ่มทำการขุดค้นเมืองฮารัปปา แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ในปี พ.ศ. 2463 และได้ค้นพบหินเจาะรูทรงกลมซึ่งเขาเสนอว่าเป็นฐานที่เสียบประติมากรรมทรงอวัยวะเพศชาย และยังพบประติมากรรมหินทรงอวัยวะเพศชายบนฐานกลมซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฐานโยนีในยุคแรก ต่อมาหลักฐานของ ฐานโยนีจึงเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 โดยพบการสร้างฐานโยนีโทรณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้รองรับแท่นศิวะลึงค์ ซึ่งแต่เดิมถูกปักไว้ในดิน หรือตั้งไว้ในห้องครรภคฤหะโดยไม่มีฐานรองรับ หลักฐานของฐานโยนีโทรณะในยุคนี้ได้แก่ ฐานโยนีโทรณะของถ้ำเอเลฟานต้า รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่12 โดยพบฐานโยนีโทรณะทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมอินเดียหลั่งไหล่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงปรากฏหลักฐานการใช้ฐานโยนีโทรณะ และฐานรูปเคารพในศาสนาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในประเทศไทย เพื่อใช้วางรูปเคารพเทพเจ้าในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ
ฐานโยนีโทรณะที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม
ที่ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีฐานโยนีโทรณะตั้งอยู่ภายในห้องครรภคฤหะ ซึ่งฐานโยนีโทรณะดังกล่าวประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เป็นของเดิม และชิ้นส่วนที่ทำจำลองขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานของฐานรูปเคารพซึ่งสันนิษฐานว่าใช้วางรูปเคารพของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ในศาสนาฮินดู และเป็นเทพเจ้าที่ถูกบูชาในฐานะเทพเจ้าองค์รองของปราสาทสด๊กก๊อกธม
รู้หรือไม่ ????
ปลายท่อน้ำของฐานโยนีโทรณะตั้งอยู่ทางทิศเหนือเสมอ เนื่องจากคติความเชื่อของศาสนาฮินดูที่ว่า ทิศเหนือเป็นทิศที่แม่น้ำคงคาไหลลงมา ฉะนั้นน้ำที่ไหลลงมาจากการทำพิธีรดน้ำองค์ศิวลึงค์จึงเหมือนน้ำที่ไหลย้อนขึ้นไปยังสรวงสวรรค์
อิฐดินเผาจารึกคาถาเยธมฺมา ฯ
สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒
ไม่ปรากฏที่มา
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ก้อนอิฐดินเผา ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่งขอบทั้งสี่ด้าน มีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ความว่า “เยธมฺมา เหตุปฺปภวา เยสํ เหตุ ตถาคโต อาห เตสญฺจโย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ” แปลได้ความว่า ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้า ทรงสั่งสอนอย่างดังนี้
คาถาเยธมฺมาฯ ถือเป็นสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา มีการพบโบราณวัตถุที่มีจารึกดังกล่าวในหลายวัฒนธรรมทั้งอินเดีย พม่า และในพื้นที่ประเทศไทย โดยเฉพาะในวัฒนธรรมทวารวดีพบจารึกเยธมฺมาฯ บนหลักศิลา พระพิมพ์ สถูปศิลา สถูปดินเผา รวมถึงก้อนอิฐ ซึ่งในวัฒนธรรมทวารวดีนิยมทำก้อนอิฐขนาดใหญ่ผสมกับแกลบข้าว และบางครั้งตกแต่งอิฐเป็นลวดลายมงคล หรือลายธรรมจักรหรือปิดทอง หรือจารึกคาถาทางพุทธศาสนา ฝังเอาไว้กลางโบราณสถานซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคติเกี่ยวกับการวางศิลาฤกษ์สำหรับก่อสร้างอาคาร ตัวอย่างอิฐมีจารึกเยธมฺมาฯ เช่น ที่บ้านท่าม่วง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค กล่าวถึง เมื่อครั้งพระอัสสชิ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เดินทางมาถึงเมืองราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกได้พบจึงเข้าไปถามเกี่ยวกับหลักธรรม พระอัสสชิตระหนักว่าบวชไม่นาน จึงประสงค์จะกล่าวหลักธรรมของพระพุทธเจ้าโดยย่อ ดังความว่า
“...เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ก็พระศาสดาของ ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร? พระอัสสชิตอบว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมา สู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านได้กว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ เราได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม ผู้มีอายุครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวธรรมปริยายนี้ ว่าดังนี้ ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุ แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้...”
เมื่ออุปติสสปริพาชกได้สดับพระธรรมโดยย่อดังกล่าวบังเกิดศรัทธา และได้ไปชักชวนโกลิตปริพาชกผู้เป็นสหายพร้อมด้วยบริวารในสำนักของตนอีก ๒๕๐ คนไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่าเวฬุเพื่อฟังธรรมและบวชเป็นพระภิกษุ สำหรับอุปติสสปริพาชก เมื่อบวชแล้วมีนามว่า “สารีบุตร” ส่วนโกลิตปริพาชก เมื่อบวชแล้วมีนามว่า “โมคคัลลานะ” ทั้งสองเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลปการพิมพ์, ๒๕๖๓.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ จาก: https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=04&A=1358
วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้ฒแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมในที่อื่นตลอด 3 เดือนในฤดูฝน ปกติวันเข้าพรรษาจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม
ในปี พ.ศ. 2566 เป็นปีอธิกมาส มีเดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน จึงเรียกว่า 8 สอง 8 เมื่อหมดเดือน 8 แล้ว แทนที่จะนับเดือนต่อไปเป็นเดือน 9 ก็ให้นับเดือน 8 ซ้ำอีกครั้ง และเรียกเดือน 8 ทั้งสองนี้ว่าเดือน 8 แรก และเดือน 8 หลัง วันเข้าพรรษาปีนี้ใช้เดือน 8 หลัง จึงเลื่อนไปในเดือนสิงหาคม ตรงกับวันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยสำหรับพระสงฆ์ไว้ว่า ในฤดูฝนให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ 3 เดือน เรียกว่า จำพรรษา ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยพุทธกาลตอนต้น พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดให้พระสาวกจำพรรษา ภิกษุทั้งหลายจึงเดินทางเที่ยวจาริกไปทุกฤดู แม้ในฤดูฝนที่ชาวบ้านทำไร่ทำนากัน จึงเหยียบย่ำข้าวกล้าและสัตว์เล็กๆนานาชนิด เช่น มด ปลวก ชาวบ้านจึงพากันตำหนิติเตียน ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสในที่ประชุมสงฆ์ บัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์จำพรรษาตลอด 3 เดือนในฤดูฝน
การเข้าพรรษา แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ เข้าพรรษาแรกเรียกว่า “ปุริมพรรษา” เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงกลางเดือน 11 ถ้าเข้าพรรษาแรกไม่ทันก็เข้าพรรษาหลัง เรียกว่า “ปัจฉิมพรรษา” เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงกลางเดือน 12 แต่เข้าพรรษาหลังจะรับกฐินไม่ทันเพราะหมดเวลาทอดกฐิน ปีใดมีเดือน 8 สองหน ปีนั้นให้ถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง เป็นวันเข้าพรรษาแรก
ช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น ก่อนวันเข้าพรรษาพุทธศาสนิกชนจะนำเทียนเข้าพรรษษและหลอดไฟฟ้าไปถวายพระ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้แสงสว่างตลอดเข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษานิยมไปทำบุญที่วัด ถวายผ้าอาบน้ำฝนและช้าวของเครื่องใช้ตามแต่จะมีจิตศรัทธาถวาย เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน น้ำตาล ไม้ขีด ร่ม พุ่มเทียน ในตอนเช้าของวันเข้าพรรษาก็จะมีการทำบุญตักบาตรทั่วไป
สิงโตในวัฒนธรรมจีนหากได้มีโอกาสไปเที่ยวชมตามวัดหรือศาลเจ้าจีน เรามักจะพบประติมากรรมรูปสัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างประหลาดเฝ้าอยู่หน้าประตูทางเข้าซึ่งชาวจีนจะเรียกสัตว์ดังกล่าวว่า สิงโต (狮, Shi) อันเป็นสัตว์ที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมจีนมาช้านานแม้จะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนก็ตาม ทำให้ชวนสงสัยว่าชาวจีนได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับสิงโตมาจากที่ไหนมีนักวิชาการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสิงโตไว้หลากหลาย บ้างว่าเป็นอิทธิพลของพุทธศาสนาจากอินเดีย บ้างก็เชื่อว่ามาจากการติดต่อค้าขายกับชาวเปอร์เซียผ่านเส้นทางสายไหมในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๓๔๑ – ๕๕๑) ซึ่งมีการนำสิงโตมาถวายเป็นบรรณาการดังปรากฏในบันทึกสมัยนั้น ชาวจีนได้ผสมผสานความเชื่อจากดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นลักษณะทางศิลปกรรมของสิงโตจีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและผิดแผกไปจากสิงโตในป่า ทั้งนี้ ชาวจีนเชื่อว่าสิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ การปกปักษ์คุ้มครอง ความมั่งคั่ง และช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย จึงมักพบประติมากรรมรูปสิงโตทำหน้าที่เป็นทวารบาลเฝ้าอยู่หน้าทางเข้า ศาสนสถาน อาคารสำคัญ หรือบ้านเรือนของชาวจีนมาช้านาน โดยนิยมสร้างเป็นรูปสิงโตตัวผู้และตัวเมียคู่กันซึ่งแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้จะมีลูกบอลอยู่ใต้อุ้งเท้าขวา ส่วนตัวเมียจะมีลูกสิงโตอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สื่อถึง หยิน – หยาง พลังงานสองขั้วของจักรวาลตามหลักปรัชญาจีน ไม่เพียงเท่านั้น สิงโตยังปรากฏในงานศิลปะแขนงอื่นของจีนอีกด้วย อาทิ การเชิดสิงโต หรือแม้แต่ในการผลิตเครื่องถ้วยซึ่งเริ่มนำสิงโตมาใช้ตกแต่งเครื่องลายครามตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗) เป็นต้นมาความเชื่อและงานศิลปะเกี่ยวกับสิงโตของจีนเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ผ่านการติดต่อค้าขายและการแลกเปลี่ยนของผู้คน จึงไม่น่าแปลกที่เราจะพบงานศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสิงโตจีนในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนมาแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาทางวิชาการ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก “๙๖ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช : มาตุภูมิ และพระกรณียกิจ” ในวันเสาร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๗
ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒. ๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี พบกับการบรรยายที่น่าสนใจ ดังนี้
- เวลา ๐๙.๐๐ น. สัมโมทนียกถาเปิดงาน โดย พระพรหมมงคลวัชราจารย์ (ไสว วฑฺฒโน) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๔ และ ๑๕ (ธ) เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร
- เวลา ๐๙.๑๕ น. การสนทนา “ราชบุรีในความทรงจำ” โดย พระพรหมมงคลวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร และ รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- เวลา ๑๐.๑๕ น. การบรรยายเรื่อง “ร่มอารามในราชบุรี” โดย รศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- เวลา ๑๑.๑๕ น. การบรรยายเรื่อง “สมเด็จพระสังฆราชกับการศึกษา” โดย นายปกรัฐ กนกธนาพร รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาองค์กร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
ผู้สนใจกรุณาลงทะเบียนสำรองที่นั่ง ผ่าน inbox facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี (ภายในวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๗) หรือรับชมผ่านช่องทาง online : facebook live ของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
ชื่อเรื่อง สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 1)ผู้แต่ง สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.916 น254ส สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ คลังวิทยาปีที่พิมพ์ ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ 752 หน้า หัวเรื่อง จดหมาย รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาค 1 ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
วันคเณศชยันตี หรือวันประสูติพระคเณศ
ซึ่งปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๑๓ ก.พ. ๒๕๖๗ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ วันนี้แอดมินจึงนำเอาองค์ความรู้เรื่องจารึกบนฐานพระคเณศ ที่เคยประดิษฐานอยู่ ณ โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ นครศรีธรรมราช มาฝากทุกท่านค่ะ
องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง "จารึก" บนฐานพระคเณศสำริด พบที่โบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระคเณศ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย คัมภีร์ปุราณะกล่าวถึงกำเนิดของพระคเณศว่าถือกำเนิดมาจากพระศิวะและพระนางปารวตี ชื่อ “พระคเณศ” หรือ “พระพิฆเนศวร์” แปลตามรูปศัพท์ว่า อุปสรรค ด้วยเหตุนี้พระคเณศจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งการขจัดอุปสรรคและสิ่งกีดขวางทั้งปวง เทพแห่งความสำเร็จ เทพแห่งความฉลาดรอบรู้ และยังเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาและการประพันธ์ด้วย
สำหรับคติการบูชาพระคเณศในภาคใต้ของไทย พบหลักฐานในชุมชนโบราณทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของคาบสมุทร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ มาจนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ โดยบริเวณฝั่งตะวันออกพบหลักฐานในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา ส่วนฝั่งตะวันตกพบหลักฐานในบริเวณจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา
โบสถ์พราหมณ์ เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งในภาคใต้ที่พบคติการเคารพบูชาพระคเณศ โดยได้พบประติมากรรมรูปพระคเณศจำนวนทั้งสิ้น ๓ องค์ องค์หนึ่งที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้ คือ พระคเณศ ๔ กร สำริด ซึ่งมีจารึกปรากฏอยู่ที่ฐานทั้ง ๒ ด้าน สำหรับโบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าโบสถ์พราหมณ์สร้างขึ้นราวสมัยอยุธยา โดยมีฐานะเป็นเทวสถานประจำเมืองนครศรีธรรมราช ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมสำคัญของพราหมณ์ ภายในเคยประดิษฐานรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ที่สำคัญหลายองค์ ได้แก่ พระศิวนาฏราชสำริด พระอุมาสำริด พระวิษณุสำริด พระหริหระสำริด หงส์สำริด และพระคเณศสำริด ภายหลังโบสถ์พราหมณ์มีสภาพชำรุดมาก ถูกรื้อลงในปี ๒๕๐๕ (ปัจจุบันโบสถ์พราหมณ์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรแล้ว ในปี ๒๕๖๓) จึงมีการเคลื่อนย้ายรูปเคารพบางส่วนรวมถึง “พระคเณศสำริด” ไปเก็บไว้ในหอพระอิศวรอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะนำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๕๑๕ ปัจจุบันพระคเณศองค์นี้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
พระคเณศสำริด มีขนาดสูง ๔๖.๕ เซนติเมตร เป็นพระคเณศ ๔ กร ประทับยืนตรง (สมภังค์) บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้นซึ่งมีจารึกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง องค์พระคเณศสวมกรัณฑมกุฏ (คือ หมวกรูปชามคว่ำ เป็นหมวกที่เทพทั่วไปและกษัตริย์นิยมสวม) และเครื่องประดับต่าง ๆ งาข้างขวาหัก มีงาเดียว (จึงมีอีกนามว่า “เอกทันต์”) งวงตวัดไปทางด้านซ้าย สวมสายยัชโญปวีตพาดพระอังสาซ้าย ทรงผ้านุ่งแบบสมพรต (ถกเขมร) พระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือบ่วงบาศ พระหัตถ์ขวาบนทรงถือขอสับช้างหรืออังกุศ พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงถือขนมโมทกะ (คือ ขนมที่ปรุงจากข้าวและน้ำตาล เชื่อว่าขนมโมทกะเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาดรอบรู้) และพระหัตถ์ขวาล่างทรงถืองาข้างขวาที่หัก ทั้งนี้ พบว่าลักษณะการถือสัญลักษณ์ในพระหัตถ์ของพระคเณศองค์นี้คล้ายกับพระคเณศในอินเดียใต้เป็นอย่างมาก
บริเวณฐานชั้นล่างของพระคเณศสำริด ปรากฏจารึกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จารึกด้านหน้าเป็นอักษรทมิฬ ภาษาทมิฬ อ่านว่า มะ ชหา ปิ จิ เท ศะ (ma jhā pi ci de śa) แปลว่า ประเทศอันรุ่งเรืองแห่งมัชหาปิ (มัชปาหิต) ส่วนด้านหลังเป็นจารึก อักษรไทย ภาษาไทย อ่านว่า มหาวิคิเนกสุระ แปลว่า มหาพิฆเณศวร เกี่ยวกับการกำหนดอายุสมัยและการตีความจารึกบนฐานพระคเณศองค์นี้ อาจารย์อัญชนา จิตสุทธิญาณ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึก แห่งภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กำหนดอายุตัวอักษรทมิฬที่ปรากฏในจารึกว่ามีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ แม้ว่าจารึกภาษาทมิฬจะมีการกล่าวถึงราชวงศ์มัชปาหิต ซึ่งเป็นราชวงศ์หนึ่งของชวาที่รุ่งเรืองขึ้นในชวาตะวันออกในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ แต่พระคเณศองค์นี้ไม่ได้แสดงให้เห็นอิทธิพลจากศิลปะชวาแต่อย่างใด หากแต่กลับแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะเขมรอย่างเด่นชัด จึงกำหนดอายุของพระคเณศองค์นี้ไว้ในสมัยอยุธยาตอนต้น
เรียบเรียง/ภาพ: นางสาวนภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช
อ้างอิง:
กรมศิลปากร. จารึกที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักโบราณคดีที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐. (อัดสำเนา)
จิรัสสา คชาชีวะ. “คติความเชื่อและรูปแบบพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๗.
นภัคมน ทองเฝือ. รายงานการขุดค้นโบราณสถานโบสถ์พราหมณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๙.
ผาสุข อินทราวุธ. “พระคเณศ: ที่พบในภาคใต้” สารานุกรมวัฒนธรรม ภาคใต้ ๖ (๒๕๒๙): ๒๒๒๐ - ๒๒๓๐.
ผาสุข อินทราวุธ. ศาสนาฮินดูและประติมานวิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ม.ป.ป.
--------------------------
สามารถดูข้อมูลโบราณสถานโบสถ์พราหมณ์เพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง “โบสถ์พราหมณ์ แห่งเมืองนครศรีธรรมราช” https://www.facebook.com/nakonsrif.../posts/464313600834893/
.
และสามารถดูภาพพระคเณศสำริดองค์นี้ในแบบ ๓ มิติ ได้ที่
http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/.../37-%E0%B8%9E...
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (Krom Bhraya Damrongrachanupab)
ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri)
เทคนิค: สำริด (Bronze)
ขนาด : สูง 12.5 เซนติเมตร (H.12.5 cm.)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s10ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri