ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
ปลายนิ้ว.ประวัติศาสตร์ผ่านศิลปะวิถี .จันท์ยิ้ม.(2):5;มิถุนายน-กรกฏาคม2560
หากกล่าวถึงเรื่องในชีวิตประจําวันรวมไปถึงข้าวของที่เราใช้กันอยู่นี้ เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เรามาถึงตรงนี้ได้ยังไงกัน คนสมัยก่อนที่ขาดสิ่งอํานวยความสะดวกเหล่านี้ พวกเขามีชีวิตยังไงกันบ้าง พวกเขาจะนอน จะกิน จะเดินทางกันอย่างไร และสวมใส่เสื้อผ้าแบบไหนกัน ซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าทุกอย่างล้วนมีวิวัฒนาการที่พัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งการที่เรา จะสามารถศึกษาค้นหาเรื่องราววิถีชีวิตของคนสมัยก่อนได้นั้นก็มีหลักฐานมากมายทางประวัติศาสตร์เช่น หม้อ ชาม เสื้อผ้า เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือน รูปปั้น รวมไปถึงภาพเขียนที่ถูกจารึกบนฝาผนัง
แม้ว่าในสมัยก่อนนั้นจะไม่มีเครื่อง อํานวยความสะดวกดังเช่นปัจจุบัน แต่นั่นทําให้ เราเห็นถึงความขยัน มุมานะ ไหวพริบ และ ความสร้างสรรค์ของคนสมัยก่อนมาก ซึ่งบางที เราอดคิดไม่ได้ว่าถ้าเอาคนในยุคปัจจุบันไปอยู่ ในยุคก่อนนั้นจะสามารถดํารงชีวิตและเอาตัวรอด ได้แบบบรรพบุรุษเรารึเปล่า
คนสมัยก่อนนั้นมีวิธีในการถ่ายทอด เรื่องราวของพวกเขาให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ถึง วิถีชีวิตและวิวัฒนาการในแต่ละรุ่น เป็นที่รู้กัน ว่ามนุษย์เรามีวิธีการบันทึกถ่ายทอดเรื่องราว ผ่านรูปภาพที่ถูกเขียนขึ้นบนฝาผนังตั้งแต่ก่อน ที่จะมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใช้เสียอีก และ แม้จะมาถึงยุคที่มีการประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใช้ แล้วก็ตาม การสื่อสารด้วยภาพเขียนนั้นก็ยังคง ถูกนํามาใช้ โดยมีการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต และเรื่องราวตามวรรณคดีที่มีการสอดแทรกข้อคิด และเป็นการสืบสานมรดกทางความคิดอีกด้วย อีกทั้งยังมีความสวยงามสมจริงมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้วในส่วนของเสื้อผ้าการแต่งกาย และข้าวของเครื่องใช้ ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้นมา อย่างมีลวดลายวิจิตรบรรจงสวยงาม แสดงให้เห็น ถึงความมีอารยธรรมในแต่ละยุคสมัย ซึ่งในส่วนนี้ หากลองคิดดูแล้ว มนุษย์เรานั้นอยู่กับความเป็น ศิลปะมาช้านาน และเรารู้จักการหยิบมาใช้สอย จนก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความสวยงาม โดยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเป็นมาเป็นไปของ มนุษยชาติ
ทุกอย่างล้วนมีจุดเริ่มต้นและจุดจบ แต่ถ้าหากว่าเรานั้นยังเป็นส่วนหนึ่งในช่วงของ กาลเวลาประวัติศาสตร์ที่ยังดําเนินอยู่นี้ สิ่งที่เรา ทุกคนพึงกระทําคือการรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่เปรียบดังสมบัติทาง ประวัติศาสตร์ที่บรรพบุรุษเราร่วมสร้างกันมา แม้จะต่างเชื้อสายต่างชาติพันธุ์กําเนิด แต่เรื่องราว ที่ผ่านมานั้นล้วนแต่เป็นส่วนสําคัญที่ทําให้เรา ทุกคนมีวิวัฒนาการและวิถีชีวิตดังเช่นปัจจุบันนี้ และในขณะเดียวกันวันหนึ่งเราเองก็คงจะเป็น บรรพบุรุษที่สร้างประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ไว้ให้ ลูกหลานเราได้ค้นหา ศึกษา และรักษาสืบต่อไป เพราะหากไร้อดีต ก็คงไม่มีปัจจุบัน
1. ว่าด้วยการดูฤกษ์ยามวันดีไม่ดี, ดูฤกษ์เรียงหมอน, ฤกษ์ขุดหลุมวางเสาเรือน, ฤกษ์ทำขวัญข้าวและแรกนา ฯลฯ 2. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้สันนิบาดทั้งปวง, แก้กระหายน้ำ, แก้ขัดเบา, ยามหาสมุด, ยาพรมรัก, ยาหอมแดงประทุมมะสาด, ยาทำลายพระสุเมรุน้อย 3. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม – ไทย ภาษาบาลี – ไทย เช่น เสกน้ำมัน, คาถาคุ้มครองป้องกัน, คาถาให้นอนหลับ, มนต์ฤาษี ฯลฯ
ชื่อเรื่อง : บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : อรุณการพิมพ์
จำนวนหน้า : 132 หน้า
สาระสังเขป : บทละครเรื่อง พญาราชวังสัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 ทรงใช้เรื่อง “โอเทลโล” ของเชกส์เปียร์เป็นหลัก โดยพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอกและแปลงนามบุคคลตลอดจนสถานที่ในเรื่องเป็นไทยทั้งหมด เช่นเจ้าเมืองเวนิส แปลงเป็นสมเด็จพระวิกรมราชสีห์ โอเทลโล แปลงเป็น พญาราชวังสัน เดสเดโมนา แปลงเป็น บัวผัน เมืองเวนิสแปลงเป็น กรุงศรีวิชัย เป็นต้น ต่อมาภายหลังได้ทรงดัดแปลงบทละครให้เหมาะที่จะขับเป็นเสภา บทเสภานี้เริ่มตั้งแต่พญาราชวังสันปรารภถึงการจะไปรบและคิดถึงบัวผัน จนถึงยกทัพเรือออกเดินทะเล
วันจันทร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ๑ ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ จังหวัดระยอง โดยวันนี้เยี่ยมชมการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พร้อมตรวจพื้นที่โบราณสถาน (โบสถ์เก่า) ณ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล โดยมีนายสตวัน ฮ่มซ้าย รองอธิบดีกรมศิลปากร นางสาววัชราวดี วิเชียรศรี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ให้การต้อนรับ รายงานการพัฒนาพื้นที่โบราณสถานและแผนการพัฒนาโบราณสถานในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ๑ โบราณสถานวัดลุ่มมหาชัยชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีพระอุโบสถ (หลังเก่า) ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้ลดชั้น ๒ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาสีซ้อนกันชั้นละ ๒ ตับ เครื่องลำยอง ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ไม้แกะสลัก หน้าบันปูนปั้นทาสีอิทธิพลศิลปะจีน ด้าน หน้าเป็นรูปมังกรตกแต่งด้วยลายพรรณพฤกษา ด้านหลังเป็นรูปหงส์ตกแต่งด้วยลายพรรณพฤกษา และภาพสัตว์ขนาดเล็ก ผนังพระอุโบสถก่ออิฐถือปูนมีบัวลูกแก้วรองรับ ผนังด้านหน้ามีช่องประตูตรงกึ่งกลาง ๑ ประตู ด้านหลังก่อทึบ ด้านข้างมีช่องหน้าต่างด้านละ ๕ บาน ซุ้มหน้าต่างแบบซุ้มหน้านางตกแต่งด้วยลายใบเทศตรงกึ่งกลางเป็นรูปครุฑยุดนาค บานประตูและหน้าต่างเป็นไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยศิลปะรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะฯ ล่าสุดเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๖๐
ผู้แต่ง : สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 3
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2509
หมายเหตุ : พิมพ์แจกในการทอดกฐินพระราชทาน ณ วัดบรมวงศ์อิศรวราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เนื้อความกล่าวพรรณนาถึงพระราชพิธีต่าง ๆ ทั้ง 12 เดือน เริ่มต้นตั้งแต่เดือน 5 เป็นต้นไป รวมทั้งพิธีต่าง ๆ ซึ่งชาวบ้านได้ปฏิบัติกันเป็นประเพณี เช่น พิธีสงกรานต์ พิธีลอยกระทง เป็นต้น
ชื่อเรื่อง : อนามัยชุมชน
ชื่อผู้แต่ง : สอน ส. อันตริกานนท์
ปีที่พิมพ์ : 2497
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยพิทยา
จำนวนหน้า : 116 หน้า
สาระสังเขป : เรื่องอนามัยชุมชน เป็นบทความทางสุขวิทยาอนามัยของนายแพทย์สอน ส. อันตะริกานนท์ หัวหน้ากองสุขศึกษา กรมอนามัย ที่ได้บรรยายกระจายเสียงผ่านทางวิทยุ มีเนื้อหาบรรยายถึงความหมายและความสำคัญของการอนามัยชุมชน การสำรวจลักษณะอนามัยของชุมชนในท้องถิ่น การแก้ไขและบรรเทาโรคภัย โดยดำเนินการตามหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. บำบัดโรคที่เป็นอยู่ 2. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคและแนวทางการแก้ไขป้องกัน 3. ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตให้พ้นจากเหตุที่ทำให้เกิดโรค
ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2510
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมสนิท กฤดากร ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 6 มีนาคม พุทธศักราช 2510
เอกสารที่นำมาจัดพิมพ์เป็นเอกสารสำคัญในด้านประวัติศาสตร์การปกครองของไทย ความคิดริเริ่มที่จะมีการปกครองประเทศไทยตามระบอบประชาธิปไตยมีขึ้นในเมืองไทยมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่ ร.ศ.103 คือ พ.ศ. 2427 เกิดขึ้นจากบรรดาเจ้านายและขุนนาง และการได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์
พระโพธิสัตว์ชัมภล 2 พระหัตถ์ พระวรกายอวบอ้วน พระอุทรพลุ้ย ทรงเครื่องประดับตกแต่งแบบกษัตริย์ อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งแบบลลิตาสนะ (ประทับนั่งห้อยพระบาท) บนบัลลังก์ที่ประดับด้วยหม้อบรรจุทรัพย์สมบัติวางเรียงรายอยู่ด้านหน้า พนักของบัลลังก์ทำเป็นรูปตัววยาลเหยียบอยู่เหนือศีรษะช้างรองรับคาน พระบาทขวาเตะหม้อบรรจุทรัพย์สมบัติล้มลงจนทำให้เพชรพลอยไหลออกมา พระหัตถ์ซ้ายของพระโพธิสัตว์บีบคอพังพอนให้คายพวงมาลัยเพชรพลอย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย พระหัตถ์ขวาถือผลมะนาว มีประภามณฑลล้อมรอบพระเศียรวางอยู่บนคานของบัลลังก์ ด้านหลังประภามณฑลมีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี สามารถอ่านได้เพียงบางส่วน เนื่องจากมีความชำรุดหักหายไป โดยเป็นข้อความในบาทสุดท้ายของคาถาเย ธมฺมาฯ คือ "โย นิโรโธ เอวํ วาที มหาสมโณ" ซึ่งสามารถแปลความได้ว่า "พระมหาสมณเจ้าทรงมีพระวาทะอย่างนี้ คือ ตรัสความดับของธรรมเหล่านั้น"
พระโพธิสัตว์ชัมภล หรือท้าวกุเวร เป็นเทพเจ้าที่ถือกำเนิดในศาสนาฮินดู สันนิษฐานกันว่าแต่เดิมเป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ในลัทธิบูชายักษ์ ซึ่งเป็นลัทธิพื้นเมืองลัทธิหนึ่งในประเทศอินเดีย โดยเรื่องราวของท้าวกุเวรปรากฏอยู่ในวรรณกรรมฮินดูตั้งแต่สมัยพระเวทเป็นต้นมา ตามประวัติของท้าวกุเวรกล่าวไว้ว่า ท้าวกุเวรได้บำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลาหลายพันปีจนพระพรหมทรงเห็นใจโปรดให้เป็นเทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง และโลกบาลประจำทิศเหนือ
ในพุทธศาสนานิกายมหายาน - วัชรยาน ท้าวกุเวรถูกรู้จักกันในนามของ “พระโพธิสัตว์ชัมภล” เป็นเทพแห่งโชคลาภ มีสถานะเป็นทั้งธรรมบาลตำแหน่งเทียบเท่าพระโพธิสัตว์ ผู้มีหน้าที่ทำสงครามปราบปรามปีศาจและยักษ์มาร ขณะเดียวกันก็มีสถานะเป็นเทพผู้พิทักษ์ (ยิดัม) มีอำอาจปราบภูติผีร้ายต่าง ๆ ไม่ให้ทำอันตรายมนุษย์ พระโพธิสัตว์ชัมภลในคติพุทธศาสนาจึงเป็นผู้ประทานโชคลาภและคุ้มครองจากความชั่วร้ายทั้งปวง
...........................................................................
เรียบเรียง/ กราฟฟิก : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
อ้างอิง :
1. กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส. ม.ป.ท., 2525.
2. กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์ จำกัด, 2543.
3. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543.
4. พิริยะ ไกรฤกษ์. “เทพในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน : ประติมากรรมที่พบในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 7 (2542): 3482-3493.
5. องอาจ ศรียะพันธ์. “รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.
6. อุษา โพธิกนิษฐ. “การศึกษารูปแบบและคติการนับถือพระกุเวรในสมัยทวารวดี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527
ชื่อเรื่อง กาลสุตฺต (พระกาลสูตร)สพ.บ. 106/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง เทศนา (ธัมมสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ. 179/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.4 ซ.ม. ยาว 55.3 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ภาษาบาลี-ไทย ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.90/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 53 (118-121) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : วินยกิจฺจ (สัปวินัยกิจ นามศัพท์-แปล) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม