ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
เหรียญเงินลายธรรมจักรและจารึก
สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒
พบที่ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม จ่าสิบเอกอำนวย ดีไชย ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด ให้เมื่อ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๓
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เหรียญเงินแผ่นกลม มีลายทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นลายธรรมจักร อีกด้านหนึ่งมีข้อความอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ความว่า “ศฺรีสุจริต วิกฺรานฺต” แปลว่า “วีรบุรุษผู้สุจริต”
จักร สื่อถึง “กงล้อ” (wheel) ที่หมุนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ดังกงล้อรถศึกของพระเจ้าจักรพรรรดิกล่าวคือ กษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพซึ่งทำสงครามขยายอำนาจเหนือกษัตริย์ดินแดนอื่น และตามคติของผู้มีสถานะเป็นจักรพรรดิจะต้องครอบครอง “จักรรัตนะ” หรือจักรแก้ว ๑ ใน แก้ว ๗ สิ่งของพระจักรพรรดิ ดังนั้นทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์จึงปรากฏรูปจักรกับบุคคลที่แสดงถึงอำนาจหรือผู้เป็นใหญ่ กรณีศาสนาพราหมณ์มีตัวอย่างชัดเจนคือ พระวิษณุทรงจักรเป็นอาวุธ ส่วนในพุทธศาสนาคือ ธรรมจักร หรือ กงล้อแห่งพระธรรม โดยพระพุทธเจ้าทรงมีฐานะเป็นธรรมจักรพรรดิ หรือ ผู้ที่หมุนกงล้อแห่งธรรม ด้วยการประกาศเผยแผ่หลักธรรม โดยหลักธรรมแรกของพระองค์คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในงานศิลปกรรมการสร้างรูปธรรมจักรจึงมักจะพบอยู่คู่กับรูปกวางหมอบ เพื่อแสดงว่าคือสวนกวางสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
ปัจจุบันเหตุการณ์พุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา หรือแสดงพระธรรมครั้งแรกนั้นตรงกับวัน “อาสาฬหบูชา” (วันเพ็ญเดือน ๘) เนื้อหาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ในครั้งนั้นกล่าวถึง การดำรงตนในทางสายกลาง หรือ “มัชฌิมาปฏิปทา” ประกอบด้วยอริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (ทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตชอบ) การปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวนี้เป็นทางสายกลางเพื่อไปสู่การตรัสรู้และนิพพาน
“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ...”
จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สมุหทัย (สาเหตุแห่งการเกิดทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) มรรค (หลักปฏิบัติการดับทุกข์) การแสดงธรรมครั้งนี้โกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้ฟังก็เกิดบรรลุทางธรรม
“...ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่าท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่าอัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะด้วยประการฉะนี้ฯ...”
กล่าวคือภายหลังจากโกณฑัญญะได้ฟังพระธรรมครั้งนี้ จึงทูลขอบรรพชาเป็นพระสาวก ถือว่าเป็นวันที่พระสาวกรูปแรกบังเกิดขึ้น และพุทธศาสนามีองค์ประกอบครบสามประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ที่รู้จักกันในนาม “พระรัตนตรัย”
ในวัฒนธรรมทวารวดี “ธรรมจักร” เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา สื่อถึงการเผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้รูปธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดียังปรากฏใน พระพิมพ์ รอยพระพุทธบาท* และเหรียญเงิน อีกด้วย
*ตัวอย่างเช่น รอยพระพุทธบาทคู่ ที่โบราณสถานสระมรกต อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
อ้างอิง
พุทธมงคล (นางแฝง). สารัตถสมุจจัย อธิบายธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์, ๒๕๒๗.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน). จารึกในประเทศไทย (จารึกเหรียญเงินทวารวดี (วัดพระประโทนเจดีย์ 1). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖, จาก:https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/695
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ผีปู่ย่า ผี ตามความเชื่อของชาวล้านนาไทยโบราณ นอกจากจะหมายถึง วิญญาณของคนที่ล่วงลับไปแล้ว ยังรวมถึง ผีในลัทธิที่เคารพนับถืออีกด้วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นผีที่มีอิทธิฤทธิ์ มีความศักดิ์สิทธิ์ ดลบันดาลให้คุณและโทษแก่คนได้ โดยสามารถแบ่งผีออกได้เป็น 2 ประเภท คือ1. ผีที่เคารพยำเกรงสืบต่อกันมาในวงศ์ตระกูล เช่น ผีปู่ย่า ผีโป่งป่าถ้ำดอยหลวง2. ผีที่ต้องเคารพเชื่อถือตามความนิยมของชนชาวอื่นที่เข้ามาเป็นใหญ่หรือมาเป็นครูบาอาจารย์อยู่ในบ้านเมืองตั้งแต่โบราณ เช่น ผีครู (ผียักษ์), ผีมดหรือผีเมง, ผีแมน (ผีดิบ), ผีนาค.โดยในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ “ผีปู่ย่า” ซึ่งจัดอยู่ในผีประเภทแรก คือ ผีที่เคารพยำเกรงสืบต่อกันมาในวงศ์ตระกูล หรือเรียกได้ว่าเป็น ผีบรรพบุรุษ หรือ ผีประจำตระกูลผีปู่ย่า แบ่งออกมาได้เป็น 4 ชนิด คือ ผี สาง เทวดา และเปรต (เผด)1. ผี คือ วิญญาณของผู้ที่ตอนมีชีวิตอยู่ประพฤติตนดี ได้ก่อร่างสร้างวงศ์ตระกูล ผีจะอาศัยอยู่ยังตามอาสน์ หอ หรือสถานที่ที่ลูกหลานทำไว้ให้สถิต2. สาง คือ วิญญาณที่ตายโหง ตายห่า หรือตอนมีชีวิตอยู่ประพฤติตนเป็นคนชั่วช้า สางจะไม่มีที่อยู่อาศัย เพราะผีจะรังเกียจสาง คอยขับไล่ไม่ให้เข้ามาอยู่ปะปนกับผี ต้องคอยเร่ร่อนหลอกคนให้สะดุ้งตกใจ และแย่งเอาโชคลาภของคนไป หากญาติพี่น้องจะทำบุญอุทิศผลให้ก็ต้องแอบทำ ไม่ให้ผีรู้ คือไปทำตามตรอก ซอก ซอยทางสามแพร่ง หรือข้างทางแทน 3. เทวดา คือ วิญญาณของเจ้านาย เจ้าบ้านผ่านเมือง ที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่คนจำนวนมาก ที่เป็นกษัตริย์จะได้เป็น พระยาอินตา คือ พระอินทร์ 4. เปรต (เผด) คือ วิญญาณของเจ้านายเจ้าบ้านที่ทำตนไม่เที่ยงตรง โดยปกติเป็นคนพาล และคนที่ทำลายศาสนสถาน ฉ้อโกง ทำของปลอม เปรตต้องอาศัยอยู่ตามวัดคอยรับผลเมตตาจิต ต้องคอยตัดหญ้าในวัดโดยการกัดหญ้าทีละเส้น และแลบลิ้นเลียขัดพื้นโบสถ์วิหารให้สะอาด เพื่อใช้หนี้เวรกรรมที่ทำไว้เมื่อตอนเป็นคน อาหารก็ไม่สามารถกินจากที่ญาติอุทิศไปให้ได้ ต้องคอยกินเศษอาหารที่พระนำไปทิ้ง หรือคอยหลอกแล้วแย่งมากินเอา.สางกับเปรตจะเป็นผีที่น่าเกลียดน่ากลัว ไม่ทำคุณประโยชน์ให้แก่คน แต่ผีกับเทวดานั้นจะคอยช่วยเหลือ ปกปักรักษาคนให้มีความสุข ความเจริญ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นลูกหลานของผีเหล่านั้น จะได้รับประโยชน์จากผีหรือเทวดามากกว่าผู้อื่น มักจะคอยติดตามลูกหลานไปปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ ลูกหลานจึงเคารพยำเกรงและคอยเส้นไหว้บวงสรวงให้อยู่เสมอ พร้อมจัดที่ทางให้สถิตอยู่ เช่น ทำเป็นหิ้งไว้บนฝาหัวนอนเหมือนตั้งพระพุทธรูป หรือสร้างเป็นหอ เป็นห้องไว้ให้ .การบวงสรวงผีปู่ย่านั้น มักจะทำการประมาณเดือน 7-8-9 เหนือ (ตรงกับเดือนเมษายน – มิถุนายน) ของทุกปี แล้วแต่ความพร้อมหรือความสะดวกของแต่ละตระกูล โดยมีการนำเครื่องบวงสรวง เช่น หัวหมูไก่ต้ม สำรับคาวหวาน สุรา ดอกไม้ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อย หรือแล้วแต่จะกำหนด มาสังเวย นอกจากนี้อาจจะทำเนื่องในโอกาสที่ญาติ ๆ บนบานศาลกล่าวผีปู่ย่าให้ช่วยคนในตระกูลแล้วหายเจ็บป่วยก็ได้ --------------------------------------อ้างอิง - แก้วมงคล ชัยสุริยันต์. ผีของชาวล้านนาไทยโบราณ. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2486. หน้า 4-19.- สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. ชีวิตไทย ชุด ฮีตฮอยเฮา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2538 หน้า 185.
โบราณสถานเขาคา
โบราณสถานเขาคา ตั้งอยู่ที่ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย อยู่บนภูเขาลูกโดดขนาดเล็ก เปรียบเสมือนเขาไกรลาส (หรือเขาพระสุเมรุ) อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ใกล้กันมีคลองท่าทน ซึ่งเปรียบได้ดั่งสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเส้นทางคมนาคมเข้าสู่เขาคา
สื่อองค์ความรู้ชุดโบราณสถานเขาคานี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย เรื่อง การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟฟิก เพื่อประชาสัมพันธ์โบราณสถานเขาคา ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ของ นางสาวอัญชลี นะสุด นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
เรียบเรียง/กราฟิค-นางสาวอัญชลี นะสุด นางสาวอัญชลี นะสุด นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ตรวจทาน-นางสาวสิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้เพื่อการบันทึกการพัฒนากับทั้งสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่ให้ออกมาเป็นต้นแบบอันทรงคุณค่ามากมาย ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดของท่านถูกนำมาจัดแสดงไว้บนโต๊ะทำงานด้านใน โดยจัดแสดงร่วมกับกรอบรูปของท่าน รูปปั้นโรมาโน วิเวียนี รูปปั้นของท่าน เครื่องเล่นแผ่นเสียง และของใช้อื่นๆ ของท่าน ภายในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s07ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
กรมกำลังพลทหารอากาศ กรุงเทพ ฯ (เวลา 09.00 น.) จำนวน 40 คนวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. กรมกำลังพลทหารอากาศ นำคณะผู้เข้ารับการศึกษาเป็นนายทหารประทวนชั้นยศจ่าอากาศตรี ถึง พันจ่าอากาศ จำนวน ๓๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
ภาชนะดินเผา Knobbed Wares
ภาชนะนำเข้าจากต่างประเทศ
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ 2,100 – 2,000 ปีมาแล้ว
ภาชนะดินเผาแบบมีปุ่มนูนที่ก้นด้านในภาชนะ มีลักษณะเทียบได้กับภาชนะแบบมีปุ่มในอารยธรรมอินเดีย สันนิษฐานว่าเป็นสินค้านำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันรับวัฒนธรรมจากต่างประเทศตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์
พบจากแหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
Imported pottery (Knobbed-Base Bowl)
Early historic period. 2,100-2,000 B.P.
This pottery has embossed button at the base inside bowl. Its pattern comparable with the same pattern pottery in Indian civilization. Assume that imported from oversea which show that Andaman coast area exchange cultural with oversea since early historic period.
Found at Sua cave, La-un district, Ranong province.
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
https://www.facebook.com/photo/?fbid=1836834539736087&set=a.1836561556430052
https://www.facebook.com/ThalangNationalMuseum/posts/pfbid038A3fm8yxwrGCfXazveUcSnqudWoQfVBDFwBRejSHTubrqA2sHXKkfjGiN1jVQY9xl
พิพิธภัณฑฯ เชียงใหม่ ชวนร่วมกิจกรรม Workshop “DIY การดุนลายบนแผ่นเงิน” เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2567
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม Workshop เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 “DIY การดุนลายบนแผ่นเงิน” โดย วิทยากรจากวิสาหกิจชุมชนวัดศรีสุพรรณ (กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนา) วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 09:00 -12:00 น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ รับจำนวนจำกัดเพียง 50 คน (*อายุ 10 ปีขึ้นไป) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ link นี้ https://forms.gle/8n7X9iW1w1rwwoNUA ร่วมกิจกรรมได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ inbox Facebook: Chiang Mai National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ หรือ โทร. 0 5322 1308
“สุดาวรรณ” ห่วงสถานการณ์น้ำท่วมขังโบราณสถานน่าน พะเยา เชียงราย -กลุ่มพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานแพร่ มอบ สป.วธ. - กรมศิลปากรติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด พร้อมตั้งศูนย์ประสานงาน ผลกระทบจากน้ำท่วมผ่านสายด่วนวัฒนธรรม 1765
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ติดตามผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยของโบราณสถานในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด กรมศิลปากรรายงานว่าจากกรณีฝนตกต่อเนื่องหลายวันในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง น้ำหลากท่วมทุ่งในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน พะเยาและเชียงราย ขณะนี้กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ได้ลงพื้นที่และประสานงานกับเครือข่ายอาสาสมัครในการดูแลมรดกศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ได้รับรายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อโบราณสถานในพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1.วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งมีโบราณสถานคือ วิหารที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังน้ำท่วมขึ้นถึงภายในวิหาร แต่ยังไม่ถึงภาพจิตรกรรมซึ่งสูงกว่าระดับน้ำท่วมประมาณ 50 ซม ดังนั้น ภาพจิตรกรรม จึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากน้ำท่วม 2.วัดภูมินทร์ อำเภอ เมือง จังหวัดน่าน โบราณสถานคือวิหารจตุรมุขที่ปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนัง (ปู่ม่านย่าม่าน) ปัจจุบันน้ำยังท่วมไม่ถึงด้านบนวิหาร เนื่องจากอาคารนี้เป็นอาคารที่มีฐานสูงและบันไดสูงไปถึงพื้นด้านบนวิหารน้ำจึงท่วมเพียงบันไดเท่านั้น และ 3.พิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ปัจจุบันน้ำยังไม่ท่วมเข้ามาในพื้นที่เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณที่สูงที่สุดของเมืองน่าน เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอดเวลาและให้นำรถยนต์เข้ามาจอดภายในได้ในช่วงนี้เพื่อบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินประชาชน ขณะที่จังหวัดพระเยามีโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบคือ เมืองโบราณเวียงลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำอิง น้ำจึงล้นฝั่งท่วมทั้งเมืองโบราณสถานจึงมีน้ำท่วมขังหลายแห่งแต่ไม่พบความเสียหายของตัวอาคาร ส่วนที่จังหวัดเชียงราย โบราณสถานที่ได้รับผลกระทบ คือวัดเสาหิน เป็น วิหารและเจดีย์ขนาดใหญ่ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่รอบอาคารแต่ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายของตัวอาคาร นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า กรมศิลปากร ได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด 2.รับฟังข้อมูลจากอาสาสมัครฯ ของกรมศิลปากรที่อยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 3.หลังจากน้ำลดให้เข้าพื้นที่สำรวจตรวจสอบสภาพและความเสียหายโดยด่วน โดยเฉพาะงานศิลปกรรมที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน 4.วางมาตรการลดความเสี่ยงของโบราณสถานในช่วงฤดูฝนนี้ หากมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องครั้งต่อไป เช่น ปกป้องน้ำไม่ให้ท่วมเข้าไปในอาคารโบราณสถานอีก หรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และ 5.หากพบความเสียหายต่ออาคารโบราณสถานให้รีบแจ้งกรมศิลปากรเพื่อดำเนินการฉุกเฉินเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมในส่วนกระทรวงวัฒนธรรม รู้สึกเป็นห่วงและขอเป็นกำลังใจให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคน จึงได้ สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ประสานงานโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้สายด่วนวัฒนธรรม 1765 ในการรับแจ้งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลหน่วยงานในสังกัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และกองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน รวมไปถึงแหล่งโบราณสถานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อสรุปข้อมูลสำหรับลงพื้นที่สำรวจและตรวจสอบสภาพความเสียหายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย รวมถึงจัดทำแผนช่วยเหลือเบื้องต้น และบูรณะซ่อมแซมในอนาคตต่อไป
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชวนทุกท่านเตรียมพบกับงาน Bangkok Art Biennale 2024 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งที่ 4 โดยในปีนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เป็น 1 ในสถานที่จัดแสดงผลงานจากศิลปินชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 14 ท่าน อาทิ Agnes Arellano, Aideen Barry, Lena Bui, Guerreiro do Divino Amor, Chitra Ganesh, Mella Jaarsma(in collaboration with Agus Ongge), George K., Kira O'Reilly, Som Supaparinya, Deneth Piumakshi Veda Arachchige, Supawich Weesapen, Wishulada และ Pokchat Worasab
มาร่วมค้นหาความหมายที่แตกต่างของ “ไกอา” (Gaia) ภายใต้แนวคิด “รักษา กายา” (Nurture Gaia) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อของเทพี “ไกอา” หนึ่งในร่างของพระแม่ธรณี ซึ่งเป็นตัวแทนของแม่ผู้ให้กำเนิด และหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต ที่ถูกกล่าวถึงมาเป็นเวลานานในหลากหลายช่วงเวลาและวัฒนธรรม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้ชมตระหนักถึงความสำคัญของไกอาในฐานะที่เป็นแม่ของแผ่นดิน ที่ถูกถ่ายทอดในรูปลักษณ์ที่หลากหลายตามบริบททางวัฒนธรรม ไปจนถึงตระหนักถึงการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน
นิทรรศการเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2567 – 25 กุมภาพันธ์ 2568 วันพุธ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท I ชาวต่างชาติ 200 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/bkkartbiennale?mibextid=LQQJ4d
ศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๙ ปีวอก นี้ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดพิมพ์หนังสือ “พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : ศุภวารกราบกรานพุทธบูชา วัสสวานร ๒๕๕๙”โดยคัดสรรพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม สร้างขึ้นด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนแต่อดีตกาล มีตำนานการสร้างและคติบูชาแตกต่างกันไป ควรแก่การจัดพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนักรู้ในคุณค่าความสำคัญและร่วมกันดูแลปกป้องมรดกเนื่องในพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่กับประเทศไทยสืบไป
ภายในหนังสือประกอบด้วยภาพพระพุทธรูปที่งดงาม จำนวน ๙ องค์ พร้อมเนื้อหาคำอธิบายภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดหนังสือ A5 พิมพ์สี่สี ทั้งเล่ม จำนวน ๕๖ หน้า จำหน่ายราคาเล่มละ ๖๕ บาท
ผู้สนใจสามารถซื้อได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หรือ โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๗๐ วันพุธ - วันอาทิตย์ ในเวลาราชการ (ปิดทำการวันจันทร์และอังคาร)
ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ :ม.ป.ป.สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ช้างเผือกคอมพิวกราฟฟิค ประวัติวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เป็นหนังสือที่ น.ส.เยาวลักษณ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา จัดพิมพ์ขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ คุณแม่สุนีย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ในหนังสือจะเล่าประวัติของวัดร่ำเปิง วัดร่ำเปิงหรือวัดตะโปทาราม ได้อยู่ในสภาพวัดร้างมาหลายยุคหลายสมัย หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงแล้ว พระครูพิพัฒน์ คณาภิบาล เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองมางได้ปฏิบัติธุดงควัตร มาถึงวัดร่ำเปิง จึงได้ชักชวนชาวบ้านในท้องถิ่น ตลอดจนผู้ใจบุญทั้งหลายช่วยกันบุรณะสังขรณ์ฟื้นฟูขึ้นและได้เปิดป้ายสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดร่ำเปิง เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ.2518 โดยมีพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล รักษาการเจ้าอาวาสวัดตโปทาราม (ร่ำเปิง)
นิทรรศการเรือพนมสุรินทร์จากอารเบียสู่เอเชีย เรื่องราวของเรืออาหรับโบราณถูกที่ค้นพบบริเวณบ่อกุ้งในจังหวัดสมุทรสาคร เหตุใดและทำไมเรือลำนี้จึงมาอยุ่ที่นี่ หาคำตอบได้ในนิทรรศการบัดนี้เป็นต้นไป