ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
ผู้แต่ง : สุนทรภู่
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2510
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงประมวญคดี (เมี้ยน วรรธนะภูติ) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 17 สิงหาคม พุทธศักราช 2510. มีรูปและประวัติผู้ตาย.
หนังสือนิราศภูเขาทอง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม เนื้อหากล่าวถึง การล่องเรือเดินทางผ่านสถานที่ต่าง ๆ ของสุนทรภู่และลูกชายจนไปถึงเจดีย์ภูเขาทอง ที่แต่งด้วยกลอนนิราศ ในท้ายเล่ม เป็นกาพย์เรื่องพระไชยสุริยา และประชุมลำนำเล่ม 1 ลำนำแห่กล่อมพระบรรทม ที่รวมอยู่ในเล่มเดียวกัน
ชื่อเรื่อง : รวมพระธรรมเทศนา และ คำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรมของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ หม่อมหลวงทวีวัฒน์ สนิทวงศ์ และ คุณจรัส สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พิมพ์เป็นธรรมวิทยาธาน ชื่อผู้แต่ง : พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ จำนวนหน้า : 750 หน้า สาระสังเขป : หนังสือรวมพระธรรมเทศนา และ คำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรมของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณฺสมฺปณฺโณ เล่มนี้ ได้รวบรวมคำถาม-คำตอบ ปัญหาธรรม อาทิเช่น ศีล สมาธิ ปัญญา พระธรรมเทศนา เรื่องต่าง ๆ ในวัดต่าง ๆ
ชื่อเรื่อง : พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อผู้แต่ง : อำพัน ตัณฑวรรธนะ
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์จันหว่า
จำนวนหน้า : 72 หน้า
สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ ทรงเป็นแม่ทัพเรือรบกับญวน ทรงป้องกันเอกราชของชาติ ทรงสร้างราชธานีที่สอง ทรงจัดตั้งทหารบกและทหารเรือ เป็นต้น และพระราชบุคคลิกลักษณะอาทิ ไม่โปรดแสดงยศ โปรดชุบเลี้ยง ผู้มีความรู้ ทรงมีพระอารมณ์ขันและไม่ทรงเกี่ยวข้องทางการเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อหากล่าวถึง พระบวรฉายาลักษณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพระบรมศพ และพระบวรราชานุสรณ์
ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2504
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางลิ้นจี่ ชยากร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม 8 กุมภาพันธ์ 2504. มีรูปและประวัติผู้ตาย.
ลิลิตกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและทางชลมารคเล่มนี้ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงพรรณนากระบวนแห่ไว้อย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่กระบวนแห่พระกฐินทางสถลมารค กระบวนนำ กระบวนม้าขี่ กระบวนม้าจูง กระบวนรถ กระบวนราบ กระบวนกลองชนะ กระบวนช้างดั้ง กระบวนพระยาช้าง กระบวนช้างพระที่นั่ง พระคชาธารทรงไตรพระกฐิน กระบวนหลัง กระบวนเสด็จพระราชดำเนิน และมีการกล่าวพรรณนารายละเอียดของกระบวนแห่พระกฐินทางชลมารคเรื่อยไปอย่างละเอียด เกี่ยวกับกระบวนต่าง ๆ จนถึงเรือขุนนางตามเสด็จ
พระโพธิสัตว์ชัมภล (ท้าวกุเวร) ประทับนั่งห้อยพระบาทข้างหนึ่งลงมา (ลลิตาสนะ) ด้านหลังมีร่องรอยประภามณฑลประดับอยู่ พระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลม สวมกรองศอ พระหัตถ์ข้างขวาถือผลมะนาว พระหัตถ์ซ้ายจับพังพอน
พระโพธิสัตว์ชัมภลได้รับการเคารพนับถือเป็นอย่างมากในพุทธศาสนานิกายมหายาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชียกลาง ทิเบต จีน และญี่ปุ่น ในคัมภีร์สาธนมาลาได้มีการกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ชัมภลไว้ว่า มีวรรณะสีทอง มีนาภีใหญ่ มี 2 กร ถือผลมะนาวในพระหัตถ์ขวา และถือพังพอนในพระหัตถ์ซ้าย และได้พยายามจัดให้พระโพธิสัตว์ชัมภลอยู่ในสกุลหนึ่งในห้าสกุลของพระธยานิพุทธ โดยคัมภีร์สาธนมาลาบางบทได้จัดให้พระโพธิสัตว์ชัมภลอยู่ในสกุลของธยานิพุทธรัตนสัมภาวะ บางบทก็จัดให้อยู่ในสกุลธยานิพุทธอักโษภยะ หรือในสกุลธยานิพุทธอมิตาภะ และในบางครั้งพระโพธิสัตว์ชัมภลก็มักจะปรากฏพระองค์พร้อมกับพระธยานิพุทธทั้ง 5
ตามคัมภีร์ที่ว่าด้วยประติมานวิทยา ประติมากรรมรูปเคารพท้าวกุเวรจะปรากฏในรูปกายเป็นบุรุษรูปร่างอ้วน ท้องพลุ้ย สวมมงกุฎ และเครื่องประดับตกแต่งกายมากมาย ในรูปปกติมักมี 2 กร พระหัตถ์มักแสดงปางประทานพร หรือปางประทานอภัย แต่ถ้าอยู่ในรูปดุร้ายมักมี 4 กร ในพระหัตถ์มักถือกระบองหรือคฑาเป็นอาวุธ ส่วนประติมากรรมรูปเคารพพระโพธิสัตว์ชัมภลมีลักษณะรูปกายเป็นบุรุษรูปร่างอ้วน ท้องพลุ้ย สวมมงกุฎ และเครื่องประดับตกแต่งกายมากมายเช่นเดียวกับท้าวกุเวร แต่จะแตกต่างกันตรงที่ พระโพธิสัตว์ชัมภลจะถือผลมะนาวในพระหัตถ์ขวา และถือพังพอนในพระหัตถ์ซ้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวย
คติการบูชาพระโพธิสัตว์ชัมภล หรือท้าวกุเวรน่าจะแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนในประเทศไทยพร้อมกับการเข้ามาของอารยธรรมอินเดีย จากการสำรวจทางด้านโบราณคดีพบว่า บริเวณส่วนใหญ่ที่พบประติมากรรมรูปเคารพพระโพธิสัตว์ชัมภล หรือท้าวกุเวรในดินแดนประเทศไทย รวมทั้งในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระและบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ล้วนแต่เคยเป็นเมืองท่าที่มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติมาก่อน สันนิษฐานว่าคติดังกล่าวคงจะเข้ามาโดยกลุ่มพ่อค้าที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย และตั้งถิ่นฐาน ด้วยเชื่อกันว่าพระโพธิสัตว์ชัมภล หรือท้าวกุเวร เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งร่ำรวย
...........................................................................
โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ
.........................................................................
เรียบเรียง/ กราฟฟิก : ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
อ้างอิง :
1. กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัชฌิมาวาส. ม.ป.ท., 2525.
2. กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์ จำกัด, 2543.
3. ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543.
4. พิริยะ ไกรฤกษ์. “เทพในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน : ประติมากรรมที่พบในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 7 (2542): 3482-3493.
5. องอาจ ศรียะพันธ์. “รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.
6. อุษา โพธิกนิษฐ. “การศึกษารูปแบบและคติการนับถือพระกุเวรในสมัยทวารวดี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบิณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527
ชื่อเรื่อง พิมพาภิลาป (นิทานพิมพาพิลาบ)สพ.บ. 103/13ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง เทศนา (ธัมมสังคิณี-มหาปัฎฐาน)สพ.บ. 179/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.4 ซ.ม. ยาว 55.3 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ภาษาบาลี-ไทย ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.90/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 53 (118-121) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : วินยกิจฺจ (สัปวินัยกิจ นามศัพท์-แปล) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิ (ปฐมสมโพธิ)สพ.บ. 159/13ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระพุทธเจ้า
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดสัปรสเทศ ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธรูปปางมารวิชัย แบบศิลปะ/อายุสมัย อยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ ประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประทาน เมื่อ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๙๗ พระพุทธรูปมารวิชัย หรือพระพุทธรูปชนะมาร หล่อด้วยสำริด ประทับขัดสมาธิเพชร พระบาททั้งสองไขว้กัน และเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน พระรัศมีเป็นเปลว พระศกขมวดเป็นก้นหอย มีเส้นขอบไรพระศก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียว ฝังมุกและนิล พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็กหยักเป็นคลื่น พระวรกายอวบอ้วน พระอุระนูน บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิสั้นเป็นรูปหางปลาอยู่เหนือพระถัน ประทับเหนือฐานสามเหลี่ยม หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นแฉกคล้ายรูปพัด จากรูปแบบศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ พระพุทธรูปศิลปะอยุธยากลุ่มนี้ สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลทางจากศิลปะสุโขทัยและล้านนา กล่าวคือ มีรัศมีเป็นเปลว แบบพระพุทธรูปสุโขทัย มีพระวรกายที่อวบอ้วน มีชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ขัดสมาธิเพชร และที่หน้าพระเพลามีชายจีวรคลี่เป็นรูปพัดแบบพระพุทธรูปล้านนา ในขณะเดียวกันมีลักษณะที่แสดงรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา คือ มีเส้นขอบพระเนตรกับพระขนงป้ายเป็นแผ่นวงโค้ง มีเส้นขอบไรพระศก และพระโอษฐ์หยักเป็นคลื่น ผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา โดยสามารถศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลาง ที่พบในพระอุระและพระพาหาของพระมงคลบพิตร ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านั้น ล้วนสร้างขึ้นก่อนถูกนำมาบรรจุในพระอุระและพระพาหาขององค์พระมงคลบพิตรในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ การพบรูปแบบพระพุทธรูปแบบศิลปกรรมสุโขทัยและล้านนา ปรากฏในพระพุทธรูปสมัยอยุธยาองค์นี้ เป็นหลักฐานสำคัญว่าช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ อยุธยามีความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางเหนือ ได้แก่ สุโขทัยและล้านนา สำหรับคติการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย แสดงพุทธประวัติเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงสามารถชนะพระยามารที่ยกพลมาผจญพระองค์ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแสดงสัญลักษณ์โดยวางพระหัตถ์ขวาเหนือพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงสู่พระธรณีเป็นกิริยาเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา พระแม่ธรณีจึงปรากฏกายขึ้นและบีบน้ำที่ทรงรดสรงในการบำเพ็ญทานในอดีตชาติ อันนับประมาณมิได้ จนท่วมทัพของพรยามารพ่ายแพ้ไป การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่าชัยชนะทั้งปวงของพระองค์ โดยนัย การบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ จึงบูชาเพื่อชัยชนะทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกคือชัยชนะเหนือศัตรู ทางธรรมคือชัยชนะเหนือกิเลสทั้งปวง-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๔. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, พระพุทธรูปสำคัญและพุทธศิลป์ในดินแดนไทย, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.
สัตตัปปกรณาภิธรรมและสวดแจง ชบ.ส. ๗๙
เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕
เอกสารโบราณ (สมุดไทย)