ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

รับบริจาคหนังสือทุกประเภท จากนั้นจะมีการคัดแยกประเภทหมวดหมู่หนังสือ เพื่อให้บริการ และบริจาคต่อไปยังห้องสมุดตามโรงเรียน เรือนจำ และวัด



ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 41 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 66 (ต่อ) - 67 ) จดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี เล่าเรื่องไปชวา ครั้งที่ 3ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 320 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 41 ภาคที่ 66 (ต่อ) กล่าวถึง จดหมายรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพระล่วงลาผนวช และสร้างเมืองสวรรคโลกที่เมืองสัชนาลัยเก่า จากนั้นจึงกลับมากรุงสุโขทัย และสวรรคคตที่แก่งหลวง ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 67 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการไปเมืองชวาครั้งที่ 3 และจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3


สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอเชิญร่วมสนุกในกิจกรรม [Museum Shoot & Share  เนื่องในงาน ๑๑๑ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร —————————————— เพียงถ่ายภาพของคุณขณะเที่ยวชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี (ที่ใดก็ได้) ใต้โพสต์นี้ก็สามารถแลกรับของที่ระลึกสุดพิเศษได้ที่ซุ้มสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (จำนวนจำกัด!!!) ............………………………………………… กติกา โพสต์ภาพของท่านใต้โพสต์นี้ แชร์โพสต์กิจกรรมนี้ที่หน้า Facebook ของท่าน โดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ พร้อมติดแฮชแท็ก #Museumshootandshare และ #NationalMuseumsThailand แสดงโพสต์ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อรับของที่ระลึกที่ซุ้มสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ระหว่าง ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. * สงวนสิทธิ์ ๑ ท่าน/บัญชีผู้ใช้งาน สามารถแลกของที่ระลึกได้ ๑ ชิ้น


๒๔๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์


          กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรเปิดให้เที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยามค่ำคืน ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์” สัมผัสความงดงามของโบราณสถาน (วังหน้า) ที่ประทับของ พระมหาอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชมการจัดแสดงนิทรรศการ รวมถึงโบราณวัตถุ ๑๐ ชิ้นห้ามพลาดภายในพระที่นั่ง และอาคารจัดแสดงต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕ ตั้งแต่ ๑๖.๐๐ – ๒๐.๓๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัยและ ยังเป็นสถานที่ต้อนรับอาคันตุกะระดับชาติของประเทศไทย จึงเป็นแหล่งรวบรวมมรดกวัฒนธรรมของชาติไว้เป็นจำนวนมาก เป็นการยากที่จะบอกว่า โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นไหนเป็นชิ้นเอกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เนื่องจากทุกชิ้นล้วนมีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุแนะนำ ๑๐ รายการ ที่เมื่อไปเยือนแล้วไม่ควรพลาดเข้าชม ประกอบด้วย          ๑. พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธปฏิมาศิลปะสุโขทัย – ล้านนา หล่อด้วยสำริดกะไหล่ทอง อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๒๑ จัดแสดง ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เนื่องจากพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่อำนวยความอุดมสมบูรณ์ จึงได้อัญเชิญออกไปให้ประชาชนสรงน้ำขอพรในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งภายหลังกรมศิลปากรได้ขอพระบรมราชานุญาตหล่อองค์จำลองสำหรับเทศกาลสงกรานต์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี          ๒. พระคเณศ พระคเณศ ๔ กร จากจันทิสิงหส่าหรี เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ศิลปะชวา ตะวันออก อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ จัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท           ๓. พระปัทมปาณีโพธิสัตว์ พระปัทมปาณีโพธิสัตว์หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ๒ กร ศิลปะ ศรีวิชัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จัดแสดงห้อง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท          ๔. ตะเกียงโรมัน ขุดพบที่ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จัดแสดง ณ ห้อง เอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท          ๕. พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา หรือที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อศิลาขาว” ศิลปะทวารวดี พุทธ ศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ จัดแสดง ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์          ๖. พระหายโศก พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ประทับขัดสมาธิเพชร นาม “หายโศก” สะท้อนถึงธรรมเนียมการตั้งชื่อพระพุทธรูปล้านนาที่มักตั้งตามคติความเชื่อด้านพระพุทธคุณในเชิงขจัดปัดเป่า เคราะห์ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่อาจนำความทุกข์โศกมาสู่ผู้กราบไหว้บูชา จัดแสดง ณ ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์          ๗. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) องค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ จัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์          ๘. พระอิศวร พระอิศวรสำริด สมัยสุโขทัย อายุประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐จัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์           ๙. พระมหาพิชัยราชรถ เป็นราชรถที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๓๓๘ จัดแสดง ณ โรงราชรถ           ๑๐. พระที่นั่งบุษบกเกริน หรือบุษบกราชบัลลังก์ จัดแสดง ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย          ทั้งนี้ ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดกิจกรรมนำชมเป็นรอบสำหรับชาวไทย จำนวน ๓ รอบต่อวัน ได้แก่ รอบ ๑๘.๐๐ น. รอบ ๑๘.๓๐ น. และรอบ ๑๙.๐๐ น. ชาวต่างชาติ จำนวน ๑ รอบ ในเวลา ๑๗.๓๐ น. ลงทะเบียน ณ บริเวณศาลาลงสรง (ด้านหน้าทางเข้า) ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องแสดงผลการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 อย่างน้อย ๒ เข็ม หากไม่มีผลการรับวัคซีนต้องแสดงผลการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี ATK หรือ RT - PCR ไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓


ทราบหรือไม่ว่า ที่เมืองโบราณศรีเทพยังมีการพบแนวกำแพงโบราณบนคันดินคูเมืองด้วยนะ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองโบราณในยุคทวารวดีที่เดียวที่ยังหลงเหลือหลักฐานอยู่ อย่าลืมแวะปีนไปเยี่ยมชมกันนะ ไม่ไกลจากลานจอดรถเลย


ชื่อเรื่อง                     สพ.ส.16 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ              12; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    เวชศาสตร์             ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่  อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค.2538 



          บัวยอดปราสาทเป็นส่วนประดับยอดของปราสาทในศิลปะเขมร มีลักษณะกลมแป้นเป็นลอนโดยรอบ บัวยอดปราสาทมีหน้าที่รองรับชิ้นส่วนคล้ายหม้อน้ำด้านบนสุดซึ่งเรียกว่า “กลศ”(กะ-ละ-สะ)           สำหรับการสร้างบัวยอดเทวสถานได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากอินเดียโบราณเรียกว่า “อมลกะ” (อะ-มะ-ละ-กะ) ซึ่งมาจากคำว่า “อมลกิ” ในภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “ลูกมะขามป้อม”            สำหรับบัวยอดปราสาทในสถาปัตยกรรมอินเดียสันนิษฐานว่าเริ่มปรากฏครั้งแรกบนยอดเสาอโศกมหาราชในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๓ เมื่อเข้าสู่สมัยคุปตะ(พุทธศตวรรษที่๙ - ๑๐ )บัวยอดปราสาทจึงพัฒนารูปแบบเพื่อประดับบนยอดศิขร (สิ-ขะ-ระ) หรือส่วนเรือนยอดอาคาร และรองรับหม้อน้ำกลศด้านบนอย่างแพร่หลาย โดยในคติความเชื่อของฮินดูอมลกะเป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดอันบริสุทธิ์และความเป็นอมตะ           สำหรับบัวยอดปราสาทของปราสาทสด๊กก๊อกธมพบทั้งหมดสองชิ้นได้แก่           - บัวยอดปราสาทชิ้นที่ ๑ ทำด้วยหินทราย ด้านบนรองรับกลศซึ่งมีการเจาะรูสี่เหลี่ยมขนาด ๒๐x๒๐ เซนติเมตร เพื่อติดตั้งตรีศูล/นพศูล ปัจจุบันอยู่บนยอดปราสาทประธาน           - บัวยอดปราสาทชิ้นที่ ๒ ทำจากหินทราย สลักตกแต่งเป็นรูปกลีบดอกบัวด้านบนรองรับกลศ สันนิษฐานว่าในอดีตประดับบนยอดของซุ้มประตูโคปุระด้านตะวันออก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายในอาคารศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม -------------------------------------------------------- อ้างอิง - อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (๒๕๖๒). ทิพนิยายจากปราสาทหิน. นนทบุรี: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ : หน้า ๔๕. - กรมศิลปากร.สำนักโบราณคดี. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า ๕๕๑. - วสุ โปษยะนันทน์, อนัสติโลซิสเพื่อการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หน้า ๔๑-๔๒,๔๕,๖๔,๘๓ - Amalaka. Accessed May 25. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Amalaka   --------------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม https://www.facebook.com/Sadokkokthom.hp/posts/pfbid0KCgthRTKqq1sLxziKaZVsQuHptuAusP68xiAzFKX1wZtn5PKRs1r3kXALsgoweNel  


ชื่อเรื่อง                     การศึกษาประเพณีของชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านเกาะแรตผู้แต่ง                       นุกูล ชมภูนิชประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียมเลขหมู่                      390.09593 น722ปสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 กรมการฝึกหัดครูปีที่พิมพ์                    2538ลักษณะวัสดุ               196 หน้า : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 30 ซม.หัวเรื่อง                     การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย                              ไทยโซ่ง -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           หนังสือเล่มนี้บันทึกเรื่องราวของชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านเกาะแรต ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยกลุ่มนี้ว่า เป็นใคร มาจากไหน มีความเป็นอยู่อย่างไร  



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม "จิบชาชมวัง" ปี ๒ "วิถีแห่งเบื้องบูรพา" ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ พบกับกิจกรรมภาคบ่าย เวลา ๑๓.๓๕ น. ณ ห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ โดยมีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจ ดังนี้            วันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕  การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ตำนานการสร้างโลกและเทวปกรณัมสำคัญของจีน”  วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กนกพร นุ่มทอง ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์            วันเสาร์ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ การบรรยายพิเศษ เรื่อง “เกียวโตโกะโช พระราชวังหลวงนครเกียวโต” วิทยากรโดย นายธนกฤต ลออสุวรรณ สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง            วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ การบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “กิน-อยู่ อย่างเซน” วิทยากรโดย นายกัมปนาท พิทักษ์พินิจนันท์อดีตนักบวช วัดเมียวชินจิ สำนักใหญ่ นิกายเซน สายรินไซ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น    *มีค่าใช้จ่ายในการทำเวิร์กชอป "ผักดองเซนไมทสึเกะ" และรับจำนวนจำกัด*   **ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมภาคบ่าย โปรดสำรองที่นั่งทางโทรศัพท์ โทร. ๐๒๒๒๔๑๔๐๒ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓** -------------------------------------------------------            นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมภาคค่ำ ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            - การแสดงดนตรีจากชมรมดนตรีพื้นบ้านเกาหลี "ชองฮึงดุงดัง" และสำนักการสังคีต กรมศิลปากร            - นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยอาสาสมัคร ภัณฑารักษ์ และเจ้าหน้าที่ (Night at the Museum) เวลา ๑๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. นำชม วันละ ๓ รอบ รอบแรก เวลา ๑๗.๐๐ น. รอบที่ ๒ เวลา ๑๗.๓๐ น. และรอบที่ ๓ เวลา ๑๘.๐๐ น. ลงทะเบียนวันงานบริเวณศาลาลงสรง              - ช้อป ชิม ชิล ร้านค้ากลุ่มราชสกุล OTOP ชุมชน และผู้ประกอบการร้านค้า             - เรือนชาลีลาวดีเปิดให้บริการชาจีนและชาญี่ปุ่น พร้อมของว่าง (มีค่าใช้จ่าย)              สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. ๐ ๒๒๒๔๑๔๐๒ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓  เปิดวันพุธ - อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร)



ชื่อผู้แต่ง      พูน กาญจนโรจน์   ชื่อเรื่อง        พุทธศาสนาอันแท้จริงตามหลักวิทยาศาสตร์  ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ ๓ สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์     คุรุสภาพระสุเมรุ ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๔ จำนวนหน้า    ๓๙ หน้า รายละเอียด                    หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวของนายแพทย์พูน กาญจนโรจน์ ที่เขียนขึ้นมาจากการไปโมกขพลาราม  ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้พบเห็นภาพสังขารจักรที่เขียนไว้บนกำแพงโรงหนัง ประกอบกับได้ฟังคำบรรยายและอบรมของท่านพระคุณเจ้าพุทธทาสภิกขุ จึงเกิดศรัทธาและเสื่อมใสในพุทธศาสนา และเพื่อเป็นการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนให้กับผู้ที่สนใจ


Messenger