ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
บทความจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านในจุลสารแป้นเกล็ดเรื่อง "วัวต่าง"จุลสารเรื่องราวอาคารเก่า สาระความรู้ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการอนุรักษ์อาคารเก่าเมืองน่านฉบับที่ ๑๖ มิถุนายน - พฤศจิกายน ๒๕๖๓อ่านเนื้อหา บทความอื่นๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/.../pfbid0NcmGvJvaBc8cfQCqN4tzYR...
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “มารยาทในการขับรถ”
ในปัจจุบันทุกคนต่างมีรถและในขณะขับรถไปตามท้องถนนในที่ต่างๆ ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องใช้ถนนร่วมกับผู้ขับขี่รถยนต์คันอื่นและผู้คนที่เดินถนน จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎจราจร มีน้ำใจ และมีข้อพึงปฏิบัติดังนี้
1. ถ้ายังขับรถไม่คล่อง ไม่ควรขับรถเข้าเมืองที่มีการจราจรติดขัดหรือสับสนวุ่นวาย
2. ผู้ที่ขับรถช้าควรขับชิดช่องทางซ้าย ช่องทางขวาสำหรับรถที่ขับเร็ว ใช้สำหรับเปลี่ยนช่องทางหรือรถที่จะเลี้ยวขวา
3. หากจะเลี้ยวหรือเปลี่ยนช่องทาง ควรวางแผนไว้ล่วงหน้าด้วยการให้สัญญานไฟเลี้ยว แล้วเริ่มชิดช่องทางที่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ รอจนกว่ามีช่วงรถว่าง จึงเร่งเครื่องยนต์ไปเข้าช่องทางที่ต้องการ
4. ในขณะที่รถติดกันเป็นแถวยาว ไม่ควรขับแซงขึ้นไปข้างหน้า เพราะเป็นการเอาเปรียบผู้อื่นที่ต่อแถวอยู่แล้ว และเป็นการแสดงความเห็นแก่ตัวให้ปรากฏอย่างชัดเจน ยิ่งจะทำให้รถติดมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก
5. ไม่ควรแซงรถหรือตัดหน้ารถคันอื่นอย่างกระชั้นชิด เพราะอาจเกิดอันตราย ทำให้เสียเวลามากยิ่งขึ้น ควรไปตามลำดับที่ต่อเนื่องกันจะดีที่สุด
6. ไม่ควรบีบแตรโดยไม่จำเป็น บางครั้งการบีบแตรเร่งรัด ถี่ๆหรือยาวเกินไป อาจสื่อสารความหมายไปในทางลบ เกิดความรำคาญ นำไปสู่การทะเลาะวิวาทบาดหมางใจกันได้ ผู้ที่ถูกบีบแตรใส่ ก็ไม่ควรใจร้อนโกรธ ให้พิจารณาดู สังเกต ว่ามีอะไร บกพร่องในรถตนเองหรือไม่ อย่างเช่น ไม่ปิดไฟเลี้ยว ถ้าเป็นมอเตอร์ไซด์ ก็อาจไม่เก็บขาตั้งขึ้น และรถคันหลังบีบแตรเป็นการเตือนให้รู้ตัว และระมัดระวัง รถในการจะแซงหรือไม่
7. ไม่ควรบีบแตรในโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการและเขตชุมชนที่พักอาศัย ด้วยเสียงแตรจะสร้างความรำคาญรบกวนได้
8. ควรขับรถให้มีระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควร เพราะถ้าขับรถชิดกันเกินไป อาจชนท้ายรถคันหน้าได้หากรถคันหน้าเบรคกระทันหันขึ้นมา จะทำให้เสียเวลาและรถเสียหายได้ซึ่งจะทำให้ต้องเสียเงินไปซ่อมรถของตนเองและของคู่กรณีได้
9. ไม่ควรขับรถช้าหรือรีๆรอๆ เพราะเป็นการกีดขวางเส้นทางจราจร และทำให้รถติดได้
10. ไม่ควรขับรถเกินความเร็วที่กฎหมายกำหนด เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้
11. ไม่ควรใช้ถนนหลักสายสำคัญที่การจราจรพลุกพล่าน เป็นที่ฝึกหัดขับรถเพราะทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
12. ไม่ควรพูด ใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนมาขับช่องทางซ้ายเพื่อจะได้ชะลอความเร็วไม่กีดขวางการจราจร
13. ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในการขับรถในท้องถนน
14. ทุกคนควรมีน้ำใจ เมตตาอารีต่อกันในการขับรถในท้องถนน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
อ้างอิง : รัศมี-สุทธิ ภิบาล. มารยาทในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ไทพัน อินเตอร์ แอคท์, 2537.
ผู้เรียบเรียง : นางกรองแก้ว เปเหล่าดา บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#องค์ความรู้
#มารยาทในการขับรถ
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร
#หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี
#สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี
#กรมศิลปากร
#กระทรวงวัฒนธรรม
วันจันทร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๐๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๖๖ โดยร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ อาคารหอศิลป์แห่งชาติ และกิจกรรมตักบาตรพระสงฆ์ ณ บริเวณลานวัฒนธรรม สร้างสุข กระทรวงวัฒนธรรม จากนั้นเวลา ๐๘.๓๐ น. มีพิธีปล่อยขบวนรถเทียนพรรษา ณ บริเวณลานด้านหน้าอาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live การบรรยายทางวิชาการออนไลน์ ประจำปี ๒๕๖๖ เรื่อง “กำแพงเพชรกับมรดกทางวัฒนธรรม” ในวันที่ ๒๔-๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทางเพจพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet National Museum (https://www.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum)
------------------------------------------
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๖
- เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. การบรรยาย เรื่อง “กำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ : เมืองกำแพงเพชรยุคประวัติศาสตร์” โดย นายบัณฑิต ทองอร่าม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
- เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. การบรรยาย เรื่อง “๖๖๖ ปี พระบรมธาตุนครชุม” โดย ผศ.ดร.ธีระวัฒน์ แสนคำ นักวิชาการอิสระ
- เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๔.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “เอกสารจดหมายเหตุกับเมืองกำแพงเพชร” โดย นางสาวภาวิดา สมวงศ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
กลุ่มอนุรักษ์เอกสาร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
------------------------------------------
วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๖
- เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. การบรรยาย เรื่อง “การละเล่นพื้นบ้านและนาฏศิลป์ของจังหวัดกำแพงเพชร” โดย ผศ.เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา
ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
- เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๔.๓๐ น. การบรรยาย เรื่อง “ชาวลีซูหรือลีซอในจังหวัดกำแพงเพชร” โดย นางสาวอรวดี พูพวง กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร โทร. ๐ ๕๕๗๑ ๑๕๗๐
องค์ความรู้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง เล่าเรื่องจากปกวารสารศิลปากร
ปกวารสารศิลปากร มีความน่าสนใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นชื่อวารสารเหมือนอยู่ในคลี่พระราชสาส์นออกพระพิฆเนศหันซ้ายเล็กน้อย รวมทั้งภาพปก หลายครั้งภาพปกเป็นฝีพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้เขียนเลือก วารสารศิลปากร ปีที่ ๘ เล่มที่ ๘-๑๐ มกราคม ถึง มีนาคม๒๔๙๘
ปีที่ ๘ เล่ม ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มุมขวาด้านล่าง ปรากฏศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเดิมอยู่ในหอสมุดวชิรญาณ เป็นจารึกที่หลายคนรู้จัก และเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา ปัจจุบันอยู่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ปีที่ ๘ เล่ม ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ตู้ลายรดน้ำสมัยอยุธยา ทำเป็นรูปฝรั่ง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ กับรูปแขก พระเจ้าออรังเซฟ ราชวงศ์โมกุล สันนิษฐานว่า ทำในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ปีที่ ๘ เล่ม ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ เสาศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม อักษรมอญ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) พบที่ศาลสูง ลพบุรี ย้ายมารักษาที่อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสสั่งให้ส่งมาไว้ในหอพระสมุด ปัจจุบันอยู่ ชั้น ๔ ห้องเอกสารโบราณ อาคารวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ
แผ่นศิลาที่อยู่บริเวณกลางภาพ พบที่วัดมเหยงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เคลื่อนมาอยู่ที่อาคารมหาสุรสิงหนาถ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ตรัสสั่งให้ส่งมาไว้ในหอพระสมุดกับจารึกหลักอื่น ๆ ซึ่งเดิมสถานที่แสดงจารึกอยู่ในห้องพระโรงศิวโมกขพิมาน ปัจจุบันอยู่ ณ พระที่นั่งอุตราภิมุขพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
หลายครั้งหลายเรื่องราว มาจากปกหนังสือแค่ไม่กี่เล่ม ภาพแค่ไม่กี่ภาพ ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวได้เขียนในโอกาสเฉลิมฉลองวันสถาปนาสำนักหอสมุดแห่งชาติ ครบ ๑๑๘ ปี และความเชื่องโยงระหว่างหอสมุดแห่งชาติ กับกรมศิลปากร ที่เป็นขุมทรัพย์ของชาติ ตักศิลาของประเทศ
--------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๔.
กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙.
-----. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๒ อักษรปัลลวะ อักษรมอญ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๑. กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์, ๒๕๒๙.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์. ตู้ลายทอง ภาค ๑. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๓.
ศิลป์ พีระศรี. เรื่องตู้ลายรดน้ำ. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๓.
“ภาพตู้ลายรดน้ำสมัยศรีอยุธยา ทำเป็นรูปราชทูตฝรั่งเศสกับราชทูตเปอร์เซียสำหรับเก็บหนังสือใบลาน
ในหอสมุดวชิรญาณ” วารสารศิลปากร. ๘, ๙ (กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘): ปก.
“ภาพศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัย อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ.” วารสารศิลปากร. ๘, ๘ (มกราคม ๒๔๙๘): ปก.
“ภาพศิลาจารึกภาษามอญ และภาษาสันสกฤต ภายในหอสมุดวชิรญาณด้านใต้.” วารสารศิลปากร. ๘, ๑๐
(มีนาคม ๒๔๙๘): ปก.--------------------------------------------
ผู้เรียบเรียง นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
กราฟิก นายชลิต ปรีชากุล นายช่างศิลปกรรม สำนักหอสมุดแห่งชาติ
หลายคนคงเคยเห็นประติมากรรมการกวนเกษียรสมุทรในสนามบินสุวรรณภูมิ...สงสัยไหมว่ากวนไปทำไม?กวนแล้วได้อะไร?ภาพสลักการกวนเกษียรสมุทรที่โบราณสถานโนนแท่นพระบ้านหนองโก หมู่ที่ ๓ ตำบลก้านเหลือง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่นค้นคว้าและเรียบเรียง ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์นักโบราณคดีชำนาญการกราฟิก ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์ปฏิบัติงานด้านโบราณคดีและวิชาการวัฒนธรรมสอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร#ความรู้ #องค์ความรู้ทางวิชาการ #บทความ #สำนักศิลปากรขอนแก่น #ขอนแก่น #กรมศิลปากร
องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนาตอน "พระเจ้าไม้"พระเจ้าไม้ หรือ พระพุทธรูปไม้ เป็นรูปแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ใช้ไม้เป็นวัสดุในการสร้าง เป็นโบราณวัตถุที่พบมากในเมืองน่าน โดยเก็บรักษาอยู่ในวัดต่างๆ เนื่องจากในอดีตมีความเชื่อในการถวายพระพุทธรูปไม้ไว้ในพระพุทธศาสนา ดังปรากฎในจารึกคำผาถนาหรือจุดมุ่งหมายของการสร้างที่แตกต่างกันไป เช่น สร้างเพื่อปรารถนาไปสู่นิพพาน สร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี สร้างเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ล่วงลับ ฯลฯ ในจารึกของพระพุทธรูปไม้โดยส่วนใหญ่ มักปรากฎคำเรียก พระพุทธรูปองค์นั้นๆว่า พระพุทธรูปเจ้า พุทธพิมพาสารูปเจ้า พระเจ้า เป็นต้น#อักษรธรรมล้านนา #องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านอ่านเพิ่มเติมใน: องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เรื่อง "พระเจ้าไม้เมืองน่าน" >> https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3818560031606076&id=1116844555110984&mibextid=Nif5oz
ชื่อเรื่อง ราชวงศ์จักรีผู้แต่ง ประกาย สุประดิษฐ์, ม.ล.ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่ 959.3 ส111รสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ วัชรินทร์การพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2515ลักษณะวัสดุ 390 หน้า หัวเรื่อง ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเล่มนี่กล่าวถึงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 9 รัชกาล และเล่าเรื่องบางกอก
ไม้หนีบข้าว
ไม้หนีบข้าว หรือบางแห่งอาจเรียกว่า ไม้ฟาดข้าว ไม้ตีข้าว หรือไม้นวดข้าว เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่มีวัตถุประสงค์การใช้งานเหมือนกัน คือการทำให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวง ไม้หนีบข้าวประกอบด้วยไม้ 2 ท่อน ส่วนใหญ่ทำจากไม้เนื้อแข็งที่มีความยาวอยู่ระหว่าง 70-90 เซนติเมตร ไม้ทั้งสองท่อนมีความยาวขนาดใกล้เคียงกันและมีขนาดความกว้างของไม้ที่สามารถจับได้พอเหมาะพอดีเข้ากับมือ ไม่ใหญ่จนเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่มีเส้นรอบวงอยู่ระหว่าง 10-13 เซนติเมตร เจาะรูร้อยเชือกบริเวณปลายไม้ทั้งสองแล้วผูกเข้าด้วยกัน เชือกที่ผูกไว้มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ไม้หนีบข้าวใช้หนีบรัดฟ่อนข้าวแล้วยกขึ้นฟาดหรือตี เพื่อให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวง เมล็ดข้าวที่ได้เป็นข้าวเปลือกต้องนำไปสีหรือกะเทาะเปลือกออกก่อน จึงจะได้เป็นข้าวสาร แล้วค่อยนำมาหุงรับประทานได้
วิธีการใช้งานไม้หนีบข้าว ชาวนาใช้มือจับไม้หนีบข้าวแต่ละท่อน คล้องเชือกเข้ากับฟ่อนข้าวแล้วรัดให้แน่น ยกฟ่อนข้าวขึ้นฟาดกับพื้น หรือฟาดบนวัสดุรองรับต่าง ๆ เช่น ฟาดกับไม้กระดาน ฟาดข้าวในคุ เป็นต้น จนเมล็ดข้าวเปลือกร่วงหลุดออกจากรวง ปัจจุบันชาวนาแทบจะไม่ใช้ไม้หนีบข้าวแบบนี้ในการนวดข้าวแล้ว เพราะมีรถเกี่ยวข้าวและเครื่องนวดข้าวเข้ามาแทนที่การนวดข้าวแบบดั้งเดิม
อ้างอิง
เอี่ยม ทองดี. ข้าว วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2538.
ชื่อเรื่อง สพ.ส.49 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 19; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำรายาแผนโบราณ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 16 ส.ค..2538
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้เพื่อการพัฒนากับทั้งสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่ให้ออกมาเป็นต้นแบบอันทรงคุณค่ามากมาย ปัจจุบันลูกโลกของท่านถูกนำมาจัดแสดงไว้บนโต๊ะทำงานด้านใน โดยจัดแสดงร่วมกับกรอบรูป รูปปั้น หนังสือ และของใช้อื่นๆ ของท่าน ภายในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s06ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri
กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดการเสวนาทางวิชาการ ประกอบการจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. โดยในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๖๗ มีหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้
- วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เรื่อง แผนภูมิของแผ่นดิน จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นายไอยคุปต์ ธนบัตร, นายภูวนารถ สังข์เงิน, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ
ผู้ดำเนินรายการ นายชัยสิทธิ์ ปะนันวงค์
- วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ตราประจำจังหวัด จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นายกำพล เวชสุทัศน์, นายสุเมธ พุฒพวง,
นายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร, นางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์
ผู้ดำเนินรายการ นางประภาพร ตราชูชาติ
- วันเสาร์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง สานสัมพันธ์ด้วยสัญญา จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นางภาวิดา สมวงศ์, นางสาวทรายทอง ทองเกษม, ผู้แทนกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวนัทธมน จิตเจตน์
- วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง แรกมีการพิมพ์ จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางอัจฉรา จารุวรรณ, นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน, นายยุทธนาวรากร แสงอร่าม
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวอุดมพร เข็มเฉลิม
- วันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง ต้นร่างสร้างเมืองเรืองรองศิลปกรรม จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร ดร.วสุ โปษยะนันท์, นายจักริน อุตตะมะ, ดร.พรธรรม ธรรมวิมล, นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวชนาธิป พฤกษ์อุดม
- วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วิทยากร นางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์, นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา
ผู้ดำเนินรายการ นางบุศยารัตน์ คู่เทียม
- วันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง ด้วยพระปรีชาญาณ นำประชาราษฎร์จากทาสสู่ไท จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ
วิทยากร นางสาวยุวเรศ วุทธีรพล, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ, นางสาวฉัตรลดา สินธุสอน
ผู้ดำเนินรายการ นายบารมี สมาธิปัญญา
- วันอาทิตย์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง เล่าขานประวัติศาสตร์ไทยจากเอกสารต่างประเทศ จัดโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
วิทยากร นางสาวนันทพร บรรลือสินธุ์, นางสาวรัตติกาล สร้อยทอง, นางสาวกมลทิพย์ ชัยศุภมงคลลาภ
ผู้ดำเนินรายการ นางสาวพัชรา สุขเกษม
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดการเสวนาทางวิชาการ ผ่านทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม https://www.facebook.com/FineArtsDept
สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ร่วมกับบริษัท ปตท.สผ. จัดทำโครงการอบรมถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุนวัดในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในวันพุธที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ วัดโพธิ์ปฐมาวาส พระอารามหลวง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา การจัดโครงการอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงฆ์เพื่อถวายความรู้และสร้างความเข้าใจถึงคุณค่าความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม หลักการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่อยู่ภายในวัด ตลอดจนระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่พระสังฆาธิการซึ่งเป็นกำลังและสถาบันหลักในการครอบครองและดูแลทรัพย์สินอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และเกิดความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครอง อนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
สำนักงานกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน. กรุงเทพ ฯ (เวลา 08.30 น.) จำนวน 110 คนวันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๓๐ น. สำนักกิจการมวลชนและสารนิเทศ กอ.รมน. นำคณะผู้เข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพผู้นำมวลชน กอ.รมน. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ จำนวน ๑๑๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้