ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ

“บัว” ดอกไม้แห่งศาสนาและความเชื่อ"บัว" ได้รับการขนานนามว่า "ราชินีแห่งไม้น้ำ" เป็นพืชล้มลุกที่เติบโตในหนองน้ำ แอ่งน้ำตื้น บริเวณน้ำตื้นของทะเลสาบและแม่น้ำ เจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปีในสภาพอากาศอบอุ่นและชื้น เป็นพืชที่มีความทนทานสามารถเอาชีวิตรอดได้ดีชนิดหนึ่ง นอกจากเป็นดอกไม้ให้ความสวยงามแล้วส่วนต่าง ๆ ของบัวยังสามารถนำไปใช้เป็นอาหาร ยา และประโยชน์อื่น ๆ ในชีวิตประจำวันอีกเช่นกันเชื่อว่าดอกบัวเป็นพืชที่พบอยู่ทั่วไปในแหล่งอารยธรรมโบราณแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เนื่องด้วยคุณสมบัติพิเศษโดยธรรมชาติของดอกบัวซึ่งถึงแม้จะเติบโตในน้ำที่เป็นโคลนตมแต่เมื่อชูดอกพ้นน้ำเพื่อรับแสงแดดดอกกลับสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากโคลนตมแต่อย่างใด ผู้คนในสมัยโบราณจึงนำดอกบัวมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความสงบสุข การเกิดใหม่และความอุดมสมบูรณ์ อาทิ ในอารยธรรมอียิปต์โบราณมักปรากฏภาพดอกบัวตามผนังของพีระมิด หลุมฝังศพ แม้กระทั่งตามหัวเสาของโบสถ์ วิหาร ก็พบลายสลักรูปดอกบัว รวมทั้งได้นำลักษณะการบานและหุบของดอกบัวมาผูกเข้ากับกำเนิดเทพโฮรัส (Horus) ในอารยธรรมอินเดียโบราณก็มีการใช้ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์มานานแล้วดังจะเห็นได้จากคัมภีร์ทางศาสนาต่าง ๆ งานสถาปัตยกรรม งานจิตรกรรม งานประติมากรรมล้วนแล้วแต่พบดอกบัวปรากฏร่วมอยู่ด้วยทั้งสิ้น โดยตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ดอกบัวมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างโลก และเป็นสัญลักษณ์ของพระลักษมี ชายาของพระนารายณ์ ในขณะที่ทางพระพุทธศาสนา ดอกบัวเปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า ทั้งยังมีบทบาทในพุทธประวัติหลายตอน รวมถึงหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาด้วย เมื่อศาสนาต่าง ๆ ในอินเดียไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์ - ฮินดู หรือแม้แต่พุทธศาสนาได้แผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่ยอมรับนับถือศาสนานั้น ๆ ก็ได้นำพาความนิยมดอกบัวไปยังดินแดนนั้น ๆ ด้วยจะเห็นได้ว่าจากการนำคุณสมบัติพิเศษตามธรรมชาติของดอกบัวมาผนวกรวมกับความเชื่อซึ่งหล่อหลอมกลายเป็นศาสนาได้ทำให้มรดกภูมิปัญญาต่าง ๆ ที่มีดอกบัวเป็นต้นแบบ เช่น รูปเคารพทางศาสนา งานสถาปัตยกรรม งานจิตรกรรม ลวดลายต่าง ๆ ในศิลปะไทย เจริญงอกงามและหยั่งรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้




ชื่อผู้แต่ง        ทวี วรคุณ ชื่อเรื่อง         วัดดอนบุญ  งานฉลองศาลาการเปรียญวัดชะอำ ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์     ชัยศิริการพิมพ์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๒๔ จำนวนหน้า    ๕๔๓ หน้า รายละเอียด                   หนังสือเล่มนี้นายทวี วรคุณ ตั้งใจที่จะเขียนให้กับเจ้าประคุณสมเด็จป๋า(สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช) เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องราวของวัดดอนบุญที่เป็นจินตนิยายอิงธรรมะ จากนั้นท่านเจ้าคุณพระอมรสุธี วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดและเป็นเลขานุการรูปหนึ่งของเจ้าประคุณสมเด็จป๋า และกรรมการดำเนินงานสร้างศาลาการเปรียญวัดชะอำ ได้ขออนุญาตตีพิมพ์เรื่องวัดดอนบุญ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ของสภาพระธรรมถึก และเพื่อเป็นปฏิการต่อท่านผู้บริจาคร่วมกุศลผ้าป่าฉลองศาลาการเปรียญ    วัดชะอำพร้อมน้อมถวายเป็นเครื่องบูชาต่อเจ้าประคุณสมเด็จป๋าด้วยความคารวะอย่างสูงสุด          


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 147/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 178/5กเอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : กำลังความคิด ชื่อผู้แต่ง : หลวงวิจิตรวาทการ ปีที่พิมพ์ : 2494 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : วรรธนะวิบูลย์ จำนวนหน้า : 552 หน้าสาระสังเขป : เป็นเรื่องราวของการสร้างสมรรถภาพของมันสมอง การฝึกประสาท ทางตา ทางหู ทางกาย ทางใจ สมาธิ ปฏิภาณ เหตุผล การตัดสินใจ ลักษณะของศิลปิน มโนคติ ความจำ ความเฉียบแหลมคมคาย ความสังเกต การเปรียบเทียบ การทอดถ่ายความรู้เปรียบเทียบกำลังความคิดกับหัวข้อธรรมทางพุทธศาสนา


  ชื่อผู้แต่ง            พูนพิศมัย  ดิศกุล ม.ว.ม.,ท.จ.ว. ชื่อเรื่อง             สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ครั้งที่พิมพ์         พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์       กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์         โรงพิมพ์อักษรไทย ปีที่พิมพ์            ๒๕๒๘ จำนวนหน้า        ๑๗๔ หน้า : ภาพประกอบ. หมายเหตุ          พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ม.ว.ม.,ท.จ.ว.  ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๓                       เป็นหนังสือเกี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น เป็นบันทึกของเจ้านายพระองค์หนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งก่อนและหลังในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งหาอ่านไม่ได้ในเอกสารประวัติศาสตร์เล่มอื่นๆ เพราะทำให้เห็นภาพทางฟากฝั่งเจ้านายว่าจะต้องเผชิญอะไรบ้างในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง เห็นภาพไม่วางไว้ใจกันระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มเจ้า


ชื่อเรื่อง : พระประวัติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ชื่อผู้แต่ง : ชัยมงคล อุดมทรัพย์ ปีที่พิมพ์ : 2504 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : สันติธรรม จำนวนหน้า : 636 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ โดยได้รวบรวมเรื่องราวจากข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระประวัติของพระองค์ท่าน ทั้งทางด้านการศึกษา การทรงงาน ศาสนา ความเชื่อ ความศรัทธา รวมถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านในด้านการกีฬา งานศิลปะ งานพระนิพนธ์ และชีวิตส่วนพระองค์ เป็นต้น


ชื่อเรื่อง        วารสารคหเศรษฐศาสตร์  (ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม 2501) ชื่อผู้แต่ง       สมาคมคหเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย  ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   ธนบุรี   สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์บรรหาร ปีที่พิมพ์        ๒๕๐1 จำนวนหน้า    92 หน้า รายละเอียด                   เป็นวารสารวิชาการสำหรับชาวคหกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทางคหกรรมศาสตร์และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภายในเล่มประกอบด้วย 14 บทความ เช่น อาหารหน้าร้อน  อาหารอนามัย ความสำคัญของนมมารดา ฯลฯ


       รถไฟจำลอง        สมัยรัตนโกสินทร์ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔        สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        รถไฟจำลอง เป็นรถไฟขนาดเล็กซึ่งย่อส่วนมาจากรถไฟไอน้ำของจริง ประกอบด้วยส่วนหัวรถจักรไอน้ำประเภทมีปล่องควัน ประดับอักษรโรมันคำว่า VICTORIA ถัดมาคือรถพ่วงบรรทุกถ่านหิน มีตู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ประตูห้องโดยสารเขียนว่า First Class 102  ตู้โดยสารชั้นสามที่ประตูห้องโดยสารเขียนคำว่า THIRD CLASS 1000 และรถพ่วงคันสุดท้ายสันนิษฐานว่าเป็นตู้บรรทุกของ        รถไฟจำลองชิ้นนี้เป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่ เซอร์ แฮรี่ สมิท ปาร์ค (Sir Harry Smith Parkes) หรือในพงศาวดารไทยออกนามว่า “ฮาริปาก” ราชทูตอังกฤษ เป็นผู้นำมาน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ดังความในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี กล่าวว่า        “...ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ* มิศเตอฮาริปากกับขุนนางอังกฤษ 17 นาย เข้าเฝ้าออกใหญ่ถวายพระราชสาสน์ ณ พระที่นั่งดุสิดามหาปราสาท ถวายเครื่องมงคลราชบรรณาการอย่างรถไฟ 1 อย่างกำปั่นไฟ 1 กระจกฉากรูปกวินวิกตอเรียเมื่อได้รับราชาภิเษก 1 เมื่อมีพระราชบุตรทั้งแปด 1 (รวม) 2 ฉาก กับเครื่องเขียนสำรับ 1 เครื่องคิดเลขสำรับ 1 เครื่องโต๊ะกาไหล่เงินสำรับ 1 แลของต่าง ๆ เป็นอันมาก เจ้าพนักงานในตำแหน่งทั้งปวงมารับไปต่อมือฮาริปาก...”       ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงโปรดให้นำรถไฟจำลองชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ในหอมิวเซียม (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๓๐ จึงโปรดให้ย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่หอมิวเซียม พระราชวังบวรสถานมงคล เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อโปรดให้ตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ระยะแรกรถไฟจำลองชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข หมู่พระวิมาน         ครั้นในวาระครบรอบการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี กรมศิลปากรได้ย้ายรถไฟจำลองชิ้นนี้มาจัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ภายใต้ชื่อ “นิทรรศการประวัติศาสตร์ชาติไทย” นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงอยู่ถึง พ.ศ. ๒๕๕๘ การจัดแสดงภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมานได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ส่วนรถไฟจำลองได้ย้ายมาจัดแสดงอยู่ที่ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์         ความสำคัญของรถไฟจำลองชิ้นนี้ นอกจากเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับอังกฤษ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ยังเป็นตัวอย่างรถไฟชิ้นแรกที่เข้ามาในไทย ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับคนไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ ดังเช่นการพรรณนาเกี่ยวกับรถไฟ ของ หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร) ในเรื่อง นิราศลอนดอน เป็นต้น . *ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๘    อ้างอิง กรมศิลปากร. นำชมห้องจัดแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๕. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๔. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๘. ราชบัณฑิตยสภา. อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แลพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๙. ราโชทัย, หม่อม [ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร]์. นิราศลอนดอน. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๐๔.


เลขทะเบียน : นพ.บ.388/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 59.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 144  (40-47) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สุนันทราช--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.527/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 5 x 48 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 176  (267-279) ผูก 14 (2566)หัวเรื่อง : ลำสินไชย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                             นิสัยวิสุทธิมรรค (นิไสวิสุทธิมรรค) สพ.บ.                                 431/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย              คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                       54 หน้า : กว้าง 4.7 ซม.  ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา--ปกรณ์พิเศษ                                         คัมภีร์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน  เส้นจาร ฉบับลานดิบ ล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



Messenger