ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

แหล่งภาพเขียนสีเขาแบนะ           ประวัติ : “เขาแบนะ” เป็นเขาหินปูนลูกโดดขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมของหาดฉางหลางในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ภาพเขียนสีตั้งอยู่บริเวณเพิงผาด้านทิศเหนือของเขา เมื่อน้ำทะเลลดระดับลง  เขาแบนะจะมีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของปลายแหลม สามารถเดินเท้าไปชมภาพเขียนสีได้ โดยตัวภาพจะอยู่สูงกว่าระดับพื้นทรายประมาณ   ๕ เมตร แต่หากระดับน้ำทะเลขึ้นสูง เขาแบนะจะกลายเป็นเกาะสามารถเดินทางไปชมด้วยเรือ ตัวภาพจะอยู่ในระดับที่สามารถเอื้อมถึง  ภาพเขียนสีได้รับการสำรวจโดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคใต้) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๓๓ สำรวจพบภาพเขียนสีและชิ้นส่วนภาชนะดินเผา           จากลักษณะของพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นเวิ้งอ่าว เหมาะแก่การจอดเรือเพื่อพักระหว่างเดินทางหรือหลบกระแสลม คนโบราณจึงเลือกใช้พื้นบริเวณนี้ สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนสีเพื่อบอกเล่าเรื่องราวหรือเพื่อประกอบพิธีกรรม กำหนดอายุตัวภาพเขียนสีให้อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ  ๔,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ภาพเขียนสีเขาแบนะจึงเป็นตัวแทนแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน   กำหนดอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว ๔,๐๐๐ – ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว สิ่งสำคัญ            ภาพเขียนสีเขาแบนะ เขียนด้วยสีแดง ใช้เทคนิคร่างโครงภายนอกและตกแต่งลวดลายเป็นลายเส้นหรือระบายสีทึบภายใน              ลักษณะภาพ เป็นภาพเขียนสีรูปปลา จำนวน  ๒ ตัว คว่ำหัวลง ลักษณะการเขียนภาพเขียนเป็นเส้นโครงร่าง และทำเป็นเส้นลายทางด้านในตัวปลา ส่วนหัวกับส่วนหางระบายสีแดงทึบ ด้านล่างของปลาเป็นภาพเขียนสี มีสภาพค่อนข้างลบเลือน โดยมีการระบายสีด้านในทึบ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าอาจเป็นอุปกรณ์จับปลา บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นรูปสัตว์คล้ายเสือ ถัดลงไปด้านล่างทางด้านขวามือ (ของผู้ชมภาพ) เป็นภาพเขียนสีมีลักษณะคล้ายสัตว์ระบายสีทึบแต่เนื่องจากภาพมีสภาพค่อนข้างลบเลือนทำให้ไม่สามารถเห็นภาพชัดเจน


ชื่อเรื่อง                           พิมพาภิลาป (นิทานพิมพาพิลาป)สพ.บ.                                  103/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           66 หน้า กว้าง 4.3 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดประสพสุข   ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 


ชื่อเรื่อง                           อากาวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร)สพ.บ.                                  202/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           62 หน้า กว้าง 4.2 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


     ลับแลภาพลายรดน้ำปิดทองเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระรามรบทศกัณฐ์       โดยกรอบลับแลนี้เป็นงานประดับมุกซึ่งมีเทคนิตต่างไปจากงานเครื่องมุกของไทยที่ตามปกติจะใช้รักสมุก (รักผสมขี้เถ้า) ในการประสานชิ้นส่วนลวดลายมุกแต่ละชิ้น สำหรับลับแลนี้ใช้เทคนิคการขุดไม้เป็นร่องตามลวดลายที่ต้องการและฝังชิ้นมุกลงในร่องนั้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่คล้ายคลึงกับ ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ประกอบงาฝังมุก พระปรมาภิไธยย่อ “ม.ว.” (ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร) โดยปี่พาทย์ชุดนี้สร้างขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๕ แม้ลับแลภาพพระรามรบทศกัณฐ์จะไม่มีประวัติชัดเจน ระบุเพียงว่าเป็นสมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถาน แต่โบราณวัตถุชิ้นนี้เคยรับการคัดเลือกไปจัดแสดงนิทรรศการสยามที่เมืองตูริน สาธารณรัฐอิตาลี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ สามารถชมลับแลภาพพระรามรบทศกัณฐ์ได้ในห้องจัดแสดงเครื่องประดับมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ห้องเครื่องประดับมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สื่อนำเสนอเทคนิคการประดับมุกแบบจีนด้วยวิธีฝังลาย ในห้องเครื่องประดับมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        สื่อนี้จำลองกรรมวิธีการประดับมุกของกรอบลับแลภาพลายรดน้ำปิดทองเรื่องรามเกียรติ์ตอนพระรามรบทศกัณฐ์


เลขทะเบียน : นพ.บ.87/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 50 (78-93) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : จุนฺทสูกสุตตฺ (จุนทสูกริกสูตร) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                                ปพฺพชฺชานิสํสกถา (อานิสงส์บวช)สพ.บ.                                  156/1กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา                                           พุทธศาสนา                                           อานิสงส์                                           การบวช บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี





ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๗๖ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.28/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



ผืนป่าเมืองน่าน ( ตอนที่ ๒ ) -- ในตอนที่ ๑ กล่าวถึงผืนป่าน้ำสาฝั่งซ้าย อำเภอสา จังหวัดน่าน ช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ - ๒๕๑๐ นั้น เป็นเพียงพื้นที่ส่วนน้อยที่ปรากฏความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้และทรัพยากรธรรมชาติ  ในตอนนี้จะขยายภาพผืนป่าทั้งอำเภอสาว่ากว้างขวางเพียงใด --  -- จากเอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน มีร่างแผนที่สังเขปการตรวจสอบสภาพป่าท้องที่อำเภอสาชัดเจน ด้วยแทบทุกตารางนิ้วเป็นเฉดสีพันธุ์ไม้เต็มพื้นที่ เรียกได้ว่า  " กว้างใหญ่ไพศาล " ทีเดียว  ภายในร่างแผนที่ระบุลำห้วย ๔ สาย หมู่บ้าน ๓ แห่ง นอกนั้นคือป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduous Forest ) ไม้ผลัดใบ และป่าแดง ( Deciduous Dipterocarp Forest ) ไม้เต็งรังทั้งสิ้น หากพิจารณาประกอบกับแผนที่ป่าน้ำสาฝั่งซ้ายในตอนที่ ๑ แล้ว สามารถคะเนได้ว่า อำเภอสาอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้ผลัดใบกับไม้เต็งรังเนื้อแข็ง นอกจากนี้พื้นที่รอบอำเภอยังถูกโอบล้อมด้วยภูเขา เพราะในแผนที่ระบุแนวสันเขาไว้ตลอด มีสภาพอากาศบริสุทธิ์รักษาความชื้นความร่มเย็นสม่ำเสมอ  อย่างไรก็ตาม สำนักงานป่าไม้ยังคงสำรวจผืนป่าอื่นๆ ของจังหวัดน่านอีก โดยในตอนหน้าพบกับต้นฉบับแผนที่ป่าน้ำแก่น จะอุดมสมบูรณ์เช่นไร โปรดติดตาม... ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ ( นักจดหมายเหตุ ) เอกสารอ้างอิง : หจช.พย. แผนที่กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผจ นน 1.6 / 13   เรื่องแผนที่สังเขปการตรวจสอบสภาพป่าท้องที่อำเภอสา จังหวัดน่าน   (ม.ท.)


นรินทร์ธิเบศร์ (อิน). โคลงนิราศนรินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.          โคลงนิราศนรินทร์นี้ นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) กวีเอกในสมันรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ได้แต่งขึ้นในระหว่างเดินทางโดยเสด็จสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ไปรบพม่าซึ่งยกทัพเข้ามาตีเมืองถลางและเมืองชุมพร ระหว่างปี พ.ศ. 2352



การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอนที่ ๕ เงินพดด้วง           เป็นเงินตราที่ชาวไทผลิตขึ้นใช้ต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์           โดยการตัดโลหะเงินเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ได้น้ำหนักตามต้องการแล้วนำไปหลอมจากนั้นเทโลหะที่ละลายดีแล้วลงเบ้าไม้ที่แช่อยู่ในน้ำ จากนั้นนำมาทำให้งอโดยตอกแบ่งครึ่งด้วยสิ่วสองคม แล้วทุบปลายทั้งสองข้างเข้าหากันจนขดงอคล้ายตัวด้วง เงินพดด้วงที่ตีด้วยค้อนจนเข้ารูปแล้วจะถูกนำไปวางบนทั่งเหล็กหรือกระดูกขาช้าง เพื่อตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงบนตัวเงิน เนื่องจากเงินพดด้วงเป็นเงินตราที่ใช้มาตราน้ำหนักเป็นมาตรฐานพิกัดราคา จึงไม่มีการระบุพิกัดราคาไว้บนตัวเงิน           เงินพดด้วงถูกนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนในล้านนา จากการติดต่อค้าขายกับสุโขทัยและอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังคงมีการนำเงินพดด้วงมาใช้ในล้านนา            โดยเงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์นี้มีตราจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน และมีตราอุณาโลม ครุฑ ปราสาทและมหามงกุฎประทับลงบนพดด้วง เอกสารอ้างอิง เงินตราล้านนา : นวรัตน์ เลขะกุล/ธนาคารแห่งประเทศไทย นพบุรีการพิมพ์ เชียงใหม่, ๒๕๕๕ เงินตราล้านนาและผ้าไท : ธนาคารแห่งประเทศไทย อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๓ เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗


Messenger