ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต


ประกาศจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เรื่อง การป้องกันโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่




เตรียมพบกับผลงานชิ้นเอกของสมเด็จครูผู้บุกเบิกงานศิลปกรรมอันทรงคุณค่าแห่งกรุงสยามในนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2563เรื่อง " ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ "ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเร็วๆนี้






๑. ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล ประจำปี ๒๕๕๙ ๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้ไปศึกษาประวัติความเป็นมาของดินแดนพุทธภูมิที่เป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธและนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง ๒.๓ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับความสำคัญและแนวทางเกี่ยวกับงานการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ๓. กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑-๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ๔. สถานที่ ประเทศอินเดีย-เนปาล ๕. หน่วยงานผู้จัด สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๖. หน่วยงานสนับสนุน พระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ๗. กิจกรรม ๗.๑. พิธีเปิดโครงการและส่งคณะผู้เดินทางไปประกอบศาสนกิจนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล รุ่นที่ ๑ วันจันทร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๐๗.๐๐ น. คณะผู้เดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ พร้อมกัน ณ บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้น ๔ ประตู ๒ (ส่วนผู้โดยสารขาออก) ประธานในพิธี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางมาถึงบริเวณพิธี / ประธานฝ่ายสงฆ์       พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและกล่าวสัมโมทนียกถา /         นายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวรายงาน โดยมีผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม และคณะผู้เดินทางเข้าร่วมพิธี ๗.๒. การเดินทางไปประกอบศาสนกิจนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล วันจันทร์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๐๐-๑๙.๐๐ น.             เวลา ๐๘.๐๐ น.  คณะเดินทางขึ้นเครื่องบินเช่าเหมาลำของการบินไทย เที่ยวบินTG 8101                                เพื่อเดินทางไปสนามบินคยา ประเทศอินเดีย             เวลา ๐๙.๑๐ น.  ออกเดินทางสู่คยา โดย “สายการบินไทย” เที่ยวบินพิเศษที่ TG 8101                                (บินตรง ๓.๒๐ ชม.) ถวายภัตตาหาร/ รับประทานอาหารบนเครื่องบิน             เวลา ๑๑.๔๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล/รับประทานอาหารกลางวันที่ห้องอาหารของโรงแรม             เวลา ๑๔.๐๐ น.  เดินทางไปยังแม่น้ำเนรัญชรา สถานที่พระพุทธองค์ลอยถาดซึ่งนางสุชาดา                                เป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาส และบ้านนางสุชาดา             เวลา ๑๖.๐๐ น.  เดินทางไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ นมัสการพระมหาเจดีย์พุทธคยา(ตรัสรู้)                                นมัสการพระแท่นวัชรอาสน์ สถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้ และ                                อนิมิสเจดีย์, รัตนจงกรม และสระมุจจลินทร์ (จำลอง), กราบพระพุทธเมตตา                                ถวายผ้าห่ม “พระพุทธเมตตา” และสวดมนต์ ไหว้พระ ปฏิบัติสมาธิ             เวลา ๑๙.๐๐ น.  เข้าที่พักโรงแรมพุทธคยา                                ถวายน้ำปานะ / รับประทานอาหารเย็น (ฆราวาส) ที่โรงแรม วันอังคารที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ พุทธคยา–ราชคฤห์ (เขาคิชฌกูฎ)–เวฬุวัน–นาลันทา–พุทธคยา             เวลา ๐๖.๐๐ น.  ถวายภัตตาหารเช้า/รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม             เวลา ๐๗.๐๐ น.  ออกเดินทางไปยังราชคฤห์ (คยา–ราชคฤห์ ระยะทาง ๗๕ กม. ใช้เวลาเดินทาง                                ประมาณ ๓ ชั่วโมง)             เวลา ๐๙.๓๐ น.  เดินทางถึงราชคฤห์ หลังจากนั้นเดินเท้าขึ้นเขาคิชฌกูฏ นมัสการพระคันธกุฎี                                (กุฏิพระพุทธองค์) บนยอดเขาคิชฌกูฎ ระหว่างทางผ่านถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตร                                บรรลุพระอรหันต์ สถานที่พระเทวทัตกลิ้งหินใส่พระพุทธองค์ นมัสการกุฏิพระอานนท์             เวลา ๑๐.๔๕ น.  เดินทางลงจากเขาคิชฌกูฏ             เวลา ๑๑.๓๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล/รับประทานอาหารกลางวัน ห้องอาหารของโรงแรม                                หลังจากนั้นเดินทางไปชมคุกพระเจ้าพิมพิสาร, พระคลังหลวง             เวลา ๑๓.๐๐ น.  ประธานสงฆ์นำคณะไหว้พระสวดมนต์ ณ วัดเวฬุวนาราม วัดแห่งแรกของโลก                                ที่พระเจ้าพิมพิสาร สร้างถวายพระพุทธองค์ และพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ล้วนเป็น                                เอหิภิกขุมาประชุมพร้อมกัน โดยมิได้นัดหมาย เรียกว่า “มาฆบูชา”             เวลา ๑๔.๑๕ น.  ออกเดินทางสู่นาลันทา (ราชคฤห์-นาลันทา ระยะทาง ๑๔.๒ กม. ใช้เวลา                                ประมาณ ๓๐ นาที)             เวลา ๑๔.๔๕ น.  ประธานสงฆ์นำนมัสการ “หลวงพ่อพุทธองค์ดำ” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่                                ชาวพุทธ-ฮินดู-มุสลิมให้การนับถือ             เวลา ๑๕.๓๐ น.  ออกเดินทางกลับไปยังพุทธคยา (นาลันทา–พุทธคยา ระยะทาง ๙๐ กม.)                                ระหว่างทางหยุดพักถวายน้ำปานะและร่วมพิธีทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี                                ณ พุทธสถานธรรมิกราช             เวลา ๑๘.๓๐ น.  เดินทางกลับถึงโรงแรมพุทธคยา                                ถวายน้ำปานะ / รับประทานอาหารเย็น (ฆราวาส) ที่โรงแรมและพักค้างคืน วันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙  พุทธคยา – กุสินารา             เวลา ๐๗.๐๐ น.  ออกเดินทางไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ นมัสการพระมหาเจดีย์พุทธคยา (อีกครั้ง)                                เพื่อนมัสการพระแท่นวัชรอาสน์ สถานที่ ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้                                ประธานสงฆ์นำคณะสวดมนต์ไหว้พระและปฏิบัติสมาธิ             เวลา ๐๘.๐๐ น.  เดินทางไปยังวัดไทยพุทธคยา ร่วมพิธีทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ถวายวัดไทย-                                พุทธคยา และร่วมทำบุญบูรณะปฎิขรณ์วัดไทยพุทธคยา             เวลา ๑๐.๓๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล/รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรมพุทธคยา             เวลา ๑๑.๓๐ น.  ออกเดินทางไปยังกุสินารา(พุทธคยา–กุสินารา ระยะทาง ๓๗๒ กม.                                ใช้เวลาเดินทาง ๑๒ ชม.) ระหว่างทางหยุดพักถวายน้ำปานะ/                                รับประทานอาหารว่าง (ฆราวาส) ณ ร้านกาแฟท้องถิ่น             เวลา ๒๑.๓๐ น.  เดินทางถึงกุสินารา                                ถวายน้ำปานะ / รับประทานอาหารค่ำ (ฆราวาส) ที่โรงแรมกุสินารา                                สำหรับพระสงฆ์เข้าที่พักวัดไทยกุสินารา ฆราวาสเข้าที่พักโรงแรมกุสินารา วันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ กุสินารา – ลุมพินี (เนปาล)             เวลา ๐๖.๓๐ น.  ถวายภัตตาหารเช้า / รับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรม             เวลา ๐๗.๓๐ น.  ณ เมืองกุสินารา(ปรินิพพาน)                                นมัสการสถานที่ ที่ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน  มีต้นสาละหรือต้นรัง ที่ปลูกไว้                                เป็นอนุสรณ์เพื่อเป็นอนุสสติถึงพระพุทธองค์ / นมัสการองค์ปรินิพพานสถูป                                ลักษณะเป็นทรงบาตรคว่ำสูงใหญ่มีฉัตร ๓ ชั้น ตอนบนสุดได้พังลงมาเมื่อปี ๒๕๐๖                                ปัจจุบันเห็นเพียงครึ่งท่อน ถัดมาเป็นปรินิพพานวิหาร ภายในมีพระพุทธรูป                                ปางไสยยาสน์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานขนาดใหญ่ / สักการะมกุฎพันธนเจดีย์                                สถานที่ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธองค์ ซึ่งปัจจุบันเป็นซากเจดีย์                                ทรงกลมขนาดใหญ่             เวลา ๐๙.๓๐ น.  เดินทางไปยังวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุ                                ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) พระราชทานมาเพื่อสักการะบูชา                                หลังจากนั้น ร่วมพิธีทอดผ้าป่า “ ถวาย ณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ”             เวลา ๑๑.๓๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล / รับประทานอาหารกลางวัน  ณ โรงแรม             เวลา ๑๒.๓๐ น.  ออกเดินทางไปยังลุมพินี (กุสินารา–ลุมิพินี ระยะทาง ๑๔๔ กม. ใช้เวลาเดินทาง                                ประมาณ ๕ ชม.) ระหว่างทางหยุดพัก ณ วัดไทยนวราชรัตนาราม ๙๖๐                                ร่วมพิธีทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ถวายวัดไทยนวราชรัตนาราม             เวลา ๑๙.๐๐ น.  เดินทางถึงลุมพินี                                ถวายน้ำปานะ/รับประทานอาหารเย็น (ฆราวาส) ที่โรงแรมลุมพินีและพักค้างคืน วันศุกร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ลุมพินี – สาวัตถี (อินเดีย)             เวลา ๐๖.๐๐ น.  ถวายภัตตาหารเช้า / รับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรม             เวลา ๐๗.๐๐ น.  ออกเดินทางไปยังวัดไทยลุมพินี ประกอบพิธีทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี ถวาย                                “วัดไทยลุมพินี” และบูชาพระพุทธสิทธัตถะ(Baby Buddha)             เวลา ๐๙.๐๐ น.  เดินทางไปยังตำบลลุมพินี (ที่ประสูติ) นมัสการสถานที่ประสูติของ                                องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หินสลักภาพประสูติ, เสาหินพระเจ้าอโศก และ                                สระโบกขรณี             เวลา ๑๑.๐๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล / รับประทานอาหารกลางวัน ณ โรงแรม             เวลา ๑๒.๐๐ น.  ออกเดินทางไปยังโสเนาลี (ลุมพินี–โสเนาลี ระยะทาง ๒๕.๙ กม. ใช้เวลาเดินทาง                                ประมาณ  ๔๕  นาที) / พิธีตรวจคนเข้าเมือง เนปาล–อินเดีย             เวลา ๑๓.๐๐ น.  เดินทางถึงโสเนาลี             เวลา ๑๔.๐๐ น.  ออกเดินทางไปยังสาวัตถี (โสเนาลี–สาวัตถี ระยะทาง ๒๐๙ กม. ใช้เวลาเดินทาง                                ประมาณ ๗ ชม.)             เวลา ๒๐.๐๐ น.  เดินทางถึงสาวัตถี                                ถวายน้ำปานะ/รับประทานอาหารเย็น (ฆราวาส) ที่โรงแรมสาวัตถีและพักค้างคืน วันเสาร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ สาวัตถี-พาราณสี             เวลา ๐๖.๐๐ น.  ถวายภัตตาหารเช้า / รับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรม             เวลา ๐๗.๐๐ น.  เดินทางไปยังเชตวันมหาวิหาร สถานที่ที่พระพุทธองค์ประทับอยู่นานที่สุด                                นมัสการพระคันธกุฎีฤดูร้อน, พระคันธกุฎีฤดูหนาว, กุฎิพระอานนท์, กุฎิพระสีวลี                                สถานที่ประชุมสงฆ์ และ สถานที่นางจิญจมาณวิกาถูกธรณีสูบ หลังจากนั้นเข้าชม                                เนินดินอันเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง“ยมกปาฏิหารย์”             เวลา ๑๐.๐๐ น.  ออกเดินทางสู่วัดไทยเชตวันมหาวิหาร ร่วมพิธีทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบทุน                                สร้าง “วัดไทยเชตวันมหาวิหาร”             เวลา ๑๑.๐๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล / รับประทานอาหารกลางวัน ที่โรงแรม             เวลา ๑๒.๐๐ น.  ออกเดินทางไปยังพาราณสี(สาวัตถี–พาราณสี ระยะทาง ๒๙๕ กม. ใช้เวลา                                เดินทางประมาณ ๙ ชม.) ระหว่างทางหยุดพักถวายน้ำปานะ/รับประทาน                                อาหารว่าง (ฆราวาส) ณ ร้านน้ำชาท้องถิ่น             เวลา ๒๑.๐๐ น.  เดินทางถึงพาราณสี                                ถวายน้ำปานะ/รับประทานอาหารเย็น (ฆราวาส) ที่โรงแรมพาราณสีและพักค้าง วันอาทิตย์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ พาราณสี–สารนาถ-ล่องเรือแม่น้ำคงคา             เวลา ๐๗.๓๐ น.  ถวายภัตตาหารเช้า / รับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรม             เวลา ๐๙.๐๐ น.  ออกเดินทางสู่สารนาถ (พาราณสี-สารนาถ ระยะทาง ๙ กม. ใช้เวลาเดินทาง                                ประมาณ ๓๐ นาที)             เวลา ๐๙.๓๐ น.  เดินทางถึงสารนาถ หลังจากนั้นเดินทางไปชมป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่                                แสดงปฐมเทศนา เจาคันธีสถูป สถานที่ที่พระพุทธองค์ พบปัญจวคีย์ และ                                นมัสการธัมเมกขสถูป สถานที่แสดง “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” โปรดปัญจวัคคีย์                                ทำให้เกิดพระรัตนตรัยครั้งแรกในโลก นมัสการ คันธกุฎี(กุฎีหลังแรก)                                ที่พระพุทธเจ้าจำพรรษา และสังฆารามกุฎีสงฆ์กว่า ๑,๐๐๐ หลัง             เวลา ๑๑.๓๐ น.  ถวายภัตตาหารเพล / รับประทานอาหารกลางวัน ที่ห้องอาหารของโรงแรม             เวลา ๑๔.๐๐ น.  ชมพิพิธภัณฑ์             เวลา ๑๘.๐๐ น.  เดินทางกลับที่พักโรงแรม (พาราณสี)                                ถวายน้ำปานะ / รับประทานอาหารเย็น (ฆราวาส) ที่โรงแรม วันจันทร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙  พาราณสี (ล่องเรือแม่น้ำคงคา)–กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ)             เวลา ๐๕.๓๐ น.  ออกเดินทางสู่ท่าน้ำพาราณสี             เวลา ๐๕.๓๐ น.  ล่องเรือแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ                                ชมสถานที่เผาศพของศาสนาฮินดู ซึ่งมีมานานกว่า ๔,๐๐๐ ปี             เวลา ๐๗.๐๐ น.  ถวายภัตตาหารเช้า / รับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรม             เวลา ๐๘.๐๐ น.  ออกเดินทางสู่สนามบิน             เวลา ๐๙.๓๐ น.  เช็คอิน ณ สนามบิน “พาราณสี”             เวลา ๑๑.๕๐ น.  ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ โดยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ                                สายการบิน “การบินไทย ” เที่ยวบินพิเศษที่ TG 8104 (บินตรง ๓.๑๕ ชม.)                                ถวายน้ำปานะ / รับประทานอาหารกลางวัน  บนเครื่องบิน             เวลา ๑๖.๓๕ น.  เดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    ชาดก                                    นิทานคติธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    22 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  


เลขทะเบียน : นพ.บ.31/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 17 (182-188) ผูก 4หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาธมฺม --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง :      ไสว  ไสวแสนยากร, พล.อ. ชื่อเรื่อง :       ชาวจีนเข้ามาพึ่ง  พระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย และลัทธิมหายานจีนนิกาย ในประเทศไทย ปีที่พิมพ์ :       2500 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ :      ท่งเชียงไท จำนวนหน้า    16 หน้า           หนังสือเรื่องชาวจีนเข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารในประเทศไทยและลัทธิมหายานจีนนิกายในประเทศไทย พิมพ์เนื่องในเทศกาลออกพรรษา   คณะกฐินสามัคคี มีพล.อ. ไสว ไสวแสนยาการ เป็นประธาน  ทอดกฐินที่วัดมังกรกมลาวาส ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2500 นับเป็นเกียรติยศ อันสูงชาวพุทธบริษัทไทย-จีน คณะกรรมการพร้อมด้วยสาธุชนทั้งหลายจึงได้พิมพ์เรื่องเกี่ยวกับชาวจีนเข้ามาพึ่ง พระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย และลัทธิมหายานจีนนิกาย ในประเทศไทย เพื่อถวายเป็นธรรมบรรณาการแด่ท่านที่มาร่วมกุศลทั้งหลาย


ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพุทธเจดีย์ ผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศิวพร


เป็นกลุ่มอาคารเช่นเดียวกับโบราณสถานหมายเลข ๑ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบนอกกำแพงแก้ว ใกล้มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข ๑ กลุ่มอาคารทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน ๒ ชั้น ฐานชั้นล่างกว้าง ๓๓.๙๐ เมตร ยาว ๕๔.๒๐ เมตร สูง ๐.๘๐ เมตร ตรงกลางใช้ดินลูกรังหรือศิลาแลงเม็ดเล็กๆ อัดแน่น ก่อสร้างด้วยศิลาแลงแล้วประดับด้วยลายปูนปั้น ถัดไปเป็นฐานชั้นบนกว้าง ๒๓.๗๐ เมตร ยาว ๔๔.๘๐ เมตร มีทางขึ้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนฐานชั้นนี้เป็นลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ถัดจากลานเป็นแนวระเบียงคดและเป็นโคปุระด้านหน้า หรือด้านทิศตะวันออก มีทางขึ้น ๔ ทิศ ถัดจากโคปุระด้านหน้าออกไป ๗ เมตร เป็นกลุ่มอาคาร ๖ หลัง ตั้งรวมกันเป็นกลุ่มห่างจากโคปุระด้านหน้าค่อนข้างมาก ประกอบด้วยปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ด้านข้างเป็นโคปุระด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ด้านหลังเป็นโคปุระด้านทิศตะวันตก ซุ้มทิศมุมตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน มีระเบียงคดและทางเดินเชื่อมต่อกัน จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒ นี้ได้พบแท่นฐานประติมากรรมหินทรายเป็นจำนวนมากตั้งอยู่ในโคปุระและตามแนวระเบียงคดและที่ซุ้มทิศ นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปนาคปรก นางปรัชญาปารมิตา พระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก ลักษณะตัวอาคารของโบราณสถานหมายเลข ๒ มีลักษณะไม่สมดุลกัน ไม่ว่าจะเป็นฐานของโคปุระด้านทิศตะวันออก ซึ่งแต่ละด้านย่อมุมไม่เท่ากัน หรือฐานของแนวระเบียงด้านทิศใต้ที่ไม่อยู่ในลักษณะของเส้นตรงเหมือนกับฐานของแนวแนวระเบียงคดด้านทิศเหนือ หรือที่โคปุระด้านทิศเหนือที่มีทางขึ้นด้านข้างแต่กลับไม่พบที่โคปุระด้านทิศใต้ สิ่งเหล่านี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าโบราณสถานหมายเลข ๒ นี้อาจจะยังสร้างไม่เสร็จ หรือมีการก่อสร้างเพิ่มเติมจนทำให้อาคารมีลักษณะดังกล่าว                                        


Messenger