ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

เป็นกลุ่มอาคารเช่นเดียวกับโบราณสถานหมายเลข ๑ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบนอกกำแพงแก้ว ใกล้มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข ๑ กลุ่มอาคารทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน ๒ ชั้น ฐานชั้นล่างกว้าง ๓๓.๙๐ เมตร ยาว ๕๔.๒๐ เมตร สูง ๐.๘๐ เมตร ตรงกลางใช้ดินลูกรังหรือศิลาแลงเม็ดเล็กๆ อัดแน่น ก่อสร้างด้วยศิลาแลงแล้วประดับด้วยลายปูนปั้น ถัดไปเป็นฐานชั้นบนกว้าง ๒๓.๗๐ เมตร ยาว ๔๔.๘๐ เมตร มีทางขึ้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนฐานชั้นนี้เป็นลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ถัดจากลานเป็นแนวระเบียงคดและเป็นโคปุระด้านหน้า หรือด้านทิศตะวันออก มีทางขึ้น ๔ ทิศ ถัดจากโคปุระด้านหน้าออกไป ๗ เมตร เป็นกลุ่มอาคาร ๖ หลัง ตั้งรวมกันเป็นกลุ่มห่างจากโคปุระด้านหน้าค่อนข้างมาก ประกอบด้วยปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ด้านข้างเป็นโคปุระด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ด้านหลังเป็นโคปุระด้านทิศตะวันตก ซุ้มทิศมุมตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน มีระเบียงคดและทางเดินเชื่อมต่อกัน จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๒ นี้ได้พบแท่นฐานประติมากรรมหินทรายเป็นจำนวนมากตั้งอยู่ในโคปุระและตามแนวระเบียงคดและที่ซุ้มทิศ นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปนาคปรก นางปรัชญาปารมิตา พระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก ลักษณะตัวอาคารของโบราณสถานหมายเลข ๒ มีลักษณะไม่สมดุลกัน ไม่ว่าจะเป็นฐานของโคปุระด้านทิศตะวันออก ซึ่งแต่ละด้านย่อมุมไม่เท่ากัน หรือฐานของแนวระเบียงด้านทิศใต้ที่ไม่อยู่ในลักษณะของเส้นตรงเหมือนกับฐานของแนวแนวระเบียงคดด้านทิศเหนือ หรือที่โคปุระด้านทิศเหนือที่มีทางขึ้นด้านข้างแต่กลับไม่พบที่โคปุระด้านทิศใต้ สิ่งเหล่านี้อาจจะแสดงให้เห็นว่าโบราณสถานหมายเลข ๒ นี้อาจจะยังสร้างไม่เสร็จ หรือมีการก่อสร้างเพิ่มเติมจนทำให้อาคารมีลักษณะดังกล่าว                                        




1. หน้าต้นหัศดีออกสู้รบกับท้าวคนธรรพ์และทศวรรษสองพี่น้อง จนถึงจันสูกับหัศดีออกป่าติดตามหาพระสมุทร แล้วไปเจอกับทัศกัมพลจึงคบกันเป็นเพื่อน 2. หน้าปลาย จันสูทัตกับหัศดีได้ช่วยพระสมุทรออกจากกรุงขัง แล้วฆ่าท้าวสุเมรุจักรวรรดิ์ตาย ทัศกัมพลได้ชวนทั้งสามเที่ยวเมืองบาดาล จนถึงพระสมุทรลอบเข้าหานางสุวรรณราศี ส่วนจันสูทัตและหัศดีปรึกษากันจะกลับเมืองจักรวาร แต่พระสมุทรยังทำเฉยอยู่


สามเณรกลั่น. นิราศพระแท่นดงรัง. พระนคร : กรมศิลปากร, 2500.               มีเนื้อหาของเรื่องนิราศพระแท่นดงรัง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามเณรกลั่น บุตรบุญธรรมของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเมื่อคราวได้ติดตามสุนทรภู่ซึ่งกำลังบวชอยู่ไปนมัสการพระแท่นดงรัง เนื้อความพรรณนาถึงภูมิประเทศและเปรียบเทียบสิ่งที่ได้พบเห็นในระหว่างการเดินทาง







ชื่อเรื่อง : ศาสนาพิธีพื้นเมือง ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2536 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ส.ทรัพย์การพิมพ์





ตริปุรานตกะมูรติ (Tripurāntakamūrti)           พระศิวะ (Śivā) ปางทำลายเมืองอสูรทั้งสาม (Tripura) เมืองทั้งสามเป็นปราการอันมั่นคงของเหล่าอสูรสร้างโดยมายาสุร (Mayāsura) สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายอสูร ให้กับบุตรทั้งสามของอสูรตารกะ (Tāraka) คือ ตารกาษะ (Tārakākṣa) วิทยุนมาลิ (Vidyunmāli) และกมลากษะ (Kamalākṣa) เมืองทั้งสามนี้ได้รับพรจากพระพรหม (Brahmā) ไม่อาจทำลายได้ เว้นแต่ศรดอกเดียวอันทำลายทั้งสามเมืองพร้อมกัน เมืองแรกมีกำแพงสร้างด้วยเหล็กตั้งอยู่บนพื้นโลก เมืองที่สองกำแพงสร้างด้วยเงินตั้งอยู่บนท้องฟ้า และเมืองที่สามกำแพงสร้างด้วยทองตั้งอยู่บนสวรรค์ เมืองทั้งสามเคลื่อนที่ตลอดเวลา ไม่เคยอยู่ในระนาบเดียวกัน ในรอบ 1,000 ปี จึงจะบรรจบกันครั้งหนึ่ง เมืองอสูรทั้งสามจึงเป็นเมืองที่รุ่งเรืองด้วยทรัพย์และอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือโลก ยากที่ผู้ใดจะทำลายลงได้            เมื่อได้รับพรแล้ว อสูรทั้งสามได้ก่อความเดือดร้อนแก่เล่าเทวดา (devas) และฤษี (Ṛṣi) ทั้งได้จับพระอินทร์ (Indra) และคณะเทพไปขังไว้ยังปราสาทเหล็ก เทพทั้งหลายจึงพากันไปอ้อนวอนพระศิวะให้ช่วยเหลือ เมื่อถึงวาระเมืองทั้งสามมาบรรจบกัน เทพเจ้าทั้งปวงจึงได้แบ่งกำลังให้แก่พระศิวะไปปราบอสูรทั้งสาม ทรงประทับบนราชรถอันเป็นนิรมิตของพระปฤถวี (Pṛithivī) เทพีแห่งพื้นปฐพี มีพระอาทิตย์ (Sun) และพระจันทร์ (Moon) เป็นวงล้อ พระพรหมทรงเป็นสารถี เขาพระสุเมรุ (Meru) เป็นคันธนู นาควาสุกรี (Vāsukī) เป็นสายธนู และพระวิษณุ (Viṣṇu) ทรงเป็นศรแห่งจักรวาล พระศิวะทรงแผลงศร ปลดปล่อยคณะเทวดาให้ออกจากที่คุมขัง และเผาทำลายเมืองทั้งสามจนสูญสิ้นไป           พระศิวะปางตริปุรานตกะ มีหลายลักษณะ มักทำยืนอยู่บนรถเทียมม้า (อัศวะ-aśva) ในท่าอาลีฒาสนะ (ālīḍāsana) คือเหยียดพระชงฆ์ขวาและงอพระชงฆ์ซ้าย อันเป็นท่ายืนของผู้น้าวศร แสดงกฏกมุทรา (kaṭakamudrā) และกรรตรีมุทรา (kartarīmudrā) พระหัตถ์ขวาถือคันธนูและพระหัตถ์ซ้ายเหนี่ยวสายธนู และแสดงมุทราอื่น ๆ เช่น สูจิมุทรา (sūcimudrā) และ วิสมยะมุทรา (vismayamudrā)            บางครั้งทำ 2 กร โดยปกติทำ 4 กร กรคู่บนถือขวาน (ปรศุ-paraśu) และกวาง (มฤค-mṛga) กรคู่ล่าง อาจถือคันธนู (ธนุส-dhanus) และลูกศร (śara) นอกจากนี้ ถืออาวุธอื่น ๆ เช่น จักร (cakra) คทา (gadā) กระดิง (ฆัณฏา-ghaṇṭā) ดาบ (ขัฑคะ- Khaḍga) โล่ (เขฏกะ-Kheṭa) สังข์ (śankha) สิ่ว (ฏังกะ-ṭaṅka) ตรีศูล (trīiśura) และวัชระ (vajra) รูปแบบอื่น ทรงยืนด้วยบาทข้างหนึ่งเหยียบอยู่เหนืออปัสมารบุรุษ (Apasmārapuruṣa) ภาพ 1. พระศิวะปางตริปุรานตกะ ศิลปะอินเดีย ศิลาสลัก มี 10 กร ถืออาวุธต่าง ๆ เช่น ตรีศูล, ขัฏวางคะ (ไม้เท้าทำด้วยกระดูกยอดกะโหลก) หอก ดาบ โล่ ฯ ยืนท่าอาลีฒาสนะ งอพระชงฆ์ซ้าย เหยียดพระชงฆ์ขวา พระบาทซ้ายเหยียบอยู่บนอปัสมารบุรุษ จาก Asian Art Museum ภาพ 2. พระศิวะปางตริปุรานตกะ ศิลปะอินเดีย หล่อโลหะ ยืนบนรถเทียมม้า 4 กร ถือขวาน กวาง คันธนูและลูกศร ภาพจาก Asian Art Museum ภาพ 3. พระศิวะปางตริปุรานตกะ ศิลปะอินเดียแบบโจฬะ หล่อโลหะ มี 4 กร ถือขวาน กวาง คันธนูและลูกศร (ไม่ปรากฏอยู่แล้ว) ภาพจาก The Metropolitan Museum of Art ------------------------------------------------ เรียบเรียงข้อมูล: นางเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อ้างอิงจาก 1. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. 2. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985. 3. ผาสุข อินทราวุธ. รูปเคารพในศาสนาฮินดู. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522


ผู้แต่ง : - ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2486 หมายเหตุ : สมเด็จพระมหาวีรวงส สังคนายก พิมพ์เป็นที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระสาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) พระครูวิโรจน์ (นนฺตโร รอด) และในงานฌาปนกิจศพ พระมหารัตน์ รฏฺฐปาโล กับ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี 10-16 เมษายน 2486. มีรูปและประวัติผู้ตาย.               หนังสือเรื่องท้าวฮุ่ง หรือเจือง เป็นตำนาน แต่งเป็นคำกลอน กล่าวถึงความกล้าหาญในการทำสงครามของท้าวฮุ่ง หรือขุนเจือง แต่สุดท้ายท้าวฮุ่งก็สิ้นพระชนม์ลงด้วยน้ำมือของแถนลอ หรือขุนลอ นอกจากนี้เนื้อหายังกล่าวถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์


ชื่อเรื่อง : มิ่งมงคล ชื่อผู้แต่ง : กรมศาสนา.  กองอนุศาสน์ ปีที่พิมพ์ : 2503 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนากรมการศาสนา จำนวนหน้า : 112 หน้า สาระสังเขป : มงคลคือเหตุแห่งความเจริญ มงคลในทางพระพุทธศาสนาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เพื่อมุ่งประสงค์ที่จะให้บุคคลประพฤติดี ประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ เมื่อปฏิบัติแล้วจะบังเกิดความสุข ความเจริญแก่ตนเองและครอบครัว กองอนุศาสน์ กรมศาสนา ได้รวบรวมมงคลสูตรจากอนุศาสนาจารย์ ทั้งหมด 11 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องเป็นคนควรรอบรู้สมาคม คบคนดี บูชาคนดี การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ความเป็นผู้มีบุญได้กระทำไว้ในปางก่อนเป็นมงคล ความตั้งตนไว้ชอบ ศึกษาดี ศิลป วินัย พูดดี และการบำรุงมารดาบิดา


ชื่อเรื่อง : สองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรมาตรา, ขุน ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 108 หน้า สาระสังเขป : สองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นเพื่อสอนนักเรียนผ่านการโทรทัศน์ของเทศบาลนครกรุงเทพเพื่อสอนนักเรียน มีเนื้อหากล่าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยาที่เปรียบเสมือนแม่น้ำแห่งชีวิตของคนไทย เป็นที่ตั้งของราชธานีไทยมาหลายยุคหลายสมัย แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดทางเหนือของประเทศไทยจากแม่น้ำใหญ่หรือแคว 4 แคว มีชื่อเรียกว่า ปิง วัง ยม น่าน ตั้งต้นที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ไหลลงมาทางใต้ไปออกทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ ตามทางที่ไหลลงมามีแม่น้ำอื่นมาบรรจบบ้าง แตกออกไปเป็นแม่น้ำอื่นบ้าง ในลำน้ำมีปลาต่าง ๆ มากมาย และสองฝั่งลำน้ำเจ้าพระยาเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการทำนา ปลูกพืชผัก ดินแดนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาจึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร และในตอนท้ายได้จัดพิมพ์ เรื่องตำนานสักรวา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแม่น้ำเช่นกัน


ผลการตรวจสอบโบราณสถานดอนปู่ตา บ้านหนองไฮ ตำบลหนองอีปาด อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าโบราณสถานตั้งทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านหนองไฮ เป็นโบราณสถานร้าง ตั้งอยู่ในบริเวณป่าชุมชนหลังหมู่บ้าน ป่ารกทึบอยู่ริมถนนจากหมู่บ้านไปเมรุเผาศพ โบราณสถานมีสภาพชำรุดพังทลาย น่าจะเป็นอาคารที่เป็นโบสถ์ อาคารก่ออิฐสอปูน หันหน้าไปทางตะวันออก มีขนาดประมาณ ๕ X ๘ เมตร สูงประมาณ ๒ เมตร เหลือแต่ส่วนฐาน มีดินปกคลุมอยู่และมีเศษอิฐกระจายอยู่โดยรอบ ด้านบนมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บนโบราณสถาน ไม่พบโบราณวัตถุอื่นๆ สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้น่าจะเป็นโบสถ์ของวัดบ้านหนองไฮเดิม ก่อนจะย้ายที่ออกมาตั้งอยู่ที่ตั้งวัดปัจจุบัน อาคารหลังนี้น่าจะเป็นอาคารที่เรียกว่าโบสถ์หรือสิม ที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมล้านช้าง ในการสำรวจไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีใดๆ จึงไม่สามารถกำหนดอายุได้แน่นอน แต่น่าจะมีอายุประมาณ ๘๐ - ๑๐๐ ปี จากชุมชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ ข้อมูลโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดี ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี


Messenger