ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

          หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ขอเชิญชวนเด็กๆ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประจำเดือนสิงหาคม 2566 พบกับกิจกรรม “ภาพนี้มีเรื่องเล่า” เปิดรับสมัครน้องๆ ที่มีอายุ 7-9 ปี (ป.1-ป.3) และอายุ 10-12 ปี (ป.4-ป.6)  โดยเล่าจากภาพที่กำหนด ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4  สามารถส่งผลงานได้ที่ inbox เพจ หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช Nakhonsithammarat National Library ระหว่างวันที่ 19-25 สิงหาคม 2566 กำหนดประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัล วันที่ 26 สิงหาคม 2566 และสามารถติดต่อรับของรางวัล วันที่ 29 สิงหาคม 2566          สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137


          กระเบื้องเชิงชายลายเทพนม จากเจดีย์หมายเลข ๑ (วัดปราสาทร้าง) เมืองโบราณอู่ทอง           กระเบื้องเชิงชายลายเทพนม พบที่เจดีย์หมายเลข ๑ (วัดปราสาทร้าง) เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องโบราณคดีเมืองอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           กระเบื้องเชิงชายรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ภายในมีรูปเทพนมครึ่งองค์ สวมมงกุฎยอดสูง ประดับกรรเจียกจร ประนมมืออยู่ระดับกลางอุระ รองรับด้วยลายพรรณพฤกษาก้านยาวและซ้อนกันหลายชั้น ลวดลายเหล่านี้อยู่ภายในกรอบสามเหลี่ยมจำนวน ๓ ชั้น โดยเส้นตรงกลางมีความหนาและหยักเล็กน้อย            กระเบื้องเชิงชายใช้ประดับอยู่บริเวณส่วนปลายหลังคาของอาคารประเภทวิหาร อุโบสถ หรือปราสาท ทำหน้าที่อุดช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้อง ป้องกันไม่ให้นกหรือสัตว์ชนิดอื่นเข้าไปภายใน จึงเรียกอีกอย่างได้ว่ากระเบื้องหน้าอุด  ส่วนรูปเทพนมหรือเทวดา ที่ปรากฏบนกระเบื้องเชิงชาย น่าจะหมายถึงผู้ปกปักษ์รักษา การประดับกระเบื้องเชิงชายบนหลังคาอาจจะทำให้ตีความได้ว่า ศาสนสถานนั้นๆ มีความสำคัญ ถือเป็นศูนย์กลางจักรวาลที่มีเทวดารายล้อม หรืออีกความหมายหนึ่งคือเทพนมแทนการเคารพบูชาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีการสร้างรูปแทนพระพุทธองค์ ด้วยพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในอาคารก็เป็นได้           กระเบื้องเชิงชายนี้พบที่เจดีย์หมายเลข ๑ (วัดปราสาทร้าง) ซึ่งพบหลักฐานการก่อสร้าง ๓ ระยะ ในระยะที่ ๑ และ ๒ พบฐานเจดีย์กำหนดอายุอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี ส่วนระยะสุดท้ายมีการสร้างเจดีย์ในสมัยอยุธยา เหนือฐานเจดีย์ในสมัยทวารวดี กำหนดอายุสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ หรือประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว และยังพบโบราณวัตถุในสมัยอยุธยา เช่น พระพุทธรูปหินทราย และภาชนะสำริด ซึ่งมีรูปแบบที่สามารถกำหนดอายุสอดคล้องกระเบื้องเชิงชายคือในสมัยอยุธยา แสดงถึงการเข้ามาใช้พื้นที่ของผู้คนยุคหลังจากสมัยทวารวดี      เอกสารอ้างอิง ประทีป เพ็งตะโก. “กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๐. กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี. พระนคร : ศิวพร, ๒๕๐๙.


องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนาตอน "อาณาจักรหลักคำ" ***หมายเหตุ: ที่มาอักษรธรรมล้านนา คำว่า "อาณาจักรหลักคำ" สะกดตามตัวอักษรที่ปรากฎในเอกสารต้นฉบับ--- อาณาจักรหลักคำ หรือกฎหมายเมืองน่าน สร้างขึ้นและใช้ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ - ๒๔๕๑ ลักษณะเป็นพับสา มีไม้ประกับสองด้าน จำนวน ๑ เล่ม ๖๑ หน้า ขนาด กว้าง ๑๑.๘ เซนติเมตร ยาว ๓๖.๕ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร ต้นฉบับเป็นอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยยวน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้รับมอบจาก นางสุภาพ สองเมืองแก่น เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๐--- อาณาจักรหลักคำหรือกฎหมายเมืองน่าน นอกจากจะมีความสำคัญในเมืองน่านเมื่อครั้งอดีต ในปัจจุบันยังนับเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่มีคุณค่าความสำคัญจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก" ของประเทศไทย ส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙--- คำว่า "อาณาจักรหลักคำ" มีความหมายว่า "อาณาจักร" ในที่นี้หมายถึง "กฎหมาย" ดังปรากฎข้อความตอนหนึ่งในอาณาจักรหลักคำว่า "จึ่งได้หาเอาเจ้านายพี่น้องขัตติยราชวงสา ลูกหลานและท้าวพญาเสนาอามาตย์ ขึ้นเปิกสาพร้อมกันยังหน้าโรงไชย เจ้าพระยาหอหน้าเปิกสากันพิจารณา ด้วยจักตั้งพระราชอาณาจักรนั้นตกลงแล้ว”  และในอีกนัยหนึ่ง กล่าวว่า อาณา เป็นคำบาลีตรงกับ อาชญา ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า อำนาจการปกครอง  จักร แปลว่า ล้อ แว่นแคว้น  รวมความแล้วจึงหมายถึง อำนาจปกครองของบ้านเมือง  ส่วนคำว่า “หลักคำ” หมายถึง หลักอันมีค่าประดุจทองคำ  คำว่า อาณาจักรหลักคำ จึงอาจหมายถึง “กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองอันมีคุณค่าประดุจดั่งทองคำ”--- อาณาจักรหลักคำ เขียนขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๒ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๓๔) กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในเมืองน่าน และเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่าน เหตุที่ต้องมีการออกกฎหมายได้มีการกล่าวไว้ในตอนต้นของกฎหมายอาณาจักรหลักคำว่า บ้านเมืองในขณะนั้นเกิดความวุ่นวาย มีการลักขโมย การเล่นการพนัน ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนในเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเป็นไปด้วยความสงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงได้กำหนดกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมา  โดยอาณาจักรหลักคำเป็นกฎหมายใช้เรื่อยมาในเมืองน่านและเมืองต่างๆที่ขึ้นกับเมืองน่านมาจนถึงพุทธศักราช ๒๔๕๑ ในสมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๖๓ (ครองเมือง พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๖๑) ได้ยกเลิกการใช้อาณาจักรหลักคำ และเปลี่ยนมาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗ ของกรุงรัตนโกสินทร์แทน เนื่องด้วยในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีนโยบายในการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง จึงทรงปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพและส่งข้าหลวงจากส่วนกลางมาเป็นส่วนหนึ่งของเค้าสนามหลวงประจำอยู่ที่เมืองน่าน --- อาณาจักรหลักคำ มีลักษณะเป็นกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งออกโดยเจ้าเมืองน่าน เจ้านายบุตรหลาน ขุนนาง และพ่อเมืองต่างๆร่วมกันออกตัวบทกฎหมายเพื่อใช้ภายในบ้านเมืองของตน โดยในการใช้กฎหมายนอกจากใช้ในเขตเวียงน่านโดยมีเค้าสนามหลวงดำเนินการแล้ว  ยังมีการกระจายอำนาจให้กับหัวเมืองต่างๆที่ขึ้นอยู่กับเมืองน่านให้มีอำนาจตัดสินคดีความ แต่หากคดีนั้นพิจารณาในหัวเมืองน้อยแล้วยังไม่ยอมความ สามารถที่จะฟ้องร้องต่อเค้าสนามในเวียงเพื่อพิจารณาคดีใหม่ได้  --- ในส่วนของเนื้อหากฎหมายในอาณาจักรหลักคำ อาจแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ กฎหมายในช่วงตอนต้นที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕  และกฎหมายในช่วงตอนหลังที่ออกใน พ.ศ. ๒๔๑๘ ๑. กฎหมายที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๙๕ มีสาระสำคัญอยู่หลายมาตรา แต่ละมาตราจะมีรายละเอียดตัวบทกฎหมายและบทลงโทษผู้กระทำความผิดแตกต่างกันไป การทำความผิดในกรณีเดียวกันอาจรับโทษหนักเบาไม่เท่ากัน เนื่องจากมีการกำหนดระดับชนชั้นของผู้ที่กระทำความผิด คือ เจ้านาย ขุนนาง หรือไพร่ ชนชั้นสูงจะเสียค่าปรับมากกว่าสามัญชน กฎหมายที่สำคัญที่ลงโทษหนัก คือ การลักควาย ซึ่งในสมัยนั้นอาจมีการลักขโมยควายไปฆ่ากินอยู่บ่อยครั้ง จึงระบุโทษว่า ผู้ลักควายไปฆ่ากินจะมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต  เนื้อหาของกฎหมายในช่วงนี้มีเพียงตัวบทกฎหมายซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน แต่ไม่มีตัวอย่างคดีความที่เกิดขึ้นจริงให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายปรากฏอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อความในกฎหมายก็ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการเมืองการปกครอง สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเมืองน่านในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งกฎหมายส่วนใหญ่ในช่วงตอนต้นนี้มักจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในเมืองน่านในด้านต่างๆ ได้แก่ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การเก็บของป่า การแลกเปลี่ยนสินค้า การประมง การแบ่งชนชั้น ตลอดจนความเชื่อค่านิยมและประเพณี ดังเนื้อความที่ปรากฏในอาณาจักรหลักคำ เช่น การทำเครื่องมือจับปลาในแม่น้ำจะต้องเว้นช่องไว้ให้เรือผ่านได้สะดวก, การห้ามฟันไร่บริเวณต้นน้ำและริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำและนำน้ำเข้าสู่ไร่นา หากฝ่าฝืนมีโทษ เฆี่ยนหลัง ๓๐ แส้ และปรับเงิน ๓๓๐ น้ำผ่า นอกจากนั้นยังมีกฎหมายห้ามฆ่าค้างคาวในถ้ำ ห้ามเบื่อปลาในน้ำ และห้ามตัดต้นไม้บางชนิด , กฎหมายห้ามปลอมแปลงเงินตรา โดยมีโทษต้องเข้าคุก ปรับไหมและเฆี่ยนตี ความว่า “...คันว่าบุคคลผู้ใดเบ้าเงินแปลกปลอมและจ่ายเงินแปลกปลอมเงินดำคำเส้านั้น คันรู้จับตัวไว้จักเอาตัวเข้าใส่ราชวัตร ไว้แล้ว...จักไหม ๓๓๐ น้ำผ่า เฆี่ยน ๓๐ แส้...” เป็นต้น๒. กฎหมายในช่วงตอนหลัง มีลักษณะแตกต่างจากช่วงตอนแรก ประกอบด้วย กฎหมายที่ออกเพิ่มเติมขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๘, พ.ศ. ๒๔๒๓ และบันทึกการตัดสินคดี พ.ศ. ๒๔๑๙ และบันทึกกฎหมายเก่าที่ออกใน พ.ศ. ๒๓๘๗ นอกจากนี้ยังมีบันทึกเหตุการณ์ที่จดแทรกเข้ามา  ได้แก่ บันทึกเหตุการณ์เจ้าเมืองล้าส่งบรรณาการมาให้เจ้าเมืองน่าน (พ.ศ. ๒๔๒๑)  และจดบันทึกนาสักดิ์เจ้านาย ขุนนางและไพร่ แสดงให้เห็นว่าในช่วงตอนหลังการบันทึกในอาณาจักรหลักคำนอกจากกฎหมายที่ประกาศใช้แล้ว ยังมีการจดแทรกเพิ่มเติมเรื่องอื่นไว้ด้วยโดยไม่ได้ลำดับศักราชและเหตุการณ์  อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่ออกในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๘ ก็มีความสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงต้องออกกฎหมายใหม่เพิ่มเติมให้ทันกับสถานการณ์บ้านเมือง คือ เรื่องห้ามสูบฝิ่น ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ๓ ปี และกฎหมายห้ามจับควายละเลิง (ควายป่า, ควายไม่มีเจ้าของ)  ที่มาของกฎหมายห้ามสูบฝิ่น แสดงให้เห็นถึงคนจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขายในเมืองน่านมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งที่คนจีนนำเข้ามาคือการสูบฝิ่น สืบเนื่องมาจากมีเจ้านายบุตรหลานเมืองน่านผู้หนึ่งติดฝิ่น สร้างปัญหาให้กับบิดา จึงได้มีการเสนอเรื่องนี้พิจารณาในระดับชั้นเจ้า ในที่สุดเจ้าเมืองน่านจึงพิจารณาโทษเจ้านายบุตรหลาน และต่อมาก็ออกกฎหมายประกาศใช้ทั่วไป และมีหนังสือบันทึกกฎหมายใหม่ส่งไปยังหัวเมืองต่างๆในการปกครองของเมืองน่านได้รับรู้ด้วย--- ปัจจุบัน อาณาจักรหลักคำ ซึ่งถูกจัดเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้มีโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจัดทำโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ได้บันทึกภาพอาณาจักรหลักคําไว้ในรูปไมโครฟิล์ม เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และต่อมาจึงได้มีการปริวรรตโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี อ๋องสกุล ซึ่งผู้ที่สนใจศึกษาเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดในอาณาจักรหลักคำ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมตามเอกสารอ้างอิงได้ค่ะเอกสารอ้างอิง- สรัสวดี อ๋องสกุล. หลักฐานประวัติศาสตร์ล้านนาจากเอกสารคัมภีร์ใบลานและพับหนังสา. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, ๒๕๓๔.#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน#อักษรธรรมล้านนา


         คันหลาว          คันหลาวหรือคานหลาว คือ ไม้หาบข้าว ใช้สำหรับหาบฟ่อนข้าว ลักษณะเป็นไม้ยาวแบนคล้ายไม้คาน ทำด้วยไม้ไผ่หรืออาจเป็นไม้จริงก็ได้ มีปลายแหลมทั้งสองข้าง ใกล้กับส่วนปลายทั้งสองข้างทำเป็นปุ่มนูนหรือปล้องข้อไว้    ที่มาของชื่อ “คันหลาว” น่าจะมาจากรูปร่างลักษณะของไม้คานที่มีปลายแหลมคล้ายหลาว          ภายหลังที่ชาวนาเกี่ยวข้าวแล้วมัดฟ่อนข้าวรวมกัน  ชาวนาจะใช้ปลายคันหลาวแต่ละข้างแทงเสียบเข้าไปในฟ่อนข้าวนั้น  ฟ่อนข้าวจะไม่หลุดจากคันหลาวเพราะมีปุ่มนูนอยู่ที่ปลายคานทั้งสองคั่นไว้  ชาวนาใช้คันหลาวหาบฟ่อนข้าวจากที่นาไปยังลานนวดข้าว  หรืออาจใช้คันหลาวนี้หาบฟ่อนหญ้าที่เกี่ยวแล้วไปให้วัวควายกิน          คันหลาวเป็นเครื่องมือพื้นบ้านที่ช่วยในการขนย้ายฟ่อนข้าวไปกองไว้รวมกันที่ลานนวดข้าวเพื่อเตรียมแยกเมล็ดออกจากรวง การขนย้ายด้วยอุปกรณ์ชนิดนี้ทำให้ขนย้ายฟ่อนข้าวได้เป็นจำนวนมากต่อเที่ยวหนึ่ง แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวนาไทยในอดีต  ปัจจุบันแทบจะไม่มีผู้ใช้คันหลาวหอบฟ่อนข้าวแบบนี้อีกแล้ว เนื่องจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร มีรถเกี่ยวข้าวและเครื่องนวดข้าวได้เข้ามาแทนที่เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม   อ้างอิง - วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, พจนานุกรมหัตถกรรมและอุตสาหกรรมพื้นบ้าน (กรุงเทพฯ : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2532), หน้า 159.  


เรื่อง : การรู้จักดูคนผู้แต่ง : นายธนิต อยู่โพธิ์ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร) โรงพิมพ์ : จงเจริญการพิมพ์ปีที่พิมพ์ : 2527รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน : น. 32 บ1593จบ.เลขหมู่ : 294.31883 ธ262 กบ


         เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้เพื่อการพัฒนากับทั้งสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่ให้ออกมาเป็นต้นแบบอันทรงคุณค่ามากมาย ปัจจุบันแว่นตาของท่านถูกนำมาจัดแสดงในตู้ โดยจัดแสดงร่วมกับเหรียญและของใช้อื่นๆ ของท่าน ภายในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์            แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri/360/model/s09ok/   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/silpabhirasri


เนื่องในดิถีวิสาขบูชา วันพุธ ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า “ดิถีวิสาขบูชา คล้ายดิถีประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่ง ควรที่พุทธบริษัททั้งหลาย จักได้พร้อมเพรียงกันบำเพ็ญบุญกิริยา กระทำสักการบูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยพระบริสุทธิคุณ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และทรงถึงพร้อมด้วยพระมหากรุณาคุณ สั่งสอนเวไนยสัตว์ให้บรรลุถึงสุขประโยชน์ ตามควรแก่ธัมมานุธัมมปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ก็ด้วยพระปัญญาคุณ จึงควรที่สาธุชนทั้งหลาย จักได้มุ่งมั่นเจริญ “ไตรสิกขา” ตามรอยพระบาทของพระบรมศาสดา เพื่อความสมบูรณ์พร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา บนวิถีแห่งอริยมรรค ขอจงอย่าประมาทมัวเมา เผลอปล่อยเวลาในชีวิตให้ล่วงผ่านไปเปล่าดาย โดยปราศจากการอบรมเจริญไตรสิกขา หากแต่ควรตระหนักไว้เสมอว่าชีวิตมนุษย์เป็นของน้อย มรณภัยอาจมาถึงได้ทุกขณะ ไม่จำกัดเฉพาะแต่เมื่อถึงวัยแก่เฒ่าแต่เท่านั้น ถ้าปล่อยขณะให้ผ่านไปโดยปราศจากศีล สมาธิ และปัญญา ชีวิตนี้ก็นับว่าไร้ค่า น่าเสียดาย เพราะฉะนั้น การระลึกถึงความตาย หรือการเจริญ “มรณัสสติ” จึงนับเป็นมงคล เป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญ มิใช่เรื่องน่าหดหู่เศร้าหมอง หากแต่เป็นเครื่องช่วยระงับความโลภ ความโกรธ และความหลงให้สงบลง ทั้งยังช่วยปลุกเร้าจิตใจให้เบิกบานหาญกล้าที่จะบำเพ็ญคุณความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อบุคคลรู้จักปล่อยวางจากการยึดถือสิ่งทั้งปวงว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา บุคคลนั้นย่อมประสบสันติในใจตนเอง และย่อมแผ่ขยายอานุภาพ ไปเกื้อกูลสันติภาพในครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติได้ต่อไป ดิถีวิสาขบูชาปีนี้ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ตั้งปณิธานให้แน่วแน่ ในอันที่จะพัฒนาตนเองตามหลักไตรสิกขา ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเปิดโอกาสให้สันติสุขที่แท้จริง มาสถิตในจิตใจตนและในสังคม สมด้วยพระพุทธานุศาสนีที่ว่า “กาลทั้งหลาย ย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลาย ย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย ย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด” จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา. ขอพระสัทธรรมจงดํารงคงมั่นอยู่ตลอดกาลนาน และขอสาธุชนทั้งหลาย จงมีความเคารพในพระธรรมนั้น เทอญ.”


           กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม พบกับการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "แรกมีการพิมพ์" วิทยากรโดย นางอัจฉรา จารุวรรณ บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ  นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ  นายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ  ดำเนินรายการโดย นางสาวอุดมพร เข็มเฉลิม บรรณารักษ์ชำนาญการ ในวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2567 เวลา 12.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร              ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทาง https://forms.gle/KDzqVbaHjBynvJX87 หรือสแกน QR Code ด้านล่าง (รับจำนวนจำกัด 110 ท่าน) สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ หรือจนกว่าจะเต็ม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0 2280 9828-32 ต่อ 112-113


โรงเรียนวัดโบสถ์การ้อง จ.นครนายก (เวลา 09.30 น.) จำนวน 30 คน วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนวัดโบสถ์การ้อง ต.ท่าช้าง อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก จำนวน ๒๕ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้


            อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรม “วันลอยกระทง” วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 กิจกรรมพิเศษในงาน “4 วัด 1วัง เมื่อครั้งต้นกรุงฯ” ใครจะเป็นสายลอย เราก็มีที่ให้ลอย ใครเป็นสายประกวด เราก็มีนางนพมาศให้ดู ใครเป็นสายประดิษฐ์ เราก็มีกระทงโคมประทีปให้ลองทำ หรือใครเป็นสายบุญ เราก็มีให้ร่วมงานบุญเช่นกัน             พบกับกิจกรรมการประดิษฐ์กระทง ประกวดนางนพมาศ และ ลอยกระทงบึงพระราม ตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้น ณ วัดพระราม,  พิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ จันทร์วันเพ็ญ ตั้งแต่ 18.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดมหาธาตุ, การประดิษฐ์กระทง ประทีปโคมไฟ และลอยกระทงแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดไชยวัฒนาราม            ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้นำวัตถุระเบิดหรือวัตถุเชื้อเพลิงเข้ามาในโบราณสถาน และไม่อนุญาตให้จุดดอกไม้ไฟภายในโบราณสถานทุกกรณี


           หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมรับฟังการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ยลสยามผ่านหนังสือ Temples and Elephants” วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 10.30 น. (เริ่มลงทะเบียนหน้างาน 10.00 น.) ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ (รับจำนวนจำกัด 80 ท่านเท่านั้น) สามารถลงทะเบียนได้ผ่านลิงก์ https://forms.gle/873y77R3qRFodjtS6            ทั้งนี้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้จัดนิทรรศการ "ยลสยามผ่านหนังสือ (Temples and Elephants)" Exploring Siam Through Temples and Elephants เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ด้านการต่างประเทศ ซึ่งหนังสือ Temples and Elephants: The narrative of a journey of exploration through upper Siam and Lao เขียนโดยนายคาร์ล บ็อค นักชาติพันธุ์วิทยาชาวนอร์เวย์ เมื่อครั้งเดินทางมาสำรวจประเทศสยามในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ นำเสนอความสัมพันธ์ทางการทูตในอดีตระหว่างสยามกับชาติในยุโรป ได้แก่ ประเทศนอร์เวย์ อังกฤษ เยอรมัน สวีเดน และฝรั่งเศส นิทรรศการนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสยาม และการติดต่อกับชาวต่างชาติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว            นิทรรศการเริ่มเปิดให้เข้าชมวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 13.30 - 16.00 น. และระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2567 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 16.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น. ณ ห้องวชิรญาณ 2-3 ชั้น 1 อาคาร 2 สำนักหอสมุดแห่งชาติ ติดตามข้อมูลกิจกรรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติได้ทาง Facebook : National Library of Thailand  



กรมศิลปากรจัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง “ศาลาไทยในต่างประเทศที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร” เนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘   หนังสือเรื่อง “ศาลาไทยในต่างประเทศที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร”  ได้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อของศาลาไทย สถานที่ตั้ง วัตถุประสงค์ในการสร้าง ประวัติการก่อสร้าง ผู้ออกแบบ แนวความคิดในการออกแบบ แผนผัง แบบแปลน และการใช้ประโยชน์จากศาลาไทย พร้อมภาพประกอบ รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จฯ ไปทรงร่วมพิธีเปิดศาลาไทยหลายแห่ง ตลอดจนกิจกรรมที่จัดขึ้น ณ ศาลาไทยในต่างประเทศที่ออกแบบและควบคุมการดำเนินงานโดยกรมศิลปากร ทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกาใต้ จำนวน ๑๓ แห่ง รวม ๑๒ ประเทศ เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทย และกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ให้แก่ผู้สนใจ รวมทั้งยังได้จัดทำ QR codeเพื่อความสะดวกในการอ่านหนังสือได้ง่ายยิ่งขึ้น   หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์สี่สีสวยงาม จำหน่ายราคาเล่มละ ๓๐๐ บาท (ไม่รวมค่าบริการจัดส่ง) ติดต่อสั่งซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๒๒ ๐๙๓๔, ๐ ๒๒๒๒ ๓๕๖๙


โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทิศเหนือ ชื่อโบราณสถาน                              วัดตะพังป่าน   ที่ตั้ง                                  อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ บริเวณประตูศาลหลวงและชิดกับกำแพง                          เมืองชั้นนอก ริมถนนพระร่วง ๒ ด้านทิศตะวันออก ในเขตตำบลเมืองเก่า                       อำเภอเมือง  จังหวัดสุโขทัย พิกัดทางภูมิศาสตร์                 รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๒ พิลิปดาเหนือ                                       แวง ๙๙ องศา ๒๒ ลิปดา ๔๒ พิลิปดาตะวันออก   อายุสมัย                                      -   ลักษณะและสภาพ                  เป็นกลุ่มโบราณสถาน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีคูล้อมรอบ ในพื้นที่กว้าง                        ประมาณ ๑๕๐ เมตร ยาว ๓๕๐ เมตร กลุ่มโบราณสถานประกอบด้วย ๑.      เจดีย์ทรงลังกา ๑ องค์ ไม่มีองค์ระฆัง ขนาดฐานประมาณ ๖x๖ เมตร เป็นเจดีย์หลักของวัดที่ตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ๒.      ฐานวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐและเสาทำด้วยศิลาแลงกลมตั้งซ้อนกันขึ้นไป ตั้งอยู่บริเวณเกือบกึ่งกลางของพื้นที่ ๓.      เจดีย์รายขนาดเล็ก ๑ องค์ ๔.      สระน้ำ ๑ สระ อยู่บริเวณหน้าทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของวิหารกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ๕.      พระอุโบสถเป็นเนินโบราณสถานที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะ อยู่ทางทิศตะวันออกของวิหาร มีแนวฐานเรียงอิฐและเสาศิลาแลงกลมเห็นได้อย่างชัดเจน   ประวัติ                               ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อวัดตะพังป่านในเอกสารและศิลาจารึก   การดำเนินการ                      โบราณสถานส่วนใหญ่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔                                       ยกเว้นพระอุโบสถยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ   ชื่อโบราณสถาน                              วัดแม่โจน   ที่ตั้ง                                  อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ติดประตูศาลหลวง และริมถนนพระร่วง                          ๒ ด้านฝั่งตะวันตก หรือริมฝั่งแม่โจน ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง                       จังหวัดสุโขทัย   พิกัดทางภูมิศาสตร์                 รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๒๗ พิลิปดาเหนือ                                       แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๐ พิลิปดาตะวันออก   อายุสมัย                             สุโขทัย   ลักษณะและสภาพ                  เป็นเนินโบราณสถาน จำนวน ๒ เนินติดกัน เนินแรกอยู่ใกล้กับถนนพระ                  ร่วง ๒ ขนาดเส้นผ่านศูนย์ประมาณ ๑๕ เมตร มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐ              ส่วนเนินที่สองเป็นเนินก่ออิฐขนาดเล็กกว่าเนินแรกเล็กน้อย ไม่ทราบรูปร่าง                 ที่แน่นอน   ประวัติ                               ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านศิลาจารึกและเอกสาร   ข้อสังเกตทั่วไป                      จากการขุดแต่งเรียกวัดนี้ว่า โบราณสถานวัดร้าง (N.11) หลักฐานที่ได้จาก                                    การขุดแต่งทำให้ทราบว่า วัดแม่โจนเป็นวัดขนาดเล็กสร้างในสมัยสุโขทัย                                      ตอนกลาง และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยต่อๆ มา   การดำเนินการ                      ขุดแต่งและบูรณะ พ.ศ. ๒๕๒๗ ชื่อโบราณสถาน                              วัดหนองปรือ   ที่ตั้ง                                  อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือริมแม่โจนและวัดพระ                           พายหลวง ด้านทิศใต้ ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย   พิกัดทางภูมิศาสตร์                 รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๓ พิลิปดาเหนือ                                       แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๕ พิลิปดาตะวันออก   อายุสมัย                             สุโขทัย   ลักษณะและสภาพ                  เป็นเนินโบราณสถาน ประกอบด้วย ๑.      เนินฐานวิหารก่ออิฐ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เมตร ๒.      เนินฐานเจดีย์ก่ออิฐขนาดเล็ก ๓ องค์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ ฐานวิหาร   ประวัติ                               ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก   ข้อสังเกตทั่วไป                      จากการขุดแต่งพบว่าเป็นฐานวิหารขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัย                                       สุโขทัยตอนกลาง ในการขุดแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๗ เรียกวัดนี้ว่า โบราณสถานวัด                                   ร้าง (N.1) การดำเนินการ                      ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒                                       ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘                                       ๒. ขุดแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๗ ชื่อโบราณสถาน                              วัดเนินร่อนทอง   ที่ตั้ง                                  อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ริมแม่โจนหรือบริเวณที่เรียกว่า                                       เนินร่อนทอง ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย   พิกัดทางภูมิศาสตร์                 รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๐ พิลิปดาเหนือ                                       แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๘ พิลิปดาตะวันออก   อายุสมัย                             สุโขทัย   ลักษณะและสภาพ                  เป็นเนินโบราณสถานก่ออิฐ ไม่ทราบรูปร่างที่แน่นอน   ประวัติ                               ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก   ข้อสังเกตทั่วไป                      จากการขุดแต่งพบว่าวัดเนินร่อนทอง มีโบราณสถาน ๒ กลุ่ม ที่สร้างต่าง                                      ระดับกันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ห่างกันประมาณ ๒๐ เมตร ดังนั้นใน                                       การดำเนินการขุดแต่ง จึงกำหนดชื่อเรียกเป็นโบราณสถานวัดร้าง (N.2)                                   และโบราณสถานวัดร้าง (N.3)   การดำเนินการ                      ขุดแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๗ ชื่อโบราณสถาน                              วัดศรีชุม   ที่ตั้ง                                  อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมือง ห่างจากมุมกำแพงเมือง                          ไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย   พิกัดทางภูมิศาสตร์                 รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๒ พิลิปดาเหนือ                                       แวง ๙๙ องศา ๔๑ ลิปดา ๔๕ พิลิปดาตะวันออก   อายุสมัย                             สุโขทัย   ลักษณะและสภาพ                  เป็นกลุ่มโบราณสถานที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีคูน้ำล้อมรอบทั้งสี่ด้าน                    โดยพื้นที่นี้กว้างประมาณ ๑๐๐ เมตร และยาว ๑๕๐ เมตร โบราณสถาน          เหล่านี้ประกอบด้วยสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้ ๑.      มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง ๓๒ เมตร สูง ๑๕ เมตร ผนังหนา ๓ เมตร มีพระพุทธรูปปูนปั้นแบบมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร มณฑปนี้ตรงประตูทางเข้าเจาะเป็นช่องสูง ผนังด้านซ้ายมีทางเดินเข้าไปภายในผนังและขึ้นไปได้จนถึงหลังคา บนเพดานผนังทางเข้านี้ มีภาพสลักอยู่บนหินชนวน ๕๐ กว่าภาพ ทุกภาพมีอักษรไทยสมัยสุโขทัยโบราณบรรยาย ๒.      ฐานวิหาร ๖ ห้อง ขนาดกว้าง ๑๒.๕๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร มีผนังก่อด้วยอิฐเจาะช่องเป็นรูปกากบาท ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของมณฑป ๓.      วิหารอยู่ทางทิศเหนือของมณฑป ก่อด้วยอิฐขนาดกว้าง ๙.๕๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ๔.      มณฑปขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปกว้าง ยาว ด้านละ ๙.๕๐ เมตร อยู่ทางด้านหลังวิหารเล็กหรือทางทิศเหนือของมณฑปใหญ่ ๕.      เจดีย์รายจำนวน ๙ องค์ ตั้งอยู่ด้านข้างวิหารใหญ่ และมณฑปใหญ่ด้านทิศเหนือ ๖.      พระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑปใหญ่และอยู่นอกคูน้ำที่ล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ๗.      ศาลาฤๅษีอยู่นอกคูน้ำทางทิศใต้ของกลุ่มโบราณสถานใหญ่ ๘.      สระน้ำ ๓ สระ สระแรกอยู่ภายในแนวคูน้ำล้อมรอบโบราณสถานโดยอยู่ด้านทิศเหนือติดกับวิหารและมณฑปเล็ก สระที่สองอยู่ด้านนอกคูหาน้ำทางทิศใต้โดยอยู่ติดกับศาลาพระฤๅษี สระที่สามอยู่ทางทิศตะวันตกนอกคูน้ำ ๙.      คูน้ำล้อมรอบวัด มีขนาดกว้างโดยประมาณ ๖ เมตร ล้อมรอบพื้นที่ที่ตั้งโบราณสถานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดพื้นที่กว้าง ๑๐๐ เมตร และยาว ๑๕๐ เมตร ประวัติ                               วัดศรีชุมเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏหลักฐานใน                                   ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช ๑๘๓๕ กล่าวไว้ว่า “เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาทมีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง” พระอจนะ ในที่นี้คงหมายถึง พระพุทธรูปในมณฑปวัดศรีชุมนั่นเอง นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานจากศิลาจารึกวัดศรีชุมประมาณพุทธศักราช ๑๘๘๔-๑๙๑๐ ด้าน ๒ บรรทัดที่ ๓๙-๔๒ ความว่า “พระเจดีย์สูงใหญ่ รอบนั้นฉลักหินห้าร้อยชาติติรเทศงามพิจิตรนักหนาแก่กม ตุรกมล้างเอาทองตรธานสมเด็จพระมหาสามี จากแต่สีหลมา เอาฝูง…แบกอิฐแต่ต่ำขึ้นไปกระทำพระเก้าท่านคืนบริบวรณด้วยศรัทธา” นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ว่า เมื่อพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นมาปราบกบฏเมืองสวรรคโลก ในปี พ.ศ. ๒๑๒๘ นั้น ก่อนจะยกไปเมืองสวรรคโลกได้แวะพักพลที่ตำบลฤๅษีชุม เมืองสุโขทัย เข้าใจว่าคือที่วัดศรีชุมแห่งนี้นี่เอง การดำเนินการ                      ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒                                       ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘                                       ๒. ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๖                                       ๓. บูรณะมณฑปเพิ่มเติมอีกครั้ง พ.ศ. ๒๕๑๐



Messenger