ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ




ตำราดูฤกษ์ยาม ชบ.ส. ๗๕ เจ้าอาวาสวัดเทพประสาท ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๓ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.28/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอนที่ ๑ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของคนในอดีต เริ่มจากการนำผลิตผลที่มีมาแลกเปลี่ยนกัน ต่อมาจึงเริ่มนำวัตถุมาใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน เช่น หอยเบี้ย เกลือ ต่อมาเมื่อมีการค้นพบโลหะทองแดงได้มีการนำทองแดงมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ด้วยคุณสมบัติที่คงทนสามารถตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ได้น้ำหนักตามที่ต้องการโดยยังคงคุณสมบัติเหมือนกันทุกก้อนและสามารถนำมาหลอมรวมกันได้โดยคุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง และยังพกพาสะดวก ต่อมามีการนำโลหะเงินหรือทองซึ่งหายากและสวยงามกว่ามาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน   มีการกำหนดพิกัดราคาตามน้ำหนักมาตรฐานของก้อนโลหะ และสิ่งที่นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยโลหะที่นำมาแลกเปลี่ยนกันนี้ภายหลังพัฒนามาเป็นเงินตราประเภทต่างๆ  ในอดีตทางตอนเหนือของไทยมีการชำระหนี้หรือการจ่ายค่าสินค้าตามน้ำหนักโดยตัดจากก้อนโลหะหรือเงินตรา โดยเรียกเศษเงินที่ตัดจนเป็นชิ้นเล็กๆ นี้ว่า เงินมุ่น  เพื่อให้ได้น้ำหนักโลหะตามที่ต้องการ จึงต้องคิดค้นวิธีการชั่งน้ำหนักขึ้น ตาชั่งในอดีตมี 2 แบบ  ตาเต็ง หรือตาชั่งจีน ลักษณะเป็นคานมีจานสำหรับวางหรือตะขอสำหรับแขวนสิ่งของที่ต้องการชั่งน้ำหนัก แล้วใช้การเลื่อนลูกชั่งไปมาบนคานชั่งด้านตรงข้ามจนได้ดุล ตาชั่งแบบนี้เป็นทิ่นิยมทางตะวันออก         ตาชู ลักษณะเป็นคานแล้วผูกหรือวางสิ่งของที่ต้องการทราบน้ำหนักไว้ด้านหนึ่งแล้วใช้ ลูกชั่ง ซึ่งเป็นก้อนหินหรือก้อนโลหะที่กำหนดน้ำหนักมาตรฐานไว้แล้วผูกหรือวางไว้อีกด้านของคาน การชั่งน้ำหนักแบบนี้ต้องเตรียมลูกชั่งขนาดต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบน้ำหนักกับสิ่งของที่ต้องการทราบน้ำหนัก ตาชั่งแบบนี้แพร่หลายเข้ามาพร้อมการค้าของพ่อค้าชาวตะวันตก เช่น กรีก โรมัน อาหรับ อินเดีย นิยมใช้กันมากในพม่าและล้านนา มีการทำลูกชั่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ




การค้าขายและเงินตราที่ใช้ในล้านนา ตอนที่ ๔          จากที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาที่อยู่ระหว่างเส้นทางการค้าของดินแดนในแถบพม่า จีน ลาว รวมถึงสุโขทัย และอยุธยา จึงมีพ่อค้ากลุ่มต่างๆ เดินทางมาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันอยู่เสมอ จึงมีการนำยังใช้เงินตราจากดินแดนข้างเคียงเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า นอกเหนือจากเงินตราที่ผลิตขึ้นใช้เองในล้านนา เงินฮ้อย เงินลาด เงินลาดฮ้อย           เป็นเงินตราที่อาณาจักรล้านช้างผลิตขึ้นใช้ สันนิษฐานว่าเริ่มใช้มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และใช้ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ตัวเงินมีการตอกประทับตราสัญลักษณ์ของอาณาจักรเช่น ตราช้าง ดอกไม้ ดอกพิกุล งู ตัวเลข ตัวหนังสือ เป็นต้น ในช่วงปีพ.ศ. ๒๐๘๙-๒๐๙๐ ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จจากล้านช้างมาปกครองเชียงใหม่ ได้มีการประทับตราอักษร หม ลงบนเงินฮ้อยของล้านช้างด้วย          เงินฮ้อย มีลักษณะเป็นแท่งโลหะตันรูปร่างคล้ายเรือชะล่าหรือกระสวยทอผ้า หัวท้ายเรียว ด้านบนของเงินฮ้อยมีตุ่มทั่วไปเป็นท้องบุ้งส่วนด้านล่างเรียบ ทำจากโลหะเงิน เจือด้วยทองแดงเล็กน้อย แบ่งออกเป็น ๓ ชนิดตามสัดส่วนของเนื้อเงินที่ผสมอยู่          เงินลาด ทำจากโลหะทองลงหิน เคลือบผิวด้วยโลหะเงิน รูปร่างคล้ายเงินฮ้อยแต่เรียวเล็กกว่า มี ๓ ขนาด ไม่มีตุ่มที่ตัวเงิน แต่มีการประทับตรารูปจักร ช้าง เต่า ปลา และดอกไม้ จากการผลิตที่มีการเคลือบโลหะเงินที่ประณีต มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก มีตราประทับที่ได้มาตรฐาน จึงเชื่อได้ว่าเป็นเงินตราที่ผลิตจากโรงกษาปณ์หลวง เงินลาดเป็นเงินปลีกที่มีราคาต่ำเนื่องจากทำด้วยโลหะผสม          เงินลาดฮ้อย ทำจากทองแดงหรือทองเหลือง ลักษณะเหมือนเรือชะล่าและเรือขุด ไม่มีการประทับตราหรือทำลวดลายลงบนตัวเงิน มีมูลค่าต่ำสุดในท้องตลาดโดยมีค่าตามน้ำหนักของโลหะที่หล่อขึ้น ประชาชนที่มีโลหะ ทองแดง ทองเหลือง สามารถหล่อขึ้นใช้เองได้ จึงมีขนาดต่างกันไปตามปริมาณและน้ำหนักของโลหะที่ใช้หล่อ และมีความประณีตในการผลิตต่างกันมาก เอกสารอ้างอิง เงินตราล้านนา : นวรัตน์ เลขะกุล/ธนาคารแห่งประเทศไทย นพบุรีการพิมพ์ เชียงใหม่, ๒๕๕๕ เงินตราล้านนาและผ้าไท : ธนาคารแห่งประเทศไทย อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๓ เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗ เงินฮ้อย มีลักษณะเป็นแท่งโลหะตันรูปร่างคล้ายเรือชะล่าหรือกระสวยทอผ้า หัวท้ายเรียว ด้านบนของเงินฮ้อยมีตุ่มทั่วไปเป็นท้องบุ้งส่วนด้านล่างเรียบ ทำจากโลหะเงิน เจือด้วยทองแดงเล็กน้อยเงินลาดฮ้อย ทำจากทองแดงหรือทองเหลือง ลักษณะเหมือนเรือชะล่าและเรือขุด ไม่มีการประทับตราหรือทำลวดลายลงบนตัวเงิน มีมูลค่าต่ำสุดในท้องตลาดโดยมีค่าตามน้ำหนักของโลหะที่หล่อขึ้น ประชาชนที่มีโลหะ ทองแดง ทองเหลือง สามารถหล่อขึ้นใช้เองได้ จึงมีขนาดต่างกันไปตามปริมาณและน้ำหนักของโลหะที่ใช้หล่อ และมีความประณีตในการผลิตต่างกันมาก


ประติมากรรมปูนปั้นลงรักปิดทอง ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติตอน พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์กรุณาพระมหากัสสปะ .. ณ วิหารน้อย วัดสรรพยาวัฒนาราม อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ได้ปรากฏงานศิลปกรรมอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้พุทธศาสนิกชน และศาสนิกชนอื่น ๆ ได้สักการะหรือได้ชม เพื่อให้เห็นถึงความรู้ความศรัทธาของคนสมัยก่อนที่รังสรรค์งานศิลปกรรมนี้ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ชม ซึ่งงานศิลปกรรมนั้น คือ .. ประติมากรรมปูนปั้นลงรักปิดทอง ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติตอน พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์กรุณาพระมหากัสสปะ .. ซึ่งรูปแบบของประติมากรรมดังกล่าวที่ปรากฏนั้น ประกอบไปด้วย พระพุทธรูปในอิริยาบถไสยาสน์แบบหงายประดิษฐานอยู่ภายในหีบพระศพซึ่งรองรับด้วยฐานบัว พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันเหนือพระเพลา พระบาททั้งสองยื่นพ้นออกจากหีบพระศพ เบื้องพระบาทมีพระสาวกจำนวน 5 รูป ในอิริยาบถที่แตกต่างกัน แต่มีพระสาวกรูปหนึ่งที่ประนมมือพร้อมโน้มกายกราบสักการะพระบาทของพระพุทธองค์ .. จากองค์ประกอบทั้งหมดแสดงให้เห็นได้ว่า ประติมากรรมนี้ สร้างขึ้นตามพุทธประวัติในปฐมสมโพธิกถา ปริจเฉที่ 27 (ธาตุวิภัชนปริวรรต การแจกพระบรมสารีริกธาตุ) คือเหตุการณ์หนึ่งในพุทธประวัติ ตอนถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า .. ซึ่งประติมากรรมนี้แสดงเหตุการณ์ตอนที่ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอานนท์พร้อมด้วยเหล่ากษัตริย์แห่งแคว้นมัลละได้ปฏิบัติต่อสรีระของพระพุทธองค์ โดยการหุ้มห่อพระพุทธสรีระด้วยผ้าหนา 500 ชิ้น จากนั้นอัญเชิญไว้ในหีบพระศพทอง นำหีบพระศพขึ้นจิตกาธาน(เชิงตะกอนเผาศพ) เมื่อถึงเวลาที่เหล่ากษัตริย์แคว้นมัลละจะถวายพระเพลิงนั้นทำอย่างไรก็ไม่สามารถจุดไฟให้ติดได้ พระอนุรุทธ์จึงอธิบายว่า เทพยดาต้องการคอยให้พระมหากัสสปะมาถึงก่อน ครั้นต่อมาเมื่อพระมหากัสสปะได้มาถึงสถานที่ตั้งพระพุทธสรีระก็ได้ทำการสักการะ เข้าไปสู่ทิศเบื้องพระบาทของหีบพระศพ โดยถวายอัญชลี ในขณะนั้นจึงบังเกิดปาฏิหาริย์ พระบาทของพระพุทธองค์ยื่นพ้นจากหีบพระศพมารับการสักการะในทันใด พระมหากัสสปะ จึงเข้าไปสัมผัสและนบพระบาทด้วยเศียรเกล้า .. เมื่อพระมหากัสสปเถระพร้อมด้วยบริวารและมหาชนทั้งหลายถวายนมัสการพระบาทเสร็จแล้ว พระบาททั้งสองก็กลับเข้าไปยังหีบพระศพเช่นเดิม ด้วยอำนาจของเทวดาเพลิงจึงลุกขึ้นไหม้พระพุทธสรีระ .. จากพุทธประวัติดังกล่าวที่ปรากฏในปฐมสมโพธิกถา จึงสอดคล้องกับประติมากรรมดังกล่าวในวิหารน้อย วัดสรรพยาวัฒนาราม ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์กรุณาพระมหากัสสปะ ที่พบได้ไม่มากนักในประเทศไทย .. ซึ่งอายุสมัยของวิหารน้อยและประติมากรรมดังกล่าวอยู่ในศิลปะรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕


          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารหรือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับและทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ กฎหมายและการปกครองอยู่ที่ ไครสต์เซิร์ช (Christ Church) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ประเทศอังกฤษ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ – ๒๔๔๔ ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติพระนครแล้ว ได้ทรงจัดตั้ง ทวีปัญญาสโมสรขึ้น ณ พระราชวังสราญรมย์ และด้วยทรงสนพระทัยในด้านประพันธ์และการพิมพ์หนังสือ จึงได้ทรงออกหนังสือพิมพ์ประจำทวีปัญญาสโมสรขึ้นฉบับหนึ่ง ทรงพระราชทานชื่อว่า ทวีปัญญา          หนังสือพิมพ์ทวีปัญญานั้น เกิดขึ้นจากการประชุมกรรมการสภาทวีปัญญาสโมสร ครั้งที่ ๘ โดยกรรมการสภาได้มีข้อตกลงร่วมกันให้มีหนังสือพิมพ์ประจำสโมสรขึ้น โดยตีพิมพ์ออกเผยแพร่แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปเดือนละครั้ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะสภานายกและเลขานุการของทวีปัญญาสโมสร ทรงชักชวนข้าราชบริพารที่มีความรู้ ความสามารถ ทดลองเขียนบทความและ เรื่องต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ทั้งร้อยแก้ว โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทวีปัญญา ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนหน้าพิมพ์ละ ๔ อัฐ ถ้าระบุไว้ว่าต้องการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรวจบทความต่าง ๆ ด้วยพระองค์เองทุกครั้งในฐานะทรงเป็นบรรณาธิการก่อนที่จะจัดพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ทวีปัญญา สำหรับบทความและเรื่องต่าง ๆ ที่ออกเผยแพร่นั้นมีทั้งเรื่องจริงและนิยาย พร้อมทั้งรายงานต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทวีปัญญาสโมสร สำหรับเรื่องต่าง ๆ ที่พระองค์ทรง พระราชนิพนธ์นั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สะท้อนแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเสรีภาพและการปกครอง ตลอดจนการเรียกร้องให้รักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย          หนังสือพิมพ์ทวีปัญญา เริ่มออกเผยแพร่ในเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๗ จำหน่ายแก่สมาชิกราคาฉบับละ ๓๒ อัฐ และบุคคลทั่วไปราคาฉบับละ ๑ บาท ส่วนการลงโฆษณาและแจ้งความอื่น ๆ นั้น ถ้าแต่งคำโฆษณามาแล้วคิดราคาบรรทัดละ ๑ เฟื้อง ถ้าให้ทางกรรมการสภาแต่งคำโฆษณาให้ด้วย จะคิดเพิ่มเป็นบรรทัดละ ๑ เฟื้อง ๒ ไพ ในฉบับแรก สำหรับในฉบับต่อ ๆ ไป คิดบรรทัดละ ๑ เฟื้อง หากลงเต็มหน้านับเป็น ๑๖ บรรทัด คิดราคา ๑ บาท ๒ สลึง ส่วนรูปภาพราคารูปละ ๑ บาท ถึงแม้จะจำหน่ายหนังสือพิมพ์ทวีปัญญาเพียงฉบับละ ๓๒ อัฐ และ ๑ บาท ดังที่กล่าวในข้างต้นแล้วนั้นก็ยังขาดทุน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์ว่า เป็นเพราะไม่มีโฆษณาเหมือนหนังสือพิมพ์ฝรั่ง และทรงมุ่งหวังที่จะให้ผู้อ่านส่งจดหมายแนะนำ ติชมเพื่อปรับปรุงทวีปัญญาให้ดีขึ้น สำหรับเนื้อหาภายในเล่มของหนังสือพิมพ์ทวีปัญญา ประจำเดือนเมษายน ร.ศ. ๑๒๓ ซึ่งเป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรกนั้น ประกอบด้วยเรื่องราวของคำนำ สาเหตุของการสงครามในระหว่างยี่ปุ่นกับรัสเซีย นิทาน ทุภาสิต อาษาเจ้าจนตัวตาย อาษานายจนพอแรง นิราศเมืองเหนือ นากพระโขนงที่สอง เบ็ตเล็ต และรายงานประจำเดือน          ต่อมาด้วยพระราชภาระที่มากขึ้นของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการของทวีปัญญาสโมสรยุติลงในปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ รวมถึงหนังสือพิมพ์ทวีปัญญาจึงสิ้นสุดลงโดยปริยายด้วยเช่นกัน-----------------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวรวิวรรณ พุฒซ้อน บรรณารักษ์ชำนาญการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ -----------------------------------------------------------------บรรณานุกรม ทวีปัญญาสโมสร. ทวีปัญญา เล่ม ๑. พระนคร: ทวีปัญญาสโมสร, ร.ศ. ๑๒๓. มหามกุฎราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. ทวีปัญญาเล่ม ๑. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๒. สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย. ประวัตินิตยสารไทย Now & Then. กรุงทพฯ: สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๐. สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๑ (ก-ม). กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๓. สุนทรพิพิธ, พระยา. พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๔. สุกัญญา ตีระวนิช. รายงานผลการวิจัยเรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพรมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว, ๒๕๓๒.



          เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ พันตรี เปรม ติณสูลานนท์ จบการศึกษาวิชาทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกา ท่านจึงได้รับการบรรจุให้เป็นอาจารย์ในแผนกวิชายุทธวิธี กองการศึกษาโรงเรียนทหารยานเกราะ ทั้งที่จริงแล้วท่านมีความใฝ่ฝันจะเป็นผู้บังคับบัญชาทหารมากกว่าจะเป็นอาจารย์           หลังจากการเป็นอาจารย์สอนวิชาทหารอยู่ระยะหนึ่ง ความใฝ่ฝันของท่านก็เป็นความจริง เมื่อท่านได้รับความไว้วางใจ จากผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๕ กรมทหารม้าที่ ๒ และยังคงรักษาราชการอาจารย์แผนกวิชาทหาร กองการศึกษาโรงเรียนยานเกราะ ควบคู่กันไปอีกตำแหน่งหนึ่ง           ท่านพอใจในตำแหน่งผู้บังคับบัญชากองพันที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยเป็นตำแหน่งที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุด ท่านเคยเล่าให้ผู้เกี่ยวข้องฟังว่า “ ...ผมว่าที่สนุกที่สุดและได้ใช้ความรู้ ความสามารถทั้งในด้านบริหาร และด้านยุทธการเป็นผู้บังคับกองพันดีที่สุด เป็นงานที่กำลังน่าทำที่สุดเป็นงานที่มีเรื่องที่เราจะทำมาก ผู้บังคับกองร้อยอาจจะเล็ก และแคบเกินไป เป็นผู้บังคับการกรมก็สูงเกินไป เป็นผู้บังคับกองพันนี้สนุกทำอะไรของตัวได้ ถ้าใช้ความสามารถของตัวเองมากเป็นระดับที่น่าสนใจ...”           เมื่อท่านได้มาเป็นผู้บังคับบัญชาของเหล่าทหารม้า ท่านได้ปรับวิธีการทำงาน สร้างความสำนึกให้รู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ ท่านได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างใน การทำงาน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติตามท่าน ท่านดูแลเอาใจใส่การปฏิบัติงานของลูกน้องอย่างใกล้ชิด ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกว่า การทำงานในหน้าที่เป็นสิ่งสำคัญ ใครจะหลีกเลี่ยงหรือเกียจคร้านไม่ได้          นอกจากวิธีทำงานที่เข้มงวด และเอาจริง เอาจังแล้ว ท่านยังเป็นทหารที่มีความซื่อสัตย์ ใช้ชีวิต เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ให้ความรักและดูแลผู้ใต้บัญชาเป็นอย่างดี ใครมีปัญหาอะไรในการทำงานหรือเรื่องอื่นๆ ท่านก็จะช่วยเหลือแก้ไขให้ จึงเป็นที่ศรัทธารักใคร่นับถือของลูกน้องกลายเป็นความสัมพันธ์อันแนบแน่น ระหว่างกัน คำที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเรียกขานท่านว่า “ป๋า” ก็มาจากเหตุผลดังกล่าว           พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ จึงเป็น “ป๋า” ผู้สง่างามของบรรดาทหาร ในเหล่าทหารม้า ทหารเหล่าอื่น และบุคคลทั่วไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา-----------------------------------------------------------เรียบเรียง : นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์-----------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิงสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา. คนดี ศรีแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เล่มที่ ๒ ป้องกัน


เลขทะเบียน: กจ.บ.7/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระสงฺคิณี พระสมนฺตมหาปฏฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 74 หน้า


เลขทะเบียน: กจ.บ.6/1-7:1ก-7ก ชื่อเรื่อง: พระอภิธมฺมตฺถสงฺคิณี พระมหาปฏฺฐาน เผด็จ ข้อมูลลักษณะ: อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาดประวัติ : ได้มาจากวัดห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 14 ผูก จำนวนหน้า: 66 หน้า



Messenger